อวัยวะในระบบย่อยอาหารของคน
 อวัยวะในระบบย่อยอาหารของคน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. อวัยวะที่เป็นทางเดินอาหาร ได้แก่ 1.1 ปากและโพรงปาก (Mouth and Mouth Cavity) ประกอบด้วย - ฟัน - ลิ้น - ต่อมน้ำลาย
1.2 คอหอย (Pharynx) 1.3 หลอดอาหาร (Esophagus) 1.4 กระเพาะอาหาร (Stomach) 1.5 ลำไส้เล็ก (Small Intestine) 1.6 ลำไส้ใหญ่ (Large Intestine) 1.7 ไส้ตรง (Rectum) 1.8 ทวารหนัก (Anus)
2. อวัยวะที่ช่วยย่อยอาหาร แต่ไม่ใช่ทางเดินอาหารได้แก่ 2.1 ต่อมน้ำลาย (Salivary Gland) 2.2 ตับ (Liver) และถุงน้ำดี (Gall Bladder) 2.3 ตับอ่อน (Pancreas)
การย่อยอาหารของคนมีกระบวนการย่อย 2 แบบ คือ 1. การย่อยเชิงกล (Mechanical Digestion) โดยการใช้ฟันบดเคี้ยว และการบตัวคลายตัวของทางเดินอาหาร เช่น หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร เป็นต้น 2. การย่อยทางเคมี (Chemical Digestion) โดยการใช้น้ำย่อย หรือ เอนไซม์ ทำให้อาหารเปลี่ยนแปลงจนเป็นโมเลกุลเดี่ยว ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้
การย่อยอาหารในปาก ปาก (Mouth) เป็นทางเดินอาหารเริ่มแรก ซึ่งประกอบด้วยอวัยวะต่างๆทำหน้าที่ร่วมกัน มีทั้งการย่อยเชิงกล (Mechanical Digestion) และการย่อยทางเคมี (Chemical Digestion) การทำงานของอวัยวะภายในปากที่เกี่ยวกับการย่อยอาหาร มีดังต่อไปนี้
ฟัน (Teeth) ทำหน้าที่บดอาหารให้มีขนาดเล็กลง มี 2 ชุด คือ 1. ฟันน้ำนม (Deciduous Teeth) มี 20 ซี่ เริ่มขึ้นเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน จะขึ้นครบเมื่อมีอายุประมาณ 2 ปี 2. ฟันแท้ (Permanent Teeth) มี 32 ซี่ เริ่มขึ้นเมื่อฟันน้ำนมซี่แรกหักและหลุดไป และจะขึ้นครบหรือเกือบครบเมื่ออายุประมาณ 21 ปี แต่บางคนอาจมีเพียง 28 ซี่ เท่านั้น ฟันแท้ประกอบด้วยฟันชนิดต่างๆ ดังนี้ (นับจากกึ่งกลางออกทางด้านข้างของฟันแต่ละข้าง)
2.1 ฟันตัด(Incisor หรือ I) มี 2 ซี่ ทำหน้าที่ตัดอาหาร ในสัตว์ที่กินอาหารโดยการแทะจะมีฟันชนิดนี้เจริญดีที่สุด 2.2 ฟันฉีก หรือ เขี้ยว (Canine หรือ C) มี 1 ซี่ ทำหน้าที่กัดและฉีกอาหาร มีลักษณะค่อนข้างแหลมคม ในสัตว์กินเนื้อ เขี้ยวจะเจริญดีที่สุด ไว้สำหรับล่าเหยื่อ ในสัตว์กินพืช เขี้ยวไม่มีหน้าที่สำคัญ 2.3 ฟันกรามหน้า (Premolar หรือ P) มี 2 ซี่ ทำหน้าที่ตัดและฉีกอาหาร ในสัตว์กินเนื้อ เช่น เสือ สุนัข แมว จะมีฟันกรามหน้าเติบโตแข็งแรงเป็นพิเศษ 2.4 ฟันกรามหลัง (Molar หรือ M) มี 3 ซี่ ทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหาร ฟันกรามซี่สุดท้ายอาจโผล่ขึ้นมาไม่พ้นเหงือก จึงอาจเหลือแค่ 2 ซี่ ดังนั้นในคนบางคนจึงอาจมีเพียง 28 ซี่ เท่านั้น
โครงสร้างของฟัน แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1. ตัวฟัน (Crown) เป็นส่วนของฟันที่โผล่พ้นเหงือกทั้งหมด ผิวด้านนอกเคลือบด้วยสารเคลือบฟัน (Enamel) เป็นสารสีขาว มีความแข็งแรงมากที่สุด ส่วนล่างของสารเคลือบฟันเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันหนา ประกอบด้วยหินปูน เรียกว่าเนื้อฟัน (Dentin) ส่วนแกนกลางของตัวฟันมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่อ่อนนุ่ม เรียกว่า โพรงฟัน (Pulp Cavity) ซึ่งภายในประกอบด้วยหลอดเลือดเล็กๆ และปลายประสาท 2. คอฟัน (Neck) เป็นส่วนของฟันที่ฝังอยู่ในเหงือกถัดจากตัวฟันลงไป อยู่บริเวณที่ Enamel กับ Cementum ของรากฟันมาพบกัน 3. รากฟัน (Root) เป็นส่วนของฟันที่อยู่ในช่วงกระดูกขากรรไกรและยึดติดกับกระดูกโดยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่แข็งแรง มี Cementum หุ้มอยู่บางๆ ช่วยยึดรากฟัน ตรงกลางรากฟันเป็นช่อง เรียกว่า Root Canal เป็นทางที่เส้นเลือดและเส้นประสาทจะเข้าสู่โพรงฟัน
ต่อมน้ำลาย (Salivary Gland) ทำหน้าที่สร้างน้ำลาย (Saliva) ส่งออกทางท่อน้ำลายไปสู่ช่องปาก มี 3 คู่ 1. ต่อมข้างกกหู (Parotid Gland) อยู่บริเวณกกหูทั้ง 2 ข้าง สร้างน้ำลายชนิดใสเพียงอย่างเดียว มีขนาดใหญ่ที่สุด ถ้าเกิดการอักเสบ บริเวณกกหูทั้ง 2 ข้างจะบวมแดง เรียกว่า โรคคางทูม ต่อมชนิดนี้จะผลิตน้ำลายประมาณ 25% ของน้ำลายทั้งหมด 2. ต่อมใต้ขากรรไกร (Submaxillary Gland) สร้างน้ำลายทั้งชนิดใสและชนิดเหนียว แต่มีน้ำลายทั้งชนิดใสมากกว่า ต่อมชนิดนี้จะผลิตน้ำลายประมาณ 70% ของน้ำลายทั้งหมด 3. ต่อมใต้ลิ้น (Sublingual Gland) สร้างน้ำลายทั้งชนิดใสและชนิดเหนียว แต่มีน้ำลายทั้งชนิดเหนียวมากกว่า ต่อมชนิดนี้จะผลิตน้ำลายประมาณ 5% ของน้ำลายทั้งหมด น้ำลาย มีลักษณะเป็นของเหลว มี 2 ชนิด คือ 1. ชนิดใส (Serous) มีน้ำย่อยอะไมเลสหรือไทยาลิน (Amylase or Ptyalin) ทำหน้าที่ย่อยแป้งให้เป็น เดกซ์ตริน (Dextrin) ซึ่งเป็นแป้งที่มีโมเลกุลขนาดเล็กลง 2. ชนิดเหนียว (Mucous) ช่วยให้การคลุกเคล้าอาหารผสมกับน้ำย่อยเกิดได้ดี และสะดวกต่อการกลืนอาหาร ส่วนประปอบของน้ำลายมีดังนี้ 1. เอนไซม์อะไมเลส (Amylase) ช่วยย่อยสลายคาร์โบไฮเดรต 2. น้ำ (Water) มีประมาณ 99.5% เป็นตัวทำละลายสารอาหาร 3. น้ำเมือก (Mucin) เป็นสารคาร์โบไฮเดรต ผสมโปรตีน ช่วยให้อาหารรวมตัวกันเป็นก้อน ลื่น และกลืนสะดวก น้ำลายจะถูกสร้างจากต่อมน้ำลายประมาณ 1-1.5 ลิตร มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน (pH 6.0-7.0) ทำหน้าที่ละลายอาหาร ป้องกันไม่ให้ปากแห้ง และช่วยในการเคลื่อนไหวของลิ้นในขณะพูด
ลิ้น (Tongue) เป็นกล้ามเนื้อที่สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างคล่องแคล่วในหลายทิศทาง ทำหน้าที่สำคัญ ดังนี้ - รับรสอาหาร เพราะมีต่อมรับรส (Taste Budd) - ช่วยคลุกเคล้าอาหารให้ผสมกับน้ำลาย และตตะล่อมให้อาหารเป็นก้อน - ช่วยหน่วงเหนี่ยวอาหารไม่ให้ไหลผ่านคอหออยเร็วเกินไป - ช่วยในการกลืนอาหาร - ช่วยในการพูด ทำให้พูดชัดเจน เอนไซม์อะไมเลสจะสลายตัวเมื่อเข้าสู่กระเพาะอาหาร เพราะในอาหารจะมีกรดเกลือ (HCl) อยู่ การกลืนอาหาร (Swallowing) การกลืนอาหาร อาศัยการทำงานของกล้ามเนื้อหลายชุด บังคับให้อาหารผ่านจากปากเข้าสู่หลอดอาหาร โดยมีกลไกดังนี้ เริ่มแรกเป็นการทำงานของกล้ามเนื้อลิ้น โดยโคนลิ้นจะเคลื่อนไปทางด้านหลังและด้านบน ผลักอาหารเข้าสู่คอหอย (Pharynx) ในขณะเดียวกัน เพดานอ่อน (Soft Palate) ที่ห้อยโค้งลงมาบริเวณโคนลิ้นจะเลื่อนขึ้นโดนอัตโนมัติไปปิดรูเปิดของช่องจมูกทั้ง 2 เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารพุ่งขึ้นมาทางจมูก จากนั้นปิดฝากล่องเสียง (Epiglottis) ปิดทางเข้าหลอดลม กั้นไม่ให้อาหารตกลงสู่หลอดลมได้ ข้อควรทราบ ศูนย์ควบคุมการกลืนอาหารคือ Medulla Oblongata อยู่ตรงประสาทสมองคู่ที่ 10 (Vagus Nerve) การกลืนอาหารจัดเป็นปฏิกิริยารีเฟลกซ์
หลอดอาหาร (Esophagus) หลอดอาหารมีลักษณะเป็นท่อกล้ามเนื้อที่ต่อจากคอหอย อยู่ทางด้านหลังของหลอดลม (Trachea) ไปสิ้นสุดที่กระเพาะอาหาร ตรงบริเวณถัดจากส่วนล่างของแผ่นกะบังลม (Diaphragm) มีความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร ลักษณะสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการย่อยในหลอดอาหาร มีดังนี้ - หลอดอาหารไม่มีต่อมสร้างน้ำย่อย แต่ยังมมีการย่อยอาหารต่อเนื่องมาจากในปาก - หลอดอาหารมีต่อมขับน้ำเมือก (Mucous Glaand) กระจายอยู่ทั่วไป น้ำเมือกเหนียวข้นที่หลั่งออกมาจะช่วยในการหล่อลื่น ทำให้อาหารเคลื่อนผ่านได้สะดวก - อาหารที่เคลื่อนผ่านไปตามหลอดอาหรได้โดยยการหดตัวของกล้ามเนื้อหลอดอาหารซึ่งจะหดและคลายตัวเป็นจังหวะเป็นช่วงๆต่อเนื่องกัน เรียกว่า เพอริสทัลซิส (Peristalsis) - อาหารถูกย่อยเชิงกลโดยกระบวนการ Peristaalsis - หลอดอาหารเป็นบริเวณแรกที่มีกระบวนการ PPeristalsis
การย่อยในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหาร (Stomach) อยู่ทางด้านซ้ายของร่างกาย ใต้กะบังลม (Diaphragm) ในสภาพไม่มีอาหารบรรจุอยู่ จะมีปริมาตร 50 ลูกบาศก์เซนติเมตร แต่เมื่อมีอาหารสามารถขยายได้ถึง 10-40 เท่า
ส่วนต่างๆของกระเพาะอาหาร แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ 1. Cardiac Region หรือ Cardium เป็นส่วนของกระเพาะอาหารตอนบนอยู่ต่อจากหลอดอาหาร มีกล้ามเนื้อหูรูด เรียกว่า Cardiac Sphincter ป้องกันไม่ให้อาหารภายในกระเพาะอาหารย้อนกลับสู่หลอดอาหาร 2. Fundus เป็นกระเพาะอาหารส่วนกลาง มีลักษณะเป็นกระพุ้งใหญ่ที่สุด 3. Pylorus หรือ Pyloric Region เป็นกระเพาะอาหารส่วนปลายติดต่อกับลำไส้เล็กตอนต้น (Duodenum) มีลักษณะเล็กเรียวแคบลง ตอนปลายสุดของกระเพาะอาหารส่วนนี้มีกล้ามเนื้อหูรูด เรียกว่า Pyloric Sphincter ป้องกันไม่ให้อาหารออกจากกระเพาะอาหาร
ลักษณะผนังกระเพาะอาหาร ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบ 3 ชั้น ดังนี้ 1. ชั้นนอก เป็นกล้ามเนื้อเรียบตามแนวยาว 2. ชั้นกลาง เป็นกล้ามเนื้อวงตามขวาง 3. ชั้นในสุด เป็นกล้ามเนื้อในแนวทแยง ลักษณะพับไปมา เรียกว่า Rugae ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวในการย่อยอาหาร
กลุ่มเซลล์ภายในกระเพาะอาหาร แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 1. Mucous Epithelial Cell หรือ Mucous Neck Cell ทำหน้าที่สร้างน้ำเมือกที่มีฤทธิ์เป็นเบส ฉาบผิวของระเพาะอาหารไม่ให้เป็นอันตราย 2. Parietal Cell หรือ Oxyntic Cell ทำหน้าที่สร้างกรดไฮโดรคลอริก (HCl) เข้มข้น เพื่อช่วยในการย่อยอาหาร 3. Chief Cell หรือ Zygamatic Cell ทำหน้าที่สร้าง Pepsinogen และ Prorennin ซึ่งเป็น Proenzyme
หน้าที่ของกระเพาะอาหาร มีดังนี้ - เป็นที่เก็บสะสมอาหาร - เป็นอวัยวะย่อยอาหาร - ลำเลียงอาหารเข้าสู่ลำไส้เล็กในอัตราที่พอเหมาะ - สร้างสาร Intrinsic Factor (IF) ควบคุมกการดูดซึมวิตามินบี12ที่ลำไส้เล็ก เพื่อใช้ในกระบวนการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง
การย่อยอาหารในกระเพาะอาหาร มี 2 วิธี ดังนี้ 1. การย่อยเชิงกล เมื่อก้อนอาหาร (Bolus) จากหลอดอาหารตกถึงกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารจะมีการเคลื่อนไหวแบบคลื่นคลุกเคล้าอาหาร (Tonic Contraction) เพื่อให้อาหารผสมกับน้ำย่อย และมีการหดตัวของกล้ามเนื้ออย่างแรงมากเป็นช่วงๆ (Peristalsis) เพื่อดันให้อาหารเคลื่อนลงสู่ส่วนล่างของกระเพาะอาหาร 2. การย่อยทางเคมี โดยใช้เอนไซม์ที่สร้างขึ้นจากต่อมในกระเพาะอาหาร
สารและเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการย่อยในกระเพาะอาหาร 1. HCl มี pH อยู่ระหว่าง 0.9-2.0 2. Pepsinogen เป็น Proenzyme ต้องได้รับ HCl จึงเปลี่ยนเป็นเพปซิน (Pepsin) สำหรับย่อยโปรตีนเป็นเพปไทด์ ซึ่งประกอบด้วยกรดอะมิโน 4-12 โมเลกุล 3. Prorennin เป็น Proenzyme ต้องได้รับ HCl จึงเปลี่ยนเป็นเรนนิน (Rennin) สำหรับย่อยโปรตีนในน้ำนม 4. Lipase สร้างขึ้นในปริมาณน้อยมาก เพราะสภาพเป็นกรดของกระเพาะอาหาร 5. Gastrin เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากเซลล์ในกระเพาะอาหาร ทำหน้าที่กระตุ้นให้ Parirtal Cell หลั่ง HCl ออกมา
การทำงานของกระเพาะอาหาร แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1. Cephalic Phase เป็นระยะรับกลิ่น รส หรือนึกถึงอาหาร เส้นประสาท Vagus จากสมองจะกระตุ้นให้กระเพาะเคลื่อนที่และการหลั่งสาร 2. Gastric Phase เป็นระยะที่ก้อนอาหาร (Bolus) เข้าสู่กระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารจะเคลื่อนที่และการหลั่งฮอร์โมน Gastrin จากชั้นมิวโคซาจากชั้นของกระเพาะอาหาร ไปกระตุ้นให้กระเพาะอาหารหลั่ง HCl ออกมารวมกับ Pepsinogen 3. Intestinal Phase เป็นระยะที่อาหาร (Chyme) ออกจากกระเพาะอาหารเข้าสู่ลำไส้เล็กส่วน Duodenum เนื้อเยื่อมิวโคซาของ Duodenum จะหลั่งฮอร์โมน Secretin ออกมายับยั้งการหลั่งฮอร์โมน Gastrin
การย่อยอาหารในลำไส้เล็ก ลำไส้เล็ก (Small Intestine) เป็นส่วนที่ยาวที่สุดของทางเดินอาหาร อยู่ต่อจากกระเพาะอาหารกับลำไส้ใหญ่ มีความยาวประมาณ 7-8 เมตร ขดไปมาในช่องท้อง ผนังด้านในมีลักษณะเป็นปุ่มจำนวนมากยื่นออกมาเพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดซึมสารอาหารที่เรียกว่า วิลลัส (Villus) หรือ วิลไล (Villi)
โครงสร้างภายนอกของลำไส้เล็ก แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1. ดูโอดีนัม (Duodenum) เป็นลำไส้เล็กส่วนต้น ยาวประมาณ 25-30 เซนติเมตร รูปร่างเป็นตัวยู อยู่ต่อจากกระเพาะอาหาร เป็นบริเวณที่มีสารเคมีหลายชนิด เช่น
- Pancreatic Juice เป็นน้ำย่อยที่สร้างจากตับอ่อน - น้ำดี (Bile) สร้างจากตับ หลั่งออกมาจากกถุงน้ำดี ช่วยให้ไขมันแตกตัวเป็นหยดไขมันขนาดเล็ก (Emulsifying) -Intestinal Juice เป็นน้ำย่อยที่สร้างจากกผนังลำไส้เล็กของดูโอดีนัม จัดเป็นส่วนที่มีการย่อยอาหารเกิดขึ้นมากที่สุด
2. เจจูนัม (Jejunum) เป็นส่วนที่ต่อจาก Duodenum ยาวประมาณ 2 ใน 5 หรือประมาณ 3-4 เมตร เป็นส่วนที่มีการดูดซึมอาหารมากที่สุด 3. ไอเลียม (Ileum) เป็นลำไส้เล็กส่วนสุดท้าย ปลายสุดของ Ileum ต่อกับลำไส้ใหญ่มีขนาดเล็กและยาวที่สุดประมาณ 4.3 เมตร
การย่อยอาหารในลำไส้เล็ก มี 2 วีธี ดังนี้ 1. การย่อยเชิงกล ได้แก่
- การหดตัวเป็นจังหวะ (Rhythmic Segmentation) ช่วยคลุกเคล้าอาหารให้ผสมกับน้ำย่อย และช่วยไล่อาหารให้เคลื่อนไปตามทางเดินอาหาร - Peristalsis เป็นการหดตัวของกล้ามเนื้อททางเดินอาหารเป็นช่วงๆติดต่อกัน ช่วยผลักหรือไล่อาหารให้เดินทางต่อไป
2. การย่อยทางเคมี เป็นการย่อยที่ใช้สารเคมีหรือเอนไซม์จกอวัยวะส่วนต่างๆ
การดูดซึม การดูดซึม (Absorption) เป็นกระบวนการนำสารอาหารโมเลกุลเดี่ยวที่ผ่านการย่อยแล้ว ซึ่งได้แก่ กลูโคส กรดอะมิโน กรดไขมัน และกลีเซอรอล ผ่านผนังลำไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อลำเลียงไปสู่ส่วนต่างๆทั่วร่างกาย
การดูดซึมสารอาหารของลำไส้เล็ก ลักษณะของลำไส้เล็กเหมาะสมต่อการดูดซึมสารอาหาร ดังนี้ - เป็นบริเวณที่มีการย่อยอาหารเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ - ผนังชั้นในพับไปมา และมีปุ่มยื่นออกมา เเรียกว่าวิลลัส (Villus) เรียงเป็นแถวคล้ายนิ้วมือจำนวนมาก และแต่ละวิลลัสจะมีไมโครวิลลัส (Microvillus) ยื่นออกมาอีกมากมาย เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวสำหรับดูดซึมสารอาหาร - ที่ผนังของวิลลัสประกอบด้วยเส้นเลือดฝอยยสานกันเป็นร่างแห เพื่อรับสารอาหารโมเลกุลเดี่ยวพวกกลูโคสและกรดอะมิโน ส่วนแกนกลางของวิลลัสจะมีเส้นน้ำเหลืองฝอย (Lacteal) เพื่อรับสารอาหารพวกกรดไขมันและกลีเซอรอล
ลำไส้ใหญ่ ลำไส้ใหญ่ (Large Intestine) มีความยาวประมาณ 1.5 เมตร ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้ 1. ซีกัม (Caecum) ติดกับ Ileum ตอนปลาย จะมีไส้ติ่ง (Vermiform Appendix) อยู่ 2. โคลอน (Colon) เป็นรูปตัวยูคว่ำ มีความยาวมากที่สุด แบ่งเป็น 4 ส่วน คือ
2.1 โคลอนส่วนขึ้น (Ascending Colon) มีความยาวประมาณ 20 เซนติเมตร 2.2 โคลอนส่วนขวาง (Transverse Colon) มีความยาวประมาณ 50 เซนติเมตร 2.3 โคลอนส่วนลง (Descending Colon) มีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร 2.4 โคลอนส่วนปลาย (Sigmoid Colon)
3. ไส้ตรง (Rectum) เป็นส่วนที่ต่อจาก Sigmoid Colon มีความยาวประมาณ 12-15 เซนติเมตร ปกติจะเป็นส่วนที่ว่างเสมอ ถ้ากากอาหารลงมาในไส้ตรงจะกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่หดตัว ขับกากอาหารออกทางทวารหนัก 4. ทวารหนัก (Anus) มีความยาวประมาณ 2.5-3.5 เซนติเมตร อยู่ส่วนปลายสุด รอบๆจะมีกล้ามเนื้อหูรูด (Sphincter Ani) ทั้งภายในและภายนอก
หน้าที่ของลำไส้ใหญ่ มีดังนี้ 1. ดูดน้ำ วิตามิน แร่ธาตุ (Na+, K+) และน้ำตาลกลูโคสที่เหลือค้างอยู่ในกากอาหารกลับเข้าสู่เส้นเลือดฝอย 2. รับและเก็บกากอาหาร 3. สร้างน้ำเมือกจากผนังด้านใน 4. เป็นที่อยู่ของแบคทีเรียหลายชนิดที่ทำประโยชน์และไม่เกิดโทษ เช่น แบคทีเรียที่ช่วยสังเคราะห์วิตามินบี12 และวิตามินเค เป็นต้น
ข้อควรทราบ - ถ้ามีเชื้อโรคเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ จะทำให้ลำไส้ใหญ่ดูดน้ำกลับสู่เลือดไม่ได้ ทำให้เกิดโรคท้องเดิน (Diarrhea) - ถ้ากากอาหารอยู่ในลำไส้ใหญ่นานเกินไป จะถูกลำไส้ใหญ่ดูดน้ำออกมามาก ทำให้เกิดโรคท้องผูก (Constipation)
|