ภาษาญี่ปุ่น ม. ปลาย คำกริยาในภาษาญี่ปุ่น
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 212.2K views



คำกริยาในภาษาญี่ปุ่น
     動詞(doushi) คำกริยาในภาษาญี่ปุ่น เป็นคำที่ใช้บอกการกระทำหรืออาการในประโยค โดยพื้นฐานจะอยู่ในรูป ~ますซึ่งเป็นรูปสุภาพ วางอยู่ในตำแหน่งท้ายของประโยค ดังนี้

     โครงสร้างประโยค
           ประธาน + คำช่วย + กรรม + คำช่วย +กริยา

เช่น      私は本を読みます。
            (watashi wa hon wo yomimasu)
             (ฉันอ่านหนังสือ) 

           私 (watashi) แปลว่า ฉัน   ทำหน้าที่เป็น  ประธานของประโยค
           は  (wa) ทำหน้าที่เป็น  คำช่วยบ่งบอกประธาน
       (は เป็นพยัญชนะออกเสียง ha แต่เมื่อทำหน้าที่เป็นคำช่วยจะออกเสียง wa)
           本  (hon) แปลว่า หนังสือ  ทำหน้าที่เป็น กรรมของประโยค
           を  (wo) ทำหน้าที่เป็น คำช่วยบ่งบอกกรรม
           読みます  (yomimasu) แปลว่า อ่าน ทำหน้าที่เป็นคำกริยาของประโยค
 

 

     ในภาษาญี่ปุ่นจะแบ่งคำกริยาออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
     คำกริยากลุ่มที่ 1 คือ คำกริยาที่ตัวอักษรที่อยู่หน้า ~ます เป็นเสียงในวรรค い (い、き、ぎ、し、ち、び、み、り) เช่น
          会ます (aimasu)             แปลว่า  พบเจอ
          行ます (ikimasu)            แปลว่า   ไป
          飲ます (nomimasu)        แปลว่า   ดื่ม
          呼ます (yobimasu)          แปลว่า  เรียก
          話ます (hanashimasu)     แปลว่า  พูด
 

     คำกริยากลุ่มที่ 2 คำกริยากลุ่มนี้ส่วนใหญ่ตัวอักษรที่อยู่หน้า ~ます เป็นเสียงในวรรค え (え、け、げ、せ、て、べ、め、れ) เช่น
          食ます (tabemasu)         แปลว่า  กิน
          考ます (kangaemasu)     แปลว่า  คิด ทบทวน
          忘ます (wasuremasu)     แปลว่า   ลืม
         ます (nemasu)                แปลว่า   นอน
         ます (oshiemasu)         แปลว่า   สอน บอก แนะนำ

 

     ข้อควรระวัง : คำกริยาบางคำ หน้า ~ますเป็นอักษรเสียง い แต่จัดเป็นคำกิริยาในกลุ่มที่ 2 ต้องจำให้ดี
 

 見ます (mimasu)      ดู   

 煮ます (nimasu)         ต้ม

 似ます (nimasu)       เหมือน

 ます (dekimasu)  สามารถ

 ます (sugimasu) เกิน, เลย  

 います (imasu)               อยู่,มี

  ます (karimasu) ขอยืม

 生ます (ikimasu)        มีชีวิตอยู่

  ます (abimasu)  อาบน้ำ

 ます (orimasu)     ลง (รถ)

 ます (okimasu)  ตื่นนอน

 着ます (kimasu)        สวม, ใส่

 ます (ochimasu)   ตก, หล่น  

   信じます(shinjimasu) เชื่อ   


 

 

     คำกริยากลุ่มที่ 3 : มี 2 คำ
          来ます (kimasu)     แปลว่า  มา
          します (shimasu)   แปลว่า   ทำ

     และเมื่อนำคำกริยาในกลุ่มที่ 3 ไปรวมกับคำนาม จะได้เป็นอาการนาม เช่น
          散歩+します = 散歩します (sanposhimasu)  แปลว่า   เดินเล่น
          結婚+します = 結婚します (kekkonshimasu) แปลว่า  แต่งงาน
 

 

     ในภาษาญี่ปุ่นมีสำนวนและรูปประโยคมากมาย การนำคำกริยาไปใช้จึงต้องมีการผันคำเป็นรูปต่าง ๆ เสียก่อน โดยการผันคำกริยามีหลักการผันตามกลุ่มของคำกริยานั้น ๆ  การผันคำกริยาในภาษาญี่ปุ่นมี 13 รูปแบบ คือ
 

     1.การผันคำกริยารูปพจนานุกรม

 

     2.การผันคำกริยารูป ~て

 

     3.การผันคำกริยารูป ~た

 

     4.การผันคำกริยารูป ~ない

 

     5.การผันคำกริยารูปสามารถ

 

     6.การผันคำกริยารูปถูกกระทำ

 

     7.การผันคำกริยารูปให้กระทำ

 

     8.การผันคำกริยารูปถูกให้กระทำ

 

     9.การผันคำกริยารูปตั้งใจ, ชักชวนแบบกันเอง

 

     10.การผันคำกริยารูปคำสั่ง

 

     11.การผันคำกริยารูปเงื่อนไข

 

     12.การผันคำกริยารูปยกย่องและถ่อมตัว

 

     13.การผันคำกริยารูป ~たい