ตัวเลขนั้นสำคัญไฉน ตอน การซื้อขาย
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 16.7K views



ตัวเลขนั้นสำคัญไฉน ตอน การซื้อขาย

วันหยุดงาน คุณแม่จึงชวนกันคิดรายการอาหาร

“ลูก ๆ วันนี้จะกินอะไรกันบ้างจ๊ะ”

“ต้อมอยากกินก๋วยเตี๋ยวผัดไทยค่ะ”

“ตั๊กอยากกินแกงเขียวหวานลูกชิ้นปลาครับ”

“ติ๊กอยากกินสลัดค่ะ”

“พ่อล่ะคะ จะกินอะไร”

“พ่อว่า น้ำพริกปลาทูก็ดี อร่อยและมีประโยชน์ด้วย”

“ดีจังจ๊ะ ทั้งคุณพ่อ คุณลูก ชอบอาหารที่มีประโยชน์ทั้งนั้น เรามาดูซิว่าจะทำอะไรเพิ่มไหม”

“กลางวันทำก๋วยเตี๋ยวผัดไทยดีไหมจ๊ะ แล้วก็มีแกงจืดตำลึงอีก 1 อย่าง ตอนเย็น มีแกงเขียวหวาน ลูกชิ้นปลา น้ำพริกปลาทู และสลัด คงพอนะจ๊ะ”

ลูก ๆ และคุณพ่อต่างเห็นดีด้วยกับรายการอาหารกลางวันและเย็นและคุยเรื่องของหวาน

“กินผลไม้ดีไหมลูก มีสิ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย”

“ค่ะ”

“ครับ”

“ทีนี้มาช่วยกันคิดว่าจะซื้ออะไรบ้าง”

“แกงเขียวหวานลูกชิ้นปลา ใส่ลูกชิ้นปลา เครื่องแกง มะเขือเปราะ และกะทิ แต่เครื่องแกงมีแล้ว ไม่ต้องซื้อค่ะคุณแม่” ติ๊ก ช่วยคิด “ตูมตามเคยได้ยินว่ากินกะทิมากไม่ดี ใช่ไหมครับ”

“ใช่จ้ะ เราไม่ควรกินกะทิบ่อย ๆ แกงเผ็ดนี่ เราก็เปลี่ยนเป็นแกงป่า ไม่ใส่กะทิบ้างก็ดี” คุณพ่อพูดเสริมตูมตาม



“ต่อไปน้ำพริกปลาทู มีอะไรบ้าง ก็มีปลาทูนึ่ง กระเทียม กะปิมีแล้ว พริกก็ไม่ต้องซื้อ เราปลูกเอาไว้ มีเต็มต้นเลย ซื้อแต่มะนาว ผักบ้านเราปลูกเอาไว้หลายอย่าง คงไม่ต้องซื้ออีกครับ” ตั๊กตอบหลังจากคิดอย่างรอบคอบ

“สลัดก็มีผักกาดหอม แตงกว่า มะเขือเทศ เนื้อไก่ ไข่ไก่ หัวหอมใหญ่ แต่ไข่เรามีแล้วไม่ต้องซื้อ” ติ๊กบอกเครื่องปรุงสลัด

“ใส่สับปะรด ถั่วลิสง แครอท ได้ไหมคะคุณแม่”ต้อมถาม

“ได้จ้ะ เดี๋ยวนี้สลัด เขาก็ตามใจคนกิน ชอบอะไรก็ใส่ได้ ตอนนี้เขาเชิญชวนให้กินผัก ผลไม้ วันละหลาย ๆอย่าง” “เอาล่ะ ตอนนี้ก็ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย ต้อมรู้ไหมว่าใส่อะไรบ้าง”

“ก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็ก ถั่วงอก เต้าหู้ กุ้งแห้ง ไข่ ถั่วลิสง พริกป่น ผักกุ้ยช่าย ค่ะ แต่กุ้งแห้ง พริกป่นบ้านเรามีแล้วไม่ต้องซื้อ”

“เก่งลูก แล้วผัดที่กินด้วยกันล่ะ”

“ใบกุ้ยช่าย ถั่วงอก หัวปลี แล้วก็ใบบัวบก แต่ใบบัวบกบ้านเรามีแล้วไม่ต้องซื้อ” ต้อมตอบอย่างมั่นใจ

“แกงจืดตำลึงล่ะมีอะไรบ้าง ใครตอบได้” คุณแม่ถามต่อ

“ตำลึง หมูหรือไก่ กระเทียม พริกไทย แต่ตำลึงไม่ต้องซื้อบ้านเรากำลังงาม”ตั๊กตอบ “เราซื้อแต่หมู ส่วนกระเทียมและพริกไทยมีแล้ว”

“ที่จริงต้องใช้น้ำมีน น้ำปลา น้ำตาล น้ำส้ม แต่มีอยู่แล้ว” คุณแม่ช่วยคิด

“รู้แล้วว่าจะซื้ออะไรบ้าง ตอนนี้ดูซิว่าจะซื้ออย่างละเท่าไหร่ดี” คุณแม่ให้ลูก ๆช่วยคิด

“นี่ครับ ตั๊กจดสิ่งที่เราช่วนกันคิดไว้หมดแล้ว”



“ต้อมสงสัยจังเลยค่ะ ทำไมบางอย่างซื้อเป็นขีด บางอย่างเป็นต้น เป็นผล เป็นกิโล”

“ของเล็กๆ เวลาซื้อขายใช้วิธีหรือตวง แต่เดี๋ยวนี้ชั่งมากกว่า เพราะสะดวกดี ผักที่หยิบได้สะดวกก็อาจซื้อขายเป็นลูก เป็นต้นจ๊ะ แต่คนขายเขาก็มักเอาไปชั่งว่าหนักเท่าใด แล้วคิดราคา” คุณแม่อธิบายให้เข้าใจ

“แล้วขีดกับกิโลนี่ต่างกันอย่างไรคะ”

“ขีดกับกิโล เป็นหน่วยบอกน้ำหนักจ้ะ พ่อจะให้ลูกดู”  คุณพ่อเข้ามาร่วมวงช่วยอธิบาย

“จานนี่สำหรับวางของที่จะชั่งใช่ไหมคะ”



“ใช่จ้ะลูก ต้อมดูที่หน้าปัดซิ เห็นไหมว่ามีเส้นยาวๆ กับเส้นสั้นๆ แบ่งเป็นช่องเล็กๆ”

“เห็นค่ะ มีเข็มมีตัวเลขด้วยค่ะ แต่แหม มีเส้นเยอะแยะไปหมด ต้อมตาลายเลยค่ะ”

“ต้อมค่อย ๆ ดูนะลูก เห็นเลข 0 กับเลข 1 ไหม”

“เห็นค่ะ”

“ต่อไปต้อมดูเฉพาะเส้นที่ยาวหน่อย ระหว่าง 0 กับ 1 มีกี่เส้น” “9 เส้นค่ะ”

“เอาล่ะ เพื่อไม่ให้ต้อมงง พ่อกับพี่ตั๊กทำกระดาษใสเป็นหน้าปัด มีแค่เส้นยาว 9 เส้นในแต่ละช่องกิโลเท่านั้น พ่อจะทาบที่หน้าปัด ลูกดูซิว่า ตัวเลขและเส้นตรงกันกับหน้าปัดของเครื่องชั่งไหม”

“ตรงค่ะ แต่ก็ยังเห็นเส้นสั้น ๆ เหมือนเดิม”

“ไม่ต้องห่วงจ้ะ พ่อเตรียมกระดาษมาปิดหน้าปิดของเครื่องชั่งไว้แล้ว ต้อมจะเห็นเฉพาะหน้าปัดที่พ่อทำ” “ดูซิว่าตอนนี้เข็มชี้ไปเลขอะไร”

“เลข 0 ค่ะ”

“ต่อไป พ่อจะเอาถุงน้ำตาลวางบนจาน เข็มชี้ไปที่ไหน”



“ชี้ที่เลข 1 ค่ะ”

“เครื่องชั่งบอกว่าน้ำตาลหนัก 1 กิโลจ๊ะลูก”

“ทีนี้พ่อวางเพิ่มอีก 1 ถุง ดูซิว่าเข้มชี้ที่เลขอะไร”

“เลข 2 ค่ะ หนัก 2 กิโล ใช่ไหมคะ”

“ใช่ลูก เก่งมาก”

“ต่อไป พ่อเอาถุงที่เราแบ่งน้ำตาลใส่ขวดไปวางเพิ่มบ้าง  เข็มชี้ที่ไหนจ้ะ”

“เข็มชี้ที่ระหว่าง 2 กับ 3 ค่ะ แล้วเราจะบอกว่ากี่กิโลคะ”

 

“เราเรียกว่าหนัก 2 กิโลกรัม มาดูกันว่ากว่าเท่าไร”

“ต้อมดูซิระหว่างเส้นที่มีเลข 2 กับเส้นที่มีเลข 3 แบ่งออกเป็นช่องเล็ก ๆ กี่ช่อง”

“10 ช่องค่ะ”

“แล้วดูซิว่า เข็มเลยเส้นเลข 2 มากี่ช่อง”

“4 ช่องค่ะ”

“เราเรียกว่าหนัก 2 กิโล 4 ขีด ต้อมลองทายซิว่า ถ้าเข็มชี้ตรงที่เลยเลข 2 มา 7 ช่อง จะหนักเท่าใด”

“เอ! เลยมา 4 ช่อง เพิ่ม 4 ขีด เลยมา 7 ช่อง ก็คงเพิ่ม 7 ขีด”

“ใช่ลูก แล้วลูกคิดว่า 1 กิโล มีกี่ขีด”

“ก็คง 10 ขีด กระมังคะ เพราะมี 10 ช่อง ช่องละ 1 ขีด”

“ถูกจ้ะ  1 กิโล เท่ากับ 10 ขีด ต้อมเก่งมาก”

“ต้อมชักสงสัย ตอนต้อมชั่งน้ำหนักที่โรงเรียน คุณครูบอกว่าต้อมหนัก 31 กิโลกรัม กิโลกับกิโลกรัมเหมือนกันไหมคะ”

“เหมือนกันจ้ะ เรามักเรียกกิโลกรัม สั้น ๆ ว่า กิโล”

“แบบเดียวกับที่เราเรียกระยะทางเป็นกิโลเมตร ว่ากิโลใช่ไหมครับ” ตั๊กถามเพื่อให้แน่ใจ

“ใช่จ้ะ บางครั้งเราก็เรียกสั้น ๆ เวลาเขียนมีคำย่อเพื่อไม่ให้เสียเวลา ตั๊กนึกดูซิ”

“พ่อเขียนแบบฝึกหัดให้ต้อมทำดูนะ จะได้จำแม่น ๆ แล้วใช้เครื่องชั่งแบบนี้เป็น”

“คุณพ่อคะ ข้อ 1 เข็มชี้เลย 2 ขีด แต่ไม่ถึง 3 ขีด ต้อมจะบอกว่าหนักเท่าใดคะ”

“หนัก 2 ขีดกว่า ๆ ใช่ไหมคะคุณพ่อ” ติ๊กถามคุณพ่อเป็นการทบทวนสิ่งที่เคยเรียน”

“ใช่จ้ะติ๊ก แต่ดูซิว่าเข็มอยู่ใกล้ชิดขีดที่ 2 หรือ 3”

“อยู่ใกล้ขีดที่ 3 ค่ะ นึกออกแล้วเราเรียกเกือบ 3 ขีด หรือ ประมาณ 3 ขีด”

“ถูกจ้ะ ถ้าเลย 3 ขีด มาเล็กน้อย เราก็เรียกว่าประมาณ 3 ขีดด้วย ต้อมเข้าใจไหม ลูกทำหน้ายุ่ง ๆ มาดูข้อ 3 กันนะ เข็มชี้ระหว่าง 1 ขีด และ 2 ขีด ใช่ไหมลูก”

“ใช่ค่ะ”

“เข็มใกล้ทางไหนล่ะลูก”

“ใกล้ 1 ขีด”

“เราเรียกว่า ทุเรียนหนักประมาณ 2 กิโล 1 ขีดจ้ะลูก”

“เข้าใจแล้วค่ะ อย่างนั้นข้อ 4 ส้มเขียวหวานหนักประมาณ 2 กิโล 4 ขีดใช่ไหมคะ”

“ใช่จ้ะ ลูกพ่อยอดเลย” คุณพ่อชมต้อม แล้วชวนลูก ๆ ไปช่วยกันทำงานบ้าน
 


ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน