การอ่าน
สมาชิกเลขที่22419 | 07 ก.ย. 53
28.9K views

การอ่านเพื่อการศึกษาค้นคว้า

 

             การอ่านหนังสือ และวัสดุการอ่านต่าง ๆ เพื่อการศึกษาค้นคว้า  เป็นการอ่านที่ต้องใช้ความพยายามในการฝึกฝนตนเอง และใช้ความรู้ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

 

๑.      ความรู้เกี่ยวกับแหล่งการเรียนรู้

 

แหล่งนักเรียนจะเลือกหาอ่านหนังสือได้เป็นอย่างดีคือ ห้องสมุด ด้วยเหตุนี้นักเรียนจึง

 

จำเป็นต้องรู้จักวิธีการใช้ห้องสมุด  การค้นหาหนังสือ  การเลือกหนังสืออ่าน

 

              นอกจากห้องสมุดแล้ว  แหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่ง คือ อินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็น

 

ศูนย์กลางการศึกษาวิทยาการที่นักเรียนสามารถสืบค้นมาอ่านได้อย่างไม่สิ้นสุด

 

๒.    ความรู้เกี่ยวกับหนังสือและสื่อการอ่าน

 

ในการอ่านเพื่อการศึกษาค้นคว้า ผู้อ่านจำเป็นต้องรู้จักส่วนต่างๆของหนังสือ เพื่อช่วยให้

 

การอ่านเป็นไปด้วยความรวดเร็ว และได้ประโยชน์ตามต้องการ หนังสือที่ผู้เขียนตั้งใจให้เป็นหนังสือที่ให้ความรู้ จะมีการจัดส่วนประกอบต่างๆ ของหนังสือ เพื่อให้สะดวกแก่การอ่านส่วนต่าง ๆ ของหนังสือทางวิชาการแบ่งออกเป็นปก สารบัญ  เนื้อหา และรายการอ้างอิง

 

               นอกจากหนังสือเล่มแล้ว นักเรียนควรมีความรู้เกี่ยวกับวัสดุอ่านรูปแบบอื่นๆ ที่ให้ข้อมูลและเนื้อหาสาระที่แตกต่างไปจากหนังสือ ดังนี้

 

                        . วารสารและหนังสือพิมพ์  วัสดุอ่านประเภทนี้ เป็นสิ่งพิมพ์ที่มีกำหนดออกเป็นประจำ

 

วารสารอาจออกเป็นรายสัปดาห์  รายปักษ์  รายเดือน รายสองเดือน ฯลฯ วารสารทางวิชาการมี

 

บทความที่ให้ความรู้ใหม่ ๆ ในสาขาวิชา มีเรื่องราวเกี่ยวกับการวิจัย ค้นคว้า ทดลอง หรือความก้าวหน้าที่ยังไม่เคยตีพิมพ์มาก่อนในหนังสือ เพราะการจัดทำหนังสือต้องใช้เวลานานกว่า

 

                      .วัสดุพิเศษ วัสดุอ่านประเภทนี้มีหลายชนิด ได้แก่ จุลสาร ซึ่งเป็นสิ่งพิมพ์ที่กล่าวถึงเรื่องใดอย่างหนึ่งจบสมบูรณ์ภายในเล่ม สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ วัสดุประเภทที่ใช้อ่านดู หรือฟัง เช่น

 

ไมโครฟิล์ม รูปภาพ แผนที่ ภาพนิ่ง ภาพเลื่อน ภาพโปร่งใส ภาพยนตร์ ซีดีรอม เป็นต้น

 

 

               ๓. ความรู้เกี่ยวกับภาษา  

 

                         ในการอ่านให้ได้เนื้อหาสาระครบถ้วนสมบูรณ์นั้น จำเป็นที่ผู้อ่านจะต้องมีพื้นฐานทางภาษาเป็นอย่างดี  ความรู้ทางภาษานี้ เป็นความรู้ที่นักเรียนพึงมีอยู่แล้วจากการเรียนวิชาภาษาไทยในช่วงชั้นต่างๆ นักเรียนควรนำความรู้เกี่ยวกับภาษาไทย โดยเฉพาะหลักภาษามาใช้เป็นหลักในการวิเคราะห์ถ้อยคำสำนวน เพื่อให้ได้ความหมายที่ชัดเจนและถูกต้อง

 

       ๔.ความรู้เกี่ยวกับวิธีการอ่าน   

 

                   ลักษณะการอ่านเพื่อการศึกษาค้นคว้า  เป็นการค้นคว้าหาความรู้ที่ต้องการอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่จึงเป็นการอ่านในใจ  ซึ่งช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อความได้เร็วกว่าอ่านออกเสียง หลักสำคัญของการอ่านในใจก็คือ  ความแม่นยำในการติดตามตัวหนังสือ การเคลื่อนสายตาจากคำแต่ละคำ วรรคแต่ละวรรค ประโยตแต่ละประโยค

 

 

ขั้นตอนการอ่านเพื่อการศึกษาค้นคว้า

 

๑.     การสำรวจสื่อที่ต้องการอ่านอย่างรวดเร็ว

 

  ในขั้นตอนนี้   หากเป็นหนังสือผู้อ่าน จะต้องอ่านหน้าปกและหน้าปกใน  เพื่อพิจารณาชื่อเรื่อง

 

ชื่อผู้เขียน  คุณวุฒิหรือประสบการณ์ของผู้เขียน ปีที่พิมพ์ และผู้พิมพ์ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผู้อ่านใช้เป็น

 

แนวทางประเมินค่าของหนังสือประเภทเดียวกันได้ และจะเป็นประโยชน์ต่อไป เมื่อผู้อ่านต้องการประเมินค่าของหนังสือเล่มนั้นๆ

 

๒.    การอ่านเนื้อหาอย่างละเอียด

 

การอ่านเนื้อหาอย่างละเอียด คือ การเริ่มอ่านเรื่องตั้งแต่บทแรกจนถึงบทสุดท้าย ในขณะที่อ่าน

 

ต้องพิจารณาว่าเนื้อหาตอนใดที่สำคัญ ตอนใดเป็นรายละเอียดของเรื่อง  ตอนใดเป็นบทสรุป หากผู้ต้องการค้นคว้าเรื่องใดเรื่องหนึ่งในหนังสือโดยเฉพาะ ก็อาจตรวจสอบดูที่ดรรชนีท้ายเล่ม

 

๓.    การจดบันทึกข้อมูล

 

ในการอ่านเพื่อการศึกษาค้นคว้าเพื่อให้ได้เนื้อความที่ต้องการโดยสมบูรณ์ ผู้อ่านจะต้องมี

 

อุปกรณ์ในการจดบันทึก  การจดบันทึกข้อมูลจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการอ่านตำราเรียนต่างๆ

 

และการรวบรวมข้อมูลเพื่อค้นคว้าทำรายงาน

 

๔.    การอ่านส่วนอ้างอิง

 

การอ่านส่วนอ้างอิงของหนังสือ เป็นสิ่งจำเป็นในการอ่านเพื่อการศึกษาค้นคว้าการอ่าน

 

บรรณานุกรม  จะทำให้ทราบว่านอกจากหนังสือเรื่องที่เรากำลังอ่านแล้ว ยังมีหนังสือ บทความ

 

หรือวัสดุอื่นใดอีกบ้างที่จะอ่านเพิ่มเติมได้ เพื่อให้มีความรู้มากขึ้นกว้างขวางขึ้น

 

 

๕.    การอ่านทบทวน

 

เมื่อได้อ่านเนื้อหาสาระส่วนต่างๆ ของหนังสือโดยตลอด และได้จดข้อมูลสำคัญไว้ครบถ้วนแล้ว

 

ควรจะอ่านทบทวนเพื่อสรุปหัวข้อ ใจความสำคัญ เรื่องย่อ  ศัพท์  สำนวน  ข้อสังเกต แนวคิดต่างๆเพื่อให้สามารถจดจำเรื่องราวได้เป็นอย่างดี

 

 

ระดับการอ่านเพื่อการศึกษาค้นคว้า

 

     ในการอ่านเพื่อการศึกษาค้นคว้า อาจแบ่งได้เป็น ๔ ระดับ ดังนี้

 

๑.     ระดับการอ่านอย่างเข้าใจ

 

การอ่านระดับนี้  ผู้อ่านจะต้องอ่านหนังสือได้คล่อง สามารถอ่านได้อย่างรวดเร็วและเข้าใจ

 

ความหมายของเรื่องที่อ่าน  ผู้อ่านจึงควรมีความรู้เรื่องคำศัพท์ที่เกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน เพราะวิชาการ

 

แต่ละสาขา  จะมีศัพท์เฉพาะแตกต่างกัน

 

๒.    ระดับการอ่านอย่างวิเคราะห์

 

การอ่านระดับนี้ผู้อ่านต้องใช้การอ่านอย่างละเอียด และใช้เวลามากกว่าการอ่านในระดับแรก

 

ควรรู้จัดการตั้งประเด็นหรือคำถาม และพิจารณาแยกเนื้อหาของหนังสือออกเป็นส่วนต่างๆ ตามองค์ประกอบของเรื่อง เพื่อทำความเข้าใจเนื้อเรื่องให้ชัดเจนลึกซึ้งกว่าระดับแรก

 

๓.    ระดับการอ่านอย่างสังเคราะห์

 

การอ่านเพื่อสังเคราะห์ เป็นระดับการอ่านที่จำเป็นในการศึกษาระดับที่สูงขึ้น ซึ่งผู้เรียนจะต้อง

 

ค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม นอกเหนือไปจากตำราและคำบรรยายของอาจารย์จึงจะได้รับความรู้อย่างครบถ้วนตามประมวลรายวิชา

 

๔.    ระดับการอ่านอย่างประเมินค่า

 

การอ่านอย่างประเมินค่า  เป็นการอ่านที่ต้องผสมผสานการอ่านทั้ง ๓ ระดับ ดังกล่าวมาแล้ว

 

เข้าด้วยกัน  เพื่อใช้พิจารณาคุณค่าที่แท้จริงของหนังสือวิชาการที่อ่าน  การอ่านเพื่อประเมินคุณค่าของหนังสือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้อ่าน  เพราะทำให้สามารถเลือกหนังสือเล่มที่ต้องการได้เป็นอย่างดี

 

 

 

 

Share this