องค์ประกอบของเซลล์
สมาชิกเลขที่500435 | 27 ต.ค. 58
2.3K views

องค์ประกอบของเซลล์ประกอบด้วย
        1. เยื่อหุ้มเซลล์
        2. นิวเคลียส
        3. ไรโบโซม
        4. เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม
        5. กอลจิแอพพาราตัส (golgi apparatus)
        6. ไลโซโซม (lysosome)
        7. เพอโรซิโซม (peroxisome)
        8. แวคิวโอล (vacuole)
        9. ไมโทคอนเดรีย (mitochondria)
       10. คลอโรพลาสต์ (chloroplasts)
       11. สารโครงร่างของเซลล์ (cytoskeleton)
       12. โครงสร้างผิวเซลล์ (cell surface structure)
       13.โครงสร้างเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ (junction between cells)

1.เยื่อหุ้มเซลล์

รูปที่ 3.8 โครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล

โครงสร้าง
              ประกอบด้วยฟอสโฟลิพิด และโปรตีน โดยฟอสโฟลิพิดจัดเรียงตัวเป็น 2 ชั้น (bilayer) หันส่วนที่ไม่ละลายน้ำเข้าหากันและหันส่วนละลายน้ำออกสู่สิ่งแวดล้อม 
              องค์ประกอบโปรตีนจะแทรกอยู่ในชั้น บน ส่วนกลาง หรือ ส่วนล่างของชั้นฟอสโฟลิพิด
ประกอบด้วยฟอสโฟลิพิด และโปรตีน โดยฟอสโฟลิพิดจัดเรียงตัวเป็น 2 ชั้น (bilayer) หันส่วนที่ไม่ละลายน้ำเข้าหากันและหัน ส่วนละลายน้ำออกสู่สิ่งแวดล้อม 
              องค์ประกอบโปรตีนจะแทรกอยู่ในชั้น บน ส่วนกลาง หรือ ส่วนล่างของชั้นฟอสโฟลิพิด

หน้าที่
              ห่อหุ้มของเเหลวและออร์แกเนลล์ส่วนใหญ่เอาไว้
              ควบคุมการผ่านเข้าออกของสารต่างๆ จากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่เซลล์ และภายในเซลล์ออกสู่ สิ่งแวดล้อม 
              เป็นที่ยึดจับของสารโครงร่างเซลล์ (cytoskeletal) ทำให้เซลล์คงรูปอยู่ได้ 
              เป็นบริเวณรับ (receptor) ของสารบางชนิดไซโทสเกเลตัน ทำให้เกิดการประสานระหว่าง แมทริกซ์นอกเซลล์ และไซโทพลาซึมภายในเซลล์ขึ้น

 

2.นิวเคลียส

รูปที่ 3.10 องค์ประกอบของนิวเคลียส

โครงสร้าง
              มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 ไมโครเมตร
              ถูกห่อหุ้มด้วยเยื่อ 2 ชั้น ที่เรียกว่า เยื่อหุ้มนิวเคลียส (nuclear envelope) ทำให้ส่วนประกอบ ในนิวเคลียสถูกแยกออกจากส่วนของไซโทพลาซึม 
              บน เยื่อหุ้มนิวเคลียส มีรูขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 100 นาโนเมตร สำหรับการผ่านเข้าออกของโปรตีน และหน่วยย่อยของไรโบโซม (ribosomal subunit) 
              ภายในนิวเคลียสมีเส้นใยโครมาทิน ซึ่งประกอบด้วย DNA และโปรตีน 
              เมื่อเซลล์เตรียมที่จะแบ่งตัว เส้นใยโครมาทินจะหดสั้น ทำให้กลายเป็นแท่งหนา เรียกว่า โครโมโซม (chromosome) สามารถมองเห็นได้ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ 
              โครงสร้างภายใน นิวเคลียสที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนที่สุด ขณะนิวเคลียสยังไม่แบ่งตัวคือ นิวคลีโอลัส (nucleolus) นิวคลีโอลัส มีรูปร่างกลมถูกย้อมสีเข้ม เป็นที่สำหรับสร้าง ไรโบโซม โดยทำการประกอบ RNA เข้ากับโปรตีน

หน้าที่
               เป็นที่ที่ DNA บรรจุอยู่ 
               ควบคุมการสังเคราะห์โปรตีน (โดยการสังเคราะห์ mRNA และ ส่งออกไปยังไซโทพลาสซึมทางรู ที่เยื่อหุ้มนิวเคลียส ( nuclear pores ) ซึ่งจะกลายเป็นตัวกำหนด คุณลักษณะของเซลล์นั้น ๆ

 

3. ไรโบโซม

รูปที่ 3.12 ไรโบโซมในไซโทพลาสซึมและที่เกาะบน ER

โครงสร้างและหน้าที่
มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 30 นาโนเมตร
                ประกอบด้วย 2 หน่วยย่อย คือ หน่วยใหญ่ (60 S) และหน่วยเล็ก (40 S) ซึ่งสร้างขึ้นจาก rRNA และ โปรตีน 
               สร้างในนิวคลีโอลัส 
               เป็นที่สร้างโปรตีน 
               มี 2 ชนิด คือ
                  1) ไรโบโซมที่อยู่เป็นอิสระใน ไซโทพลาซึม(ทำหน้าที่สร้างโปรตีนที่อยู่ใน ไซโทพลาสซึม)
                  2) ไรโบโซม ที่ติดอยู่บนร่างแหเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม (ทำหน้าที่สร้างโปรตีน อยู่ที่เยื่อหุ้มเซลล์ และโปรตีนที่จะถูกส่งออกไปยังนอกเซลล

 

4. เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม

รูปที่ 3.13 โครงสร้างเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม

 
โครงสร้างและหน้าที่
เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

            1) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวเรียบ 
                 ไม่มีไรโบโซม เกาะอยู่บนผิวของ ER
                 มีหน้าที่สร้างไขมัน อันได้แก่ ฟอสโฟลิปิด ฮอร์โมนเพศและสเตรอยด์ฮอร์โมน
                 เป็นที่สำหรับเก็บ Ca2+
                 มีหน้าที่ในขบวนการ เมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต
                 มีเอนไซม์สำหรับทำลายพิษของยา
                 พบมากที่ ลูกอัณฑะ (teste) รังไข่ (ovary) และผิวหนัง (skin) 

             2) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวขรุขระ 
                 มีไรโบโซม เกาะอยู่บนผิวของเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม
                 เป็นที่สำหรับให้สายของโพลีเพปไทด์ ที่จะถูกส่งออกนอกเซลล์มีการพับ ไปสู่รูปร่าง 3 มิติ ที่ถูกต้องก่อนที่จะถูกส่งออกไปยังกอลจิแอพพาราตัส 
                 เป็นที่สำหรับเติมคาร์โบไฮเดรต (โอลิโกแซคคาไรด์) ให้กับโปรตีนที่จะถูก ส่งออก นอกเซลล์ซึ่งก็คือไกลโคโปรตีน 
                 โปรตีนที่จะออกจากเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม นั้นจะถูกห่อด้วย เยื่อหุ้มของ เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมและกลายเป็นถุงเล็ก ๆ หลุดออกจากเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม
Share this