ภาษาไทย ม. 1 เรื่อง เสียงและอักษรไทย
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 193.4K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 

 

เสียงและอักษรไทย

 

 

เสียงในภาษาไทย
๑. กำเนิดของเสียงในภาษาไทย
เสียงในภาษา ประกอบด้วย เสียงสระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ ที่เปล่งออกมาโดยใช้อวัยวะในการเกิดเสียง ได้แก่ ปอด หลอดลม กล่องเสียง เส้นเสียง จมูก และอวัยวะต่าง ๆ ในช่องปาก เช่น ลิ้น เพดานปาก ปุ่มเหงือก และฟัน

 

 

กำเนิดของเสียง

 

 


๒. ลักษณะของเสียงในภาษาไทย มี ๓ ชนิด ได้แก่
เสียงสระ คือ เสียงที่ทำให้พยัญชนะออกเสียงได้ เกิดจากกระแสลมเคลื่อนผ่านเส้นเสียงออกทางปากหรือจมูกโดยไม่ถูกสกัดกั้น การใช้ลิ้นและริมฝีปากทำให้เสียงที่เปล่งออกมาต่างกัน แบ่งได้ ๒ ประเภท
     ๑. สระเดี่ยว (สระแท้) คือ สระที่เปล่งออกมาเสียงเดียว แตกต่างกันตามลักษณะการใช้ลิ้นและริมฝีปาก มี ๑๘ เสียง
เสียงสั้น ได้แก่ อะ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ
เสียงยาว ได้แก่ อา อี อือ อู เอ แอ โอ ออ เออ
     ๒. สระประสม (สระเลื่อน) ประกอบด้วยสระเดี่ยว ๒ เสียง ได้แก่ เอีย (อี+อา) เอือ (อือ+อา) อัว (อู+อา)
สระที่มีเสียงพยัญชนะประสม คือ เสียงสระเดี่ยวที่มีเสียงพยัญชนะกลมกลืนออกมาด้วยเมื่อเปล่งเสียง มี ๘ รูป ได้แก่ อำ ใอ ไอ เอา ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ หรือเรียกว่า สระเกิน เพราะเสียงซ้ำกับสระเดี่ยว

 

รูปสระ

สระเดี่ยว

เสียงพยัญชนะ

ตัวอย่าง

–ำ

อะ

ม สะกด

อำ อัม

ไ–

อะ

ม สะกด

ไอ อัย

ใ–

อะ

ม สะกด

ใอ อัย

เ–า

อะ

ม สะกด

เอา

อึ

ร ประสม

รึ

ฤๅ

อือ

ร ประสม

รือ

อึ

ล ประสม

ลึ

ฦๅ

อือ

ล ประสม

ลือ

 

เสียงพยัญชนะ (เสียงแปร) คือ เสียงที่เกิดเมื่อกระแสลมเคลื่อนผ่านเส้นเสียง เส้นเสียงอาจสั่นหรือไม่ก็ได้ กระแสลมจะถูกสกัดกั้นในช่องปากหรือช่องจมูกแล้วเกิดเสียงต่าง ๆ มีทั้งหมด ๒๑ เสียง ได้แก่

 

รูปพยัญชนะ

สัญลักษณ์แทนเสียง

//

ข ฃ ค ฅ ฆ

//

ง หง

//

//

ฉ ช ฌ

//

ซ ศ ษ ส

//

ฎ ด

//

ฏ ต

//

ฐ ฑ ฒ ถ ท ธ

//

ณ น หน

//

//

//

ผ พ ภ

//

ฝ ฟ

//

ม หม

//

ญ หญ ย หย อย

//

ร หร

//

ล หล ฬ

//

ว หว

//

//

ห ฮ

//

 

ลักษณะการเปล่งเสียงพยัญชนะ
๑. พยัญชนะระเบิด เกิดจากลมที่ถูกกักไว้ในช่องปาก แล้วปล่อยออกมาอย่างเร็ว ได้แก่ /ป/ /ต/ /จ/ /ก/ /อ/ /พ/ /ท/ /ช/ /ค/ /บ/ /ด/
๒. พยัญชนะเสียดแทรก เกิดจากลมที่พุ่งออกมาแล้วถูกกักให้แทรกออกทางช่องแคบ ๆ ได้แก่ /ฟ/ /ซ/ /ฮ/
๓. พยัญชนะนาสิก เกิดจากลมที่ถูกดันออกทางช่องจมูกพร้อมกับช่องปาก ได้แก่ /ม/ /น/ /ง/
๔. พยัญชนะข้างลิ้น เกิดจากการยกปลายลิ้นไปแตะปุ่มเหงือก แล้วปล่อยลมผ่านทางข้างลิ้น ได้แก่ /ล/
๕. พยัญชนะกระทบ เกิดจากปลายลิ้นยกแตะปุ่มเหงือกแล้วสะบัดลงอย่างเร็วจนเกิดเสียงรัว ได้แก่ /ร/
๖. พยัญชนะกึ่งสระ เกิดจากลมที่ผ่านอวัยวะเปล่งเสียงเช่นเดียวกับการออกเสียงสระ ได้แก่ /ย/ /ว/


ตำแหน่งของเสียงพยัญชนะ ได้แก่
๑. เสียงพยัญชนะต้น คือ เสียงพยัญชนะอยู่ต้นพยางค์ ทั้ง ๒๑ เสียง เป็นเสียงพยัญชนะต้นได้ทั้งหมด

 

 เสียงพยัญชนะ

                  รูปพยัญชนะ  

 ตัวอย่าง

 /ก/

 กิน

/ค/

ข ฃ ค ฅ ฆ

ไข่ เค็ม ฆ้อง

/ง/

ง หง

งาน หงาย

/จ/

จิก จริง

/ช/

ฉ ช ฌ

ฉัน เชิญ เฌอ

/ซ/

ซ ทร ศ ษ ส สร

โซ่ ทราม ศอก เศร้า (ฤๅ)ษี สูง สร้อย

/ด/

ฎ ฑ ด

ฎีกา (บัณ)ฑุ ดึง

/ต/

ฏ ต

(กุ)ฏิ ตาม

/ท/

ฐ ฑ ฒ ถ ท ธ

ฐาน (มณ)ฑา เฒ่า เทียม ถาม ธง

/น/

ณ น หน

เณร ใน หนา

/บ/

บาน

/ป/

ปืน

/พ/

ผ พ ภ

ผัก พาย ภาพ

/ฟ/

ฝ ฟ

ฝาก ฟาง

/ม/

ม หม

มอง หมู

/ย/

ญ หญ ย หย อย

ญาติ หญิง ยาย หยาม อยู่

/ร/

ร ฤ หร

รัก ฤทธิ์ หรือ

/ล/

ล หล ฬ

ลูก หลาน (กี)ฬา

/ว/

ว หว

วง แหวน

/อ/

อาย

/ฮ/

ห ฮ

โห่ ฮา

 

นอกจากนี้ยังมีเสียงพยัญชนะต้นที่เป็นเสียงพยัญชนะควบกล้ำ คือ พยัญชนะต้น ๒ ตัวออกเสียงพร้อมกัน ประสมสระกับตัวสะกดร่วมกัน พยัญชนะที่ควบกล้ำกับพยัญชนะอื่น ได้แก่ ร ล ว

 

รูปพยัญชนะ

ตัวอย่าง

กร

กรู เกรง

กล

กล้า กลืน

กว

กวัด แกว่ง

ขร คร

ขรัว ขริบ ครู เคร่ง

ขล คล

ขลัง ขลา คลาย คลี่

ขว คว

ขวา ขวิด คว้า ความ

พร

พร้อม พร้า

ผล พล

ผลัด แผล พล่า พลาง

ปร

ปรี่ เปรียบ

ปล

ปลา ปลีก

ตร

ตรา เตรียม

 

ปัจจุบันคำยืมจากภาษาต่างประเทศทำให้ภาษาไทยมีเสียงพยัญชนะควบกล้ำเพิ่มขึ้น ได้แก่ /ทร/ เช่น จันทรา (สันสกฤต) /ฟร/ เช่น ฟรี (อังกฤษ) /ดร/เช่น ดราฟต์ (อังกฤษ) /บล/เช่น บล็อก (อังกฤษ)


๒. เสียงพยัญชนะสะกด (แม่หรือมาตรา) คือ เสียงพยัญชนะท้ายพยางค์ มี ๘ เสียง ดังนี้

 

เสียงพยัญชนะท้าย

แม่หรือมาตรา

ตัวอย่าง

/ก/

กก

จุก สุข นาค เมฆ

/ง/

กง

น้อง แกง ขิง

/ด/

กด

กรด บาท พุธ เศษ อาจ ราช อิฐ ครุฑ รส

/น/

กน

กิน คุณ หาญ พร นิล กาฬ

/บ/

กบ

คาบ รูป เทพ กราฟ ลาภ

/ม/

กม

ถาม ลืม ชิม

/ย/

เกย

กาย โชย เลย

/ว/

เกอว

ขาว เร็ว ฉิว

 

นอกจากนี้คำยืมภาษาต่างประเทศยังทำให้เกิดเสียงพยัญชนะท้ายเพิ่มเติมในภาษาไทยอีก เช่น ก๊าซ ปรู๊ฟ บิล มีเสียงพยัญชนะท้าย /ซ/ /ฟ/ /ล/ ตามลำดับ ส่วนพยางค์หรือคำที่ไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา เช่น กา ตี

 

เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงที่เปล่งมาพร้อมเสียงสระ มีระดับสูง-ต่ำ คำภาษาไทยหากเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์จะทำให้ความหมายเปลี่ยน เช่น ตู ตู่ ตู้ ตู๊ มีความหมายต่างกัน ส่วน ตู๋ ไม่มีความหมาย
ภาษาไทยมีวรรณยุกต์ ๕ เสียง ได้แก่ เสียงสามัญ (เสียงระดับกลาง) เช่น กา นอน เสียงเอก (เสียงระดับต่ำ) เช่น เด็ก จะ เสียงโท (เสียงที่เปลี่ยนจากสูงลงมาต่ำ) เช่น ว่า แยก ได้ เสียงตรี (เสียงระดับสูง) เช่น รู้ ลึก จ๊ะ เสียงจัตวา (เสียงที่เปลี่ยนจากต่ำขึ้นไปสูง) เช่น หนู เห็น
เสียงวรรณยุกต์สามัญ เอก และตรี เป็นวรรณยุกต์คงระดับ ส่วนโทและจัตวาเป็นวรรณยุกต์เปลี่ยนระดับ


ความสำคัญของวรรณยุกต์ คือ ช่วยกำหนดความหมายของคำ คำทุกคำในภาษาไทยจะมีเสียงวรรณยุกต์เสมอ แต่อาจมีรูปวรรณยุกต์ไม่ตรงกับเสียง หรือไม่มีรูปวรรณยุกต์ ขึ้นอยู่กับหลักการผันวรรณยุกต์ตามอักษรสามหมู่หรือไตรยางศ์ คำเป็น คำตาย อักษรคู่ อักษรเดี่ยว อักษรนำ อักษรตาม และอักษรควบ

 

อักษรไทย
๑. ประวัติอักษรไทย
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์อักษรไทยในพ.ศ. ๑๘๒๖ อักษรนี้ดัดแปลงจากอักษรไทยเดิมและอักษรขอมหวัด หลังจากนั้นก็มีการพัฒนารูปแบบอักษรไทยในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไทย) สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปัจจุบันกำหนดรูปแบบโดยราชบัณฑิตยสถาน

๒. ลักษณะของอักษรไทย
อักษร คือ เครื่องหมายที่ใช้เขียนแทนเสียงในภาษา ได้แก่ รูปสระ รูปพยัญชนะ และรูปวรรณยุกต์
รูปสระ เดิมแบ่งเป็น ๒๑ รูป ปัจจุบันราชบัณฑิตยสถานแบ่งเป็น ๓๗ รูป

 

 

ระดับเสียงวรรณยุกต์

 

 การแบ่งรูปสระเดิม แบ่งเป็น ๒๑ รูป

รูป

ชื่อ

   ๑. –ะ

วิสรรชนีย์

   ๒. –ั

ไม้หันอากาศ ไม้ผัด

   ๓. –

ไม้ไต่คู้

   ๔. –า

ลากข้าง

   ๕. –

พินทุ์อิ

    ๖. –

ฝนทอง

   ๗. –

นฤคหิต, หยาดน้ำค้าง

   ๘. "

ฟันหนู

   ๙. –

ตีนเหยียด

๑๐. –

ตีนคู้

๑๑. เ –

ไม้หน้า

๑๒. ใ–

ไม้ม้วน

๑๓. ไ–

ไม้มลาย

๑๔. โ–

ไม้โอ

๑๕. –อ

ตัวออ

๑๖. –ว

ตัววอ

๑๗. –ย

ตัวยอ

๑๘. ฤ

ตัวรึ

๑๙. ฤๅ

ตัวรือ

๒๐. ฦ

ตัวลึ

๒๑. ฦๅ

ตัวลือ

 

การแบ่งรูปสระปัจจุบัน แบ่งเป็น ๓๗ รูป

รูป

ชื่อ

   ๑. –

ไม้ไต่คู้

   ๒. –ะ

สระแอ

   ๓. –ั

ไม้หันอากาศ

   ๔. –า

สระอา

   ๕. –ำ

สระอำ

    ๖. –

สระอิ

   ๗. –

สระอี

   ๘. –

สระอุ

   ๙. –

สระอือ

๑๐. –

สระอือ–ออ

๑๑. –

สระอุ

๑๒. –

สระอู

๑๓. เ –ะ

สระเอะ

๑๔. เ–

สระเอ

๑๕. เ–

สระเอ กับไม้ไต่คู้

๑๖. แ–ะ

สระแอะ

๑๗. แ–

สระแอ

๑๘. แ–

สระแอ กับไม้ไต่คู้

๑๙. โ–ะ

สระโอะ

๒๐. โ–

สระโอ

๒๑. เ–าะ

สระเอาะ

๒๒. –อ

สระออ

๒๓. –อ

สระออ กับไม้ไต่คู้

๒๔. เ–อะ

สระเออะ

๒๕. เ –อ

สระเออ

๒๖. เ –

สระเออ

๒๗. เ –ยะ

สระเอียะ

๒๘. เ –ย

สระเอีย

๒๙. เ –อะ

สระเอือะ

๓๐. เ–าะ

สระเอือ

๓๑. –ัวะ

สระอัว

๓๒. –ัว

สระอัว

๓๓. –ว

ตัววอ

๓๔. ใ–

สระใอไม้ม้วน

๓๕. ไ–

สระไม้มลาย

๓๖. เ–า

สระเอา

๓๗. ไ–ย

สระไอไม้มลาย

 

กับตัวยอ

 

นอกจากนี้ยังมีรูปสระเพิ่มเติม เรียกว่า สระที่มีพยัญชนะประสมหรือสระเกิน คือ สระที่มีเสียงพยัญชนะปนอยู่ ได้แก่ –ำ (เสียง สระอะ และเสียงพยัญชนะท้าย ) ใ- (เสียง สระอะ และเสียงพยัญชนะท้าย ย) ไ- (เสียง สระอะ และเสียงพยัญชนะท้าย ) เ-า (เสียง สระอะ และเสียงพยัญชนะท้าย ) (เสียง สระอิ อึ หรือ เออ และเสียงพยัญชนะต้นหรือพยัญชนะควบกล้ำ ร) ฤๅ (เสียง สระอือ และเสียงพยัญชนะต้น) (เสียง สระอิ อึ หรือ เออ และเสียงพยัญชนะต้น ) ฦๅ (เสียง สระอือ และเสียงพยัญชนะต้น )


การประกอบรูปสระ

รูปสระ

แทนเสียง

วิธีการใช้

 -ะ

แทนเสียงสระอะ

- เมื่อไม่มีตัวสะกด คงรูปหรือลดรูป เช่น มะละกอ ขนุน

- เมื่อมีตัวสะกด เปลี่ยนรูปเป็น รร เช่น พรรค (พัก)

 -ั

แทนเสียงสระอะ

เปลี่ยนรูปเมื่อมีตัวสะกด เช่น กัน จัง

 -ำ

แทนเสียงสระอะ มี สะกด

เขียนคำทั่วไป เช่น กำไล จำปี เขียนคำแผลง เช่น คำนึง จำรัส

 ใ-

แทนเสียงสระอะ มี สะกด

มี ๒๐ คำ ได้แก่ สะใภ้ ใหม่ ใส่ ใจ ใคร่ หลงใหล ใช่ ใย ใน ใส ใบ ใต้ ใช้ ใกล้ ใบ้ ใฝ่ ใหญ่ ใคร ใด ให้

 ไ-

แทนเสียงสระอะ มี สะกด

ใช้เขียนคำทั่วไป เช่น ไป ไอ ไว ไฟ

 ใ-ย

แทนเสียงสระอะ มี สะกด

เช่น ไอยรา ไมยราพ

 เ-า

แทนเสียงสระอะ มี สะกด

เช่น เกา เขา เรา

 -า

แทนเสียงสระอา

มีและไม่มีตัวสะกด เช่น กา กาง

  -ิ

แทนเสียงสระอิ

มีและไม่มีตัวสะกด เช่น ติ ติง

 -ี

แทนเสียงสระอี

มีและไม่มีตัวสะกด เช่น ปี ปีน

 -ึ

แทนเสียงสระอึ

มีและไม่มีตัวสะกด เช่น จึ จึง

 -ื

แทนเสียงสระอือ

มีตัวสะกด เช่น ลืม มืด

 -ือ

แทนเสียงสระอือ

ไม่มีตัวสะกด เช่น  มือ ถือ

 -ุ

แทนเสียงสระอุ

มีและไม่มีตัวสะกด เช่น คุ คุก

 -ู

แทนเสียงสระอู

มีและไม่มีตัวสะกด เช่น คู คูน

 เ-ะ

แทนเสียงสระเอะ

ไม่มีตัวสะกด เช่น เตะ เละ

 เ-็

แทนเสียงสระเอะ

มีตัวสะกดและไม่มีรูปวรรณยุกต์ เช่น เต็ง เข็ม

 เ-

แทนเสียงสระเอะ

- มีตัวสะกดและมีรูปวรรณยุกต์ เช่น เต่ง เข้ม

- มีตัวสะกดและไม่มีรูปวรรณยุกต์ เช่น เพชร เบญจะ

 เ-

แทนเสียงสระเอ

มีและไม่มีตัวสะกด เช่น เก เกม

 แ-ะ

แทนเสียงสระแอะ

ไม่มีตัวสะกด เช่น แกะ แคะ

 แ-็

แทนเสียงสระแอะ

มีตัวสะกดและไม่มีรูปวรรณยุกต์ เช่น แก็ก แข็ง

 แ-

แทนเสียงสระแอะ

มีตัวสะกดและมีรูปวรรณยุกต์ เช่น แข้ง แป้น

 แ-

แทนเสียงสระแอ

มีและไม่มีตัวสะกด เช่น แก แก้ม

 เ-ียะ

แทนเสียงสระเอียะ

ไม่มีตัวสะกด เช่น เผียะ มีตัวสะกด เรียน เขียน

 เ-ีย

แทนเสียงสระเอีย

มีและไม่มีตัวสะกด เช่น เมีย เมียง

 เ-ือะ

แทนเสียงสระเอือะ

ไม่มีตัวสะกด เช่น เผือะ มีตัวสะกดใช้  เช่น เฮือก

 เ-ือ

แทนเสียงสระเอือ

มีและไม่มีตัวสะกด เช่น เสือ เสื่อม

 -ัวะ

แทนเสียงสระอัวะ

ไม่มีตัวสะกด เช่น ผัวะ มีตัวสะกดใช้   ็ว เช่น ส็วก

 -ัว

แทนเสียงสระอัว

ไม่มีตัวสะกด เช่น กลัว บัว มีตัวสะกด ใช้ -ว เช่น กล้วย บวม

 -ว

แทนเสียงสระอัว

มีตัวสะกด เช่น ตวง กลวง

 โ-ะ

แทนเสียงสระโอะ

ไม่มีตัวสะกด เช่น โต๊ะ โปะ มีตัวสะกดจะลดรูปทั้งหมด เช่น ตก

 โ-

แทนเสียงสระโอ

มีและไม่มีตัวสะกด เช่น โถ โถม

 เ-าะ

แทนเสียงสระเอาะ

ไม่มีตัวสะกด เช่น เกาะ เคาะ

 -็อ

แทนเสียงสระเอาะ

- มีตัวสะกดและไม่มีรูปวรรณยุกต์ เช่น ก็อก จ็อก

- มีตัวสะกดและมีรูปวรรณยุกต์ ใช้ -อ เช่น คล่อก

 -็

แทนเสียงสระเอาะ

ประสมพยัญชนะ ก เสียงวรรณยุกต์โท ก็ (เก้าะ)

 -อ

แทนเสียงสระออ

- ไม่มีตัวสะกด เช่น กอ คอ ไม่มีตัวสะกดและลดรูป เช่น บ บ่ บดี

- มีตัวสะกดที่ไม่ใช่ ร เช่น กอง มีตัวสะกด ร จะลดรูป เช่น พร

 เ-อะ

แทนเสียงสระเออะ

ไม่มีตัวสะกด เช่น เคอะ เลอะ

 เ-ิ

แทนเสียงสระเออะ

- มีตัวสะกดที่ไม่ใช่ ย และไม่มีรูปวรรณยุกต์ เช่น เอิก

- มีตัวสะกดที่ไม่ใช่ ย และมีรูปวรรณยุกต์ เช่น เลิ่ก

- มีตัวสะกด ย ใช้  เช่น เหว็ย

 เ-อ

แทนเสียงสระเออ

- ไม่มีตัวสะกด เช่น เกลอ เธอ

- มีตัวสะกด ย ใช้ เ-ย เช่น เกย เขย

- มีตัวสะกด บางคำใช้ เ-อ เช่น เทอญ เทอญ

 เ-ิ

แทนเสียงสระเออ

มีตัวสะกดที่ไม่ใช่ ย เช่น เกิด เดิน

 

รูปพยัญชนะ

พยัญชนะไทยมี ๔๔ รูป ๒๑ เสียง บางเสียงมีมากกว่า ๑ รูป และบางรูปมีมากกว่า ๑ เสียง


หน้าที่ของพยัญชนะ
๑. เป็นพยัญชนะต้น คือ เสียงพยัญชนะที่ต้นพยางค์ พยัญชนะทุกตัวเป็นพยัญชนะต้นเดี่ยวได้ ยกเว้น ฃ ฅ นอกจากนี้มีพยัญชนะต้นที่เกิดจากพยัญชนะ ๒ ตัว ได้แก่ อักษรควบ และ อักษรนำ–อักษรตาม

อักษรควบ คือ พยัญชนะ ๒ ตัวประสมสระและตัวสะกดเดียวกัน ได้แก่
     ๑. อักษรควบแท้ คือ พยัญชนะต้น ๒ ตัวอ่านออกเสียงควบกัน ตัวหลังเป็น ร ล หรือ ว เช่น ครู ปลี
     ๒. อักษรควบไม่แท้ คือ พยัญชนะต้น ๒ ตัว ที่ตัวหลังเป็น ร สามารถอ่านได้ ๒ ลักษณะคือ ไม่ออกเสียง ร เช่น จริง (จิง) สรง (สง) และออกเสียง ทร เป็น ซ เช่น ทราย (ซาย) ทรุด (ซุด)

อักษรนำ–อักษรตาม คือ พยัญชนะ ๒ ตัวที่ประสมสระและตัวสะกดเดียวกัน ได้แก่
     ๑. นำด้วยอักษรสูงหรืออักษรกลาง พยางค์หน้าออกเสียง อะ กึ่งเสียง พยางค์หลังออกเสียง ห นำ เช่น ขนม อ่านว่า ขะ-หฺนม
     ๒. อ นำ ย มี ๔ คำ ได้แก่ อย่า อยู่ อย่าง อยาก อ่านว่า หย่า หยู่ หย่าง หยาก
     ๓. ห นำ อักษรเดี่ยว เช่น หงาย หนา หวาย หญ้า

๒. เป็นพยัญชนะท้าย ได้แก่
     ๑. พยัญชนะสะกด มี ๘ มาตรา มีทั้งพยัญชนะเดี่ยว ควบกล้ำ และพยัญชนะที่มีสระกำกับ
          ๑) แม่กก ได้แก่ ก กร ข ค คร ฆ เช่น บอก จักร นาค สมัคร เมฆ
          ๒) แม่กง ได้แก่ ง เช่น หาง ขัง
          ๓) แม่กด ได้แก่ ด จ ช ชร ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ฒิ ต ตร ตุ ติ ถ ท ทร ธ ธิ ศ ศร ษ ส เช่น กิจ คช เพชร
          ๔) แม่กน ได้แก่ น ญ ณ ร ล ฬ เช่น คน หาญ คุณ กาฬ
          ๕) แม่กบ ได้แก่ บ ป ปร พ ฟ ภ เช่น คบ บาป กอปร
          ๖) แม่กม ได้แก่ ม เช่น กลม คลุม
          ๗) แม่เกย ได้แก่ ย เช่น กาย เขย
          ๘) แม่เกอว ได้แก่ ว เช่น เขียว เหว


     ๒. ตัวการันต์ คือ พยัญชนะท้ายที่ไม่ออกเสียงเพราะมีเครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับ มีทั้งพยัญชนะเดี่ยว เช่น สงฆ์ บัลลังก์ พยัญชนะหลายตัว เช่น จันทร์ และพยัญชนะมีสระกำกับ เช่น พันธุ์ กษัตริย์
     ๓. พยัญชนะที่ไม่ออกเสียง มักเป็นคำยืมจากภาษาอื่น มีทั้งอยู่หน้าตัวสะกด เช่น เกียรติ พราหมณ์ (ร และ ห ไม่ออกเสียง) และอยู่หลังตัวสะกด เช่น จักร พุทธ (ร และ ธ ไม่ออกเสียง)


อักษรสามหมู่หรือไตรยางศ์

อักษรสามหมู่หรือไตรยางศ์ คือ การแบ่งพยัญชนะเป็น ๓ กลุ่ม เพื่อเป็นระบบการผันวรรณยุกต์ ได้แก่ อักษรกลาง คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ อักษรสูง คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห และอักษรต่ำ ประกอบด้วยอักษรต่ำคู่ (อักษรต่ำที่เสียงเหมือนอักษรสูง) ได้แก่ ค ฅ ฆ ช ฌ ซ ฑ ฒ ท ธ พ ฟ ภ ฮ อักษรต่ำเดี่ยว (อักษรต่ำที่เสียงไม่เหมือนอักษรสูง) ได้แก่ ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ

 

คำเป็น คำตาย

คำเป็น

คำตาย

๑. ประสมสระเสียงยาวในแม่ ก กา หรือประสมสระอำ ใอ ไอ เอา ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ

๑. ประสมสระเสียงสั้นในแม่ ก กา ยกเว้นสระอำ ใอ ไอ เอา ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ

๒. มีตัวสะกดในแม่กง กน กม เกย เกอว

๒. มีตัวสะกดในแม่กก กด กบ

 

รูปวรรณยุกต์ มี ๔ รูป ได้แก่    -่     -้     -๊     -๋
การผันวรรณยุกต์ของอักษรสามหมู่
การผันอักษรกลาง คำเป็นผันได้ ๕ เสียง พื้นเสียงคือสามัญ คำตายผันได้ ๔ เสียง พื้นเสียงคือเอก
การผันอักษรสูง คำเป็นผันได้ ๓ เสียง พื้นเสียงคือจัตวา คำตายผันได้ ๒ เสียง พื้นเสียงคือเอก
การผันอักษรต่ำ คำเป็นผันได้ ๓ เสียง พื้นเสียงคือสามัญ คำตายสระเสียงสั้นผันได้ ๓ เสียง พื้นเสียงคือตรี และคำตายสระเสียงยาวผันได้ ๓ เสียง พื้นเสียงคือโท


ตารางการผันวรรณยุกต์

ลักษณะพยางค์

สามัญ

เอก

โท

ตรี

จัตวา

อักษรกลาง

คำเป็น

กา

ก่า

ก้า

ก๊า

ก๋า

คำตาย

-

กะ

ก้ะ

ก๊ะ

ก๋ะ

อักษรสูง

คำเป็น

-

ข่า

ข้า

-

ขา

คำตาย

-

ขะ

ข้ะ

-

-

อักษรต่ำ

คำเป็น

คา

-

ค่า

ค้า

-

คำตายสระเสียงสั้น

-

-

ค่ะ

คะ

ค๋ะ

คำตายสระเสียงยาว

-

-

คาด

ค้าด

ค๋าด

 

การผันอักษรคู่และอักษรเดี่ยว
     – อักษรคู่ คำเป็น จะผันได้ทั้ง ๕ เสียงเมื่อผันร่วมกับอักษรสูงที่เป็นเสียงพยัญชนะเดียวกัน
     – อักษรคู่ คำตาย เมื่อผันร่วมกับอักษรสูงที่เป็นเสียงพยัญชนะเดียวกัน จะผันได้ ๔ เสียง (ไม่มีสามัญ)

 

ลักษณะพยางค์

สามัญ

เอก

โท

ตรี

จัตวา

อักษรคู่               คำเป็น

คา

ข่า

ข้า/ค่า

ค้า

ขา

คน

ข่น

ข้น/ข้น

ค้น

ขน

อักษรคู่           

คำตาย สระเสียงยาว

สาด

ซาด/ส้าด

ซาด

ซ๋าด

คำตาย สระเสียงสั้น

สึก

ซึ่ก/สึ้ก

ซึก

ซึ๋ก

 

     – อักษรเดี่ยว เมื่อนำคำที่มี ห นำมาช่วยผัน และใช้เสียงวรรณยุกต์ตาม ห จะได้ดังนี้

 

ลักษณะพยางค์

สามัญ

เอก

โท

ตรี

จัตวา

อักษรเดี่ยว

คำเป็น

นา

หน่า

น่า/หน้า

น้า

หนา

คำตายสระเสียงสั้น

-

หนะ

น่ะ/หน้ะ

นะ

น๋ะ

คำตายสระเสียงยาว

-

หนาด

นาด/หน้าด

น้าด

น๋าด

 

     – อักษรนำ มีวิธีออกเสียงลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
อักษรกลางเป็นอักษรตัวตาม พยางค์หลังจะผันวรรณยุกต์ตามปกติ เช่น เผอิญ (ผะ-เอิน)
อักษรคู่เป็นอักษรตัวตาม พยางค์หลังจะผันวรรณยุกต์ตามปกติ เช่น ไผท (ผะ-ไท)
อักษรเดี่ยวเป็นอักษรตัวตาม พยางค์หลังของบางคำจะผันเสียงวรรณยุกต์ตามปกติ เช่น เจริญ (จะ-เริน) แต่พยางค์หลังของบางคำจะผันเสียงวรรณยุกต์เหมือนคำที่มี ห นำ เช่น ขนม (ขะ-หนม)
คำบางคำออกเสียงอย่างอักษรนำ เช่น ปริศนา (ปฺริด-สะ-หฺนา)

 

ลักษณะพยางค์

สามัญ

เอก

โท

ตรี

จัตวา

อักษรเดี่ยว

คำตายสระเสียงสั้น

โหนด

หยาด

โนด/โหน้ด

ยาด/หย้าด

โน้ด

ย้าด

โน๋ด

ย๋าด

คำตายสระเสียงยาว

หนะ

หยุด

น่ะ/หน้ะ

ยุ่ด/หยุ้ด

นะ

ยุด

น๋ะ

ยุ๋ด

 

พยางค์และคำในภาษาไทย
เสียงสระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ ที่เปล่งออกมาพร้อมกันแต่ละครั้งจะเกิด การประสมเสียงในภาษา กลายเป็นพยางค์และคำ
๑. พยางค์ คือ เสียงที่เปล่งออกมา อาจมีหรือไม่มีความหมาย ประกอบด้วยเสียงพยัญชนะต้น เสียงสระ เสียงวรรณยุกต์ และอาจมีเสียงพยัญชนะท้ายด้วย
๒. คำ คือ เสียงที่เปล่งออกมาแล้วมีความหมาย คำพยางค์เดียว เช่น พ่อ แม่ คำมากพยางค์ เช่น บิดา มารดา


การประสมอักษร
การประสมอักษร คือ การนำสระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์มาประกอบกันให้เป็นพยางค์
๑. คำพยางค์เดียว การประสมอักษรมี ๔ วิธี ได้แก่
     ๑. การประสม ๓ ส่วน ประกอบด้วยพยัญชนะต้น สระ และวรรณยุกต์ (อาจไม่มีรูปวรรณยุกต์) เช่น น้ำ เป็นการประสม พยัญชนะต้น น, สระ และวรรณยุกต์ (รูปโท เสียงตรี)
     ๒. การประสม ๔ ส่วน ประกอบด้วยพยัญชนะต้น สระ พยัญชนะท้ายหรือตัวสะกด และวรรณยุกต์ เช่น วัด เป็นการประสม พยัญชนะต้น ว, สระ (เปลี่ยนรูป ), พยัญชนะท้าย ด และวรรณยุกต์ (ไม่มีรูป เสียงตรี)
     ๓. การประสม ๔ ส่วนพิเศษ ประกอบด้วยพยัญชนะต้น สระ ตัวการันต์ และวรรณยุกต์ เช่น เล่ห์ เป็นการประสม พยัญชนะต้น ล, สระ เ-, ตัวการันต์ ห์ และวรรณยุกต์ (รูปเอก เสียงโท)
     ๔. การประสม ๕ ส่วน ประกอบด้วยพยัญชนะต้น สระ พยัญชนะท้ายหรือตัวสะกด ตัวการันต์ และวรรณยุกต์ เช่น รักษ์ เป็นการประสม พยัญชนะต้น ร, สระ (เปลี่ยนรูป ), พยัญชนะท้าย ก, ตัวการันต์ ษ์ และวรรณยุกต์ (ไม่มีรูป เสียงตรี)
๒. คำมากพยางค์ ต้องแยกประสมอักษรทีละพยางค์ เช่น สนุก ต้องแยกเป็น ๒ พยางค์ คือ สะ กับ หนุก สะ เป็นการประสม ๓ ส่วน คือ พยัญชนะต้น ส, สระ -ะ และวรรณยุกต์ (ไม่มีรูป เสียงเอก) หนุก เป็นการประสมอักษร ๔ ส่วน คือ พยัญชนะต้น หน, สระ , พยัญชนะท้าย ก และวรรณยุกต์ (ไม่มีรูป เสียงตรี)


หมายเหตุ การประสมคำที่มีสระเกิน หากดูที่รูปสระจะเป็นการประสมอักษร ๓ ส่วน แต่หากดูที่เสียงสระจะเป็นการประสม ๔ ส่วน เช่น ประกอบด้วยเสียงสระ –ะ และเสียงพยัญชนะท้าย ม

 

สรุป
เสียง เป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้สื่อสาร เกิดจากการประสมเสียงสระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ การเรียนรู้เรื่องเสียงในภาษาไทยจะทำให้อ่านและเขียนเพื่อสื่อสารกับผู้อื่นได้ดียิ่งขึ้น ภาษาไทยมีการใช้อักษรแทนเสียง ๓ ชนิด ได้แก่ สระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์

 

คำสำคัญ  เสียง  อวัยวะในการเกิดเสียง  ไตรยางศ์  การประสมอักษร 

 

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th