ระบบต่อมไร้ท่อ
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 9K views



 ระบบต่อมไร้ท่อ
 
       
           ภาพนี้แสดงถึงภาคตัดขวางของหลอดสร้างอสุจิซึ่งอยู่ในอัณฑะของเพศชายระหว่างมีหลอดอสุจิจะมีเซลล์แทรกอยู่      เซลล์เหล่านี้มีความสำคัญต่อการสร้างสารเคมีเพื่อควบคุมลักษณะเพศชายเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นให้แสดงความเป็นเพศชายอย่างเด่นชัดเช่น  เสียงห้าว     ลูกกระเดือกแหลม      มีหนวด     กระดูกไหล่กว้างกล้ามเนื้อตามแขนและขาเติบโต   แข็งแรง     เซลล์เหล่านี้อยู่ในอัณฑะ  แต่ไปควบคุมลักษณะต่างๆของร่างกายได้อย่าง     
             นอกจากนี้เซลล์ดังกล่าวแล้ว     ยังมีเนื้อเยื่อและต่อมไร้ท่ออื่นๆทำหน้าที่สื่อสาร  ควบคุม   เชื่อมโยง  ประสานงานของระบบต่างๆ ภายในร่างกายให้คงในสภาวะสมดุล     เนื้อเยื่อและต่อมไร้ท่อต่างๆ   ในร่างกายสื่อสาร   ประสานงานและควบคุมให้ร่างกายอยู่ในสภาวะสมดุลได้อย่างไร นักเรียนจะได้ศึกษาในบทต่อไปนี้
             ต่อมไร้ท่อ
            นักเรียนได้ทราบมาแล้วว่า    ต่อมไร้ท่อควบคุมระบบต่างๆขอร่างกายให้มีดุลยภาพ  แต่การควบคุมเป็นไปในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป  สิ่งที่น่าสนใจคือ  ต่อมไร้ท่อควบคุมระบบต่างๆ  ของร่างกายให้เกิดดุลยภาพได้อย่างไร
          คำถามนำ
          ต่อมไร้ท่อควบคุม ประสานการทำงานของร่างกาย ให้อยู่ในดุลยภาพได้อย่างไร
           ปี   พ.ศ.  2391  นักสรีรวิทยาชาวเยอรมัน    ชื่อ    อาร์โนล   เอ   เบอร์โทลด์ ( Arnol A. Berthold)    ได้ทำการทดลองเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของลูกไก่เพศผู้ไปเป็นไก่เพศผู้ที่โตเติมวัย โดยจัดการทดลองเป็น 3 ชุด ชุดแรกให้ไก่เจริญตามปกติ  ชุดที่  2   เบอร์โทลด์ตัดอัณฑะของลูกไก่ออก  แล้วเฝ้าสังเกตลักษณะของลูกไก่จนเจริญเป็นไก่ที่โตเต็มวัย  พบว่า  เมื่อโตเต็มวัยไก่ตัวนี้จะมีลักษณะคล้ายไก่เพศเมีย   คือ  มีหงอนและเหนียงคอสั้นขนหางสั้นและมีนิสัยไม่ค่อยต่อสู้กับไก่ตัวอื่นๆ  ดังภาพที่  9 -1  ข.
 
    ภาพที่  1 ผลการทดลองศึกษาการเจริญของหงอนและเหนียงคอของไก่เพศผู้
                                        ก. ลูกไก่ที่เจริญเป็นไก่เพศผู้ปกติ ( ชุดที่ 1 ) 
                                        ข. ลูกไก่เพศผู้ที่ถูกตัดอัณฑะ ( ชุดที่ 2 ) 
                                        ค. ลูกไก่เพศผู้ที่มีการปลูกอัณฑะให้ใหม่ ( ชุดที่ 3 ) 
 
              ชุดที่  3  เบอร์โทลด์  ตัดอัณฑะของลูกไก่ทดลองออก  จากนั้นนำอัณฑะของลูกไก่อีกตัวหนึ่งมาปลูกถ่ายลงในบริเวณช่องท้อง    ตรงตำเหน่งที่ต่ำกว่าอัณฑะเดิม  จากการตรวจสอบพบว่าอัณฑะใหม่มีหลอดเลือดมาหล่อเลี้ยงและสามารถทำงานได้      เมื่อติดตามสังเกตลักษณะของลูกไก่ทดลองจนเป็นไก่ที่โตเต็มวัยปรากฏว่าไก่ทดลองตัวนี้จะมีลักษณะของไก่เพศผู้ที่โตเต็มวัยปกติทั่วๆไป    คือ   มีหงอนเหนียงคอยาว  ขนหางยาว  และมีนิสัยรักการต่อสู้  ปราดเปรียว ดังภาพที่1      ค.  สิ่งที่น่าสงสัย  คือ  อัณฑะเกี่ยวข้องกับลักษณะของไก่เพศผู้อย่างไร
               การศึกษาต่อมาพบว่า  อัณฑะของไก่ผลิตสารเคมีซึ่งลำเลียงไปตามระบบหมุนเวียนเลือด      สารเคมีนี้เองที่เชื่อกันว่ามีบทบาทควบคุมการเจริญของหงอนเหนียงคอ      และลักษณะอื่นๆ   ของไก่เพศผู้ที่โตเต็มวัย    นอกจากนี้ยังพบว่าในร่างกายของคน  และสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดอื่นๆตลอดจนสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหลายชนิด    มีอวัยวะที่สร้างสารเคมีและลำเลียงสารเหล่านี้ไปยังกระแสเลือดไปสู่อวัยวะเป้าหมาย    เพื่อทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย เช่น    การทำงานของระบบสืบพันธุ์  ระบบขับถ่าย  ตลอดจนกระบวนการ เมแทบอริซึมของร่างกาย    เรียกสารเคมีเหล่านี้ว่า   ฮอร์โมน   ( Hormone)  ฮอร์โมนส่วนใหญ่เป็นประเพศโปรตีน เอมีน และสเตรอยด์ที่ผลิตจากเนื้อเยื้อหรือต่อมไร้ท่อ (endocrine tissue หรือ endocrine gland) ซึ่งแตกจากต่อมต่างๆ เช่น   ต่อมน้ำลาย   ต่อมเหยื่อ   ต่อมน้ำตาและต่อมน้ำเลี้ยงอสุจิ   ซึ่งต่อมเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีท่อลำเลียงสารต่างๆ ที่ต่อมสร้าง จึงเรียกต่อมนี้ว่า ต่อมมีท่อ(exocrine gland )  ดังภาพที่  9-2
 
     ภาพที่  2  เปรียบเทียบโครงสร้างของต่อมมีท่อและต่อไร้ท่อ      ก. ต่อมมีท่อ,   ข.  ต่อมไร้ท่อ
 
-   จากภาพที่ 2 นักเรียนบอกหรือไม่ว่าสารที่ต่อมไร้ท่อและต่อมมีท่อสร้างขึ้นลำเลียง  ไปสู่อวัยวะเป้าหมายต่างๆในร่างกายแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร
-   นักเรียนคิดว่า  ต่อมที่ขับฮอร์โมนออกมานอกจากไม่มีท่อแล้วยังมีลักษณะพิเศษอย่างไร
      
             โดยทั่วไปต่อมไร้ท่ออาจประกอบด้วยเซลล์เพียงเซลล์เดียวหรือหลายเซลล์ที่สร้างหรือหลั่งสารเคมีที่เป็นฮอร์โมน  แต่ไม่มีท่อลำเลียงออกจากต่อมจึงต้องอาศัยหลอดเลือดช่วยลำเลียง   ต่อมไร้ท่อจึงมีหลอดมาหล่อเลี้ยงมาก  ทั้งนี้เพื่อที่จะได้ลำเลียงฮอร์โมนที่สร้างขึ้นออกสู่กระแสเลือด ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
             นอกจากฮอร์โมนที่เป็นสารเคมีที่สร้างจากต่อมไร้ท่อแล้วยังมีสารเคมีชนิดอื่นที่สร้างจากเซลล์ประสาท  คือ  ฮอร์โมนประสาทที่ไปควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในร่างกายให้อยู่ในสภาพปกติ  ดังภาพที่3
 
                  ภาพที่  3  การควบคุมดุลยภาพของร่างกายด้วยสารเคมีชนิดต่างๆ
                                ก. การซื่อประสาทจากเซลล์ประสาท
                                ข. ฮอร์โมนประสาทจากเซลล์ประสาท
                                ค. ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อ
               เมื่อฮอร์โมนถูกลำเลียงไปถึงอวัยวะเป้าหมายจะมีผลต่อเซลล์เป้าหมายอย่างไร   จากการศึกษาพบว่าการตอบสองของเซลล์เป้าหมายต่อฮอร์โมนเกิดขึ้นโดยอวัยวะเป้าหมายมีหน่วยรับสัญญาณที่จำเพาะต่อฮอร์โมน     แล้วส่งสัญญาณกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาภายในเซลล์  และเกิดกาตอบสนองต่อฮอร์โมนนั้น
                ปัจจุบันความรูเรื่องฮอร์โมนได้ขยายขอบเขตไปจากเดิมมากเพราะมีการค้นพบว่า
                ไม่เพียงแต่คนและสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นสูงเท่านั้นที่สร้างฮอร์โมนได้  แม้แต่สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและพืชทีสร้างฮอร์โมนได้เช่นกัน   แต่ในบทเรียนนี้จะเน้นเกี่ยวกับฮอร์โมนของคนเป็นหลัก    นักเรียนจะได้ทราบว่า    ต่อมไร้ท่อของคนนั้นทีอะไรบ้าง    ต่อมเหล่านี้สร้างฮอร์โมนอะไรบ้าง  และมีผลต่อการทำงานของร่างกายอย่างไร
 
     ภาพที่  4  ต่อมไร้ท่อที่สำคัญของร่างกาย
 
 
 
เครดิต : รศ.ดร. ไพศาล  สิทธิกรกุล ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  ประสานมิตร