จิโอวานนิ โดมีนิโค แคสซีนี
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 6.9K views



จิโอวานนิ โดมีนิโค แคสซีนี
Giovanni Domenico Cassini

.. 1625 - 1712

          แคสซีนีเป็นนักคณิตศาสตร์นักดาราศาสตร์วิศวกรและนักโหราศาสตร์ชาวอิตาเลียนเกิดที่เมืองเปอร์รินัลโดใกล้กับซานรีโมซึ่งณเวลานั้นอยู่ในสาธารณะรัฐเจนัวหลังจากที่แคสซีนีย้ายไปยังฝรั่งเศสเพื่อทำงานด้านดาราศาสตร์ให้กับราชสำนักสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แคสซีนีได้เปลี่ยนชื่อเป็น
ฌองน์โดมินิกแคสซีนี

          แคสซีนีเป็นคนแรกในตระกูลแคสซีนีที่ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการหอดูดาวณกรุงปารีสจึงถูกเรียกว่า Cassini I หลังจากนั้นอีก 3 คนในตระกูลได้แก่บุตร (Cassini II) หลานชาย (Cassini III) และบุตรของหลานชาย (Cassini IV) ก็ได้สืบทอดการเป็นนักดาราศาสตร์ที่กรุงปารีส

วัยเยาว์

          ตามประวัติของแคสซีนีแล้วมีการระบุการเริ่มเข้าศึกษาในวัยเยาว์ไม่ชัดเจนทราบแต่เพียงว่า แคสซีนีอยู่ในความอุปการะของลุงหลังจากได้รับการศึกษาที่วอลลีบอนเป็นเวลาสองปีแคสซีนีได้เข้าศึกษาที่วิทยาลัยเจซูอิตในเจนัวและต่อจากนั้นแคสซีนีได้เข้าศึกษาที่โบสถ์ของเมือง San Fructuoso ที่ซึ่งแคสซีนีได้แสดงอยากรู้อยากเห็นและสนใจในสาขาวิชาวรรณกรรมคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์

ชีวิตนักดาราศาสตร์

          น้อยคนอาจจะไม่ทราบว่าความสนใจแรกเริ่มของแคสซีนีนั้นกลับเป็นเรื่องโหราศาสตร์แทนที่จะเป็นดาราศาสตร์แคสซีนีศึกษาและค้นคว้าอย่างจริงจังจนทำให้เขามีความรู้เรื่องโหราศาสตร์เป็นอย่างดีอย่างไรก็ตามแคสซีนีก็ยอมรับว่าการทำนายทางโหราศาสตร์ยังเป็นเรื่องที่ยังพิสูจน์ไม่ได้และเป็นเรื่องที่แปลกมากที่ความรู้ทางด้านโหราศาสตร์มีส่วนทำให้แคสซีนีได้งานครั้งแรกและเป็นด้านดาราศาสตร์เสียด้วยทั้งนี้มีวุฒิสภาเมืองโบโลญญาท่านหนึ่งที่มีความสนใจในเรื่องโหราศาสตร์ได้เชิญแคสซีนีไปยังเมืองโบโลญญาจากนั้นวุฒิสภาท่านนั้นได้เสนอตำแหน่งงานนักดาราศาสตร์ที่หอดูดาวณ พานซาโนซึ่งสร้างขึ้นโดยวุฒิสภาท่านนั้นแคสซีนีรับข้อเสนอดังกล่าวและทำงานด้านดาราศาสตร์ที่หอดูดาวพานซาโนในช่วงปี 1648 ถึง 1669

          ปี 1950 ได้รับดำรงตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ด้านดาราศาสตร์ณมหาวิทยาลัยโบโลญญาแคสซีนีได้สร้างหอดูดาวขึ้นที่คอหอยของโบสถ์เซ็นปีโตนิโอเพื่อสังเกตการณ์ดาวหาง


เมืองโบโลญญา


 

          ในช่วงปี 1652 ถึง 1653 ที่แคสซีนีได้สังเกตการณ์ดาวหางเขาได้ตีพิมพ์การสังเกตการณ์ของเขาไว้หลายฉบับผลจากการสังเกตการณ์ดาวหางแคสซีนีได้เริ่มเชื่อในแบบจำลองระบบสุริยจักรวาลของทิโคบราห์ที่ระบุว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลอย่างไรก็ตามภายหลังต่อมาแคสซีนีได้ศึกษาโดยละเอียดและพบว่าแบบจำลองดังกล่าวผิดพลาดโดยที่จริงแล้วดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาลเขาจึงเปลี่ยนมายอมรับแบบจำลองของโคเปอร์นิคัสทั้งนี้เขาพบว่าดาวหางจะโคจรเป็นวงกลมรอบดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการโคจร

ที่มา https://www.math.unipd.it/~marson/GNAMPA/MultiSchool/Images/bologna1.jpg

ดาวหาง

          ในปี 1664 แคสซีนีได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ตัวใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูง (ประดิษฐ์โดยช่างทำเลนส์ชาวกรุงโรม) ในการสังเกตดวงดาวโดยในเดือนกรกฎาคม 1664 แคสซีนีได้วัดคาบเวลาการหมุนรอบตัวเองของดาวพฤหัสบดีและพบว่าดาวพฤหัสบดีมีลักษณะการหมุนที่ไม่สม่ำเสมอภายในชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสบดีเองนอกจากนี้แคสซีนีได้ค้นพบจุดแดงยักษ์ของดาวพฤหัสบดีและได้พบว่าดาวพฤหัสบดีมีลักษณะแบนที่ขั้วโลก

ที่มา https://nps.northampton.ma.us/~ajohnson/Giovanni.html

จุดแดงยักษ์ของดาวพฤหัสบดี

         แคสซีนีได้ตีพิมพ์ผลงานถึงรายละเอียดของการสังเกตการณ์ดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดีในปี 1668 และข้อมูลของแคสซีนีนี้เองที่ Romer ได้นำมาใช้ในการคำนวณความเร็วของแสงในอีก 7 ปีต่อมา

ที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Great_Red_Spot#Great_Red_Spot

 

รับราชการในราชสำนักของฝรั่งเศส

 

พระเจ้าหลุยส์ที่14 แห่งฝรั่งเศส

         จากผลงานการค้นพบที่โดดเด่นทำให้แคสซีนีได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติและนำไปสู่การได้รับเชิญให้เข้าร่วมทำงานให้กับราชสำนักของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ในปี 1668 ซึ่งการก่อสร้างหอดูดาวณกรุงปารีสเพิ่งจะเริ่มสร้างขึ้นทั้งนี้แคสซีนีได้รับข้อเสนอด้วยเงินเดือนที่สูงพร้อมที่พักและที่สำคัญเขาสามารถที่จะนำเสนอโครงการการสังเกตการณ์ณต่างแดนได้ด้วยทั้งนี้สภาของโบโลญญาและพระสันตปาปาทรงอนุญาติให้แคสซีนีรับข้อเสนอของฝรั่งเศสโดยมีการคาดการณ์ว่าจะเป็นการทำงานที่ไม่เกินสองปี


หอดูดาว กรุงปารีส ขณะก่อสร้าง

          เมื่อแคสซีนีได้ร่วมงานกับสถาบันวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์ของฝรั่งเศสแล้วแคสซีนีก็มีความตั้งใจที่จะกลับไปสานต่องานที่อิตาลีอย่างไรก็ตามภายหลังจากที่ได้รับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการหอดูดาวณกรุงปารีสในปี 1671 แคสซีนีก็เปลี่ยนทัศคติในการที่จะกลับไปยังอิตาลีทั้งนี้แคสซีนีได้รับสถานะใหม่เป็นพลเมืองของผรั่งเศสในอีกสองปีถัดมาและได้เปลี่ยนชื่อเป็นฌองช์โดมินิคแคสซีนี

ที่มา https://www.klima-luft.de/steinicke/ngcic/persons/lalande.htm


การค้นพบที่สำคัญ

          ณ หอดูดาวณกรุงปารีสแคสซีนีได้ค้นพบหลายสิ่งหลายอย่างที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่โดยใช้กล้องโทรทรรศน์ที่นำมาด้วยจากอิตาลีแคสซีนีเป็นบุคคลแรกที่สังเกตดวงจันทร์ทั้งสี่ของดาวเสาร์ซึ่งเขาเรียกมันว่า Sidera Lodoicea โดยได้แก่ Iapetus (1671), Rhea (1672), Tethys (1684) และ Dione (1684) 

ชื่อ Sidera Lodoicea มีความหมายว่าดวงดาวของพระเจ้าหลุยส์ทั้งนี้แคสซีนีตั้งชื่อดังกล่าวเพื่อเป็นเกียรติแก่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 

Iapetus

Rhea

Tethys

Dione

ดวงจันทร์ทั้งสี่ของดาวเสาร์
ที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Cassini


ดาวเสาร์และดวงจันทร์ทั้งสี่
ที่มา https://nps.northampton.ma.us/~ajohnson/Giovanni.html

          แคสซีนีเป็นคนแรกในประวัติศาสตร์โลกที่ประสบผลสำเร็จในการหาเส้นลองจิจูดโดยใช้วิธีที่เสนอแนะโดยกาลิเลโอซึ่งใช้การเกิดอุปคาราของดาวบริวารของดาวพฤหัสบดีเป็นนาฬิกาตารางดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดีที่แคสซีนีทำขึ้นได้ถูกใช้ในการคำนวณหาเส้นลองจิจูดเพื่อบอกเวลา
ณสถานที่ต่างๆบนพื้นโลก

          ในปี 1672 แคสซีนีได้ทำการทดลองซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกของมนุษยชาติที่ต้องการวัดมิติของระบบสุริยะโดยในครั้งนั้นแคสซีนีได้ส่งผู้ร่วมงานฌองช์ริเชอร์ไปยังเมือง Cayenne ประเทศอาณานิคมของฝรั่งเศสที่ทวีปอเมริกาใต้ French Guiana ในขณะที่แคสซีนียังคงอยู่ที่กรุงปารีสจากนั้นทั้งคู่ทำการสังเกตการณ์ดาวอังคารพร้อมๆกันจนกระทั่งพบการเกิดแพรัลแลกซ์ (parallax เป็นการเปลี่ยนตำแหน่งปรากฏของวัตถุเมื่อมองจากจุดสังเกตสองจุดตัดกัน) ของระบบสุริยะทำให้สามารถบอกระยะระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ได้

          นอกจากนี้ฌองช์ริเชอร์ยังได้ทำการทดลองด้วยตุ้มนาฬิกาพบว่าคาบเวลา 1 วินาทีณเมือง Cayenne จะสั้นกว่าเวลาณกรุงปารีสข้อมูลนี้ทำให้ริเชอร์อธิบายว่าณขั้วโลกจะมีลักษณะแบนมากกว่าซึ่งเป็นการยืนยันและสนับสนุนทฤษฎีของนิวตันและไฮเกนส์แต่แคสซีนีไม่เห็นด้วยกับคำอธิบายดังกล่าวโดยพยายามหาการทดลองที่จะอธิบายว่าโลกมีรูปร่างเป็นทรงกลมที่สมบูรณ์

          นอกจากนี้ในปี 1675 แคสซีนียังได้ค้นพบช่องแบ่งแคสซีนีและแคสซีนียังเสนอได้อย่างถูกต้องว่าโดยแท้ที่จริงแล้ววงแหวนแต่ละวงประกอบด้วยก้อนหินที่เล็กเป็นจำนวนมากที่โคจรอยู่รอบดาวเสาร์โดยก้อนหินเหล่านั้นรวมตัวกันเป็นกลุ่มในแต่ละวงโคจรทำให้ดูเหมือนกับเป็นวงแหวนดังที่เราเห็น 

         ช่องแบ่งแคสซีนี (Cassini Division) : เป็นช่องว่างขนาด 4,700 กิโลเมตรที่อยู่ระหว่างวงแหวนเอและวงแหวนบีในวงแหวนดาวเสาร์เกิดจากแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์ไมมาส

ที่มา : พจนานุกรมศัพท์ดาราศาสตร์อังกฤษ-ไทย, สมาคมดาราศาสตร์ไทย, 2548

ช่องแบ่งแคสซีนี
ที่มา https://starchild.gsfc.nasa.gov/docs/StarChild/solar_system_level2/cassini_division.html

          ผลงานที่สำคัญชิ้นสุดท้ายของแคสซีนีคือการค้นพบแสงจักรราศีนั้นเป็นผลของฝุ่นขนาดเล็กที่อยู่ในระนาบสุริยะสะท้อนแสงอาทิตย์

แสงจักรราศี (zodiacal light) : เป็นแสงจางที่ผ่านไปตามแนวเส้นสุริยวิถีเกิดจากฝุ่นขนาดเล็กที่อยู่ในระนาบสุริยะสะท้อนแสงอาทิตย์โดยสว่างเป็นพิเศษบริเวณทิศตะวันตกหลังดาวอาทิตย์ลับฟ้าหรือทางทิศตะวันออกก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นและบริเวณตรงข้ามกับดวงอาทิตย์มองเห็นได้ในคืนที่ทัศนวิสัยดี

ที่มา : พจนานุกรมศัพท์ดาราศาสตร์อังกฤษ-ไทย, สมาคมดาราศาสตร์ไทย, 2548

 


แสงจักรราศี
ที่มา https://history.nasa.gov/SP-404/p36.jpg

ช่วงท้ายของชีวิต

          ในช่วงปี 1709 สุขภาพของแคสซีนีได้เริ่มแย่ลงทำให้บุตรชายของแคสซีนีชื่อชาคส์แคสซีนีผู้ซึ่งได้ทำงานด้านดาราศาสตร์ร่วมกับบิดามาโดยตลอดต้องเริ่มเข้ามารับหน้าที่แทนแคสซีนีโดยเป็นผู้อำนวยการหอดูดาวณกรุงปารีสและเป็นนักดาราศาสตร์ที่สำคัญของหอดูดาวด้วยในปี 1711 ตาของแคสซีนีได้บอดสนิทถึงแม้ว่าตาจะบอดแคสซีนียังมีส่วนร่วมในงานทางวิทยาศาสตร์และทางศาสนาจนกระทั่งเสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 14 กันยายน 1712 ณกรุงปารีส

          จากการค้นพบมากมายทางดาราศาสตร์องค์การอวกาศหลายชาติได้นำชื่อของแคสซีนีมาเป็นเกียรติตั้งชื่อให้กับยานสำรวจดาวเคราะห์ต่างๆโดยเฉพาะกับดาวเสาร์และดวงจันทร์ของดาวเสาร์

ที่มา : https://www.space.mict.go.th/astronomer.php