บทเรียนออนไลน์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง การตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทย
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 18.8K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้


การตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทย

 

1. ถิ่นเดิมของชนชาติไทย
หลวงวิจิตรวาทการ     1.1 แนวคิดเกี่ยวกับถิ่นเดิมของชนชาติไทย
          1. แนวคิดถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่ในบริเวณตอนกลางของจีน
          2. แนวคิดชนชาติไทยเป็นเชื้อสายมองโกล มีถิ่นเดิมอยู่แถบเทือกเขาอัลไต
          3. แนวคิดถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่ในบริเวณตอนใต้ของจีน
          4. แนวคิดถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่ในคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะอินโดนีเซีย
          5. แนวคิดถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่ในประเทศไทยปัจจุบัน
     1.2 แนวคิดว่าด้วยอาณาจักรน่านเจ้าเป็นอาณาจักรของคนไทย
แนวคิดนี้เสนอว่า เดิมชนชาติไทยมีถิ่นฐานอยู่ในดินแดนของประเทศจีนได้ถูกจีนรุกรานจึงตั้งอาณาจักรน่านเจ้าในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 จากนั้นพวกมองโกลเข้ายึดครองอาณาจักรน่านเจ้าในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ชนชาติไทยจึงต้องอพยพมาตั้งอาณาจักรสุโขทัยในดินแดนไทยในปัจจุบัน
ในปัจจุบัน นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า อาณาจักรน่านเจ้าไม่ใช่อาณาจักรของชนชาติไทย เพียงแต่อาจมีชนชาติไทยอาศัยอยู่ด้วยเพียงส่วนน้อย

2. การตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทย
     2.1 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในดินแดนไทย
          2.1.1 ปัจจัยทางกายภาพ ปัจจัยทางกายภาพ หมายถึง ลักษณะและการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติที่แวดล้อมมนุษย์ ได้แก่
          1. ภูมิอากาศ หมายถึง ลักษณะอากาศประจำของภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง
          2. ลักษณะภูมิประเทศ หมายถึง ลักษณะความสูงต่ำของพื้นที่ เช่น ที่ราบ ภูเขา ทะเล เป็นต้น

 

การตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทย

 

          3. น้ำและดิน มนุษย์ต้องใช้น้ำและดินในการอุปโภคบริโภค
          4. ป่าไม้และแร่ ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตและทางเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี
          2.1.2 ปัจจัยทางสังคม ปัจจัยทางสังคม หมายถึง เชื้อชาติ ความคิด ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี กล่าวคือ เมื่อมนุษย์มีการรวมกลุ่มกันก็ย่อมมีสถานะทางสังคมที่แตกต่างกันไป ทำให้เกิดระบบการปกครอง จารีตประเพณีต่าง ๆ ที่มนุษย์ในสังคมต้องปฏิบัติตาม

3. รัฐโบราณในดินแดนไทย
ชาวตะวันตกกับประเทศจีนติดต่อกันเพราะการค้าขาย เช่น ถ้วยชามและแพรไหม ซึ่งแต่เดิมใช้การเดินทางทางบก ต่อมาจึงเปลี่ยนมาใช้เส้นทางทางทะเลแทน ทำให้คาบสมุทรภาคใต้มีความสำคัญในฐานะเมืองท่าของพ่อค้าต่างชาติ มีการพัฒนาเทคนิคต่อเรือ และชาวเรือรู้จักทิศทางลมมรสุมดี
รัฐโบราณ ในดินแดนประเทศไทยประมาณพุทธศตวรรษที่ 7 มีรัฐสำคัญ ได้แก่
     1. แคว้นตามพรลิงค์ หรือแคว้นนครศรีธรรมราช (ประมาณพุทธศตวรรษที่ 7-19)


พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

 

     2. อาณาจักรทวารวดี (ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 -16)


เหรียญเงินสมัยทวารวดี

 

     3. อาณาจักรศรีวิชัย (ประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 -18)


พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

 

     4. แคว้นละโว้หรือลพบุรี (ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12–18)


พระปรางสามยอด จังหวัดลพบุรี

 

     5. แคว้นหริภุญชัย (ประมาณพุทธศตวรรษที่ 13–19)


อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี


คำสำคัญ
ถิ่นเดิมของชนชาติไทย
การตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทย
ปัจจัยทางกายภาพ
ปัจจัยทางสังคม
รัฐโบราณ

 

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th