ภาษาไทย ป. 4 เรื่อง การใช้สำนวนไทย และการแต่งคำประพันธ์
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 86.6K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 

 

การใช้สำนวนไทยและการแต่งคำประพันธ์

 

 

๑. สำนวนไทย

คือ คำกล่าวสั้น ๆ ที่มีความหมายเชิงเปรียบเทียบ แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ
     ๑.๑ สำนวน
สำนวน คือ ถ้อยคำที่มีความหมายในเชิงเปรียบเทียบหรือมีความหมายแฝง เช่น
- กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้
- เงียบเหมือนเป่าสาก
     ๑.๒ สุภาษิต
สุภาษิต คือ ถ้อยคำที่เป็นคติสอนใจ ใช้สั่งสอนหรือแนะนำ เช่น
- ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
- คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ
     ๑.๓ คำพังเพย
คำพังเพย คือ ถ้อยคำที่ใช้กล่าวเปรียบเทียบมักเป็นคำคล้องจอง เช่น
- ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด
- ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ 

 

สำนวนไทย

  

สำนวนไทย

 

๒. คำขวัญ

คำขวัญ คือ ถ้อยคำที่เป็นข้อคิดสอนใจ หรือเป็นแนวทางปฏิบัติ มักใช้คำคล้องจองเพื่อให้จำง่าย ตัวอย่างคำขวัญ เช่น
- สามัคคี มีวินัย ใฝ่คุณธรรม
- ทิ้งขยะไม่เป็นที่ หมดราศีไปทั้งเมือง 

 

คำขวัญ

 

๓. การแต่งบทร้อยกรอง

บทร้อยกรอง คือ ถ้อยคำที่แต่งขึ้นตามลักษณะบังคับ มีการจำกัดจำนวนคำ มีสัมผัสคล้องจอง 

 

การแต่งบทร้อยกรอง  

การแต่งบทร้อยกรอง

  

     ๓.๑ คำสัมผัส
คำสัมผัส คือ คำที่มีเสียงรับกัน แบ่งเป็น ๒ ชนิด ได้แก่
          ๑) สัมผัสสระ คือ คำที่มีเสียงสระและเสียงตัวสะกดเหมือนกัน แต่ใช้พยัญชนะต้นต่างกัน เช่น ชาย–ลาย มือ–คือ ดินฟ้า–อากาศ ต้นไม้–ให้คุณ
          ๒) สัมผัสพยัญชนะ คือ คำที่มีเสียงพยัญชนะต้นเหมือนกัน แต่เสียงสระและเสียงตัวสะกดต่างกัน เช่น วอน–ว่า สนุก–สนาน นก–น้อย อย่าง–อยาก
นอกจากนี้ยังมีสัมผัสอีก ๒ ชนิด ที่แบ่งตามตำแหน่งการวางคำในบทร้อยกรอง ทั้งเพื่อให้เป็นไปตามผังบังคับของบทร้อยกรองแต่ละชนิด ได้แก่
          ๑. สัมผัสใน คือ คำสัมผัสที่อยู่ในวรรคเดียวกัน จะมีหรือไม่มีก็ได้ แต่นิยมใส่เพื่อให้บทร้อยกรองมีความไพเราะ

          ๒. สัมผัสนอก คือ สัมผัสสระระหว่างวรรคหนึ่งกับอีกวรรคหนึ่ง เป็นสัมผัสบังคับที่แตกต่างกันไปตามลักษณะของบทร้อยกรองแต่ละชนิด 

     ๓.๒ กลอนสี่
กลอนสี่ คือ คำประพันธ์ประเภทกลอน ๑ บทมี ๒ บาท แต่ละบาทมี ๒ วรรค แต่ละวรรคมี ๔ คำ 

 

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th