ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ม.ต้น
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 39.6K views



ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ม.ต้น ตอนที่ 1
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ม.ต้น ตอนที่ 2
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ม.ต้น ตอนที่ 3
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ม.ต้น ตอนที่ 4 (จบ)
 


ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

ประวัติความเป็นมา

     ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู นับว่าเป็นศาสนาที่เก่าแก่ ไม่อาจนับจำนวน ปีที่ที่แน่นอนได้  เพียงแต่ประมาณเวลาได้เท่านั้น นักการศาสนา นักปรัชญา  นักประวัติศาสตร์ และนักโบราณคดี ได้แบ่งยุคของลัทธิ ศาสนานี้ออกเป็นหลายแบบแตกต่างกัน เช่น พระเทพวิสุทธิเมธี (พุทธทาสภิกขุ) แบ่งตามแนวประวัติศาสตรเป็น 7 ยุค คือ ยุคก่อนอารยัน  ยุคอารยันเข้าอินเดีย ยุคฤคเวท ยุเวทต่าง ๆ  ยุคพราหมณะ ยุอุปนิษัท และยุคพุทธกาล

       สรุปประวัติของศาสนาพราหมณ์ จะแบ่งวิวัฒนาการออกเป็น 2 ช่วง คือ

     1.  สมัยพระเวท  เป็นสมัยที่มีความเชื่อในเรื่องเทพเจ้ามากมายหลายพระองค์ (ซึ่งย้ายมาประเทศไทยเกือบทุกพระองค์) แบ่งออกเป็น  3  กลุ่ม  คือ เทพบนพื้นโลก เทพบนอากาศ และเทพบนสวรรค์ ซึ่งมีเทพเจ้าที่มีความสำคัญ และถูกยกให้ยิ่งใหญ่ กว่าเทพเจ้าองค์อื่น ๆ  คือ พระอินทร์ พระวรุณ และพระพฤหัสบดี ฯลฯ

     2.  สมัยพราหมณ์  ความเชื่อของมนุษย์ในสมัยนี้ ก้าวไกลออกไปถึงการหาเทพ ผู้ยิ่งใหญ่ ผู้สร้างโลก (เนรมิต) และสร้างสรรพสิ่ง (ลิขิต) เทพเจ้าอง๕ืใหม่นี้ เรียกว่า "พระพรหม" โดยพระองค์ เป็นผู้สร้างทุกสรรพสิ่ง และทุกสรรพสิ่ง ก็เกิดจาก พระองค์  เมื่อตายแล้ว ก็ต้องกลับคืนสู่พระพรหม  นอกจากนี้ ยังมีเทพเจ้า ผู้ยิ่งใหญ่ อีก 2 องค์ คือ พระวิษณุ (พระนารายณ์) และ พระศิวะ (พระอิศวร) เทพเจ้าทั้ง 2 องค์ นี้ ได้รับการนับถือเทียบเท่ากับพระพรหม ทำให้เรียกเทพเจ้าทั้ง 3 พระองค์ว่า "ตรีมูรติ" ซึ่งแปลว่า "รูปสาม" ดังกล่วแล้ว คือ

  • พระพรหม                            เทพผู้สร้าง
  • พระวิษณุหรือพระนารายณ์       เทพผู้รักษา
  • พระศิวะหรือพระอิศวร             เทพผู้ทำลาย

     จากความเชื่อเรื่องตรีมูรติ ทำให้เกิดความเชื่อในเรื่องของการเกิดยุค ซึ่งเรียกว่า "กัลป์" ซึ่งเป็นช่วงเวลาตั้งแต่พระพรหมสร้างโลก พระนารายณ์รักษาโลก ให้พ้นอำนาจของคนชั่ว  จนกระทั่ง พระศิวะต้องทำหน้าที่มาล้างและทำลายโลก ดังนั้น 1 กัลป์ จึงมีช่วงเวลาตั้งแต่โลกถูกสร้างขึ้นมา จนถึงโลกถูกทำลายไป  แบ่งออกเป็น  4  ยุค คือ 

         กฤตยุค หมายถึง  ยุคที่มนุษย์มีความดีอย่างเต็มเปี่ยม
            ไตรดายุค  หมายถึง  ยุคที่ความชั่วเริ่มเข้ามาในสังคม ประมาณ 1 ใน 4 แต่ความดียังมากกว่า
         ทวาปรยุค  หมายถึง  ยุคที่มีความชั่วเข้ามาในสังคมครึ่งหนึ่ง มีความดี และความชั่วเท่าเทียมกัน
         กลียุค  หมายถึง  ยุคที่มีความชั่วเข้ามา  3  ส่วน  ความดีเหลืออยู่ เพียงส่วนเดียว ทำให้สังคมมีความชั่วมากกว่าความดี สังคมวุ่นวาย

     การแบ่งวรรณะของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

     วรรณะทั้ง 4 ระบบวรรณะเกิดจากพวก อริยะ หรือ อารยัน ซึ่งเข้ามารุกรานชนพื้นเมืองในอินเดียครั้งทำสงครามกับเจ้าของถิ่นเดิมซึ่ง เรียกว่าพวก มิลักขะ (หรือ ทัสสยุ หรือทราวิฑ) จนได้รับชัยชนะ

พวกมิลักขะต้องถอยร่นลงไปทางใต้ เหล่าอริยะจึงใช้ศาสนาพราหมณ์เป็นเครื่องมือในการแบ่งวรรณะ โดยถือว่าวรรณทั้ง 4 เกิดมาจากอวัยวะของพระพรหมที่ต่างกัน และพระพรหมได้กำหนดหน้าที่ให้วรรณะทั้ง 4 ต่าง ๆ กันไว้เรียบร้อยแล้ว วรรณะใหญ่ ๆ ในศาสนาพราหมณ์มีอยู่ 4 วรรณะ ดังนี้
1. วรรณะพราหมณ์ เกิดจากโอษฐ์ของพระพรหม มีสีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะคือสีขาวซึ่งแสดงถึงความบริสุทธิ์มีหน้าที่ กล่าวมนต์ ให้คำปรึกษากับพระเจ้าแผ่นดิน ตลอดจนสอนมนต์ให้แก่คนทั่วไป ส่วนพวกที่เป็นนักบวชก็ทำหน้าที่สอนไตรเภทและประกอบพิธีทางศาสนา
2. วรรณะกษัตริย์ เกิดจากพระอุระของพระพรหม และถือว่าสืบเชื้อสายมาจากพระอาทิตย์ สีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะคือสีแดงซึ่งหมายถึงนักรบ ทำหน้าที่รบเพื่อป้องกันหรือขยายอาณาจักร รวมทั้งเป็นนักปกครอง เป็นพระเจ้าแผ่นดินหรือคณะผู้ปกครองแบบสามัคคีธรรม
3. วรรณะแพศย์ เกิดจากพระเพลา (ตัก) ของพระพรหมมีสีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะคือ สีเหลือง เป็นพวกแสวงหาทรัพย์สมบัติ ได้แก่พวกพ่อค้า คหบดี เศรษฐี และเกษตรกร
4. วรรณะศูทร เกิดจากพระบาท(เท้า) ของพระพรหม มีสีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะคือสีดำหรือสีอื่น ๆ ที่ไม่มีความสดใส มีหน้าที่เป็นกรรมกร ลูกจ้าง
ยังมีคนอีกวรรณะหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นพวกต่ำสุด คือ จัณฑาล ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ต่างวรรณะกัน ถือเป็นพวกจัณฑาล ซึ่งจะถูกรังเกียจและเหยียดหยาม ไม่มีคนในวรรณะอื่นคบหาสมาคมด้วย

     นารายณ์ปางต่าง ๆ

  1. มัตสยาวตาร  อวตารลงมาเป็นปลา เพื่อช่วยมนุษย์เมื่อคราวน้ำท่วมโลก ฆ่ายักษ์ ที่ชื่อยหครีวะ  ผู้เป็นต้นเหตุให้มนุษย์มีความเห็นผิดลุ่มหลง
  2. กูรมาวตาร  อวตารลงมาเป็นเต่าในทะเลน้ำนม (เกษียรสาคร) เอาหลังรองรับ ภูเขาชื่อมันทาระ เทพยดานำพญานาคมาต่างเชือกชักภูเขา เพื่อกวนมหาสมุนทร (นารายณ์เกษียรสมุนทร) ให้เกิดน้ำอมฤต และสิ่งมีค่า อื่น ๆ  รวม 14 อย่าง
  3. วราหาวตาร  อวตารลงมาเป็นหมู่ป่า เพื่อปราบยักษ์ ผู้มีนามว่า "หิรัณยากษะ" ผู้จับโลกกดลงไปใต้ทะเล  ตามตำนานกล่าวว่า แต่เดิมโลก เป็ฯก้อนน้ำกลม  แต่ด้วยเขี้ยวของหมูป่าดุนให้โลกสูงขึ้นมาจากน้ำได้ คนจึงได้อาศัยอยู่บนโลกทุกวันนี้
  4. นรสิงหาวตาร  อวตารลงมาเป็นมนุษย์สิงห์ คือครึ่งมนุษย์ครึ่งสิงห์  เพื่อปราบยักษ์ชื่อ "หิรันยกศิปุฯ  ผู้ได้พรจากพระพรหมว่า จะไม่ถูกมนุษย์ เทพ หรือสัตว์ฆ่าให้ตายได้  ยักษ์จึงกำเริบรุกานโลกทั้ง  3  (สวรรค์ มนุษย์ ยม หรือนรก) พระนารายณ์ จึงอวตารเป็นนรสิงห์ ทำลายยักษ์นั้น ถึงแก่ชีวิต  เพราะนรสิงห์มิใช่คน มิใช่สัตว์
  5. วามนาวตาร  อวตารลงมาเป็นคนค่อม เพื่อปราบยักษ์ชื่อพลิ  มิให้มีอำนาจ ครองโลกทั้ง  3 โดยขอเนื้อที่เพียง  3  ก้าว  เมื่อพลิยักษ์ ยินยอม จึงก้าวไป 2 ก้าว ก็เกินสวรรค์และเกินโลก แต่ด้วยความกรุณา จึงประทานโลกใต้บาดาล ให้ยักษ์นั้นไป
  6. ปรศุรามาวตาร  อวตารลงมาเป็นรามผู้ถือขวาน ในเรื่องเล่ากันว่า พระวิษณุ อวตารลงมาเป็นบุตรของพราหมณ์ ผู้มีนามว่า "ยมทัคนี" และสืบสกุลมาจาก ภฤคุ  เื่พื่อป้องกันมิให้กษัตริย์ครอบครองอาณาจักรเหนือวรรณะพราหมณ์ ปรศุราม ได้ชำระโลกถึง 21 ครั้ง เพื่อให้ปราศจากวรรณะกษัตริย์
  7. รามาวตาร  อวตารลงมาเป็นรามจันทร์ (พระราม ผู้อ่อนโยน หรือ เปรียบเสมือนพระจันทร์  คือ เป็ฯพระรามในเรื่องรามายณะ หรือ ที่ไทยเรา เรียกว่า "รามเกียรติ์" เพื่อปราบยักษ์ชื่อวรรณะ หรือทศกัณฐ์
  8. กฤษณาวตาร  อวตารลงเป็นพระกฤษณะ (ผู้มีผิวดำ) ในเรื่องมหาภารตะ เพื่อทำลายกษัตริย์กังสะผู้ทารุณ  ซึ่งเท่ากับเป็นตัวแทนแห่งความชั่วร้าย การปราบผู้ชั่วร้ายเช่นนี้ ย่อมคล้ายคลึงกับอวตารที่ 7 ที่ทรงปราบทศกัณฐ์
  9. พุทธาวตาร หรือ ปางมายา อวตารลงมาเป็นพระพุทธเจ้า เหตุผลทางฝ่าย พราหมณ์ บางพวกผู้เกลียดพระพุทธศาสนาก็ว่า พระวิษณุ อวตารลงมาเป็น พระพุทธเจ้า แต่เหตุผลอีกทางหนึ่ง ศาสนาฮินดูเห็นว่า จะสู้พระพุทธศาสนา ไม่ได้ จึงแต่งเรื่องนี้ขึ้น เพื่อกลืนพระพุทธศาสนา เข้ามาไว้ในศาสนาฮินดู ดังกล่าวแล้ว บางพวก บอกว่า อวตารลงมาเป็นพระพุทธเจ้า เพื่อลวง พวกอสูรให้ไปนับถือพระพุทธเจ้า จึงเรียกว่า ปางมายา เทวดาจะได้มานับถือพราหมณ์ ดังนั้น ผู้ที่เป็นชาวพุทธ ถือว่าเป็นอสูรในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู (ศาสนาคริสต์ ก็เลียนแบบพราหมณ์ โดยบอกว่า พระพุทธเจ้า เป็นประกาศกของพระเยซู ผู้ใคร่ศึกษา ควรหาอ่านดู)
  10. กัลกยาวตาร  อวตารลงมาเป็นกัลกี หรือกัลกีน คือ บุรุษขี่ม้าขาว ถือดาบ มีแสงแปลบปลาบดั่งดาวหาง ปางนี้ เรียกอีกอย่างว่า อัศวาวตาร เพื่อปราบ คนชั่วและสถาปนาธรรมขึ้นใหม่ในโลก

ที่มา: https://allknowledges.tripod.com/brahmin.html