บทวิเคราห์
มัสมั่นแกงแก้วตา หอมยี่หร่ารสร้อนแรง
ชายใดได้กลืนแกง แรงอยากให้ใฝ่ฝันหา
ยำใหญ่ใส่สารพัด วางจานจัดหลายเหลือตรา
รสดีด้วยน้ำปลา ญี่ปุ่นล้ำย้ำยวนใจ
บทเห่ทั่วปที่เราเคยอ่านมักเป็นบทเห่กระบวนพยุหยาตรา บทชมธรรมชาติ หรือ บทชมนาง แต่บทเห่ข้างต้นนี้มีเนื้อความต่างไปเพราะเป็นบทพรรณนาเกี่ยวกับอาหารที่บรรจงปรุงอย่าง "ถึงเครื่องถึงรส" สะท้อนถึงฝีมือปรุงอาหารอย่างหาที่เปรียบได้ยาก เมื่อได้อ่านคำประพันธ์ 2 บทนี้ ผู้อ่านย่อมเกิดจินตภาพถึงแกงมัสมั่นรสเข้มข้นหอมกลิ่นเครื่องเทศและยำใหญ่ที่มีเครื่องครบครันปรุงด้วยน้ำปลาญี่ปุ่นน่าลิ้มลอง นอกจากแสดงว่าผู้ปรุงมีฝีมือเป็นเลิศในการทำอาหารแล้ว ผู้แต่งก็มีฝีมือในการพรรณนาให้ได้อรรถรสเป็นอย่างยิ่ง
กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานนี้แต่งตามแบบกาพย์เห่หรือกาพย์เห่เรือ คือแต่งเป็นโคลงผสมกาพย์ ตอนต้นเป็นโคลงสี่สุภาพ 1 บท จากนั้นเป็นกาพย์ยานี 11 ไม่จำกัดจำนวน ขยายความต่อจากโคลงบทนั้น โดยมากเนื้อความในกาพย์ยานีบทแรกจะเลียงความจากโคลงสี่สุดภาพตอนต้นบทประพันธ์ในลักษณะนี้ หากพรรณนาความรู้เกี่ยวกับเรือหรือการเดินทางเรือ เรียนกว่า กาพย์เห่เรือ แต่ถ้าพรรณนาเรื่องอื่นๆ จะเป็นเรื่องใดก็ได้ เช่น ชมนก ชมหนังสือ หรือชมเครื่องคาวหวานดังที่ได้อ่านอยู่นี้ เรียกว่า กาพย์เห่