“จักรวรรดิฟูนัน” เจริญรุ่งเรืองและมีอำนาจอยู่ในคาบสมุทรอินโดจีนเป็นเวลานานดุจดังอาณาจักรโรมันในทวีปยุโรบ จนกระทั่งถูกกองทัพเขมรโจมตีแตกสลายกลายเป็น “เสียมหลอก๊ก” หรือ “อาณาจักรสยามละโว้” ตามที่พงศาวดารจีนกล่าวไว้หรือว่าชนชาวไทยอพยพหลบหนีลี้ภัยมาจากทางตอนใต้ของเทศจีน ลงมาสร้าง “อาณาจักรสุโขทัย” ขึ้นเป็นอาณาจักรแห่งแรกของชนชาติไทย สืบต่อลงมาถึง อาณาจักรศรีอยุธยา อาณาจักรกรุงธนบุรี อาณาจักรรัตนโกสินทร์จริงหรือไม่
“ความจริงความลับที่ไม่เคยมีใครรู้เรื่องประวัติศาสตร์จักรวรรดิ์ไศเลนทร์”
การศึกษาค้นคว้าทางประวัติสาสตร์และโบราณคดีมาอย่างยาวนาน ทำให้ค้นพบข้อมูลใหม่หลายประการเป็นหลักฐานบ่งบอกอย่างชัดเจนว่า แผ่นดินประเทศไทยในอดีตเคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ดึกดำบรรพ์ตั้งแต่ในยุคมนุษย์วานรเรื่อยมา จนกระทั้งถึงสมัยเริ่มต้นประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คัมภีร์โบราณของอินเดียเรียกดินแดนแห่งนี้ว่า “สุวรรณภูมิ” หรือ “สุวรรณทวีป” ดินแดนซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราชทรงโปรดให้พรเถระผู้มีชื่อเสียงเดินทางมาเผยแพร่พุทธศาสนา เมื่อราวปลายพุทธศตวรรษที่ 2 สมัยต่อมาในปลายพุทธศตวรรษที่ 7 พงศาวดารจีนสมัยสามก๊กกล่าวถึงการติดต่อทางพระราชไมตรีกับ “อาณาจักรฟูนัน” ถึงแม้ว่าไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะยืนยันว่า ชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินแห่งนี้เป็น “ชนชาวสยาม” หรือ “ชนชาวไทย” เหมือนในสมัยปัจจุบันหรือไม่ แต่จากผลการขุดค้นแหล่งโบราณคดีสำคัญทั่วประเทศไทย พบหลักฐานมากมาย บ่งบอกให้ทราบว่า ชาวพื้นเมืองตั้งถิ่นฐานอาศัยสืบเนื่องกันมาอย่างไม่ขายสาย จนถึงสมัยปลายพุทธศตวรรษที่ 17 ศิลาจารึกวัดเขากบ จังหวัดนครสวรรค์ กล่าวถึงกษัตริย์ราชวงศ์ศรีสัชนาลัยทรงสถาปนา “กรุงอโยธยาศรีรามเทพนคร” เป็นราชธานีขึ้นริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระเจ้า หลังจากนั้น สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 พระเจ้าอู่ทอง ทรงย้ายไปสร้าง กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา ขึ้นบนเกาะในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำสักเมื่อพ.ศ.1893 สืบมาจนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีหลักฐานมากมายจนอาจกล่าวได้ว่า นับตั้งแต่สมัยเริ่มต้นประวัติศาสตร์มาจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทย มีอายุเก่าแก่ไม่น้อยกว่า 2300 ปีแล้ว
แผ่นดินไทยในยุคดึกดำบรรพ์
ดินแดนซึ่งเป็นที่ตั้งของประเทศไทยเคยเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ดึกดำบรรพ์เมื่อประมาณ 2 ล้านปีมาแล้ว นักโบราณคดีผู้เชี่ยวชาญทางธรณีสัณฐานและสภาพแวดล้อม ได้ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของมนุษย์วานรยุคแรก ซึ่งมีชีวิตความเป็นอยู่คล้ายคน เรียกว่า “โฮมินิคส์ (Hominids) ในชั้นหินบริเวณปากถ้ำ อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง เมื่อตรวจสอบอายุทางวิทยาศาสตร์แล้ว ปรากฏว่ามีอายุประมาณ 5,000,0000 ปี จัดอยู่ในสมัยไพลสโตซีนตอนต้น ร่วมสมัยกับมนุษย์ปักกิ่ง และมนุษย์ชวา เมื่อเปิดเผยผลการค้นพบอย่างเป็นทางการให้ชาวโลกรู้จัก จึงได้รับสมญานามเพื่อเป็นเกียรติ์ให้แก่ประเทศไทยว่า “มนุษย์ลำปาง” (Lampang Man)
หลักฐานการค้นพบซากฟอสซิลของมนุษย์วานรดังกล่าว บ่งชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยมีมนุษย์อยู่อาศัยมากว่า 2ล้านปีแล้ว นักโบราณคดีจึงได้ร่วมกันศึกษาเส้นทางการอพยพเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของ “มนุษย์ดึกดำบรรพ์” (Homo Erevtus) ที่เดินตัวตรง สูงในราว 1.6 เมตร หัวกะโหลกหนาหน้าผากกว้าง มีมันสมองขนาดเล็กเพียง 2 ใน 3 ของคนปัจจุบัน ยังชีพอยู่ด้วยการล่าสัตว์ เก็บพืชหาของป่ากินเป็นอาหาร ผลิตเครื่องมือทำด้วยหิน รู้จักรักษาตัวให้รอดพ้นจากอันตรายด้วยการอยู่รวมเป็นกลุ่มตามถ้ำและพิงผา ติดต่อสื่อสารกันด้วยภาษาพูด ขยายเผ่าพันธุ์สืบต่อกันไป เคลื่อนย้ายถิ่นฐานไปอยู่ในที่ต่าง ๆ ตลอดเวลาเหมือนดังสัตว์โลกทั้งหลาย ผู้เชี่ยวชาญโบราณคดีมีความเห็นว่า “มนุษย์ดึกดำบรรพ์พวกแรก” เกิดขึ้นในทวีปอาฟริกา ต่อจากนั้นได้อพยพเคลื่อนย้ายไปอยู่อาศัยในพื้นที่ต่าง ๆ
แต่ผู้เชี่ยวชาญในทางวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ยุคใหม่ ซึ่งยอมรับทั้งในด้านหลักการและรูปแบบเกี่ยวกับ“ทฤษฎีกำเนิดจักรวาล” (Big Bank) ที่ได้มีการพิสูจน์และยืนยันจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบว่า เมื่อราว10 พันล้าน ถึง 15 พันล้านปีก่อน จักรวาลเก่าหมดสิ้นอายุไปได้เกิดการระเบิดครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดและรุนแรงที่สุดเกินกว่าจะนำมากล่าวหรือเขียนด้วยภาษาให้เข้าใจได้ชัดเจน การระเบิดในครั้งนั้น เกิดความร้อนแรงมีอุณหภูมิมหาศาลถึง 10 ยกกำลัง 32 ล้านองศาเคลวิน เผาไหม้ทุกสิ่งทุกอย่างจนกลายเป็นเถ้าถ่านฝุ่นธุลีเปลี่ยนแปลงเป็นคลื่นรังสีไปหมดสิ้น คลื่นรังสีได้แผ่ขยายตัวออกไปเต็มทั่วขอบเขตของจักรวาลซึ่งหาที่สิ้นสุดไม่ได้
ต่อมาอุณหภูมิความร้อนรุนแรงเริ่มลดลง คลื่นรังสีได้ก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “อนุภาคปฐมภูมิ” (PrimordialParticles) หรือ “คว๊อด” จับคู่กันเป็นต้นตระกูล “อนุภาค” (Elementary Particles) ของมวลหรือสสารทั้งหลายคือ โฟตอน โปรตอน นิวตรอน อีเล็คตรอน และมีอีกมายมายที่ยังค้นหาไม่พบ มวลสารเหล่านี้รวมกลุ่มกันเป็นกลุ่มก๊าชละอองอวกาศ เป็นเนบิวล่า เป็นกาแล็คซี่
เมื่อจักรวาลมีอุณหภูมิยิ่งลดลง มวลสารยิ่งเกาะกลุ่มรวมตัวกันแน่นมากขึ้น จนกระทั่งหลายล้านปีต่อมา จึงเกิดเป็นดวงดาวหลายแสนล้านดวงขึ้นในกาแล็คซี่ ดาวแต่ละดวงก็คือ “ดวงอาทิตย์” ซึ่งดำรงอยู่ด้วยการเผาไหม้ของธาตุไฮโดรเจน และระเบิดอยู่ตลอดเวลา แรงระเบิดทำให้เกิดพลังงานเทอร์โมไดนามิค ขับเคลื่อนให้หมุนเวียนไปอย่างรวดเร็วการเผาไหม้และแรงระเบิดของดวงอาทิตย์ทำให้เกิดเป็น “มวลสาร” ขึ้น ครั้นมวลสารเย็นลง หดตัวเล็กลงเกิดการควบแน่นมากขึ้นตามลำดับ มวลสารเหล่านั้นถูกเผาไหม้จนกลายเป็นเถ้าถ่านของจักรวาล และกลับกาลายเป็นดวงดาวบริวารน้อยใหญ่วิ่งวนเวียนไปรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางเหมือนอย่าง “ระบบสุริยะของเรา”
นักวิทยาศาสตร์ดาราศาสตร์ฟิสิกส์อธิบายให้เห็นถึงแตกดับของจักรวาลเก่า แต่ไม่ใช่ดับสูญ เป็นการดับเพื่อเกิดใหม่ มีความเห็นว่า ระบบสุริยจักรวาลของเรา เกิดขึ้นมาเมื่อราว 6,000 ล้านปี ส่วนโลกและดาวพระเคราะห์ทั้งหลายเกิดขึ้นเมื่อราว 4,600 ล้านปีต่อมา นี่คือบทสรุปการกำเนิดจักรวาล และองค์ประกอบทั้งหมดอย่างสั้นที่สุดหยาบที่สุดเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าใจได้ง่ายที่สุดว่า เพื่อให้เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของ “สสาร” กลับกลายเป็น “พลังงาน” ในแบบกลับไปกลับมา การเลี่ยนแปลงไปในรูปวัฏจักรดังกล่าว ทำให้เกิดสิ่งที่เป็นนามธรรมสำคัญ 2 ประการ คือ“เวลา” (Time) หรือ “กาล” และ “อวกาศ” (Space) หรือ “ช่องว่าง”
นอกจากมิตินามธรรมที่ซับซ้อนของจักรวาล 2 ประการ คือ “เวลา” และ “อวกาศ” แล้ว ยังมีองค์ประกอบสำคัญของจักรวาลที่เป็นนามธรรมเกิดขึ้นในโลก ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ ไม่รู้และพิสูจน์ไม่ได้ก็คือ
“ชีวิต”(Life) และ “จิตวิญญาณ” (Spirit) นักวิทยาศาสตร์มีความเห็นว่า สิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นในโลกมีคุณสมบัติเป็นเศษเถ้าถ่านธุลีละอองคลื่นรังสีอันเกิดจากการระเบิดของจักรวาลที่เรียกว่า “บิ๊กแบ็ง” ต่อมาเปลี่ยนแปลงเป็น ดาวฤกษ์ ดาวพระเคราะห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่เกิดขึ้นบนดาวพระเคราะห์โลก ล้วนแต่ประกอบขึ้นด้วยธาตุที่มีอยู่ในส่วนต่าง ๆ ในโลกของเรามาก่อนแล้ว ดังจะเห็นได้จากแร่ธาตุทั้งหลายที่กระจายอยู่ในโลก จึงไม่เชื่อว่าสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย คือ มนุษย์ สัตว์ พืช ที่เกิดขึ้นในโลกย่อมเป็นไปในทำนองเดียวกัน จึงไม่เชื่อว่า “มนุษย์ดึกดำบรรพ์” พวกแรกเกิดขึ้นในทวีปอาฟริกา ต่อมาได้เคลื่อนย้ายไปยังส่วนต่าง ๆ ของโลกแต่เชื่อว่า “มนุษย์ดึกดำบรรพ์” เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคของโลกเหมือนอย่างสัตว์โลกอย่างอื่นและพืชพันธุ์ทั้งหลาย ต่อมาจึงได้อพยพเคลื่อนย้ายไปอยู่อาศัยในพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งมีความปลอดภัยและอุดมสมบูรณ์ แล้วผสมผสานกับชนพื้นเมืองดั้งเดิม ทั้งนี้เพราะว่าหลักฐานเกี่ยวกับวิวัฒนาการของชีวิตในระยะแรกที่เรียกว่า “แอรีส์” (Aries) เมื่อราว 4000 ล้านปี ภายหลังจากกำเนิดโลก มีองค์ประกอบสำคัญ คือ ไฮโดรเจน คาร์บอน และ ออกซิเจน
หลายล้านปีต่อมา “แอรีส์” ได้รับ ออกซิเจน มากขึ้น ได้กลายเป็นสิ่งมีชีวิตมีเรียกว่า “โปรแครี่โอไซต์ที่ไม่มีนิวเคลียส” (Prokaryocytes) พัฒนาการเป็นแหล่งเก็บรวบรวมข้อมูลความจำในอดีตทั้งมวลเอาไว้อย่างไม่มีวันลืมเลือนมาเป็นลำดับ ตั้งแต่กำเนิดโลกมาจนถึงปัจจุบันอย่างน่าอัศจรรย์ที่สุด เรียกว่า
“พันธุกรรมแห่งความจำ” หรือ “ดีเอ็นเอ” (Deoxyibonucleic acid) แหล่งรวบรวมข้อมูลความจำในอดีตที่เรียก “พันธุกรรมแห่งความจำ” หรือ “ดีเอ็นเอ” เป็นข้อมูลที่เกิดจากการเรียงตัวเป็นคู่ ๆ ยาวบ้างสั้นบ้างเป็นชุดของ “พันธุกรรมแห่งความจำ” เรียกว่า “ยีนส์” อันเป็นหน่วยในการกำหนดสัญลักษณ์พันธุกรรมของ ตระกูล ชาติพันธุ์ สายพันธุ์ และลักษณะเฉพาะของร่างกาย และอวัยวะของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย สำหรับมนุษย์นั้น มีจำนวน “ยีนส์พันธุกรรม” ทั้งหมดประมาณ 300,000 ยีนส์
ในด้านวิทยาศาสตร์ทางชีววิทยา มีหลักฐานเกินพอที่จะพิสูจน์วิวัฒนาการของชีวิต สามารถพิสูจน์ความเป็นมาของมนุษย์ดึกดำบรรพ์จนเกือบหมดข้อสงสัยว่าชีวิตวิวัฒนาการมาอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “มนุษย์ดึกดำบรรพ์” (Homo Erectus) ที่เกิดขึ้นทั่วโลกเมื่อราว 1 ล้านปีก่อน นักวิทยาศาสตร์เรียกว่า“ยุคโอลิสโตซีน” (Oleistocene Period) แบ่งแยกย่อยเกี่ยวกับพัฒนาการออกเป็นสมัยต่าง ๆดังนี้
- โฮโมอีเร็คตัส (Homo erectus) เมื่อราว 1 ล้านปี
- โฮโม ชาเปียนโบราณ (Arcgauc Homo Sapiens) เมื่อราว 2 แสนปี
- มนุษย์ร่วมสมัยโครมาญอง เขียนภาพมือที่ผนังถ้ำ เมื่อราว 40,000 ปี
- มนุษย์พัฒนาภาษาพูด เขียนภาพที่ผนังถ้ำ เมื่อราว 25,000 ปี
- มนุษย์วาดภาพซ่อนความหมายที่ผนังถ้ำและหน้าผาสูง เมื่อราว 15,000 ปี
- มนุษย์สมัยเริ่มต้นเกษตรกรรม เมื่อราว 12,000 ปี
- นักโบราณคดีธรณี สันนิฐานเชื่อว่าประเทศไทยเป็นเส้นทางเคลื่อนย้ายถิ่นของมนุษย์ดึกดำบรรพ์ยุคนั้น จึงได้สำรวจขุดค้นแหล่งที่สงสัยว่าอาจเคยเป็นอยู่อาศัยของ มนุษย์ดึกดำบรรพ์ บ้านแม่ทะ บ้านดอนมูล บ้านเขาป่าหนาม อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ถ้ำหลังโรงเรียน อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ จังหวัดกาญจนบุรี และในที่อื่น ๆ อีกหลายแห่ง พบเครื่องมือหินกรวด (Pebble Tool) ประเภทเครื่องมือขุด (Scrapes Tool) เครื่องมือตัดสับ (Choppers Chopping Tools) เมื่อนำอินทรียวัตถุจากดังกล่าวไปตรวจสอบด้วยวิธี เรดิโอคาร์บอน หรือ C-4 (Radiocarbon Datating) โดยการตรวจนับจำนวนของเบต้าที่หลงเหลืออยู่ในตัวอย่างของถ่านที่ค้นพบ ระบุว่าเครื่องมือหินกะเทาะมีอายุเก่าแก่กว่า 7000,000 ปี พบหลักฐานบางประการบ่งบอกว่า มนุษย์ดึกดำบรรพ์ ที่เรียกว่า “โฮโม อีเร็คตัส” พวกหนึ่งเดินทางจากทวีปเอเชียออกสู่ทะเลสามารถเข้ามหาสมุทรไปถึงผืนแผ่นดินของทวีปออสเตรเลียเมื่อราว 40,000 ปีก่อน
นอกจากนั้น คณะสำรวจได้ค้นพบซากฟอสซิลของ “มนุษย์โฮโมอีเร็คตัส” ในชั้นหินบริเวณปากถ้ำ อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง เช่น ชิ้นส่วนกะโหลกหน้าใกล้สันจมูกและกระบอกตา 3 ชิ้น เมื่อไปตรวจอายุทางวิทยาศาสตร์ปรากฏว่ามีอายุประมาณ 5,000,000 ปี จัดอยู่ในสมัยไพลสโตซีนตอนต้น ร่วมสมัยกับมนุษย์ปักกิ่งและมนุษย์ชวา จึงเรียกมนุษย์ดึกดำบรรพ์นั้นว่า “มนุษย์ลำปาง” (Lampang Man)
เมื่อไม่นามานี้นักโบราณชีววิทยา ได้ค้นพบฟันกรามด้านบนข้างขวาของมนุษย์ดึกดำบรรพ์ 1 ประปนอยู่กับฟอสซิลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในถ้ำวิมานนาคินทร์ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ มีอายุในราว 180,000 ปี
ต่อมานักโบราณคดี ได้สำรวจขุดค้นที่บ้านถ้ำหลังโรงเรียนทับปริก ถ้ำหมอเขียว จังหวัดกระบี่ พบว่า เคยเป็นที่พักพิงชั่วคราวของมนุษย์ดึกดำบรรพ์ ที่ใช้หินเป็นเครื่องมือยังชีพในการล่าสัตว์ จับสัตว์น้ำ เก็บเกี่ยวพืชป่าเป็นอาหาร มีอายุระหว่าง43,000-27,000 ปีก่อน เมื่อขดค้นพื้นดินชั้นล่างสุดพบเถ้าถ่านและกองไฟ มีเศษกระดูกสัตว์ไหม้ไฟ เครื่องมือหิน ที่ถูกทิ้งร้างไป ภายหลังมีคนเข้าไปอาศัยในถ้ำนั้นอีกหลายครั้ง พบเครื่องมือหินทั้งหมด 45 ชื้น ทำจากหินเชิร์ต เป็นรูป มีด เครื่องมือขุดเครื่องมืดตัดสับ ทำให้รู้ว่า แหล่งโบราณคดีถ้ำหลังโรงเรียนในจังหวัดกระบี่ มีนมนุษย์ดึกดำบรรพ์อาศัยอยู่ไม่ขาดสาย
นักโบราณคดีชาวอเมริกันได้ขุดค้นบริเวณ ถ้ำผี ถ้ำปุงฮุง ถ้ำผาชัน ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน พบเศษภาชนะดินเผา มีด หินชนวน เครื่องมือหินขัด และพบสิ่งของเครื่องใช้ของมนุษย์ดึกกำบรรพ์จากทางตอนใต้ของประเทศจีนผ่านประเทศพม่าเข้ามาสู่ภาคเหนือของประเทศไทย นอกจากนั้น ยังมีหลักฐานว่า “มนุษย์ยุคหิน” หรือ กลุ่มชนหาอาหารจากธรรมชาติภายในถ้ำดังกล่าว คล้ายกับที่พบทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม มีชื่อเรียกอื่นอย่างหนึ่งว่า “วัฒนธรรมบักซอน” และ“วัฒนธรรมบินเฮียน” ซึ่งเป็นชื่อตำบลที่พบเครื่องมือเครื่องใช้ในมณฑลตังเกี๋ย ประเทศเวียดนาม เครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์ดึกดำบรรพ์เหล่านี้ ยังขุดพบในแถบเมืองหลวงพระบาง ในประเทศลาว และฝั่งตะวันออกของเกาะสุมาตรา
ต่อมา นักโบราณคดีได้ค้นพบสิ่งของทำด้วยสัมฤทธิ์ด้วยฝีมือชั้นยอดเยี่ยมจำนวนมาก เช่น กลองมโหระทึก หลายขนาดหลายรูปแบบ เครื่องมือชั่ง ตวง วัด ที่ตำบลดองซอน ในมณฑลตังเกี๋ย มีภาพแสดงถึงการต่อเรือ การเดินเรือในทะเลและความรู้ความเข้าใจทางดาราศาสตร์ เรียกวัฒนธรรมโลหะดังกล่าวเรียกกันว่า “วัฒนธรรมดองซอน” กลองมโหระทึกสัมฤทธิ์ ที่ใช้ในพิธีทางศาสนาค้นพบว่าแพร่หลายทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นหลักฐานยืนยันว่า ชนชาติที่เป็นเจ้าของวัฒนธรรมเป็นชาวเรือที่มีความทรหดอดทน เดินเรือท่องเที่ยวไปติดต่อค้าขายไปยังแดนไกล สันนิษฐานว่าชนชานพื้นเมืองในดินแดนประเทศไทยสมัยนั้น อาจได้รับความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมสัมฤทธิ์จากชนชาวพื้นเมืองดังกล่าวมาก่อนสมัยที่จะได้รับวัฒนธรรมจีนและอินเดีย
ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวเนเธอร์แลนด์มีชื่อว่า แวน แฮกเคอเรน (Van Heekeren) ถูกจับเป็นเชลยศึกของญี่ปุ่น ส่งตัวมาสร้างทางรถไฟสายมรณะจากจังหวัดกาญจนบุรีในประเทศไทยไปยังประเทศพม่า ได้ค้นพบ“เครื่องมือหินกะเทาะ” ของมนุษย์ดึกดำบรรพ์โดยบังเอิญ เมื่อสงครามโลกสิ้นสุดลง จึงได้กลับมาขุดค้นทางโบราณคดีในถ้ำที่ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี พบกระดูกของสัตว์ เช่น ควายป่า หมู่ป่า กวาง แรด เลียงผา พบเครื่องมือหินจำพวก เครื่องขุด เครื่องสับตัด ขวาน ฉมวก หัวธนู สอดคล้องกับการขุดค้นที่ถ้ำองบะ ที่อยู่ห่างออกไปในราว 15 กิโลเมตร พบเครื่องมือหินในทำนองเดียวกัน กำหนดอายุได้ในราว 11,200-9400 ปี
การขุดค้นที่ถ้ำเขาทะลุ ในลุ่มน้ำแควน้อย และบ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี พบเครื่องมือหินปะปนอยู่กับกระดูกสัตว์ เช่น หมูป่า กวาง วัว ปลา ปู หอย เต่า ตลอดจนเมล็ดพืช กำหนดอายุจากตัวอย่างของถ่าน พบว่ามีอายุระหว่าง 10,000-3,000 ปี
การขุดค้นแหล่งโบราณในที่ราบลุ่มแม่น้ำบางปะกง บริเวณภาคกลางของประเทศไทย จากการขุดค้นเนินดินที่บ้านหนองโน บ้านโคกพนมดี อำเภอพนมดี อำเภอพนัสนิคม และอำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี พบเศษภาชนะดินเผา ลูกปัด เปลือกหอย กระดูกปลาฉลาม ปลาโลมา ควายป่า เบ็ดตกปลา ทำให้ทราบแน่นอนว่า มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์หาอาหารจากธรรมชาติชายฝั่งทะเลในยุคนี้ รู้จักปั้นภาชนะดินเผา เป็นรูปหม้อ นำไปเผาไฟให้แข็งแกร่ง และรู้จักทำเครื่องมือหินขัดให้คน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้นมา ตั้งแต่ช่วงระยะ 10,000 ปีมาแล้ว และอาจรู้จักเลี้ยงสัตว์ปลูกพืช จับสัตว์น้ำ ดำรงชีวิตอยู่ตามแนวชายฝั่งทะเล ต่อเนื่องมาถึงสมัย 6000 ปีก่อน อันเป็นยุคเริ่มต้น “เกษตรกรรมยุคแรก” (Neolithic)
จากหลักฐานดังกล่าว เป็นข้อมูลยืนยันว่า มนุษย์ดึกดำบรรพ์อาศัยอยู่ในดินแดนประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่องยาวนานมาตั้งแต่ “ยุคหินเก่า” (Paleolithic Age) เมื่อราว 12,000 ปีก่อน ต่อมามนุษย์ดึกดำบรรพ์พวกนี้เคลื่อนย้ายเข้ามาสู่ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉพียงใต้ ใน “ยุคหินกลาง” (Mesolithic Age) ในราว 10000 ปีก่อน มนุษย์ดึกดำบรรพ์สมัยนี้รู้จักประดิษฐ์เครื่องมือจับปลา ขุดเรือขึ้นใช้ จนกระทั่งมาจนถึง “ยุดหินใหม่” (Neolithic Age) เมื่อราว 2500 ปีก่อน มนุษย์ดึกดำบรรพ์เหล่านี้รู้จักสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยนอกถ้ำแล้ว รู้จักทอผ้า ใช้หนังสัตว์นุ่งห่ม ทำการเพาะปลูกไร่เลื่อยลอย เลี้ยงสัตว์ ทำเครื่องปั้นดินเผา ตั้งหลักแหล่งอยู่ถาวร ขยายตัวเป็นชุมชน จัดตั้งหัวหน้าเผ่าขึ้นมาดูแลเริ่มมีความเชื่อว่าวิญญาณสิงสถิตอยู่ตามธรรมชาติ เช่น ต้นไม้ใหญ่ ภูเขา ทะเล แม่น้ำ เกิดประเพณีเคารพภูตผี สร้างอนุสาวรีย์ให้แก่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ พบเห็นกันอยู่ทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ภายหลังจากมนุษย์ดึกดำบรรพ์ตั้งหลักแหล่งอยู่ถาวร ขยายตัวเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีหัวหน้าคอยควบคุมดูแลสร้างวัฒนธรรมประเพณีประจำชุมชนใน “ยุคหินใหม่” ต่อมาพัฒนาการในแบบค่อยเป็นค่อยไปเป็นเวลานานนับพันปีได้ผสมผสานกันด้วยการสืบสายโลหิตระหว่างชุมชน รวมตัวกันเป็นชุมชนใหญ่ขึ้นมาตามลำดับ รู้จักติดต่อกับกลุ่มชนภายนอก ทำให้มีความรู้ความสามารถในการเล่นแร่แปรธาตุ โดยใช้ความร้อนหลอมละลายโลหะจำพวก ทองแดง ดีบุกตะกั่ว และสารหนู ประดิษฐ์ขึ้นเป็นเครื่องมือเครื่องใช้แทนเครื่องมือหิน ด้วยวิธีทำแม่พิมพ์ด้วยขี้ผึ้งตามแบบที่ต้องการแล้วหลอมละลายทองแดงผสมกับ ดีบุก หรือตะกั่ว ให้กาลเป็นโลหะผสมเข้าไปแทนที่ขี้ผึ้งในแม่พิมพ์ ทิ้งไว้ให้เย็นจึงกะเทาะแม่พิมพ์ออก ก็จะได้เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยโลหะผสมตามความต้องการ เทคนิคในการผลิต โดยวิธีแทนขี้ผึ้ง คล้ายกับการหล่อสัมฤทธิ์ทางมณฑลกวางตุ้ง กวางสี เสฉวนในประเทศจีน จากการหาอายุด้วยวิธีคาร์บอน 4 พบว่ามีอายุในราว 4000-2500 ปี จึงเรียกสมัยการผลิต กำไล แหวน ลูกกระพรวน ใบหอก หัวขวาน หัวธนู กลองมโหระทึกที่หล่อขึ้นด้วยโลหะสัมฤทธิ์ขึ้นเป็นสินค้าเพื่อซื้อขายแลกเปลี่ยนกับผลิตภัณฑ์ของชุมชนอื่นในสมัยนั้นว่า “ยุคสัมฤทธิ์” (Bronz Age)
การขุดค้นบริเวณ หุบเขาวงพระจันทร์ บ้านท่าแค บ้านโคกเจริญ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ตลอดจนแหล่งโบราณคดีบนที่ราบสูงโคราช ที่บ้านโนนนกทา จังหวัดขอนแก่น บ้านโนนเก่าน้อย อำเภอกุมภวาปี บ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี พบเครื่องมือเครื่องใช้สัมฤทธิ์ฝังรวมอยู่ในหลุมศพ จึงทำให้ทราบว่า แหล่งโบราณคดีดังกล่าว เคยเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ดึกดำบรรพ์ในยุคสัมฤทธิ์
การขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี พบเครื่องมือเครื่องใช้สัมฤทธิ์จำนวนมากและพบเครื่องประดับในการอวดฐานะและความมั่งคั่ง รวมทั้งของฟุ่มเฟือย เช่น ลูกปัดแก้วมากถึง 3000 เม็ด ลูกปัดหินทำจาก คาร์นีเลี่ยน อาเกต และ หยก จำนวน 600 เม็ด แสดงให้เห็นว่า เป็นหลุมฝังศพของผู้นำชุมชนที่มีฐานะร่ำรวย และมีการติดต่อค้าชายแลกเปลี่ยนสินค้ากับชนชาวพื้นเมืองอื่น รวมทั้งพ่อค้าที่เดินทางมาจากต่างประเทศที่ไกลออกไป ทั้งนี้เพราะว่าค้นพบโลงไม้บรรจุศพของชนชั้นผู้นำจำนวนมากที่ถ้ำองบะ จังหวัดกาญจนบุรี ทุกศพสวมลูกปัดร้อย เป็นสร้อยคอ เข้มขัด รวมทั้งกลองมโหระทึกสัมฤทธิ์ จำนวน 6 ใบ พงศาวดารจีนสมัยราชวงศ์สุย จดบันทึกไว้ว่า “ชนชาวคุนลุ้น” ซึ่งหมายถึงชนชาวพื้นเมืองในคาบสมุทรอินโดจีน ในสมัยโบราณ ก่อนที่จะออกทำศึกสงคราม หัวหน้าเผ่าจะตีกลองมโหระทึกเรียกบรรดานักรบ หลักฐานการค้นพบเหล่านี้เป็นเครื่องยืนยันให้เห็นว่า ชุมชนโบราณของมนุษย์ในยุคสัมฤทธิ์ ได้พัฒนาการเจริญก้าวหน้าพ้นจากสภาพของ “คนป่าเถื่อน” แล้ว รู้จักสร้างชุมชนรวมกลุ่มกันจัดระบบสังคม มีหัวหน้าคอยปกป้องคุ้มครองเผ่าพันธุ์จากการคุกคามจากชนเผ่าอื่น
หลังจากนั้นมนุษย์ดึกดำบรรพ์พัฒนาการเข้าสู่ “ยุคโลหะ” มีความชำนาญในการสร้างเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วย“สัมฤทธิ์” ได้ไม่นาน ก็ค้นกรรมวิธีใช้ความร้อนสูงให้ขึ้น จนสามารถหลอมละลายแร่เหล็ก เพื่อสกัดแยกอากาศที่ไม่บริสุทธิ์ออกไปให้หมดสิ้น เหลืออยู่แต่เพียงเนื้อเหล็กบริสุทธิ์ นำเนื้อเหล็กมาหลอมเป็นแท่ง เมื่อต้องการสร้างเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ชนิดใด ก็นำไปเผาไฟให้ร้อนจัดจนเป็นสีแดง ใช้ค้อนเหล็กตีให้ขึ้นเป็นรูปแบบได้ตามความมุ่งหมาย ในสมัยเริ่มต้น “ยุคเหล็ก” (Iron Age) มนุษย์ดึกดำบรรพ์ที่อาศัยอยู่ในดินแดนประเทศไทย ล้วนแต่มีความชำนาญในการถลุงเหล็กเกือบทุกแห่ง เนื่องจากค้นพบหลักฐานการถลุงเหล็กกันอย่างกว้างขว้าง ดังจะเห็นได้จากหมู่บ้านมากมายมีชื่อว่า “บ้านขี้เหล็ก” แสดงให้เห็นว่าในสมัยเมื่อ 2500 ปีก่อน มนุษย์ดึกดำบรรพ์ในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พัฒนาการผ่านพ้น “ยุคสัมฤทธิ์” มาสู่ “ยุคเหล็ก” อย่างรวดเร็ว และเป็นยุคที่เริ่มต้นติดต่อค้าขายและแลกเปลี่ยนสินค้ากับพ่อค้าชาวอินเดีย จีน อาหรับ กรีก โรมัน และบ้านเมืองในประเทศข้างเคียง สันนิษฐานว่าพ่อค้าชาวอินเดีย ได้เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายและแลกเปลี่ยนสินค้ากับชาวพื้นเมือง พร้อมกับนำศิลปวัฒนธรรมทันสมัยเข้ามาเผยแพร่ให้แก่ชาวพื้นเมืองผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม อย่างกว้างขวาง บ้านเมืองขยายตัวใหญ่โต สลับซับซ้อนมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากคลื่นอารยธรรมอินเดียหลั่งไหลเข้ามาไม่ขาดสาย ศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์ วรรณคดีภาษาสันสกฤต หลักการปกครองและการบริหารบ้านเมือง ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีราชสำนักของอินเดีย เข้ามาปลูกฝังอย่างแน่นหนาศาสนาพราหมณ์ ยกย่องผู้นำชนพื้นเมืองซึ่งแต่เดิมเป็นมนุษย์ธรรมดาให้มีฐานสูงส่งเป็น “เทวราชา” (God King) เทิดทูลว่าเป็นผู้มีบุญญาอภินิหารอวตารลงมาเกิดในโลกมนุษย์ จึงเป็น “สมมุติเทพ” เสมือนดังเป็นภาคหนึ่งของพระศิวะ พระนารายณ์ จึงต้องเคารพกราบไว้บูชาเหมือนดังเทพเจ้า ในทำนองเดียวกันศาสนาพุทธยกย่องกษัตริย์ว่า เป็นผู้ปกครองบ้านเมืองตามหลักทศพิธราชธรรม จึงเป็น “พุทธราชา” ดุจดังเป็นพระพุทธเจ้า
หลังจากนั้นในสมัย พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์บัลลังก์ กรุงปาฏลีบุตร บรรดาเชื้อพระวงศ์เหล่าเสนาอำมาตย์ที่เป็นฝ่ายตรงข้าม ถูกกวาดล้างเข่นฆ่าอย่างทารุณโหดร้าย พระองค์ได้รับสมญานามว่า “จัณทาโศก” สันนิษฐานว่า ในสมัยนั้น พวกที่รอดชีวิตคงหลบหนีลี้ภัยลงเรือข้ามมหาสมุทรเข้ามายังดินแดนคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทยจำนวนมาก ต่อมาเมื่อกองทัพของ พระจ้าอโศกมหาราช ได้บุกลงมาโจมตี เมืองโตสาลี ราชธานีของ อาณาจักรกลิงคราช หรือแคว้นโอริสา ในสมัยปัจจุบัน จารึกของพระเจ้าอโศกมหาราชกล่าวว่า ทหารของฝ่ายกลิงคะ ถูกฆ่าฟันบาดเจ็บล้มตายลงนับแสน ถูกจับเป็นเชลยศึกหลายแสนคน ที่รอดชีวิตคงหลบหนี้ลี้ภัยเข้ามายังดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมกับนำศิลปวิทยาอันรุ่งเรืองเข้ามาเผยแพร่ให้แก่ชาวพื้นเมืองและราชสำนักในสมัยนั้น
คัมภีร์มหาวงศ์พงศาวดารลังกา ถือว่าเป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ เพราะว่าได้จดบันทึกเรื่องราวในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงส่งคณะธรรมทูตเดินทางมาเผยแพร่พุทธศาสนาในลังกาทวีป เมื่อ พ.ศ. 296 ไว้เป็นลายลักษณ์อย่างละเอียด จนอาจกล่าวได้ว่า เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์พุทธศาสนาและประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีมาก่อนพงศาวดารจีน นอกจากกล่าวถึงพระราชาประวัติของ พระเจ้าอโศกมหาราชแห่งชมพูทวีป โดยอ้างว่าพระองค์ทรงสืบเชื้อสายมาจาก “พระเจ้าจันทรคุปต์” ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์โมริยะ ทรงทำสงครามขับไล่กองทัพของ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช แห่งจักรวรรดิกรีก จนล่าถอยกลับไปแล้ว ยังกล่าวถึงพระราชนัดดาของ พระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า “เจ้าชายสุมิตร” ได้เสด็จลงเรือมายัง “กรุงสุรรณปุระ”
ข้อความคัมภีร์เก่าแก่ของชาวอินเดีย กล่าวถึงดินแดนที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเป็นแหล่งอุดมไปด้วยทองคำและทรัพยากรมีค่าหายากนานาชนิดไว้อย่างกระท่อนกระแท่น เรียกดินแดนแห่งโลกใหม่นั้นว่า “สุวรรณภูมิ” หรือ “สุวรรณทวีป” แต่ไม่มีใครทราบว่าดินแดนแห่งนั้นตั้งอยู่ที่ไหน คงตั้งข้อสันนิษฐานกันอย่างกว้าง ๆ ว่า หมายถึงดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนกระทั่งถึงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช คัมภีร์ของพุทธศาสนาจดบันทึกว่า พระองค์ทรงโปรดให้พระเถระ 2 พี่น้อง ที่ชื่อว่า พระโสณะเถระ กับพระอุตระเถระ ไปยัง สุวรรณภูมิมนุษย์จารึกตัวอักษรบันทึกเรื่องราว ประมาณ 5,000 ปี
ถึงแม้ว่าข้อความในคัมภีร์พุทธศาสนาได้สะท้อนนัยความหมายให้รู้ว่า “ดินแดนสุวรรณภูมิ” ที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศอินเดีย เป็นเมืองท่าเรือของอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรือง มีชื่อเสียเลื่องลือขจรไปไกล อาณาจักรมิตรประเทศโพ้นทะเลแห่งนี้ เคยติดต่อทางพระราชไมตรีกับราชสำนักโมริยะมาแล้วเหมือนอย่างประเทศทั้งหลาย ซึ่งศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราช กล่าวว่า ทรงโปรดให้ส่งคณะธรรมทูตเดินทางมาเผยแพร่พุทธศาสนา ไม่ได้เป็นบ้านป่าเมืองเถื่อนอย่างแน่นอน แต่ไม่มีรายะเอียดชัดเจนว่า “อาณาจักรสุวรรณภูมิ” ตั้งอยู่ที่ไหน นักประวัติศาสตร์มีความเห็นแตกต่างกันไปคนละทิศคนละทาง แต่ในสมัยต้นพุทธศตวรรษที่ 3 คัมภีร์มหาวงศ์พงศาวดารลังกา ได้อธิบายขยายความให้ทราบเพิ่มเติม คล้ายกับบอกกล่าวให้ทราบถึงชื่อเมืองหลวงของ “อาณาจักรสุวรรณภูมิ” ในสมัยนั้นไว้ความว่า
“เจ้าชายสุมิตร” แห่งราชวงศ์โมริยะ เสด็จลงเรือไปยัง “กรุงสุวรรณปุระ”
ถึงกระนั้นก็ตามเรื่องราวของแผ่นดินลึกลับซึ่งเคยเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ดึกดำบรรพ์ในคาบสมุทรอินโดจีนที่ในคัมภีร์โบราณของชาวอินเดีย และคัมภีร์ของพุทธศาสนา ที่เรียกกันว่า “สุวรรณภูมิ” หรือ “สุวรรณทวีป” และ “กรุงสุวรรณปุระ” ก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจน จนกระทั่งในสมัยปลายพุทธศตวรรษที่ 7 พงศาวดารจีนสมัยราชวงศ์เหลียงได้จดบันทึก อาณาจักรเก่าแก่ที่มีอำนาจขึ้นเหนือคาบสมุทรอินโดจีนเป็นครั้งแรก ในสมัยเริ่มต้นประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชื่อเป็นภาษาจีนว่า “ฟูนันก๊ก”
พงศาวดารจีนสมัยราชวงศ์เหลียงกล่าวหาว่า กษัตริย์อาณาจักฟูนัน ได้ส่งกองทัพไปช่วยเหลือ “ชาวจามปา” ซึ่งเป็นชนชาวพื้นเมืองในประเทศเวียดนาม บุกรุกขึ้นไปโจมตีแย่งชิงดินแดนมณฑลตังเกี๋ย มณฑลเกียวเจา ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของจีนไปจัดตั้งเป็น “อาณาจักรจามปา” จีนเรียกว่า “หลินยี่ก๊ก” และยังกล่าวไปถึงเรื่องราวย้อนหลังว่า เมื่อครั้งมหาราชผู้ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งของ “อาณาจักรฟูนัน” พระนามว่า “พระจ้าฟันจีมัน” พระองค์ทรงทำสงครามปราบปรามอาณาจักรน้อยใหญ่ในคาบสมุทรอินจีนไว้ในอำนาจจนหมดสิ้นแล้ว ยังคงเหลื่ออยู่แต่อาณาจักรที่เจริญรุ่งเรืองและมีอำนาจทางทะเลแห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่คนละฝั่งกับ “จักรวรรดิฟูนัน” มีทะเลน้อยคั่นอยู่ระยะทางห่างไกลกันในราว 2000 ลี้ หรือประมาณ 1100 กิโลเมตร อาณาจักรเก่าแก่ที่มีอำนาจทางทะเลซึ่งมหาราชฟันจีมันไม่สามารถพิชิตได้ มีชื่อในภาษีจีนว่า
“จีนหลินก๊ก” แปลว่า แผ่นดินทอง หรือ สุวรรณภูมิ ในภาษาอินเดีย
“อาณาจักรจินหลิน” หรือ “อาณาจักรสุวรรรภูมิ” ได้กลายเป็นปมปัญหาสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ยังไม่มีใครสามารถคลี่คลายให้กระจ่างได้มาจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากไม่มีใครทราบแน่นอนว่า “อาณาจักรฟูนัน” ตั้งอยู่ที่ไหน แม้ว่าพงศาวดารจีนสมัยราชวงศ์เหลียงระบุไว้ชัดเจนว่า “อาณาจักรฟูนัน” ตั้งอยุ่ทางทิศตะวันตกของ “อาณาจักรจามปา” มีระยะทางห่างกันในราว 3000ลี้ หรือประมาณ 1700 กิโลเมตรเศษ เป็นที่ทราบอย่างแน่ชัดแล้วว่า “อาณาจักรจามปา” ในยุคแรกตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของประเทศเวียดนาม ต่อมาได้ถอยร่อนลงไปทางใต้และยืนยันว่า “อาณาจักรเขมร” ซึ่งจีนเรียกว่า “เจนละก๊ก” ประเทศเพื่อนบ้านอยู่ใกล้ชิดติดกันมาตั้งแต่สมัยเริ่มต้นประวัติศาสตร์คาบสมุทรอินโดจีน พงศาวดารจีนยืนยันว่า “อาณาจักรเขมร” ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของ “อาณาจักรจามปา”
แต่ศาสตราจารย์ ยอร์จ เซเดส์ ซึ่งได้รับยอกย่องว่าเป็นนักปราชญ์ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีแห่งปลายบูรพาทิศ มีความเห็นว่า “อาณาจักรฟูนัน” ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเขมร ขัดแย้งกับข้อความในพงศาวดารเหลียง กลับกลายเป็นว่า “อาณาจักรฟูนัน” ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของ “อาณาจักรจามปา” แม้ว่านักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีส่วนใหญ่เชื่อถือคล้อยตามความเห็นของ ศาสตราจารย์ ยอร์จ เซเดส์ ก็ตาม แต่เมื่อตรวจสอบหลักฐานกับแผนที่ภูมิศาสตร์ก็จะเห็นว่า “จินหลินก๊ก” หรือ “อาณาจักรสุวรรณภูมิ” ที่พงศาวดารจีนสมัยราชวงศ์เหลียงระบุไว้ว่า ตั้งอยู่ที่ชายฝั่งทะเล มีระยะทางห่างจาก “อาณาจักรฟูนัน” ในราว 2000 ลี้ มีทะเลน้อยคั่นอยู่ ก็หมายถึงดินแดนคาบสมุทรทางภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งนักปราชญ์ชาวกรีก ผุ้เขียนแผนที่ภูมิศาสตร์โลกฉบับแรกขึ้นในสมัยปลายพุทธศตวรรษที่ 6 เรียกดินแดนที่เป็นแหลมคล้ายกับงวงช้างยื่นยาวออกไปในทะเลเกือบ 2000 กิโลเมตร ดุจดังกำแพงกั้นขวางเส้นทางสัญจรไปมาระหว่างอินเดียกับจีน ว่า “คาบสมุทรทองคำ” (Gold Khersonese)
เมื่อไม่นานมานี้ กรมศิลปากร ได้ขุดค้นแหล่งโบราณคดีในคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทย ทั้งในแถบชายฝั่งทะเลตะวันออก คือ แหล่งโบราณคดี ควนพุนพิน แหล่งโบราณคดี เขาศรีวิชัย อำเภอพุนพิน และแหล่งโบราณคดี แหลมโพธิ์ ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในแถบชายฝั่งทะเลตะวันตก คือ แหล่งโบราณคดีบ้านทุ่งตึก แหล่งโบราณคดี เขาพระเหนอ อำเภอตะกั่วป่าจังหวัดพังงา รวมทั้ง แหล่งโบราณคดี บ้านควนลูกปัด อำเภอคลองท่อน จังหวัดกระบี่ แหล่งโบราณคดี ภูเขาทอง อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง พบโบราณสถานและโบราณวัตถุเก่าแก่จำนวนมาก ผลการศึกษาแหล่งโบราณคดีดังกล่าว ทำให้นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีในสมัยปัจจุบันส่วนใหญ่ยอมรับว่า ดินแดนบริเวณตอนกลางคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทย เป็นแหล่งเริ่มต้นรับอารยธรรมจากอินเดียสมัยแรก เริ่มมาก่อนบ้านเมืองอื่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งยังมีร่องรอยเส้นทางการค้าข้ามคาบสมุทรหลงเหลืออยู่จนถึงทุกวันนี้ เป็นหลักฐานสนับสนุนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ดินแดนคาบสมุทรทางภาคใต้ของประเทศไทย ตั้งอยู่บน “เส้นทางการค้าของโลกทะเล” (World System) มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ทำให้น่าเชื่อว่าดินแดนแห่งนี้ น่าจะเป็นที่ตั้งของ “อาณาจักรสุวรรณภูมิ” ในยุคเริ่มต้นประวัติศาสตร์ ตามที่คัมภีร์โบราณของอินเดียและคัมภีร์มหาวงศ์พงศาวดารลังกากล่าวไว้