คำสรรพนาม
คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้แทนนาม เพื่อไม่ต้อง กล่าวถึงนามนั้นซ้ำอีกเช่น ผม คุณ นั่น กัน ต่าง ที่ ซึ่ง เป็นต้น
คำสรรพนามจำแนกได้ 7 ชนิด
1. บุรุษสรรพนาม คือคำสรรพนามที่ใช้แทนผู้พูด ผู้ฟัง และผู้ที่กล่าวถึงประกอบด้วย
1.1 สรรพนามบุรุษที่ 1 สรรพนามใช้แทนผู้พูด เช่น ผม ฉัน ข้าพเจ้า อาตมา เรา
1.2 สรรพนามบุรุษที่ 2 สรรพนามใช้แทนผู้ฟัง เช่น คุณ ท่าน เธอ ใต้เท้า แก เอง
1.3 สรรพนามบุรุษที่ 3 ใช้แทนผู้ที่กล่าวถึง เช่น เขา ท่าน แก มัน เขา มหาบพิตร
2. ประพันธ์สรรพนาม หรือ สรรพนามใช้เชื่อม คือ คำสรรพนามที่ใช้แทนนาม ข้างหน้า แสดงการเชื่อมประโยคที่มีคำว่ ที่ ซึ่ง อัน ตัวอย่าง
• คนที่เป็นครู ต้องอดทน
• เขาเป็นคนดีซึ่งใคร ๆ ก็ชอบเขา
• เขาค้นพบวัตถุโบราณ อันประมาณค่าไม่ได้
3. วิภาคสรรพนาม หรือ สรรพนามบอกความชี้ซ้ำคือสรรพนามแบ่งพวก หรือรวมพวกเพื่อจำแนกออกเป็นส่วน ๆ มีคำว่า ต่าง บ้าน กัน มีวิธีใช้ดังนี้
• ต่าง ใช้แทนนามข้างหน้า เพื่อให้รู้ว่านามนั้นจำแนกออกเป็นหลายส่วน แต่ทำอย่างเดียวกัน เช่น
- ชาวบ้านต่างไปช่วยงานวัน
- ประชาชน ต่างประณามผู้ก่อการร้าย
• บ้าง ใช้แทนนามข้างหน้า เพื่อให้รู้ว่านามนั้นจำแนกออกเป็นหลายส่วนและทำหน้าที่ต่างกัน เช่น
- ประชาชนบ้างเดิน บ้างวิ่งไปทำงาน
- คนงานบ้างนั่งบ้างนอน
• กัน ใช้แทนนามข้างหน้า เพื่อให้รู้ว่านามนั้นเกี่ยวข้องกันและโต้ตอบกัน
- สุนัขกัดกัน
- เขามองหน้ากันและกัน
4. นิยมสรรพนาม หรือ สรรพนามใช้ชี้ระยะคือคำนามที่ชี้เฉพาะ บอกระยะความห่างจากผู้พูด มีคำว่า นี่ นี่น โน่น เช่น
• นี่ หนังสือเมื่ออ่านแล้วได้คติชีวิต
• นั่น ห้องสมุดเราไปอ่านหนังสือ
• โน้น พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมไทย
5. อนิยมสรรพนาม หรือสรรพนามบอกความไม่เจาะจง คือ สรรพนาม ไม่เจาะจง ไม่ต้องการคำตอบ มีคำว่า อะไรไหน ใด ๆ
• อะไร ๆ ฉันก็กินได้
• ที่ไหน ๆ ผมก็อยู่ได้
• ใครจะไปพักก็ได้
6. ปฤจฉาสรรพนาม หรือ สรรพนามใช้ถาม คือ คำสรรพนามใช้ถามมีคำว่า ใคร ทำไม ไหน ผู้ใด อะไร อย่างไร ตัวอย่าง
• ใครมายืนอยู่หน้าบ้าน
• อะไรอยู่ในกระเป๋า
• ไหนคุณแม่ของเธอ
• เขาทำได้อย่างไร
7. สรรพนามใช้เน้นนามข้างหน้า คือ คำสรรพนามที่ใช้เน้นนามข้างหน้า เพื่อเน้นความรู้สึกในลักษณะต่าง ๆ เช่น ยกย่อง คุ้นเคย ดูหมิ่น ตัวอย่าง
• คุณพ่อท่านเดินทางมาเยี่ยมลูก
• เพื่อน ๆ เขาจะมาทำงานที่โรงเรียน
• สุนัขมันรักเจ้าของมาก
• หนูหิ่นเธอฉลาดมาก