การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานคืออะไร
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานคือ ปัญหาในชีวิตจริงที่มีอยู่รายล้อมรอบตัวรายวิชาที่กำหนดไว้ให้ศึกษาเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งจากที่ได้ถูกสร้างมา โดยที่ปัญหานั้นมีโครงสร้างแบบหลวมๆ (ill-structured) ปลายเปิด (open-ended) หรือคลุมเครือ (ambiguous) ปัญหาที่คลุมเครือคือไม่ชัด (fuzzy) ยังสงสัยอยู่ (unclear) หรือไม่ก็เป็นไปในลักษณะที่จำแนกแยกแยะไม่ออกว่าอะไรกันแน่คือเจ้าตัวที่เป็นปัญหา และปัญหาที่มักจะพบอยู่บ่อยครั้ง เห็นจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ ความยุ่งยากและสับสนที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์ต่อกันอยู่ร่ำไปที่แฝงอยู่ในองค์ประกอบต่างๆนั่นเอง ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่สำคัญเป้นอย่างยิ่ง หากผู้อ่านต้องการทราบเกี่ยวกับความยุ่งยากและสับสนที่ว่านี้ อยากแนะนำให้อ่านบทความเรื่อง คิดในสายฝน ของ วัฒน์ วรรลยางกูร ในนิตยสาร all magazine ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 เดือน กรกฎาคม 2553 หน้าที่ 64-65 น่าจะเสริมความคิดทำให้กระจ่างในประเด็นนี้ (คำแนะนำจากครูคณิตศาสตร์แห่งแหลมบัววิทยา) ประสาทสัมผัสทั้งห้าเป็นป้อมปราการด่านแรกสุดที่ทำหน้าที่รับปัญหา แต่วิเคราะห์ปัญหาได้ไม่เต็ม ยกตัวอย่างเช่น เด็กนักเรียนหรือครูใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้ารับรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในสนามเด็กเล่น ตอนช่วงเวลาพักกลางวัน แต่ทั้งครูและนักเรียนก็ไม่ทราบแน่ชัดได้เลยว่า อะไรคือปัญหา
พักเหนื่อยที่ 1 : ครูคณิตศาสตร์แห่งแหลมบัววิทยา
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเข้ามาสู่ตัวผู้เรียนได้อย่างน่าทึ่ง (มหัศจรรย์) ไม่ว่าจะมองไปในแง่ของโลกแห่งความเป็นจริงและการได่สวนด้วยปัญญาอย่างตรงเป้าหมายเลยทีเดียวหรือที่นักคณิตศาสตร์มักจะเรียกตามศัพท์เฉพาะทางคณิตศาสตร์ว่า การไต่สวนด้วยปัญญาแบบ100% (ความคิดเห็นของครูคณิตศาสตร์แห่งแหลมบัววิทยา) และผู้เรียนสามารถนำเอาสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้เหล่านั้นไปปรับใช้ได้ในสถานการณ์ชีวิตจริง (Barell, 1995) ผู้เรียนจะกลายมาเป็นผู้ถือผลประโยชน์ร่วม (stakeholder) การหยั่งรู้ถึงปัญหาจึงเปรียบได้เหมือนดั่งกับว่า พวกเขาทั้งหลายเป็นเจ้าของปัญหานั้นเสียเอง ในสภาพความจริงจึงยอมรับได้ว่าจุดเด่นของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานประการหนึ่ง คือ การที่ผู้เรียนได้เป็นเจ้าของปัญหาและปัญหานั้นก็ถูกคลี่คลายจากผู้เรียนโดยตรง
พักเหนื่อยที่ 2 : ครูคณิตศาสตร์แห่งแหลมบัววิทยา
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานมีการดำเนินการอย่างไร
ก่อนที่จะนำทุกท่านไปสู่จุดเริ่มต้นของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานนั้นมีจุดกำเนิดอยู่ที่โครงสร้างแบบหลวมๆของปัญหานั่นเอง ดังนั้นภาวะก่อนที่จะเข้ามาสู่จุดเริ่มต้นนั้น ขอเรียกว่าภาวะนี้ว่า "ภาวะยุ่งเหยิง" ในภาวะยุ่งเหยิงนี่เองที่ทำให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้ความสามารถทางปัญญาเป็นอย่างมาก (Gardner, 1983) ทั้งจากการอภิปรายก็ดีหรือจากการค้นคว้าหาข้อมูลก็ดี เพื่อนำไปสู่ปัญหาที่แท้จริงที่มีอยู่ใกล้ตัวของผู้เรียน แล้วผู้เรียนก็จะเริ่มมีการนิยามปัญหา รวบรวมข้อมูลความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริง สร้างคำถาม ตั้งสมมติฐาน ข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้คาดว่ามีอะไรบ้าง ตอกย้ำปัญหา และลงท้ายด้วย สร้างทางเลือกที่หลากหลาย สนับสนุนผลลัพธ์ที่ได้มา และทำการตรวจสอบว่าผลลัพธ์ที่ได้มานั้นเป็นที่ยอมรับ กระบวนการในการเข้าถึงปัญหาแต่ละปัญหานั้นจำต้องอาศัยองค์ประกอบภายในองค์ประกอบของมันเอง ทั้งมูลเหตุและสภาพแวดล้อม...
พักเหนื่อยที่ 3 : ครูคณิตศาสตร์แห่งแหลมบัววิทยา
การเผชิญปัญหา (Meeting the Problem)
การอ่านหนังสือ การแสดงบทบาทสมมติ การสร้างวิดีทัศน์แนะนำตัวเอง การสร้าง Blog บน true ปลูกปัญญา หรืออาจจะเป็นการสร้างสรรค์ผลงานต่างๆโดยใช้พหุปัญญา (the multiple intelligences) ก็นับว่าเป็นการซึมซับหรือดูดซึมประการณ์ (assimilation) ให้กับภาวะเผชิญปัญหา (meet the problem) ของผู้เรียนได้ทั้งแทบสิ้น (จิ๊บ ๆ ๆ ๆ .... เสียงนกร้อง)
โครงสร้างที่หลวมของปัญหา (ill-structed) ลักษณะแบบนี้นี่เองที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้เรียนไม่ทราบถึงแก่นแท้ของปัญหา (Stepien et al. 1993) ปัญหาปลายเปิด (open-ended problems) มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะถูกนำมาใช้ในการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ผู้เรียนจึงเห็นถึงความแตกต่างที่ตัวรายวิชานี้กับตัวรายวิชาอื่นๆที่ถูกกำหนดไว้ให้ศึกษาเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ว่า หลักสูตรนี้กับหลักสูตรอื่นนั่นเอง หากยอมรับได้ว่า หลักสูตร คือ รายวิชาที่กำหนดไว้ให้ศึกษาเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง ตามความหมายจากพจนานุกรม ฉบับบัณฑิตยสถาน (ความคิดเห็นของครูคณิตศาสตร์แห่งแหลมบัววิทยา)
ปัญหา หรืออาจจะเรียกว่า สิ่งที่ยุ่งเหยิง ก็น่าจะได้ เพราะความหมายที่สื่อออกมานั่น ไม่ได้ต่างกันเลย เมื่อทอดตัวผ่านไปยังโครงที่หละหลวม (ill-structured) ปลายเปิด ละครชีวิต(ฉากหนึ่งในบทบาทสมมุติ) ล้วนแล้วแต่เป็นการอธิบายให้เห็นถึงสถานการณ์เท่านั้น ฉากหนึ่งในบทบาทที่ได้รับในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง หากลองไตร่ตรองดูจะพบว่ามันเล็กน้อยมากที่จะไปพบเห็นในชีวิตจริง จึงส่งผลให้สถานการณ์ของปัญหาที่เป็นฉากหนึ่งในบทบาทสมมุตินั้นแคบมาก เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับสถานการณ์ในชีวิตจริงที่ต้องเจอะเจอ การหยั่งรู้ถึงบทบาทยังรวมไปถึงทัศนคติที่อยู่ในตัวผู้เรียนอีกด้วย การหยั่งรู้บทบาทอย่างชัดเจนนี่เองเป็นกุญแจดอกสำคัญอันนำพาไปสู่การตัดสินปัญหาได้อย่างชาญฉลาด ดังนั้น ขั้นแรกของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานนั้น ข้อมูลที่ต้องการทราบหรือข้อมูลที่ต้องหยั่งรู้มีความจำเป็นที่จำเป็นเป็นอย่างมากต่อการนำไปพิจารณาไต่สวน ฉะนั้น ผู้เรียนต้องเค้นข้อมูลที่ต้องการหยั่งรู้ออกมาให้ได้ (จิ๊บ ๆ ๆ ๆ)
พักเหนื่อยที่ 4 : ครูคณิตศาสตร์แห่งแหลมบัววิทยา
กระบวนการของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเริ่มต้นจาก การที่ผู้เรียนเข้ามาเป็นผู้ถือผลประโยชน์ร่วม เมื่อผู้เรียนได้กลายมาเป็นผู้ถือผลประโยชน์ร่วมแล้ว พวกเขาจะประสบกับปัญหาที่แท้จริงขึ้นมาด้วยตัวของเขาเอง พวกเขาจะเริ่มนำมวลความรู้และประสบการณ์ของตนออกมานำเสนอสู่กันและกัน โดยที่สิ่งที่แต่ละคนนำมาเสนอนั้นอาจจะยังไม่ตรงประเด็นสักเท่าไร เพื่อเป็นตั้งต้นสำหรับการก้าวเดินสู่หนทางหน้าไปพร้อมๆกัน ณ จุดนี้เอง ผู้เรียนจะเกิดการใช้ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์และปัญญาหรือความเก่งในการรับรู้จิตใจของตนเอง (interpersonal intelligences and intrapersonal intelligences) เข้ามาเพื่อค้นหาความเข้าใจในมุมมองที่มีต่างกัน การกำหนดภารกิจและถกเถียงกันถึงว่า มีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็พร้อมที่จะไปสู่กระบวนการในการแก้ปัญหา อาจจะดูเมือนว่า ในความเป็นจริงไม่น่าจะเป็นไปได้ การแบ่งภาระหน้าที่ความรับผิดชอบเพื่อนำไปหามูลหามูลเหตุแห่งปัญหาในนำไปพิจารณาไต่สวนตลอดจนสร้างจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนให้มีความสมบูรณ์นั้น ไม่มีปัญหาใดในโลกที่จะมาจากการสังเกตเพียงอย่างเดียว ทุกมุมมองจึงนับว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนั้น การเรียนรู้ตามสภาพจริงจึงช่วยตรวจสอบ การคิดเชิงตรรกะ และ/หรือ ของตัวผู้เรียนได้ว่า บกพร่องหรือไม่
พักเหนื่อยที่ 5 : ครูคณิตศาสตร์แห่งแหลมบัววิทยา
ตัวอย่างปํญหาที่มีโครงสร้างแบบหละหลวม (ill-structed) เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการตัดสินใจในการเลือกรับการรักษาทางการแพทย์ของบุคคลในครอบครัวที่อยู่ในวัยสูงอายุ บทบาทสมมติเป็นดังนี้ นักเรียนเป็นผู้ได้รับคำชี้แนะมาจากหมอว่าจะเลือกใช้วิธีการรักษาบุคคลในครอบครัวอย่างไรได้บ้างและวิธีการรักษาเป็นอย่างไร นักเรียนต้องให้คำปรึกษากับทุกคนในครอบครัวเพื่อตัดสินใจ ในส่วนนี้เองที่นักเรียนจะต้องใช้พหุปัญญาเข้ามาเกี่ยวข้องในด้านการให้คำปรึกษาเพื่อประกอบการตัดสินใจ นักเรียนต้องใช้ปัญญาด้านร่างกาย-การเคลื่อนไหว (body/kinesthetic intelligence) ที่นำไปสู่การทดลองที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้โดยตรง ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์ที่ต้องไปสัมภาษณ์บุคคลที่จะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ได้ ปัญญาหรือความเก่งในการรู้จิตใจของตนเอง (intrapersonal intelligence) ในการสะท้อนปัญหาออกมา และปัญญาด้านตรรกะ-คณิตศาสตร์ (logical/mathematical intelligence) ในการอธิบายเหตุผลได้อย่างถูกต้อง
การทำปัญหาให้ชัดเจน (Defining the Problem)
เมื่อไรก็ตามที่ผู้เรียนอยู่ในภวังค์ของปัญหาและเป็นเจ้าของปัญหา จะทำให้เขาหลงอยู่ในภวังค์เหล่านั้นมีการพูดคุยตามประสาของเขา ระยะนี้ปัญหาจะถูกหยิบยกออกมาในรูปของการให้คำจำกัดความ (นิยามปัญหา) ผู้เรียนจะเกิดการตังคำถามขึ้นมาอย่างหลากหลาย ข้อเสนอของแต่ละคนจะถูกเสนอขึ้นมาซึ่งเป็นประโยชน์อันมหาศาล เพราะฉะนั้น ความพยายามในครั้งแรกของผู้เรียนเกี่ยวกับการนิยามปัญหาจะมาจากความเข้าใจพื้นฐานที่ติดตัวมา แต่อย่างไรก็ตามเมื่อผู้เรียนสามารถบีบปัญหาใช้กระชับลงได้ (กระชับปัญหา) พวกเขาก็จะสามารถพิจารณาไต่สวนปัญหาได้อย่างถูกต้อง ผลที่ตามคือ พวกเขาจะได้ข้อมูลเพิ่มเติมเกิดขึ้นมาอีกนั่นเอง
การรวบรวมข้อเท็จจริง (Gathering the Facts)
เมื่ออยู่ในระยะของการรวบรวมข้อเท็จจริง มวลความรู้เดิมและประบการณ์ที่ผ่านมาที่มีอยู่ในตัวผู้เรียนจะมีเพียงผิวเผินเท่านั้น พวกเขาต้องใช้พหุปัญญา (multiple intelligence) เพื่อค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาอย่างหนักหน่วง การทำงานเป็นกลุ่มจะช่วยทำให้พวกเขาได้แสดงความสามารถพิเศษออกมาในการที่จะขมวดประเด็นที่กำลังถกเถียงกันอยู่ อันนำไปสู่การไต่สวนปัญหาและตัดสินปัญหา
ระยะนี้ผู้เรียนต้องเขียนเค้าโครงในสิ่งที่เขารู้ (What we Know)และสิ่งที่เขาต้องการจะรู้ (What We Need to Know) โดยใช้ "know, need to know, need to do" (KND) หรือแผ่นงาน KND (Stepien et al. 1993) เป็นเครื่องมือช่วยเหลือให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ปัญหาและข้อเท็จจริงที่สัมพันธ์กับปัญหาเหล่านั้น
เมื่อผู้เรียนตรวจสอบข้อเท็จจริงที่สั่งสมเก็บเอาไว้ เขาจะหาข้อมูลเพิ่มมากชึ้นเอง การตั้งคำถามจะเริ่มเกิดขึ้น เพื่อตอบสนองในสิ่งที่พวกเขาต้องการทราบ สิ่งที่เข้าใจในตอนต้นและข้อมูลที่มีอยู่เดิมจะผุดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องและสัมพันธ์กับรายละเอียดของข้อเท็จจริง ในช่วงที่ตั้งคำถาม บางครั้งครูผู้สอนเองต้องช่วยรวบรวมข้อเท็จจริงเพื่อทำให้ไม่เสียเวลามากเกินไป เพราะต้องใช้ทักษะในการตั้งคำถาม บางครั้งก็อาจจะให้ผู้เรียนตั้งคำถามเองบ้าง แต่ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญก็ขึ้นอยู่กับ วัย ประสบการณ์ และความไร้เดียงสาต่อปัญหาที่ผู้แก้ปัญหานั้นเผชิญอยู่
พักเหนื่อยที่ 8 : ครูคณิตศาสตร์แห่งแหลมบัววิทยา
การตั้งสมมติฐาน (Hypothesizing)
เมื่อกระบวนการของการค้นหาความจริงรุดหน้า ผู้เรียนจะจดจ่อและมุ่งมั่นกับสิ่งที่ทำโดยใช้ปัญญาด้านตรรกะ-คณิตศาสตร์ (logical-mathematical Intelligence) และความสามารถในการอธิบายเหตุผล ถัดจากขั้นตรรกะ (logical step) ผู้เรียนจะเริ่มต้นสำรวจทฤษฎีหรือสมมติฐานที่เกี่ยวข้องกับปัญหา ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์ (interpersonal intelligence) จะเข้ามาสู่ในตัวผู้เรียนช่วงเวลาที่พวกเขาร่วมแสดงความคิดเห็น/เสนอแนวคิดต่อกัน สิ่งใดที่ทำให้เป้าหมายคลาดเคลื่อนหรือไม่ตรงเป้า (Stepien and Gallagher 1993) ประสบการณ์ทั้งหลายแหล่จากกิจกรรมดังกล่าวมาข้างต้นเข้าไปยังภายในตัวของผู้เรียนแต่ละคน พวกเขาจะเกิดการตั้งคำถามและช่วยกันตรวจสอบสมมติฐานที่ได้ตั้งกันไว้ว่า สามารถเป็นจริงได้หรือไม่ และพวกเขาจะสกัดข้อมูลที่มีอยู่มาใช้ประกอบการพิจารณาถึงความเป้นไปได้/ความเป็นไปไม่ได้ของสมมติฐานที่ตั้งกันไว้
พักเหนื่อยที่ 9 : ครูคณิตศาสตร์แห่งแหลมบัววิทยา
การศึกษาค้นคว้า (Researching)
ภายหลังจากที่การบวบรวมข้อเท็จริงและเกิดการตั้งคำถามขึ้นมาแล้ว ผู้เรียนก็เริ่มต้นทำการหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้าเพิ่มมากขึ้น รูปแบบในการศึกษาค้นคว้านี้ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของปัญหา การอ่านตำรา การสัมภาษณ์บุคคลที่ประพฤติดี การโต้ตอบกันทาง Internet การอ่านหนังสือในห้องสมุด การเยี่ยมชม Website ต่างๆ การค้นหาหัวเรื่องที่สัมพันธ์กันในส่วนที่ต้องการศึกษาค้นคว้า ลักษณะต่างๆเหล่านี้ล้วนแล้วแต่น่ารักน่าเอ็นดูและเต็มไปด้วยความรู้สึกตามสภาพที่เกิดขึ้นจริงของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน การศึกษาค้นคว้าเป็นส่วนหนึ่งของการไต่สวนปัญหาที่ต่อเนื่องกันและเกี่ยวพันกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ชุดบทเรียนเป็นเทคนิคหนึ่งในการเชื่อมความต้องการให้รวมเข้าเป็นเรื่องเดียวกัน
พหุปัญญาเป็นเครื่องมือของการศึกษาค้นคว้าที่แจ๋มแจ๋ว ทำให้ผู้เรียนรับและส่งสารได้หลากหลายวิธี พวกเขาต้องรวบรวมปัญญาอันหลากหลายที่มีลักษณะเฉพาะให้กับความสำคัญของสถานการณ์ที่ได้เกิดขึ้นมา ผู้สอนจัดทำโครงสร้างการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้นเพื่อลงสู่ตัวผู้เรียน โดยใช้วิธีการที่หลากหลาย อันจะทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจบนโลกแห่งความเป็นจริง ตัวแบบของการใช้ปัญหาเป็นฐานเป็นอีกหนึ่งประสบการณ์ที่จะทำให้ผู้เรียนได้จัดการสถานการณ์ในชีวิตจริง โดยผ่านปัญญาที่หลากหลาย
(*รอการ update*)