บทเรียนออนไลน์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ออสเตรเลียและโอเชียเนีย
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 61.7K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้



 

          ทวีปออสเตรเลีย เป็นทวีปเกาะ โอเชียเนีย เป็นดินแดนในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 8.4 ล้านตารางกิโลเมตร




1. ออสเตรเลีย
          ความเป็นมาของออสเตรเลีย
                    - ชาวยุโรปค้นพบทวีปออสเตรเลียพัฒนาประเทศจนเจริญ
                    - คริสต์ศตวรรษที่ 17 วิลเล็ม แจนซูน นักเดินเรือชาวดัตช์ เข้ามาสำรวจและอยู่อาศัย
                    - วิลเลียม แดมเพียร์ นักเดินเรือชาวอังกฤษพบว่า ไม่เหมาะในการตั้งถิ่นฐาน
                    - กัปตันเจมส์ คุก นักเดินเรือชาวอังกฤษ ไปพบความอุดมสมบูรณ์ จึงยึดเป็นอาณานิคมของอังกฤษใน พ.ศ. 2315
                    - ชาวอังกฤษเข้าไปตั้งถิ่นฐานใน พ.ศ. 2331

          ลักษณะทางกายภาพของออสเตรเลีย
                    ที่ตั้ง ขนาด และอาณาเขต ออสเตรเลียมีพื้นที่ประมาณ 7,686,884 ตารางกิโลเมตร เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุด รายรอบด้วยทะเลและมหาสมุทร
                    ลักษณะธรณีวิทยา เป็นแผ่นเปลือกโลกแผ่นหนึ่งของกอนด์วานาแลนด์ เขตที่สูงภาคตะวันออกเป็นเขตหินเก่า เป็นแหล่งทรัพยากรแร่ที่สำคัญ




                    ลักษณะภูมิประเทศ แบ่งได้ 3 เขต ดังนี้
                              - เขตที่สูงภาคตะวันออก ทางตะวันออกของเทือกเขาเป็นที่ราบชายฝั่ง บางแห่งมีลักษณะเป็นหน้าผาชันและเป็นชายฝั่ง




                              - เขตที่ราบภาคกลาง ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ต่ำและแห้งแล้ง จึงมีการขุดน้ำบาดาลใช้มาก




                              - เขตที่ราบสูงภาคตะวันตก มีลักษณะภูมิประเทศทางตะวันตกเป็นที่สูง ลาดเทไปทางตะวันออกเข้าสู่ดินแดนในทวีป




                    ภูมิอากาศ มีฤดูตรงกันข้ามกับซีกโลกเหนือ แบ่งได้ 7 เขต ดังนี้




                              - เขตภูมิอากาศแบบป่าฝนเขตร้อน
                              - เขตภูมิอากาศร้อนชื้นแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อนหรือทุ่งหญ้าสะวันนา
                              - เขตภูมิอากาศแบบกึ่งทะเลทราย
                              - เขตภูมิอากาศแบบทะเลทราย
                              - เขตภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน
                              - เขตภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น
                              - เขตภูมิอากาศแบบภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก

          ทรัพยากรธรรมชาติ
                    - ดิน ขาดความอุดมสมบูรณ์ ดินที่มีคุณภาพอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ
                    - น้ำ ขาดแคลนแหล่งน้ำ มีเพียงบริเวณที่มีฝนตกชุกที่มีน้ำเพียงพอ
                    - แร่ แร่สะสมอยู่จำนวนมาก
                    - พืชพรรณธรรมชาติและสัตว์ป่า พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าไม้ เป็นทุ่งหญ้า และกลางประเทศมีพืชทะเลทรายและกึ่งทะเลทราย ส่วนสัตว์ป่าท้องถิ่น ได้แก่ จิงโจ้ โคอาลา ตุ่นปากเป็ด วอมแบต




          ลักษณะทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของออสเตรเลีย
                    ประชากร
                              ลักษณะประชากร มีจำนวนประมาณ 21.9 ล้านคน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ชนพื้นเมือง ชนผิวขาว และชนผิวเหลือง
                                        - แอบอริจินี เป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมในออสเตรเลีย
                                        - ชนผิวขาวส่วนใหญ่เป็นชาวยุโรป โดยเฉพาะชาวอังกฤษที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่อดีต
                                        - ชน ผิวเหลืองซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวเอเชียอพยพเข้ามาโดยเฉพาะชาวจีนและชาวเวียดนาม




                    ภาษาและศาสนา ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ชาวออสเตรเลียส่วนใหญ่นิยมนับถือคริสต์ศาสนา
การกระจายของประชากร ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตเมืองหลวงของทั้ง 6 รัฐ
                    การเมืองการปกครอง เป็นประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบสมาพันธรัฐ
                    เขตปกครองอิสระ คือ ดินแดนที่ไม่สังกัดกับรัฐ มี 2 เขต ได้แก่
                              - ออสเตรเลียแคพิทอลเทร์ริทอรี ดินแดนนี้ล้อมรอบด้วยพื้นที่ของรัฐนิวเซาท์เวลส์




                              - นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี รัฐบาลกลางจัดเป็นที่อยู่ของคนพื้นเมืองดั้งเดิม จึงไม่มีการจัดตั้งรัฐ

                    เศรษฐกิจ ความสามารถส่งออกเป็นวัตถุดิบและสินค้าแปรรูปได้ อาชีพที่สำคัญของออสเตรเลียมีดังนี้
                              การเกษตร มีการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ในที่ดินแปลงใหญ่
                                        - การเพาะปลูก บริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญ




                                        - การเลี้ยงสัตว์ ส่วนใหญ่เลี้ยงแกะไว้เพื่อใช้ขนของแกะ โดยนิยมเลี้ยงแกะสายพันธุ์เมอริโน




                              การทำประมง สัตว์น้ำชุกชุมมาก แต่ขาดแคลนแรงงานการทำประมง
                              การทำป่าไม้ เป็นไม้เนื้อแข็งชั้นดี นำมาใช้ในการก่อสร้างและทำลังไม้
                              การทำเหมืองแร่ ออสเตรเลียผลิตตะกั่วได้มากที่สุดในโลก และเป็นผู้นำการผลิตแร่บ็อกไซต์ของโลก
                              อุตสาหกรรม ส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมการเกษตร
                              การค้า ได้เปรียบดุลการค้าเกือบทุกปี ลักษณะการค้าต่างประเทศมีดังนี้
                                        - สินค้าออกที่สำคัญ ส่วนใหญ่จะส่งไปประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และจีน
                                        - สินค้าเข้าที่สำคัญ ส่วนใหญ่สั่งเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน และเยอรมนี




          การคมนาคมและการขนส่ง
                    - ทางบก มีรถไฟข้ามทวีปเรียกว่า ทางรถไฟสายทรานส์ออสเตรเลียน ซึ่งเชื่อมเมืองเพิร์ทกับเมืองซิดนีย์
                    - ทางน้ำ การคมนาคมขนส่งทางน้ำในประเทศมีน้อย เพราะเป็นพื้นที่แห้งแล้ง
                    - ทางอากาศ เป็นที่นิยมมาก เพราะ ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง ทะเลทราย และภูเขา และเมืองใหญ่ ๆ ของประเทศนี้ยังตั้งห่างไกลกัน

2. นิวซีแลนด์
          ความเป็นมาของนิวซีแลนด์
                    - นักเดินเรือชาวดัตช์ได้ค้นพบและตั้งชื่อว่า นิวซีแลนด์
                    - กัปตันเจมส์ คุก ได้ตั้งสถานีล่าปลาวาฬและแมวน้ำขึ้น
                    - พ.ศ. 2383 กัปตันวิลเลียม ฮอบสัน ได้เซ็นสัญญากับชาวเมารี เรียกว่า สนธิสัญญาไวตังกิ ให้นิวซีแลนด์เป็นอาณานิคมของอังกฤษ

          ลักษณะทางกายภาพของนิวซีแลนด์
                    ที่ตั้ง ขนาด และอาณาเขต มีอาณาเขตทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศใต้ติดต่อกับมหาสมุทรแปซิฟิก และอาณาเขตทางทิศตะวันตกติดต่อกับทะเลแทสมัน เป็นน่านน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิก




                    ลักษณะธรณีวิทยา เป็นเขตหินใหม่ เปลือกโลกจึงยังมีการเคลื่อนไหว




                    ลักษณะภูมิประเทศ
                              - เกาะเหนือ มีภูเขาไฟมาก ด้านตะวันตกมีชายฝั่งน้ำลึกและทำเป็นเขตท่าเรือ
                              - เกาะใต้ ธารน้ำแข็งเป็นแหล่งต้นน้ำสำคัญและก่อให้เกิดฟยอร์ด




          ภูมิอากาศ เป็นแบบอบอุ่นและชื้นตลอดปี




          ทรัพยากรธรรมชาติ
                    - ดิน มีดินภูเขาไฟจึงเหมาะแก่การเพาะปลูก
                    - น้ำ มีแหล่งน้ำธรรมชาติมาก




                    - แร่ มีจำกัด
                    - พืชพรรณธรรมชาติและสัตว์ป่า ปัจจุบันจึงมีเนื้อที่ป่าไม้เพียงแค่ 1 ใน 4 ของประเทศ มีนกมากกว่า 250 ชนิด รวมถึงนกกีวีที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศอีกด้วย

          ลักษณะทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของนิวซีแลนด์
                    ประชากร
                              ลักษณะประชากร คนผิวขาวเป็นประชากรส่วนใหญ่ ซึ่งมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ แต่ไม่มีความขัดแย้งในเรื่องชาติพันธุ์




                    ภาษาและศาสนา ใช้ภาษาราชการ 2 ภาษา ได้แก่ ภาษาอังกฤษและภาษาเมารี ส่วนใหญ่นับถือคริสต์ศาสนา
                    การกระจายของประชากร ประชากร 3 ใน 4 ของประเทศจะอาศัยอยู่ในเกาะเหนือ และอยู่ในเขตเมือง
                    การเมืองการปกครอง มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

          เมืองสำคัญ
                    - เวลลิงตัน เป็นเมืองหลวงและเมืองท่าสำคัญบริเวณอ่าวนิโคลสัน




                    - ไครสต์เชิร์ช เป็นเมืองใหญ่ที่สุดทางเกาะใต้
                    - โอกแลนด์ เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศนิวซีแลนด์




          เศรษฐกิจ
                    การเกษตร
                              - การเพาะปลูก ใช้เครื่องมือการเกษตรที่ทันสมัย
                              - การเลี้ยงสัตว์ เลี้ยงแกะมากที่สุด มีสัตว์ที่เลี้ยงในฟาร์มถาวรและเลี้ยงสัตว์ในทุ่งหญ้า การทำป่าไม้ เป็นแหล่งป่าสนซึ่งเป็นไม้เนื้ออ่อน
                   อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมของนิวซีแลนด์ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของตนเอง
                   การค้า ระบบการคมนาคมขนส่งที่สะดวกและทันสมัย มักได้เปรียบดุลการค้า

          การคมนาคมและการขนส่ง จำแนกได้ดังนี้
                   - ทางบก ทางรถไฟและถนนจะสร้างได้เฉพาะเขตชายฝั่งทะเล
                   - ทางน้ำ การติดต่อกับทวีปอเมริกาและทวีปยุโรปจะใช้ทางลัดผ่านคลองปานามาไปชายฝั่งตะวันออกของ
ทวีปอเมริกาเหนือ และผ่านคลองสุเอชไปทวีปยุโรป
                   - ทางอากาศ มีแอร์นิวซีแลนด์เป็นสายการบินแห่งชาติ


3. ปาปัวนิวกินี
          ความเป็นมาของปาปัวนิวกินี
                    - พ.ศ. 2069 ต่อมาชาวดัตช์ได้เข้ามายึดครองดินแดนด้านตะวันตกของเกาะ
                    - พ.ศ. 2427 เยอรมนียึดครองและตั้งสถานีการค้าชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ และอังกฤษครอบครองชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้
                    - พ.ศ. 2448 อังกฤษได้โอนดินแดนให้ออสเตรเลีย
                    - พ.ศ. 2519 ได้เอกราชสมบูรณ์

          ลักษณะทางกายภาพของปาปัวนิวกินี
                    ที่ตั้ง ขนาด และอาณาเขต มีพื้นที่ 461,693 ตารางกิโลเมตร ทิศเหนือและทิศตะวันออกจดมหาสมุทรแปซิฟิก ทิศใต้จดทะเลคอรัล และช่องแคบทอร์เรสในมหาสมุทรแปซิฟิก ทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดอีเรียนจายาของประเทศอินโดนีเซีย




          ลักษณะธรณีวิทยา เป็นเขตภูเขาหินใหม่จึงมีภูเขาไฟมีพลัง
          ลักษณะภูมิประเทศ เป็นภูเขา มีแม่น้ำสายยาว 2 สาย ได้แก่ แม่น้ำปลายทางตอนใต้ และแม่น้ำเซปิกทางตอนเหนือ
          ภูมิอากาศ เป็นแบบร้อนชื้น มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงตลอดปี
          ทรัพยากรธรรมชาติ ฝนตกชุก ทำให้ชะล้างหน้าดินและมีการพลังทลายของหน้าดินมาก จึงไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก เป็นป่าดิบชื้น ด้านในของเกาะแห้งแล้ง มีพืชพรรณธรรมชาติแบบสะวันนา

          ลักษณะทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของปาปัวนิวกินี
                    ประชากร
                              - ลักษณะประชากร สันนิษฐานว่าประชากรพื้นเมืองอพยพมาจากทวีปเอเชีย ชาวยุโรปอพยพเข้ามาไม่นานและมีจำนวนที่น้อยมาก ประกอบด้วย 2 เชื้อชาติ ได้แก่ ปาปวน และ พวกเมลานีเซียน
                              - ภาษาและศาสนา ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการนับถือคริสต์ศาสนา
                              - การกระจายของประชากร กระจายอยู่ตามชนบท และรวมกลุ่มกันตามเผ่าของตน




          การเมืองการปกครอง ปกครองระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาเดียว

          เมืองสำคัญ
                    - พอร์ตมอร์สบี เป็นเมืองหลวง เมืองท่า เมืองศูนย์กลางของอุตสาหกรรมและบริการ อยู่ทางตอนใต้




                    - ลาเอ ใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากเมืองหลวง ทางชายฝั่งตอนเหนือ
                    - ราเบาล์ เป็นเมืองใหญ่อันดับที่ 3 ของประเทศปาปัวนิวกินี

          เศรษฐกิจ
                    - สภาพเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับผลผลิตทางการเกษตรและการส่งออกแร่
                    - การเพาะปลูกเพื่อยังชีพ เลี้ยงสัตว์เพื่อใช้เป็นอาหาร
                    - มีแหล่งแร่ทองคำใหญ่แห่งหนึ่งของโลก
                    - จะส่งออกวัตถุดิบและนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรม
                    - สินค้าออก ส่วนใหญ่ส่งไปออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เยอรมนี สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ จีน และสหราชอาณาจักร
                    - สินค้าเข้า ส่วนใหญ่สั่งจากออสเตรเลีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา และจีน

          การคมนาคมและการขนส่ง ขาดระบบการคมนาคมขนส่งที่ดี ภูมิประเทศที่เหมาะสมต่อการเป็นท่าเรือ ทางด้านการคมนาคมทางอากาศมีท่าอากาศยานนานาชาติที่เมืองพอร์ตมอร์สบี และเมืองลาเอ

4. โอเชียเนีย
          ความเป็นมาของโอเชียเนีย
                    - นักเดินเรือได้ค้นพบแม้ว่าหมู่เกาะนี้จะมีพืชผลอุดมสมบูรณ์ แต่ขาดแคลนเนื้อสัตว์ มีภัยพิบัติธรรมชาติร้ายแรง มีโรคภัยมากมาย
                    - หมอสอนศาสนา ช่วยเหลือเมื่อเจ็บป่วย และเผยแผ่คริสต์ศาสนา เปิดโรงเรียนสอนหนังสือ และเริ่มมีพ่อค้าและนักล่าวาฬเข้ามา
                    - ในยุคล่าอาณานิคม ดินแดนโอเชียเนียตกอยู่ใต้อำนาจของชาติตะวันตก
                    - ระบบอาณานิคมของประเทศตะวันตกทำให้โอเชียเนียมีการเปลี่ยนแปลงในด้านความคิด ความเชื่อ และการดำเนินชีวิตของคนพื้นเมือง

          ลักษณะทางกายภาพของโอเชียเนีย
                    ที่ตั้งและอาณาเขต อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก มีพื้นที่รวมกันประมาณ 70,821 ตารางกิโลเมตร




                    ลักษณะธรณีวิทยาและภูมิประเทศ เป็นเขตภูเขาหินใหม่ จึงมีการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาบ่อย




                    หมู่เกาะภาคพื้นทวีป เป็นกลุ่มเกาะขนาดใหญ่อยู่ในเขตภูเขาไฟ
                    เกาะต่ำและเกาะสูง
                              - เกาะต่ำ เป็นเกาะภูเขาไฟขนาดเล็กที่จมน้ำและมีปะการังปกคลุมอยู่
                              - เกาะสูง เกิดจากการปะทุของภูเขาไฟ

                    กลุ่มของหมู่เกาะในโอเชียเนีย มี 3 เกาะ ได้แก่
                    1. ไมโครนีเซีย อยู่บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกทางตอนเหนือของเส้นศูนย์สูตร
                              - ภูมิอากาศและพืชพรรณธรรมชาติ มีฤดูเด่น 2 ฤดู คือ ฤดูฝน จะมีฝนตกแทบทุกวัน และอาจเกิดวาตภัยรุนแรงเกือบทุกปี และฤดูร้อนมีฝนตกน้อยและมีท้องฟ้าปลอดโปร่ง พืชพรรณธรรมชาติส่วนใหญ่เป็นป่าดิบชื้น
                              - ประชากร มีผิวสีน้ำตาล ผมดำหยักศก จะอาศัยอยู่ในชนบท นับถือคริสต์ศาสนา และใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลาง
                              - เศรษฐกิจ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง และเกษตรกร มีพืชและอุตสาหกรรมมากมาย







                     2. เมลานีเซีย ชนพื้นเมืองมีผม ตา และผิวสีดำ จึงขนานนามหมู่เกาะนี้ว่า หมู่เกาะมืด




                               - ภูมิอากาศและพืชพรรณธรรมชาติ ภูมิอากาศร้อนชื้น เป็นป่าดิบชื้น
                               - ประชากร มีสีผิวเข้มส่วนใหญ่นับถือคริสต์ศาสนาและใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสารกัน
                               - เศรษฐกิจ เกิดปัญหาการนำไม้ออกจากป่า เพราะการคมนาคมขนส่งที่ยังไม่ดีนัก

                    3. โปลินีเซีย เป็นพื้นที่รูปสามเหลี่ยม วัฒนธรรมตะวันตกมีอิทธิพลต่อประชากรในดินแดน มีการจัดตั้งองค์กรการปกครอง




                               - ภูมิอากาศและพืชพรรณธรรมชาติ อยู่ในเขตร้อนและได้รับอิทธิพลจากลมค้า มีอุณหภูมิสม่ำเสมอตลอดปี ปริมาณฝนจะเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล เป็นป่าดิบชื้น
                               - ประชากร จะมีผิวสีเข้ม ผมดำ หยักหรือหยิก ซึ่งเป็นเลือดผสมระหว่างพวกผิวเหลืองกับเผ่ามาเลย์กับพวกผิวดำ นับถือคริสต์ศาสนาและใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสาร แต่เฟรนช์ซามัวใช้ภาษาฝรั่งเศส




                               - เศรษฐกิจ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ และทำประมง ประชากรบางส่วนหันมาประกอบอาชีพบริหาร



 

 

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th