ภาษาไทย ป. 2 เรื่อง คำคล้องจอง
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 463.5K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 

คำคล้องจอง

 

 

คำคล้องจอง
คำคล้องจอง หรือคำสัมผัส คือ คำที่มีเสียงสระและเสียงตัวสะกดเหมือนกัน เช่น

 

คำคล้องจองที่มีเสียงสระเดียวกัน

คำคล้องจองที่มีเสียงตัวสะกดเดียวกัน

 คำคล้องจอง  คำคล้องจอง

 

ลักษณะของคำคล้องจอง
๑) คำคล้องจอง ๑ คำพยางค์
คำคล้องจอง ๑ คำพยางค์ คือ คำพยางค์เดียวที่มีเสียงคล้องจองกัน เช่น

 

 

สวย

 

รวย

ด้วย

กล้วย

บ๊วย

หวย

ช่วย


๒) คำคล้องจอง ๒ คำพยางค์
คำคล้องจอง ๒ คำพยางค์ คือ คำ ๒ พยางค์ที่พยางค์ท้ายของคำแรกคล้องจองกับพยางค์ใดก็ได้ของคำหลัง เช่น

 

 คำคล้องจอง ๒ คำพยางค์

 

๓) คำคล้องจอง ๓ คำพยางค์
คำคล้องจอง ๓ คำพยางค์ คือ คำ ๓ พยางค์ที่พยางค์ท้ายของคำแรกคล้องจองกับพยางค์แรกหรือพยางค์สองของคำหลัง เช่น


คำคล้องจอง ๓ คำพยางค์

  
๔) คำคล้องจอง ๔ คำพยางค์
คำคล้องจอง ๔ คำพยางค์ คือ คำ ๔ พยางค์ที่พยางค์ท้ายของคำแรกคล้องจองกับพยางค์ใดก็ได้ของคำหลัง เช่น

 

คำคล้องจอง ๔ คำพยางค์

 

บทร้อยกรองง่าย ๆ
บทร้อยกรองง่าย ๆ เช่น กลอนสี่ สามารถทำได้โดยนำคำคล้องจอง ๔ คำพยางค์มาเรียงต่อกันให้มีเสียงสัมผัส ดังตัวอย่างต่อไปนี้

 

บทร้อยกรอง

  

คำคล้องจองยังสามารถนำมาสร้างเป็นคำขวัญได้ เช่น


บ้านเมืองจะสะอาด ถ้าคนในชาติช่วยรักษา
 


สรุป
การเรียนเรื่องคำคล้องจองเป็นพื้นฐานนำไปสู่การแต่งร้อยกรองและคำขวัญ

 

คำสำคัญ ๑. คำคล้องจอง ๒. ลักษณะคำคล้องจอง ๓. บทร้องกรอง ๔. คำขวัญ 

 

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th