บทเรียนออนไลน์ วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง สำรับครัวไทย
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 13.1K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้



อาหารสำรับสำหรับครอบครัว
ลักษณะอาหารสำรับคาว
1. แกง คือ อาหารที่มีลักษณะเป็นน้ำ
2. ผัด คือ อาหารที่ทำให้สุกโดยใช้น้ำมันเล็กน้อยหรือกะทิ โดยใส่อาหารลงกระทะที่มีน้ำมัน
3. ยำ คือ อาหารที่ประกอบด้วยผักและเนื้อสัตว์หลายชนิดคลุกเคล้ากับน้ำยำที่มีรสเปรี้ยว เค็ม
4. เครื่องจิ้ม คือ โดยนำเครื่องปรุงต่าง ๆ มาโขลกหรือคลุกรวมกันแล้วปรุงรส เช่น น้ำพริกกะปิ
5. เครื่องเคียง คืออาหารที่นำมารับประทานประกอบกับอาหารบางชนิดเพื่อเพิ่มรสชาติ 



การจัดอาหารสำรับสำหรับครอบครัว ควรจัดเป็นมื้อตามช่วงเวลาในการรับประทานอาหารตามปกติ 3 มื้อ ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ซึ่งควรพิจารณาดังต่อไปนี้
1. จำนวนสมาชิกในครอบครัว
2. คุณค่าทางโภชนาการ
3. งบประมาณหรือค่าใช้จ่าย
4. ความสะดวกรวดเร็ว
5. กำหนดรายการอาหารล่วงหน้า

การกำหนดรายการอาหารสำรับ เป็นการวางแผนเพื่อกำหนดรายการอาหารไว้ล่วงหน้า เพื่อสะดวกในการจัดเตรียมวัตถุดิบในการประกอบอาหารและประหยัดเวลา
การเตรียมวัตถุดิบก่อนประกอบอาหาร ดังวิธีการต่อไปนี้
1. การเตรียมอาหารประเภทเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อปลา ควรล้างให้สะอาด
2. การเตรียมอาหารประเภทผัก ผักสดที่ซื้อมาแล้วยังไม่ได้ใช้ประกอบอาหารควรเก็บในที่เย็น พรมน้ำ สำหรับผักที่รับประทานได้ทั้งเปลือก ควรล้างให้สะอาดก่อนนำไปประกอบอาหาร
3. การเตรียมอาหารประเภทเครื่องปรุง เช่น กระเทียม หอม กะปิ ควรเตรียมให้พร้อมโดยชั่งหรือตวงด้วยถ้วยตวงหรือช้อนตวงตามปริมาณที่ต้องการ
ลักษณะและคุณค่าของอาหาร
1. ความสะอาด ความสดสะอาดหรือมีสารพิษเจือปนหรือไม่
2. มีสารอาหารครบถ้วน อาหารที่มีสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่
3. สีสันสวยงาม การจัดอาหารควรจัดให้มีสีสันสวยงาม สะอาด มีคุณค่าทางโภชนาการ
การจัดอาหารสำรับคาวในโอกาสต่าง ๆ ได้แก่
1. การจัดเลี้ยงแบบขันโตก เป็นการเลี้ยงอาหารร่วมกันหลาย ๆ คน โดยใช้ขันโตกเป็นภาชนะ


 

2. การจัดอาหารสำหรับพระสงฆ์ เป็นการจัดอาหารสำหรับพระสงฆ์ในงานทำบุญต่าง ๆ
3. การจัดเลี้ยงอาหารสำหรับแขก ได้แก่ การจัดแบบนั่งโต๊ะ
การจัดอาหารสำรับหวาน
การจัดขนมไทย มีวิธีการดังต่อไปนี้
1. ขนมที่ห่อด้วยใบตอง ควรแยกชนิดของขนม แล้วจัดเรียงใส่จานหรือถาดให้เป็นระเบียบ
2. ขนมไทยที่มีน้ำ เช่น บัวลอย ควรจัดใส่ถ้วยที่มีลวดลายสวยงามหรือถ้วยแก้วใส มีจานรอง
3. ขนมไทยที่ใช้จัดเลี้ยงแขกจำนวนมาก ควรจัดวางเป็นกลุ่มในถาดกลมหรือถาดสี่เหลี่ยม
การจัดอาหารสำรับหวานในโอกาสต่าง ๆ เป็นการจัดขนมไทยในงานต่าง ๆ ดังนี้
1. งานมงคลสมรส เช่น ขนมทองหยิบ ขนมทองเอก
2. งานทำบุญเลี้ยงพระ นิยมเลี้ยงขนมตระกูลทอง เช่น ขนมทองหยิบ ขนมทองหยอด


 

3. งานเทศกาลสงกรานต์ นิยมใช้ขนมข้าวเหนียวแดง ข้าวเหนียวแก้ว และกะละแม
4. งานเทศกาลออกพรรษา นิยมใช้ขนมข้าวต้มมัดและข้าวต้มลูกโยน
5. งานเทศกาลสารทไทยหรือสารทเดือนสิบ นิยมใช้ขนมกระยาสารท ขนมลา ขนมกง
6. พิธีบวงสรวงศาลพระภูมิ นิยมใช้ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว ขนมเล็บมือนาง และขนมแกงบวด


แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th