กำเนิดฤดูกาล ดาราศาสตร์และความเชื่อ
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 22.3K views



 อายัน - วิษุวัต กับกำเนิดฤดูกาล

 

ความเชื่อเดิมๆ
ฤดูร้อนหรือฤดูหนาวถูกกำหนดจากระยะห่างของโลกกับดวงอาทิตย์ เมื่อโลกเคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ก็จะเกิดฤดูร้อน แต่เมื่อโลกเคลื่อนออกไกลจากดวงอาทิตย์ก็จะเกิดฤดูหนาว เป็นความเชื่อแต่ดั้งเดิมและได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่เป็นความจริง แสดงได้โดยภาพดังนี้

 

ระยะห่างมากและน้อยที่สุดของโลกกับดวงอาทิตย์


เนื่องจากการโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกไม่ได้เป็นวงกลมสมมาตร และดวงอาทิตย์ไม่ได้อยู่ตรงกลางของวงโคจร แต่เป็นวงกลมรีและดวงอาทิตย์อยู่เยื้องไปทางขวาจากจุดกึ่งกลางวงโคจร ดังนั้นจึงเกิดระยะห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน

โดยในช่วงเดือนกรกฎาคมโลกจะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุด และในช่วงเดือนมกราคมโลกจะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ซึ่งตามความเชื่อข้างต้น ในเดือนมกราคมโลกต้องมีอุณหภูมิสูงกว่าในเดือนกรกฎาคม แต่ในความเป็นจริงเดือนมกราคมคือฤดูหนาวและเดือนกรกฎาคมคือฤดูร้อน ดังนั้นความเชื่อเรื่องระยะห่างจากดวงอาทิตย์เป็นตัวกำหนดฤดูกาลจึงไม่เป็น ความจริง
 

ความจริงเกี่ยวกับการกำเนิดฤดูกาล 

สิ่งที่เป็นตัวกำหนดฤดูกาลนั้นแท้จริงแล้วเกิดจากการที่แกนโลกเอียงไปจากแนว ตั้งฉากเป็นมุม 23.5° (ซึ่งเอียงคงที่ตลอดปี) อธิบายได้จากภาพดังนี้

 

จากรูปข้างต้น แม้ซีกโลกด้านขวาจะหันเข้าหาดวงอาทิตย์ แต่เพราะแกนโลกเอียง ซีกโลกเหนือจึงเอนเข้าหาดวงอาทิตย์ในขณะที่ซีกโลกใต้เอียงออกจากดวงอาทิตย์ ดังนั้นซีกโลกเหนือจึงเป็นฤดูร้อนและซีกโลกใต้จึงเป็นฤดูหนาว


จนกระทั่งอีก 6 เดือนต่อมาเมื่อโลกโคจรไปอยู่อีกด้านหนึ่งของวงโคจร ในขณะที่แกนโลกยังเอียงด้วยมุมเท่าเดิม ซีกโลกใต้จึงเอียงเข้าหาดวงอาทิตย์และซีกโลกเหนือเอียงออกจากดวงอาทิตย์ ดังนั้นซีกโลกใต้จะเป็นฤดูร้อนและซีกโลกเหนือเป็นฤดูหนาว ดังในภาพข้างต้น

 

 

การเกิด 4 ฤดูกาลและการโคจรของโลกในรอบ 1 ปี

          1.วันวสันตวิษุวัต (Vernal Equinox) ตรงกับวันที่ 21 มี.ค.
เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับผิวโลกที่เส้นศุนย์สูตร 

ซีกโลกเหนือ : เข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ
ซีกโลกใต้ : เข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง 
เวลาตอนกลางคืนเท่ากับเวลากลางวัน 

เหตุการณ์นี้เรียกอีกอย่างว่า “วันราตรีเสมอภาค” ภาษาอังกฤษบางครั้งก็เรียกว่า Spring equinox หรือ March equinox   ในประเทศจีน เรียกวันวสันตวิษุวัตว่า วันชุนเฟินหรือ วันชุงฮุง (春分) และมีประเพณีการตั้งไข่มากว่า 4,000 ปี 
 
        2.วันครีษมายัน (Summer Solstice) ตรงกับวันที่ 21 มิ.ย.หรือ 22 มิ.ย.ในปีอสุธิกมาส
"ครีษม" แปลว่า ร้อน    ส่วน "อายัน" แปลว่า มาถึง เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับผิวโลกที่ละติจูด 23.5 องศาเหนือ  
 
ซีกโลกเหนือ : วันแรกในฤดูร้อน โดยมีช่วงเวลากลางวันยาวที่สุด กับกลางคืนสั้นที่สุดในรอบปี 
ซีกโลกใต้ :  วันแรกที่เข้าสู่ฤดูหนาว โดยมีกลางวันสั้นที่สุดและกลางคืนยาวที่สุด

ในวันนี้ เวลากลางวันยาวที่สุดในประเทศทางซีกโลกเหนือ  โดยดวงอาทิตย์จะอยู่สูงเลยเส้นศูนย์สูตรฟ้าไปทางทิศเหนือมากที่สุด และถ้าใครมีโอกาสมองขึ้นไปบนท้องฟ้าจะเห็นว่า พระจันทร์มีขนาดใหญ่กว่าปกติ เพราะโคจรใกล้กับเส้นศูนย์สูตรนั่นเอง

ถ้านับตามเวลาในประเทศไทย คือ มีกลางวันยาวที่สุดในรอบปี 13 ชั่วโมง และกลางคืน 11 ชั่วโมง
ขณะที่ประเทศ อื่นๆ  ถ้ายิ่งห่างเส้นศูนย์สูตร กลางวันกลางคืนจะยิ่งแตกต่าง อย่างเช่น เกิดพระอาทิตย์เที่ยงคืนในแถบขั้วโลกเหนือ นอกจากนี้  ยังเป็นวันที่ดวงอาทิตย์ยังขึ้นห่างจากทิศตะวันออกไปทางเหนือมากที่สุดในรอบปีด้วย


องค์การนาซ่า อธิบายว่า พระจันทร์กับพระอาทิตย์ก็เหมือนกับเด็กๆ ที่เล่นไม้กระดก เมื่ออีกฝ่ายขึ้นสูง อีกฝ่ายต้องลงต่ำ เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นอยู่สูง พระจันทร์จึงลงมาต่ำใกล้เส้นศูนย์สูตร เราจึงเห็นพระจันทร์ดวงใหญ่กว่าปกติ ทั้งยังเป็นวันที่กลางวันยาวนานที่สุดทางซีกโลกเหนือ 
 
        3.วันศารทวิษุวัต (Autumnal Equinox) ตรงกับวันที่ 23 ก.ย. 
เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับผิวโลกที่เส้นศูนย์สูตร  

ซีกโลกเหนือ : วันแรกในฤดูใบไม้ร่วง  
ซีกโลกใต้ :  วันแรกที่เข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ   
เวลาตอนกลางคืนเท่ากับเวลากลางวัน  
 
        4.วันเหมายัน (Winter Solstice) ตรงกับวันที่ 21 ธ.ค.หรือ 22 ธ.ค.ในปีอสุธิกมาส 
โดยเป็นวันที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับผิวโลกที่ละติจูด 23.5 องศาใต้ 
 

ซีกโลกเหนือ : วันแรกในฤดูหนาว โดยมีช่วงเวลากลางวันยาวที่สุด กับกลางคืนสั้นที่สุดในรอบปี 
ซีกโลกใต้ :  วันแรกที่เข้าสู่ฤดูร้อน โดยมีกลางวันสั้นที่สุดและกลางคืนยาวที่สุด ชาวบ้านเรียกกันว่า ตะวันอ้อมข้าว นั่นเอง
 
ดวงอาทิตย์อยู่ต่ำสุดบนท้องฟ้า พระจันทร์อยู่สูงสุด
 

 
เหมายันกับตำนานมหาภารตะ
ปราสาทนครวัด ประเทศกัมพูชา สร้างในสมัยพระเจ้าสุริยะวรมันที่ 2 ซึ่งรู้จักปรากฏการณ์ดาราศาสตร์อย่างดี ทั้ง “วิษุวัต ครีษมายัน และเหมายัน” หากไปชมปราสาทนครวัด ตรงกับวันที่ 21 – 22 ธันวาคม ตรงระเบียงด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตอนพระอาทิตย์กำลังจะตก จะเห็นแสงอาทิตย์ส่องเข้ามายังภาพสลักเหตุการณ์ตอนที่ “บีสม่า” นักรบมือหนึ่งในสงคราม “มหาภารตะ” ยอมตายตามที่ได้ลั่นวาจาไว้ว่า ขอตายเมื่อถึงปรากฏการณ์ “เหมายัน” โดยนอนตายบนห่าธนูของพระอรชุน  
 

ชาวขอมที่สร้างปราสาทภูเพ็กรู้จักปรากฏการณ์ “เหมายัน” หรือไม่ ? 

คำตอบ รู้จักดีครับ ดังตัวอย่างที่ปราสาทนครวัด ประเทศกัมพูชา สร้างในสมัยพระเจ้าสุริยะวรมันที่ 2 พวกเขารู้จักปรากฏการณ์ดาราศาสตร์อย่างดี ทั้ง “วิษุวัต ครีษมายัน และเหมายัน” หากท่านที่สนใจมีโอกาศไปชมปราสาทนครวัด ตรงกับวันที่ 21 – 22 ธันวาคม ลองไปเดินดูระเบียงด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ในตอนพระอาทิตย์กำลังจะตก จะเห็นแสงอาทิตย์ส่องเข้ามายังภาพสลักเหตุการณ์ตอนที่ “บีสม่า” นักรบมือหนึ่นสงคราม “มหาภารตะ” ยอมตายตามที่ได้ลั่นวาจาไว้ว่า ขอตายเมื่อถึงปรากฏการณ์ “เหมายัน” โดยนอนตายบนห่าธนูของพระอรชุน  

 

 

ปราสาทภูเพ็ก จังหวัดสกลนคร เป็นโบราณสถานสมัยขอมเรืองอำนาจแห่งเดียวที่อยู่บนยอดภูเขาสูง ประมาณ 520 เมตร จากระดับน้ำทะเล ปราสาทขอมอื่นๆ เช่น ปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทตาเมือนธม ล้วนมีความสูงแค่ 300 เมตร ทั้งนี้ไม่นับปราสาทพระวิหารซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตกัมพูชา มีความสูงประมาณ 600 เมตร 






 
ที่มา เรื่องราวและภาพประกอบ จาก
- วิกิพีเดีย
https://www.yclsakhon.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539364345 
--https://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=24267
-https://teen.mthai.com/variety/60143.html
-https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vinitsiri&month=12-2010&date=23&group=94&gblog=77
-https://board.postjung.com/647906.html