Android (แอนดรอยด์) คืออะไร ?
สมาชิกเลขที่27001 | 26 เม.ย. 54
10K views
Android (แอนดรอยด์) คืออะไร ?
แอนดรอยด์ (อังกฤษ: Android) คือ หุ่นยนต์ที่สร้างขึ้นมาเลียนแบบมนุษย์ โดยปกติแล้วทั้งทางด้านกายภาพและพฤติกรรม
คำนี้ผันมาจากคำกรีก andr- หมายถึง “มนุษย์, เพศชาย” และปัจจัยเสริมท้าย -eides ซึ่งเคยมีความหมายว่า “ในสปีชีส์ของ, เหมือนกับ”
(จากคำว่า eidos หมายถึง “สปีชีส์”)
คำว่า “ดรอยด์” ซึ่งหมายถึงหุ่นยนต์ในเรื่อง สตาร์ วอร์ส ก็ผันมาจากความหมายนี้. จนถึงขณะนี้ แอนดรอยด์ยังคงมีอยู่ แต่ในนิยายวิทยาศาสตร์
บ่อยครั้งในภาพยนตร์และโทรทัศน์. อย่างไรก็ตาม หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ก็มีขึ้นบ้างแล้วในขณะนี้.
พจนานุกรมภาษา อังกฤษ Webster ฉบับปี 1913 ระบุว่า “Android” เป็นได้ทั้งคำนามและคำวิเศษณ์ โดยถ้าเป็นคำนาม
หมายถึง “เครื่องจักรหรือเครื่องอัตโนมัติในรูปของมนุษย์” และถ้าเป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง “คล้ายมนุษย์”
กูเกิลแอนดรอยด์ (Google Android) คืออะไร ?
กูเกิลแอนดรอยด์ (Google Android) คือ ระบบปฏิบัติการ ที่เป็นซอฟต์แวร์แพลตฟอร์มบนมือถือ สร้างขึ้นมาจากระบบปฎิบัติการลีนุกซ์
(Powered by the Linux kernel) พัฒนาขึ้นมาโดยกูเกิล กูเกิลแอนดร อยด์นั้นได้เปิดให้นักพัฒนา สามารถเข้ามาจัดการเขียนโค๊ตต่าง ๆ
ได้ด้วยภาษาจาวา และเขียนควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านทางจาวาไลบลารี่ที่ทางกูเกิลพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะ (Google-developed Java
libraries) โปรแกรมต่างๆ ที่รันบนกูเกิลแอนดรอย์สามารถเขียนได้ด้วยภาษาซี(C) และภาษาอื่น ส่วนการพัฒนาผ่านการคอมไพล์ด้วย
สถาปัตยกรรมแบบ ARM Native Code(32bit) นั้นยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากทางกูเกิลแต่อย่างได
กูเกิลแอนดรอยด์ ได้เปิดตัวเป็นครั้งแรกในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โดยทางกูเกิลได้ประกาศก่อตั้ง Open Handset Alliance กลุ่มบริษัทฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์ และการสื่อสาร 48 แห่ง และได้ออกมาให้ยนโฉมตัวจริงกันในช่วงปี 2551 ที่ผ่านมา ลิขสิทธิ์ของ
กูเกิลแอนดรอยด์นั้นจะอยู่ในลักษณะของฟรีซอฟต์แวร์และโอ เพ็นซอร์จ โดยอยู่ภายใต้สิทธิบัตรของ ครีเอทีพ คอมมอนส์ แอทรีบิว 2.5 ซึ่งทำให้ผู้ใช้นั้นสามารถดาวโหลดซอฟต์แวร์ของกูเกิลแอนดรอยด์ไป ใช้ได้ฟรี และยังสามารถนำซอฟต์แวร์ที่ได้ไปแชร์แจกต่อได้แต่ไม่
อนุญาตให้แก้ใขโดยการนำเอาชื่อผู้เขียนซอฟต์แวร์ หรือรายการสิทธิบัตรของซอฟต์แวร์นั้นออกตัวโปรแกรม
Android คือ ระบบปฏิบัติการ (OS) หรือแพลตฟอร์ม ที่จะใช้ควบคุมการทำงานบนอุปกรณ์อีเล็คทรอนิกส์ต่างๆ สำหรับโทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์พกพา โดยมี กูเกิล อิงก์, ที-โมบาย, เอชทีซี, ควอลคอมม์, โมโตโรลา และบริษัทชั้นนำอีกมากมายร่วมพัฒนาโปรเจ็กต์
แอนดรอยด์ ผ่านกลุ่มพันธมิตรเครื่องมือสื่อสารระบบเปิด (Open Handset Alliance) ซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตรชั้นนำระดับนานาชาติด้าน
เทคโนโลยีและเครื่องมือสื่อ สารเคลื่อนที่ ซึ่ง Android ประกอบด้วยระบบปฏิบัติการ ไลบรารี เฟรมเวิร์ค และซอฟต์แวร์อื่นๆ ที่จำเป็น
ในการพัฒนา ซึ่งเทียบเท่ากับ Windows Moble, Palm OS, Symbian, OpenMoko และ Maemo ของโนเกีย โดยใช้องค์ประกอบ
ที่เป็นโอเพนซอร์สหลายอย่าง เช่น Linux Kernel, SSL, OpenGL, FreeType, SQLite, WebKit และเขียนไลบรารีเฟรมเวิร์คของตัวเอง
เพิ่มเติม ซึ่งทั้งหมดจะโอเพนซอร์ส ใช้ (Apache License)
ความร่วมมือครั้งนี้มีเป้าหมายในการส่งเสริมนวัตกรรมบนเครื่องมือสื่อสาร เพื่อให้ได้รับประสบการณ์ที่เหนือกว่าแพลตฟอร์มโมบายทั่วไป
ที่มีอยู่ใน ปัจจุบัน ทั้งนี้ การนำเสนอมิติใหม่ของแพลตฟอร์มระบบเปิดให้แก่นักพัฒนาจะทำช่วยให้กลุ่มคน เหล่านี้ทำงานร่วมกันได้มี
ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดย แอนดรอยด์ จะช่วยเร่งและผลักดันบริการระบบสื่อสารรูปแบบใหม่ไปสู่ผู้บริโภคได้อย่างที่ ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
ที่มา : http://www.thaiandroid.org/about-android
แอนดรอยด์ (อังกฤษ: Android) คือ หุ่นยนต์ที่สร้างขึ้นมาเลียนแบบมนุษย์ โดยปกติแล้วทั้งทางด้านกายภาพและพฤติกรรม
คำนี้ผันมาจากคำกรีก andr- หมายถึง “มนุษย์, เพศชาย” และปัจจัยเสริมท้าย -eides ซึ่งเคยมีความหมายว่า “ในสปีชีส์ของ, เหมือนกับ”
(จากคำว่า eidos หมายถึง “สปีชีส์”)
คำว่า “ดรอยด์” ซึ่งหมายถึงหุ่นยนต์ในเรื่อง สตาร์ วอร์ส ก็ผันมาจากความหมายนี้. จนถึงขณะนี้ แอนดรอยด์ยังคงมีอยู่ แต่ในนิยายวิทยาศาสตร์
บ่อยครั้งในภาพยนตร์และโทรทัศน์. อย่างไรก็ตาม หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ก็มีขึ้นบ้างแล้วในขณะนี้.
พจนานุกรมภาษา อังกฤษ Webster ฉบับปี 1913 ระบุว่า “Android” เป็นได้ทั้งคำนามและคำวิเศษณ์ โดยถ้าเป็นคำนาม
หมายถึง “เครื่องจักรหรือเครื่องอัตโนมัติในรูปของมนุษย์” และถ้าเป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง “คล้ายมนุษย์”
กูเกิลแอนดรอยด์ (Google Android) คืออะไร ?
กูเกิลแอนดรอยด์ (Google Android) คือ ระบบปฏิบัติการ ที่เป็นซอฟต์แวร์แพลตฟอร์มบนมือถือ สร้างขึ้นมาจากระบบปฎิบัติการลีนุกซ์
(Powered by the Linux kernel) พัฒนาขึ้นมาโดยกูเกิล กูเกิลแอนดร อยด์นั้นได้เปิดให้นักพัฒนา สามารถเข้ามาจัดการเขียนโค๊ตต่าง ๆ
ได้ด้วยภาษาจาวา และเขียนควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านทางจาวาไลบลารี่ที่ทางกูเกิลพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะ (Google-developed Java
libraries) โปรแกรมต่างๆ ที่รันบนกูเกิลแอนดรอย์สามารถเขียนได้ด้วยภาษาซี(C) และภาษาอื่น ส่วนการพัฒนาผ่านการคอมไพล์ด้วย
สถาปัตยกรรมแบบ ARM Native Code(32bit) นั้นยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากทางกูเกิลแต่อย่างได
กูเกิลแอนดรอยด์ ได้เปิดตัวเป็นครั้งแรกในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โดยทางกูเกิลได้ประกาศก่อตั้ง Open Handset Alliance กลุ่มบริษัทฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์ และการสื่อสาร 48 แห่ง และได้ออกมาให้ยนโฉมตัวจริงกันในช่วงปี 2551 ที่ผ่านมา ลิขสิทธิ์ของ
กูเกิลแอนดรอยด์นั้นจะอยู่ในลักษณะของฟรีซอฟต์แวร์และโอ เพ็นซอร์จ โดยอยู่ภายใต้สิทธิบัตรของ ครีเอทีพ คอมมอนส์ แอทรีบิว 2.5 ซึ่งทำให้ผู้ใช้นั้นสามารถดาวโหลดซอฟต์แวร์ของกูเกิลแอนดรอยด์ไป ใช้ได้ฟรี และยังสามารถนำซอฟต์แวร์ที่ได้ไปแชร์แจกต่อได้แต่ไม่
อนุญาตให้แก้ใขโดยการนำเอาชื่อผู้เขียนซอฟต์แวร์ หรือรายการสิทธิบัตรของซอฟต์แวร์นั้นออกตัวโปรแกรม
Android คือ ระบบปฏิบัติการ (OS) หรือแพลตฟอร์ม ที่จะใช้ควบคุมการทำงานบนอุปกรณ์อีเล็คทรอนิกส์ต่างๆ สำหรับโทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์พกพา โดยมี กูเกิล อิงก์, ที-โมบาย, เอชทีซี, ควอลคอมม์, โมโตโรลา และบริษัทชั้นนำอีกมากมายร่วมพัฒนาโปรเจ็กต์
แอนดรอยด์ ผ่านกลุ่มพันธมิตรเครื่องมือสื่อสารระบบเปิด (Open Handset Alliance) ซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตรชั้นนำระดับนานาชาติด้าน
เทคโนโลยีและเครื่องมือสื่อ สารเคลื่อนที่ ซึ่ง Android ประกอบด้วยระบบปฏิบัติการ ไลบรารี เฟรมเวิร์ค และซอฟต์แวร์อื่นๆ ที่จำเป็น
ในการพัฒนา ซึ่งเทียบเท่ากับ Windows Moble, Palm OS, Symbian, OpenMoko และ Maemo ของโนเกีย โดยใช้องค์ประกอบ
ที่เป็นโอเพนซอร์สหลายอย่าง เช่น Linux Kernel, SSL, OpenGL, FreeType, SQLite, WebKit และเขียนไลบรารีเฟรมเวิร์คของตัวเอง
เพิ่มเติม ซึ่งทั้งหมดจะโอเพนซอร์ส ใช้ (Apache License)
ความร่วมมือครั้งนี้มีเป้าหมายในการส่งเสริมนวัตกรรมบนเครื่องมือสื่อสาร เพื่อให้ได้รับประสบการณ์ที่เหนือกว่าแพลตฟอร์มโมบายทั่วไป
ที่มีอยู่ใน ปัจจุบัน ทั้งนี้ การนำเสนอมิติใหม่ของแพลตฟอร์มระบบเปิดให้แก่นักพัฒนาจะทำช่วยให้กลุ่มคน เหล่านี้ทำงานร่วมกันได้มี
ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดย แอนดรอยด์ จะช่วยเร่งและผลักดันบริการระบบสื่อสารรูปแบบใหม่ไปสู่ผู้บริโภคได้อย่างที่ ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
ที่มา : http://www.thaiandroid.org/about-android