สัตว์ดึกดำบรรพ์
สมาชิกเลขที่95771 | 02 พ.ค. 55
60.2K views

1.อีลาสโมซอรัส

อีลาสโมซอรัส มีลำตัวยาว 14 เมตร (46 ฟุต) และหนักราว 2 ตัน ทำให้มันเป็นมังกรทะเลตัวยาวลำดับ รองจาก ไฮโนซอรัสสัตว์เลื้อยคลานทะเลในตระกูลโมซาร์ซอร์ มีลำตัวที่ใหญ่และ ส่วนขาเป็นครีบ 4 ข้าง ความยาวของมันมากกว่าครึ่งเป้นส่วนคอ ประกอบด้วยกระดูกมากกว่า 70 ซึ่งมีจำนวนกระดูกคอมากกว่าสัตว์ทุกชนิด ส่วนหัวค่อนข้างเล็ก และ ฟันคมกริบ

2.แรมโฟริงคัส

แรมโฟริงคัส (อังกฤษ: Rhamphorhynchus) เป็นเทอโรซอร์ขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในยุคจูแรสซิก มีฟันแหลมคมไว้ใช้สำหรับจับปลา และมีหางยาว ซึ่งปลายหางมีหางเสือรูปสีเหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งใช้ในการรักษาสมดุล อาศัยอยู่ในยุคจูแรสซิกตอนต้น-ยุคจูแรสซิกตอนปลาย ค้นพบฟอสซิลที่เยอรมนี ในปีค.ศ. 1831 และยังค้นพบฟอสซิลที่ทวีปแอฟริกาอีกด้วย

3.โมซาซอร์

 

โมซาซอร์ (อังกฤษ: Mosasaur) เป็นกลุ่มกิ้งก่าทะเลคล้ายงูในวงศ์ Mosasauridae ที่เคยมีชีวิตอยู่ปลายยุคครีเทเชียส เชื่อว่ามีวิวัฒนาการมาจากสัตว์กลุ่มกิ้งก่าและงู ( Squamata) ที่รู้จักกันว่า aigialosaurs ช่วงต้นยุค และหลังจากที่มีการวิเคราะห์วิวัฒนาการของมัน โดยดูโครงสร้างขากรรไกรและกะโหลกศีรษะที่ยืดหยุ่นได้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ากิ้งก่ากลุ่มนี้น่าจะเป็นญาติใกล้ชิดกับงูตัวเล็กสุดมีขนาดยาวประมาณ 3-3.5 เมตร ในวงศ์ย่อย Mosasaurinae ส่วนตัวใหญ่สุดยาวระหว่าง 9-15 เมตร

4.ไลโอพลัวเรอดอน

 

ไลโอพลัวเรอดอน (อังกฤษ: Liopleurodon; IPA:/ˌlaɪ.ɵˈplʊərədɒn/) เป็นสกุลกิ้งก่าทะเลในตระกูลสัตว์เลื้อยคลานที่เรียกกันว่าไพลโอซอร์ซึ่งมีชีวิตอยู่ในกลางยุคจูราสสิค ประมาณ 160-155 ล้านปีก่อน ช่วงกลางยุคมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิดชื่อ Liopleurodon ferox และ Liopleurodon pachydeirus ส่วนอีกชนิดชื่อ Liopleurodon rossicus อยู่ในช่วงปลายยุคจูราสสิค แต่ทั้งหมดล้วนเป็นกลุ่มนักล่าที่ยิ่งใหญ่แห่งท้องทะเลที่ครอบคลุมพื้นที่ ยุโรป ซึ่งแหล่งฟอสซิลที่สำคัญ ได้แก่ ฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมนี และรัสเซีย แต่มักเป็นตัวอย่างที่ไม่สมบูรณ์นัก ขนาดตัวของไลโอพลัวเรอดอนประเมินได้จากฟอสซิลกะโหลก ศีรษะที่มีความยาวประมาณ 1 ใน 7 ของลำตัว จากกะโหลกใหญ่สุดของ L. ferox ที่ยาวถึง 1.5 เมตร ทำให้เชื่อว่าตัวเต็มๆของมันคงยาวได้ประมาณ 11 เมตร แต่โดยรวมแล้วลีโอพลูโรดอนตัวยาวได้ระหว่าง 7-15 เมตร อย่างไรก็ดี ข้อมูลจากบีบีซีบอกว่าไลโอพลัวเรอดอนบางตัวสามารถยาวได้ถึง 25 เมตร ขณะที่มีน้ำหนักตัวอยู่ระหว่าง 2.5-5 ตัน ส่วนรูปลักษณ์ของไลโอพลัวเรอดอนมีขาเป็นพายแข็งแรง เหมือนกิ้งก่าทะเลทั่วไป แสดงให้เห็นว่ามันสามารถว่ายน้ำได้เร็วมากจากพลังขับดันของขา นอกจากนี้ยังมีขากรรไกรยาวพร้อมฟันแหลมคม และสามารถรับรู้กลิ่นได้ดี โดยมันจะได้กลิ่นเหยื่อตั้งแต่ระยะไกล

5.ไฮโนซอรัส

ไฮโนซอรัส (อังกฤษ: Hainosaurus) เป็นสกุลของสัตว์เลื้อยคลานทะเลในวงศ์ โมซาซอร์ ได้รับการขนานว่าเป็น โมซาซอร์ ที่ใหญ่ที่สุด โดยได้รับฉายาว่า “ที.เร็กซ์แห่งมหาสมุทร” ตอนแรกประมาณการความยาวไว้ที่ 17เมตร(56 ฟุต) ต่อมาในปี 1990 มีการปรับขนาดลดลงมาที่15 เมตร(49 ฟุต) แต่ต่อมา นักวิทยาศาสตร์ จอห์น ลินเกรน ได้ลดขนาดลงมาที่ 12.2เมตร (40 ฟุต) แต่ก็ยังถือว่าใหญ่อยู่ดี มันเป็นหนึ่งในนักล่าในทะเลที่อยู่บนสุดใน ยุคครีเทเซียส มันมีคู่แข่งร่วมยุคอย่าง อีลาสโมซอรัส โดยมีการพบหลักฐานฟอสซิลรอยกัดของ ไฮโนซอรัส ที่บริเวณหาง และคลีบ ของ อีลาสโมซอรัส

6.กิก้าโนโตซอรัส

 

 

กิก้าโนโตซอรัส (อังกฤษ: Giganotosaurus) มีถิ่นอาศัยอยู่ที่ทุ่งปาตาโกเนียที่ประเทศอาร์เจนตินาช่วงกลางยุคครีเตเซียส 93 - 89 ล้านปี พบซากฟอสซิลในปี 1993 โดยคนมักจะสะกดชื่อของมันผิดเป็น จิกแกนโนโตซอรัส ทั้งที่ตามจริงต้องสะกดว่า กิก้าโนโตซอรัส เป็น 1 ใน 3 ไดโนเสาร์กินเนื้อที่โตและดุที่สุด ยาว 13.5 เมตร และนํ้าหนักอยู่ระหว่าง 6.5-13.3 ตัน ความยาวกะโหลกศรีษระ 1.95 เมตร (6.3 ฟุต) ขนาดของมันยาวกว่า ไทรันโนซอรัส แต่เล็กกว่า สไปโนซอรัส

7.คามาราซอรัส

 

 

คามาราซอรัส (อังกฤษ: Camarasaurus) เป็นไดโนเสาร์กินพืช ตระกูลซอโรพอด 4 เท้า มีขนาดลำตัวไม่ใหญ่ มีชีวิตอยู่ในกลางถึงปลายยุคจูแรสซิก เมื่อ 155 -145 ล้านปีก่อน มีความยาวประมาณ 12-18 เมตร กะโหลกศีรษะมีลักษณะสั้นแต่ลึกเข้าไปด้านใน ขากรรไกรมีขนาดใหญ่ คอและหางสั้นกว่าซอโรพอดตัวอื่น ไม่มีปลายหางแส้ ลำตัวกลมหนาและค่อนข้างสั้น แขนขาใหญ่โตมีลักษณะคล้ายเสาหิน ขาหลังยาวกว่าขาหน้าเล็กน้อย มีรูจมูกขนาด ใหญ่เหนือดวงตา เพื่อช่วยในการระบายความร้อนและดมกลิ่น

 

 

8.ซานตาน่าเเรปเตอร์

 

ซานตาน่าแรปเตอร์ ถูกประกาศชื่อแรกในปี ค.ส.1996 มันมีลักษณะและสัดส่วนคล้ายกับออริโนโตรัสเตส นิ้วมือนิ้วเท้ามี3นิ้ว กระดูกมีลักษณะกลวงคล้ายกับกระดูกของนกในปัจจุบัน กระดูกขาส่วนน่องมีความยาวถึงสองในสามของความยาวขาทั้งหมด ร่างกายปราดเปรียวและว่องไว สามารถล่าเหยื่อเป็นฝูงเพื่อล้มเหยื่อขนาดใหญ่ได้

9.ไดโลโฟซอรัส

 

 

ไดโลโฟซอรัส (อังกฤษ: Dilophosaurus) หงอนของมันจะมีเฉเพาะตัวผู้เท่านั้น มีไว้อวดตัวเมียเวลาผสมพันธ์ ชื่อของมันมีความหมายว่ากิ้งก่ามีหงอน พบที่ทวีปอเมริกาเหนือและประเทศจีน อาศัยอยู่ในยุคจูราสสิคตอนต้นเมื่อประมาณ 208 ล้านปีก่อน มีหงอนบนหัวไว้สำหรับโอ้อวดตัวเมีย เวลาผสมพันธุ์ไดโลโฟซอรัส เป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วจากไปจากการปรากฎตัวใน ภาพยนตร์เรื่อง จูราสสิค พาร์ค โดยภายในภาพยนตร์ได้มีการแสดงว่า ไดโลโฟซอรัส สมมารถพ่นพิษออกจากปากได้เพียงเพื่อเป็นการเพิ่มอรรถรสในการชมเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมันไม่สามารถพ่นพิษได้

10.เตาเจียงโกซอรัส

เตาเจียงโกซอรัส (อังกฤษ: Tuojiangosaurus; จีน: 沱江龍) เป็นชื่อไดโนเสาร์สายพันธุ์ใกล้เคียงกับไดโนเสาร์ตระกูลสเตโกซอรัส ซึ่งมีแผงเต็มหลังและมีหนามแหลมอยู่ที่ปลายหางหลายเล่ม โดยคณะสำรวจได้ค้นพบในประเทศจีน ทั้งนี้ ชื่อ เตาเจียงโกซอรัส หมายถึง กิ้งก่าแห่งแม่น้ำเตา นั่นเอง

11.ไทรเซอราทอปส์

 

ไทรเซอราทอปส์ (อังกฤษ: tricerratops) เป็นไดโนเสาร์ที่มีชีวิตอยู่ในปลายยุคครีเทเชียสราว 68-65ล้านปีมันเป็น1ในไดโนเสาร์ชนิดสุดท้าย ไทรเซอราทอปส์เป็นไดโนเสาร์ขนาดใหญ่หนักราว6-8ตันและยาวได้กว่า6-10เมตรโดยทั่วไปแล้วไทรเซอราทอปส์จะกินเฟริน สนซึ่งเป็นพืชเนื้อหยาบมันมีจงอยปากคล้ายนกแก้วไว้ตัดพืช และมันจะกลืนหินไปในกระเพาะเพื่อบดอาหารหินนี้เรียกว่า แกสโตรลิท ไทรเซอราทอปส์มีวิถีชีวิตคล้ายแรดอยู่รวมเป็นฝูงเล็มอาหารเมื่อถูกคุกคามจากนักล่า เช่น ไทรันโนซอรัส จะหันหน้าเป็นวงกลมให้ตัวอ่อนแอและเด็กอยู่ในวงล้อม หากศัตรูเข้ามาทางใดจะพุ่งชนด้วยแรงชนกว่า6ตัน ไทรเซอราทอปส์มีเขา3เขาอยู่บนหัวเขาแรกยาว20เซนติเมตรอยู่เหนือจมูก ส่วน2เขาหลังอยู่ที่ตายาวราว1เมตรแทงเพียงครั้งเดียวอาจถึงตาย บางตัวเขาอาจยาวกว่า2เมตร แต่ด้วยพละกำลังและขนาดเป็น2เท่าของช้างนักล่าส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยโจมตีมัน แต่มันมีจุดอ่อนที่แผงคอทำให้มันมองหลังไม่ดีแต่หากโจมตีข้างหน้าสถานการจะกลับกัน ไทรเซอราทอปส์กินค่อนข้างมากเฉลี่ยถึง500กิโลกรัม มันมีชื่อเสียงพอๆกับที-เร็กซ์และมักเห็นภาพมันเข้าปะทะกับที-เร็กซ์ทำให้เจ้า3เขาตัวนี้ได้คำขนานนามว่า คู่ปรับแห่งราชาไดโนเสาร์ นอกจากนี้มันยังเป็นพระเอกในการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องไดโนคิง (DINOSAUR KING) อีกด้วย ไทรเซอราทอปส์มีชื่อเต็มว่าไทรเซอราทอปส์ ฮอริดัส ฟอสซิลของไทรเซอราทอปส์ตัวเเรกพบโดยมารช์ คู่เเข็งของโคป ในสงครามกระดูกไดโนเสาร์

 12.ไทรันโนซอรัส

ไทรันโนซอรัสเป็นสัตว์กินเนื้อ เดินสองขา มีกะโหลกศีรษะที่ใหญ่ และเพื่อสร้างความสมดุลมันจึงมีหางที่มีน้ำหนักมาก มีขาหลังที่ใหญ่และทรงพลัง แต่กลับมีขาหน้าขนาดเล็ก มีสองกรงเล็บ ถึงแม้ว่าจะมีไดโนเสาร์กินเนื้อชนิดอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่าไทรันโนซอรัส เร็กซ์ แตมันก็มีขนาดใหญ่ที่สุดในไดโนเสาร์วงศ์เดียวกันและเป็นหนึ่งในผู้ล่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดบนพื้นพิภพ วัดความยาวได้ 13 ม.สูง 4 ม. จากพื้นถึงสะโพก และอาจหนักถึง 6.8 ตันในยุคสมัยของไทรันโนซอรัส เร็กซ์ที่ยังมีนักล่าขนาดใหญ่ชนิดอื่นๆนั้น ไทรันโนซอรัส เร็กซ์อาจเป็นนักล่าที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร เหยื่อของมันเช่น แฮโดรซอร์และ เซอราทอปเซีย เป็นต้น ถึงแม้ว่าผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่าโดยพื้นฐานแล้วไทรันโนซอรัส เร็กซ์เป็นสัตว์กินซาก การถกเถียงในกรณีของไทรันโนซอรัสว่าเป็นนักล่าหรือสัตว์กินซากนั้นมีมานานมากแล้วในหมู่การโต้แย้งทางบรรพชีวินวิทยา

13.สไปโนซอรัส

สไปโนซอรัส (อังกฤษ: Spinosaurus) มีความหมายว่าสัตว์เลื้อยคลานมีแผง สไปโนซอรัส ถูกค้นพบครั้งแรกในอียิปต์ ในปี ค.ศ.1910 เป็นสัตว์กินเนื้อยืน 4 ขา มีจุดเด่น คือกระดูกสันหลังสูงเป็นแผ่นคล้ายใบเรือ รูปวงรี มี11ชิ้น ชิ้นที่ยาวที่สุดมีความยาว 1.69 เมตร เชื่อกันว่าใช้ควบคุมอุณหภูร่างกาย กะโหลกศรีษระมีจงอยปากแคบที่เต็มไปด้วยฟันรูปกรวย มีหงอนคู่ขนาดเล็กอยู่เหนือดวงตา แขนแข็งแกร่งมี 3นิ้ว สามารถใช้เป็นอาวุธและจับเหยื่อได้ มีความยาว 16-18 เมตร (ส่วนกะโหลก ยาว 1.75 ม.) น้ำหนัก 7 - 10 ตัน อาศัยอยู่ใน ทวีปแอฟริกา มีชีวิตอยู่ในตอนกลางของยุคครีเตเชียส (100-97 ล้านปีที่แล้ว) ในช่วงที่มันอาศัยอยู่ในยุคครีเตเชียสตอนกลาง มันมีคู่แข่งที่สำคัญอย่าง คาร์ชาโรดอนโทซอรัส ที่อาศัยอยู่ยุคเดียวกันที่มีความยาว13เมตรและเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่ใหญ่เป็นอันดับ3ของโลก สไปโนซอรัส เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ1ในโลก , มันมีญาติอย่าง ซูโคไมมัส

14.คาร์ชาโรดอนโทซอรัส

นักวิทยาศาสตร์ ให้ประมาณการความยาวของคาร์ชาโรดอนโทซอรัสระหว่าง 12-13 เมตร (39-43.5 ฟุต) และหนักระหว่าง 6-15 ตัน คาร์ชาโรดอนโทซอรัส เป็นสัตว์กินเนื้อที่มีปากใหญ่ มีฟันเป็นซี่ยาวถึง 8 นิ้ว กะโหลก มีความยาวประมาณ 1.75 เมตร (5.5 ฟุต) ปัจจุบันกะโหลกของไดโนเสาร์กินเนื้อที่ใหญ่ที่สุดเป็นของไดโนเสาร์อื่น คือ กิก้าโนโตซอรัส ที่มีกะโหลกยาวถึง 1.95 เมตร (6.3ฟุต) ซึ่งเป็นญาติของมันเอง

15.อัลเบอร์โตซอรัส

อัลเบอร์โตโตซอรัส เป็นไดโนเสาร์ที่ค้นพบในทวีปอเมริกาเหนือ มีความยาว 9 เมตร ความสูง 5 เมตร หนัก 1500 กิโลกรัม เดิน 2 ขา ฟันเหมือนเลื่อยเป็นซี่เล็กๆ ใช้กินเนื้อโดยเฉพาะเป็นสัตว์กินเนื้อไดโนเสาร์และกินพืชต่าง ๆ อาศัยอยู่ในยุคครีเตเชียส เมื่อประมาณ 76-74 ล้านปีที่แล้ว

16.อะแพทโตเซารัส

อะแพทโตเซารัส เป็น ไดโนเสาร์ ที่ตัวใหญ่มาก เมื่อโตเต็มที่ จะยาวถึง 75 ฟุต สูงกว่า 15 ฟุต (แต่ขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยพบคือ 85 ฟุต) หางยาวอะแพทโตซอรัสมีน้ำหนัก 24-35 ตัน ถูกค้นพบในยุคแรก ๆ ของสงครามล่ากระดูกไดโนเสาร์ในอเมริกา ปลายคริสศตวรรษที่ 19ลักษณะตามแบบตระกูลซอโรพอด คือ คอยาว หางยาวมาก ๆ ประมาณ 23-26 เมตร หัวเล็ก ดูเผิน ๆ เหมือนกับนกไม่มีหัว จึงได้ชื่อว่า อะแพทโตซอรัส แปลว่า สัตว์เลื้อยคลานหัวหาย ขา 4 ข้างใหญ่เหมือนเสา สามารถรับน้ำหนักตัวมันได้ แม้จะอยู่บนบก หรือ ยืน 2 ขาขึ้นเพื่อหาใบไม้อ่อนยอดสูงกิน ที่เท้าหน้าของอะแพทโทซอรัส มีเล็บแหลมตรงนิ้วโป้ง ซึ่งปัจจุบันนักโบราณชีววิทยา สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นอาวุธใช้ป้องกันตัวต่อสู้กับพวกอัลโลซอรัส ด้วยการยืน 2 ขา แล้วใช้เล็บแหลมนี้ทิ่มจิกนักล่า

17.อิกัวโนดอน

อิกัวโนดอน (อังกฤษ: Iguanodon) เป็นสิ่งมีชีวิตสกุลหนึ่งในกลุ่มของไดโนเสาร์กินพืช มีขาหลังใหญ่และแข็งแรง ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ในปลายยุคจูแรสซิกและต้นยุคครีเทเชียส (ประมาณ 135 ถึง 110 ล้านปีมาแล้ว) ในพื้นที่กว้างใหญ่ตั้งแต่ทวีปยุโรป ไปจนถึงตอนเหนือของทวีปแอฟริกา และเอเชียตะวันออกอิกัวโนดอนเป็นสิ่งมีชีวิตสกุลที่มีขนาดใหญ่และพบกระจัดกระจายอยู่เป็นบริเวณกว้างมากที่สุดเมื่อเทียบกับสิ่งมีชีวิตวงศ์เดียวกัน ลำตัวของมันยาวกว่า 10 เมตรเมื่อยืดตัวขึ้นจะมีความสูง 5 เมตร หนัก 4-5 ตัน สันนิษฐานว่าอิกัวโนดอนเคลื่อนที่โดยใช้ขาทั้ง 4 ขา แต่ก็อาจเดินได้โดยใช้เพียงสองขา มือที่ขาหน้าของอิกัวโนดอนมี 5 นิ้ว หัวแม่มือแข็งแรงและชี้ขึ้นตั้งฉากกับฝ่ามือ ซากดึกดำบรรพ์และรอยเท้าที่พบทำให้เชื่อว่าอิกัวโนดอนมักอยู่เป็นฝูง

18.เฮอร์รีราซอรัส

เฮอรีราซอรัส (อังกฤษ: Herrerasaurus) มีชีวิตอยู่ในช่วงต้น ของยุคไทรแอสสิค พบในทวีปอเมริกาใต้ เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่ใหญ่ที่สุดในยุคไทรแอสสิค ความ ยาว 5 เมตร คล้ายนก ฟันมีลักษณะแหลมคม คอสั้น กระดูกต้นขายาว กว่ากระดูกหน้าแข้ง มีนิ้วเท้า 4 นิ้ว กระดูกสะโพกชิ้นหน้าเอียงไปทางด้านหลังค่อนข้าง คล้ายกับไดโนเสาร์ที่มีสะโพกเหมือนนก ชื่อของมันมีความหมายว่า กิ้งก่าเฮอร์รีรา

19.ไซคาเนีย

ไซคาเนีย (อังกฤษ: Saichania) เป็นไดโนเสาร์หุ้มเกราะชนิดหนึ่ง ชื่อของมันมีความหมายว่าสวยงาม อาศัยอยู่ใน ยุคครีเทเชียสตอนปลาย ตรงที่หางคล้ายมีกระบองติดอยู่ กระบองใช้เป็นอาวุธฟาดศัตรู สาเหตุที่มันได้ชื่อว่างดงามเป็นเพราะฟอสซิลของมันอยูในสภาพสมบูรณ์มาก ยาวประมาณ 7 เมตร กินพืชเป็นอาหาร ค้นพบฟอสซิลที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี ค.ศ. 1977

20.อัลโลซอรัส

อัลโลซอรัส (อังกฤษ: Allosaurus) ไดโนเสาร์นักล่าก่อนยุคไทรันโนซอรัสแต่ตัวเล็กกว่า อาศัยอยู่ในยุคจูราสสิคเมื่อ 155-145 ล้านปีก่อน ขนาดทั่วไปมีความยาวประมาณ 8.5 เมตร (29 ฟุต) สูงจากพื้นถึงไล่ประมาณ 3.2 เมตร แต่ก็มีพบขนาดใหญ่ที่สุดมากกว่า 10 เมตร (34 ฟุต) มีหน้าตาคล้ายกิ้งก่าขนาดใหญ่ มีปุ่มเขาขนาดเล็กเหนือดวงตา ขากรรไกรทรงพลังมีฟันเรียงราย แม้จะไม่เทียบเท่าตระกูลไทรันโนซอรัสในยุคหลัง ร่างกายมีความสมดุลโดยยาวและหางหนัก ตามคุณสมบัติของตระกูล อัลโลซอร์ มันมีญาติอันตรายอย่าง คาร์ชาโรดอนโทซอรัส และ กิก้าโนโตซอรัส อัลโลซอรัสมีการขุดพบเป็นซากฟอสซิลจำนวนมาก จากที่ต่างๆทั่วโลก ทำให้มีการวิจัยรุดหน้าไปมาก จากการที่ขุดพบฟอสซิลกระดูกต่างๆมากถึง 1,000 ชิ้นในแหล่งเดียว ทำให้นักวิทยาศาสตร์ตั้งข้อสังเกตว่า พวกมันมีพฤติกรรมล่าเหยื่อเป็นฝูง แบบ สิงโต หรือ สุนัขป่า ในปัจจุบัน เพื่อสามารถล้มไดโนเสาร์ขนาดยักษ์ของยุคจูราคสิคได้

21.ทรูโอดอน

โทรโอดอน (Troodon หรือ Troödon) เป็น ไดโนเสาร์ กินเนื้อที่จัดว่าเป็นไดโนเสาร์ทีมีความฉลาดมากที่สุด ไดโนเสาร์โทรโอดอนเป็นไดโนเสาร์ที่มีชีวิตอยู่ใน ช่วงครีเตเชียสตอนปลาย พบได้ ในประเทศอเมริกาและคานาดา ไดโนเสาร์โทรโอดอนจัดว่าเป็นไดโนเสาร์ที่มีขนาดเล็กกว่า ไดโนเสาร์พันธุ์อื่น ๆ เพราะโครงสร้างที่บอบบาง ลำตัวมีความยาวประมาณ 1.8 เมตร ข้างกะโหลกศีรษะของมัน ค่อนข้างแตกต่างจากไดโนเสาร์พันธุ์อื่น ๆ เพราะบริเวณด้านหลังและด้านข้างของจมูก จะมีโครงกระดูกแหลมโผล่ออกมา ฟันมีลักษณะแหลมและเป็นซี่เล็ก ๆ ตาโต ทำให้สามารถ มองเห็นวัตถุต่าง ๆ ได้ดี มีนิ้วมือสำหรับตะครุบ

22.กินรีไมมัส

กินรีไมมัส (อังกฤษ: Kinnareemimus) เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นมาอย่างไม่เป็นทางการของไดโนเสาร์สกุลหนึ่งที่ยังไม่ได้รับการบรรยายลักษณะ (โนเมน นูดัม) ของไดโนเสาร์เทอร์โรพอดพบในหินทรายหมวดหินเสาขัวยุคครีเทเชียส จากหลุมขุดค้นที่ 5 อุทยานแห่งชาติภูเวียง อำเภอเวียเก่า จังหวัดขอนแก่น ลักษณะกระดูกที่ได้มีความละม้ายคล้ายคลึงกับไดโนเสาร์พวกออร์นิโถมิโมซอเรียน หลักฐานที่พบเป็นเพียงกระดูกอุ้งตีนข้อที่สามที่มีสภาพที่ไม่สมบูรณ์แต่มีลักษณะของพินชิ่งด้านข้างที่เด่นชัดซึ่งพบได้ใน ออร์นิโถมิโมซอร์ ไทรันโนซอรอยด์ ทรูดอนติดส์ และ ครีแนกนาธิดส์ หากมีอายุยุคครีเทเชียสตอนต้นจริง จะถือว่าเป็นออร์นิโถมิโมซอร์รุ่นแรกๆที่มีความเก่าแก่กว่าที่เคยพบเห็นมา ชื่อกินรีไมมัส ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกโดย ริวอิชิ คาเนโกะ (Ryuichi Kaneko) ด้วยชื่อว่า "Ginnareemimus" ในปี ค.ศ. 2000

23.คอมซอกนาทัสล

คอมซอกนาทัส (อังกฤษ: Compsognathus) เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอด สกุลไดโนเสาร์ที่ตัวเล็กที่สุดในโลก ลำตัวยาวประมาณ 70 เซนติเมตร และมีน้ำหนักเพียง 3 กิโลกรัม ฟอสซิลของมันพบในเหมืองที่ประเทศเยอรมนี นอกจากนี้ยีงพบในประเทศไทยของเราด้วย พบเศษกระดูก 2 ชิ้นของกระดูกแข้งด้านซ้าย และกระดูกน่องด้านขวา มีความยาวประมาณ 3 เซนติเมตร พบที่หลุมขุดค้นที่ 1 ที่ภูประตูตีหมา อุทยานแห่งชาติภูเวียง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น พบอยู่ในเนื้อหินทรายหมวดหินเสาขัว ยุคครีเทเชียสตอนต้น ลักษณะของกระดูกที่พบมีลักษณะใกล้เคียงกับคอมพ์ซอกเนธัส ลองกิเปส

24.คาร์ชาโรดอนโทซอรัส

คาร์ชาโรดอนโทซอรัสเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่ร่อนเร่หาอาหารไปทั่ว ไม่อยู่เป็นกลุ่มหลายตัว ถึงแม้ฟันของมันจะมีขนาดใหญ่กว่า 8 นิ้วแต่ฟันของมันไม่เหมาะสำหรับฉีกเนื้อ แต่คล้ายฟันฉลาม ดังนั้นมันจึงได้ชื่อว่า"กิ้งก่าฟันฉลาม" โดยมันจะล่าไดโนเสาร์กินพืชขนาดกลางจนถึงซอโรพอดขนาดใหญ่เป็นอาหาร แต่ในยุคของมันมันไม่ได้เป็นนักล่าที่ใหญ่ที่สุดในห่วงโซ่อาหาร มันยังมีคู่แข่งอย่าง สไปโนซอรัส ที่ยาว18 เมตร (59 ฟุต) ซึ่งถูกขุดพบในทวีปแอฟริกาเหนือเหมือนกับมัน ซึ่งยืนยันได้ว่านักล่าขนาดใหญ่ทั้ง 2 นี้ได้มีชีวิตอยู่ในยุคเดียวกัน

25.แคมป์โทซอรัส

ไฟล์:Camptosaurus at CMNH.jpg

แคมป์โทซอรัส (อังกฤษ: Camptosaurus - กิ้งก่าหลังโค้ง) มีชีวิตอยู่ในช่วงปลายยุคจูแรสสิค ชื่อนี้มาจากโครงสร้างของของมันที่สามารถยืนตรง 2 เท้าหรือ 4 เท้าก็ได้ ขนาดตัวไม่ใหญ่มากนัก ความยาวประมาณ 6.5 เมตร และ ส่วนสูง 2 เมตรจากพื้นถึงเอว เป็นไดโนเสาร์ในกลุ่มสะโพกนก (Ornithischia) รุ่นแรกๆของกลุ่มสายพันธุ์ที่ต่อไปในสมัยหลังจะวิวัฒนาการไปเป็น อิกัวโนดอน และ ไดโนเสาร์ตระกูลปากเป็ดในสมัยครีเตเชียส มันมีปากตัด เพื่อเอาไว้สำหรับกินพืชในป่า

26.แลมบีโอซอรัส แลมเบ

 แลมบีโอซอรัส แลมเบ (อังกฤษ: Lambeosaurus lambei) เป็นไดโนเสาร์มีหงอนรูบหมวกอยู่บนหัว กินพืชเป็นอาหาร รักสงบ ภายในหงอนกลวง เพื่อใช้ส่งเสียงร้องเรียกเพื่อนๆของมัน คล้ายๆกับพาราซอโรโลฟัส ชื่อมีความหมายว่ากิ้งก่าแห่งแลมบี ยาวประมาณ 10 เมตร ค้นพบฟอสซิลที่ทวีปอเมริกาเหนือ อาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนปลายเมื่อประมาณ 75-80 ล้านปีก่อน

27.มอโนโลโฟซอรัส

มอโนโลโฟซอรัส (อังกฤษ:Monolophosaurus)เป็นเทอโรพอดจากยุคจูราสสิคเมื่อประมาณ 170 ล้านปีก่อน มีขนาดยาว 5 เมตร(16ฟุต) พื้นที่ที่ขุดพบมอโนโลโฟซอรัส มีการพบสัญญาณของนํ้าจึงเป็นไปได้ว่าไดโนเสาร์ชนิดนี้อาศัยอยู่บนชายฝั่งของทะเลสาบหรือมหาสมุทร มอโนโลโฟซอรัส น่าจะพัฒนามาจากเมกะโลซอรัส มอโนโลโฟซอรัสถูกจัดให้อยู่ในตระกูลอัลโลซอร์ แต่ในปี2009 ชาล์ เอ็ทอัล กล่าวคุณสมบัติพื้นฐานต่างๆของโครงกระดูกโดยบอกว่า มอโนโลโฟซอรัส เป็นหนึ่งในไดโนเสาร์ในตระกูล เทตันนูรี

28.แพคิเซอฟาโลซอรัส

ไฟล์:Pachycephale.jpg

แพคิเซอฟาโลซอรัส (อังกฤษ: Pachycephalosaurus (เสียงอ่านอังกฤษ: //ˌpækɨˌsɛfələˈsɔrəs/)) เป็นไดโนเสาร์หัวเเข็ง หรือแพคิเซอฟาโลซอร์ชนิดหนึ่ง มีชื่อภาษาจีนว่าจิเซมะ ไดโนเสาร์ชนิดนี้มีหัวหนาถึง 25 เซ็นติเมตร ซึ่งน่าจะมีไว้ต่อสู้หรือป้องกันตัว ฟอสซิลของค้นพบที่รัฐไวโอมิง ในปีค.ศ.1931 โดยนักล่าฟอสซิลชื่อกิลมอร์ แพคิเซอฟาโลซอรัสอาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนปลายเมื่อประมาณ 70-65 ล้านปีก่อน มีญาติอย่างพรีโนเซฟาลี เเละดราโกเร็กซ์

29.บารีโอนิกซ์

บารีโอนิกซ์ (Baryonyx) เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่อยู่ในวงศ์สไปโนซอร์ มีถิ่นกำเนิดที่อังกฤษ บารีโอนิกซ์มีฟันรูปกรวย มันมีเล็บหัวแม่มือที่ใหญ่กว่าเล็บอื่น ยังมีการพบเกล็ดปลาดึกดำบรรพ์ เลปิโดเทส ที่กระเพาะอาหารของมันอีกด้วย ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงคาดว่า มันคงจะกินปลาเป็นอาหาร โดยใช้เล็บจิกปลาขึ้นมากิน แต่อย่างไรก็ตาม มันก็กินไดโนเสาร์อื่นๆ และกระทั่งลูกของมันเอง มันมีความยาวประมาณ10.5เมตร อาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนต้น ประมาณ120ล้านปีก่อน

30.ซูโคไมมัส

ไฟล์:Suchomimus skullcast aus.jpg

ซูโคไมมัส (อังกฤษ: Suchomimus) เป็นไดโนเสาร์ที่อยู่ในสกุลสไปโนซอร์ [spinosaurid] ที่อาศัยอยู่ในแอฟริกา ประเทศอียิปต์ Suchomimus มีปากที่มีความยาวตํ่าและแคบเป็นจงอย ฟันคมมาก และโค้งย้อนหลัง ออกหาอาหารบริเวณริมแม่นํ้า อาหารหลักของมันคือปลา และสัตว์นํ้าในยุคดึกดำบรรณ์ Suchomimus มีความยาว 11 เมตร หนักประมาณ 2.9-4.8 ตัน อาศัยอยู่ในยุคครีเทเซียสตอนต้นเมื่อประมาณ 112 ล้านปีก่อน มันมีศัตรูขู้แข่งตามธรรมชาติที่อาศัยอยู่ในยุคเดียวกันอย่าง จระเข้ยักษ์ ซาร์โค-ซูซุส (Sarcosuchus) ที่อาศัยอยู่ริมนํ้าและจะคอยดักซุ่มโจมตีเหยื่ออยู่ในนํ้า Suchomimus มีญาติไกล้ชิดอย่าง สไปโนซอรัส [spinosaurus] ที่มีความยาว 18 เมตร กับ อิริอาเตอร์ (อังกฤษ: Irritator) ยาว8เมตร(26ฟุต) ที่มีลักษณะรูปร่างและการดำรงชีวิตคล้ายกันแต่มีขนาดเล็กกว่า

31.โดโด้

ไฟล์:Dodo 1.JPG

โดโด้ (อังกฤษ: dodo) เป็นนกท้องถิ่นที่พบได้เฉพาะบนหมู่เกาะมอริเชียสในมหาสมุทรอินเดีย เป็นนกที่บินไมได้อยู่ในตระกูลเดียวกับนกพิราบ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Raphus cucullatusในปี พ.ศ. 2048 ชาวโปรตุเกสเป็นชาวยุโรปพวกแรกที่พบ และเพียงประมาณปี พ.ศ. 2224 มันก็สูญพันธุ์อย่างรวดเร็วโดยมนุษย์ รวมถึงสุนัขล่าเนื้อ หมู หนู ลิง ที่ถูกนำเข้าโดยชาวยุโรปโดโด้ไม่ใช่นกเพียงชนิดเดียวในมอริเชียสที่สูญพันธุ์ในศตวรรษนี้ จากนกกว่า 45 ชนิดที่พบบนเกาะ มีเพียง 21 ชนิดเท่านั้นที่เหลือรอด นกสองชนิดซึ่งเป็นญาติใกล้ชิดกับโดโด้ก็สูญพันธุ์ไปเช่นกัน คือ Reunion solitaire (Raphus solitarius) ประมาณปี พ.ศ. 2289 และ Rodrigues solitaire (Pezophaps solitaria) ประมาณปี พ.ศ. 2333 เมื่อทศวรรษ พ.ศ. 2533 วิลเลียม จ. กิบบอนส์ นำคณะสำรวจขึ้นค้นหาบนเขาบนเกาะมอริเชียส แต่ก็ไม่มีใครค้นพบ จึงประกาศการสูญพันธุ์อย่างเป็นทางการ

32.ช้างแมมมอธ

ช้างแมมมอธ เป็นช้างที่อาศัยอยู่ในยุคน้ำแข็งเมื่อ 20,000 ปีก่อน แต่สูญพันธุ์ไปเพราะถูกมนุษย์ยุคหินล่า มีขนยาวปกคลุมเพื่อป้องกันความหนาวเย็น มีงายาวและโค้ง การค้นพบซากแมมมอธ สามารถนำมาศึกษาวิจัยเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลก เพราะแมมมอธเคยผ่านช่วงเวลานั้นมา พ.ศ. 2550 ได้มีการพบซากลูกช้างสูง 130 เซนติเมตร และมีน้ำหนัก 50 กิโลกรัม ใกล้กับแม่น้ำยูริเบ ในเขตปกครองตนเอง ยามาล - เนเน็ต ทางตะวันตกเฉียงเหนือของไซบีเรีย โดย ยูริ คูดี

33.เม็กกาโลดอน

เม็กกาโลดอน (อังกฤษ: Megalodon ภาษากรีกแปลว่า ฟันใหญ่) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เม็ก (Meg) ปลาฉลามขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่โลกเคยมีมา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Carcharodon megalodon นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามีรูปร่างและลักษณะรวมทั้งพฤติกรรมคล้ายคลึงกับปลาฉลามขาว (C. carcharias) และได้จัดให้อยู่ในสกุล Carcharodon อันเป็นสกุลเดียวกับฉลามขาว แต่ทว่า เม็กกาโลดอนมีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่ามาก

34.ไทลาซีน

ไทลาซีน (อังกฤษ: thylacine), Thylacinus cynocephalus มาจากภาษากรีก แปลว่า "มีหัวเหมือนสุนัขและมีกระเป๋าหน้าท้อง" รู้จักกันทั่วไปในชื่อ "เสือแทสเมเนีย" (อังกฤษ: Tasmanian tiger) เนื่องจากมีลายทางที่หลังคล้ายเสือ ในอดีตไทลาซีนเคยเป็นมาร์ซูเปียลกินเนื้อที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีถิ่นฐานอยู่ในออสเตรเลีย รัฐแทสเมเนีย และนิวกินีไทลาซีนสูญพันธุ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยมีบันทึกไว้ว่า ไทลาซีนตัวสุดท้ายที่สวนสัตว์โฮบาร์ต ชื่อ "เบนจามิน" ได้ตายลงเมื่อวันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 1936 เนื่องจากถูกละเลย ขาดการดูแลรักษา และถูกประกาศสถานะสูญพันธุ์โดย IUCN ในปี ค.ศ. 1982 และโดยรัฐบาลท้องถิ่นของรัฐแทสเมเนียในปี ค.ศ. 1986

35.นกโมอา

นกโมอา (Moa) เป็นนกที่เคยอาศัยอยู่ในประเทศนิวซีแลนด์ซึ่งปัจจุบันได้สูญพันธ์ไปหมดแล้ว มีความเกี่ยวข้องกับนกอีมูจากออสเตรเลีย ในปี 1800 ถึงต้นปี 1900 มีหลายสายพันธุ์ของนกโมอาอยู่ในประเทศนิวซีแลนด์ ตอนนี้นักวิทยาศาสตร์สรุปอย่างเป็นทางการได้ว่ามีอยู่ประมาณ 10 สายพันธุ์จากการศึกษาดีเอ็นเอ ของนกโมอา ได้มีการค้นพบว่านกโมอาตัวเมียกับตัวผู้มีความแตกต่างกันมาก ไม่ว่าจะเป็นทางขนาดลำตัวรึขนาดของกระดูก ตัวเมียมีขนาดที่ใหญ่กว่าและสูงกว่าตัวผู้อยู่ประมาณ 150 % และมีน้ำหนักกว่า 280 % เหตุผลนี้ทำให้ตอนแรกมีการเข้าใจผิดคิดว่าโครงกระดูกที่ถูกค้นพบนี้เป็นของนกสองสายพันธุ์ โครงกระดูกที่ถูกค้นพบได้ถูกนำมาประกอบกันแล้วจัดแสดงอยู่ตามพิพิธภัณฑ์ต่างๆทั่วประเทศนิวซีแลนด์

36.อาร์คีออปเทอริกซ์

อาร์คีออปเทอริกซ์ (อังกฤษ: Archaeopteryx, เสียงอ่านอังกฤษ: /ˌɑrkiːˈɒptərɨks/) หรือที่รู้จักกันในนามของ “Urvogel” (ออกเสียง:อูร์ฟอเกิล) ซึ่งเป็นภาษาเยอรมันแปลว่านกต้นกำเนิดหรือนกชนิดแรก เป็นนกรุ่นแรกสุดที่มีความเก่าแก่โบราณที่สุดเท่าที่รู้จักกันมา ชื่อมาจากภาษากรีกโบราณ ἀρχαῖος(archaios) หมายถึง “เก่าแก่โบราณ” และ πτέρυξ(pteryx) หมายถึงขนหรือปีกอาร์คีออปเทอริกซ์มีชีวิตอาศัยอยู่ในช่วงปลายของยุคจูแรสซิกหรือประมาณ 150-145 ล้านปีมาแล้ว ในสถานที่ที่ปัจจุบันอยู่ทางตอนใต้ของประเทศเยอรมนี ในช่วงเวลาที่ยุโรปมีสภาพเป็นหมู่เกาะ เป็นทะเลตื้น ที่มีภูมิอากาศแบบเขตร้อน และอยู่ใกล้กับแนวเส้นศูนย์สูตรมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมาก

37.เฮสเปอร์รอร์นิส

เฮสเปอร์รอร์นิส (อังกฤษ: Hesperornis) เป็นนกที่ปรับตัวลงไปอาศัยอยู่ในน้ำ พวกมันอยู่ในช่วงยุคครีเทเชียส สัตว์ในสกุลเฮสเปอร์รอร์นิส ได้แก่แบ็ททอนิส เฮสเปอร์รอร์นิส และอื่นๆ เฮสเปอร์รอร์นิสถูกศึกษาครั้งแรกโดย Marsh ซึ่งเก็บฟอสซิลได้ริมฝั่งแม่น้ำแต่มีพวกอินเดียแดงมารบกวนจึงทำอะไรได้ไม่มากนัก ต่อมาเข้าได้รวบรวมฟอสซิลจนครบและมีหลักฐานพอที่จะตั้งสายพันธุ์ใหม่ เป็น เฮสเปอร์รอร์นิส รีการิส ( H.regalis) เฮสเปอร์รอร์นิสเริ่มโด่งดังมาจากอเมริกาเหนือ - แคนซัส

38.ไดพลอโดคัส

ไดพลอโดคัส (ชื่อวิทยาศาสตร์: Diplodocus (เสียงอ่านอังกฤษ: /daɪˈplɒdəkəs/)) หรือ กิ้งก่าสันคู่ วงศ์ ดิพโพลโดซิเด อันดับแยกย่อย ซอโรโพดา อันดับย่อย ซอโรโพโดมอพา อันดับ ซอริสเชีย เป็นไดโนเสาร์ ตระกูลซอโรพอดเช่นเดียวกับ อะแพทโตซอรัสและ มีชื่อเสียงพอๆกัน ในด้านความยาวขนาดตัว ขนาดใหญ่โตเต็มที่ยาว 25-27 เมตร( David Gillete คำนวณขนาดมันว่า ใหญ่ได้มากที่สุด 33 เมตร) แต่หนักแค่ 10-12 ตัน ถือว่าเป็นซอโรพอดที่เบาที่สุด อาศัยอยู่กลางถึงปลายยุคจูแรสซิก 150 - 147 ล้านปีก่อนไดพลอโดคัส เป็นสายพันธุ์ที่แยกประเภทได้ง่าย เนื่องจาก ลักษณะตามแบบไดโนเสาร์ ศีรษะขนาดเล็ก เตี้ย และเอียงลาด ตาลึก รูจมูกอยู่เหนือตา จมูกกว้าง คอและหางยาว ปลายแส้ที่หางยาวมากกว่า อะแพทโตซอรัส ขา 4 ข้างที่ใหญ่โตเหมือนเสา ลักษณะที่โดดเด่นคือ เงี่ยงกระดูกเป็นคู่ที่ยื่นโผล่ออกมาจากกระดูกสันหลังตั้งแต่หลังคอเรียงรายไปถึงหางหลายปีก่อน ไดพลอโดคัส เคยเป็น ไดโนเสาร์ที่ตัวยาวที่สุด ขนาดตัวมหึมาของมัน เป็นอุปสรรคระดับหนึ่งต่อนักล่า อย่าง อัลโลซอรัส พบที่อเมริกาเหนือ อยู่ในยุคจูราสสิคตอนปลาย

39.เวโลซีแรปเตอร์

เวโลซีแรปเตอร์ (อังกฤษ: Velociraptor) เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่ฉลาดและว่องไว มีความยาวประมาณ1.5-1.8เมตร อยู่ในวงศ์โดรเมโอซอร์ มีการออกล่าเหยื่อเป็นกลุ่มเหมือนหมาป่า อาวุธคือเล็บเท้าแหลมคมเหมือนใบมีดที่พับเก็บได้และฟันที่คมกริบ เป็นไดโนเสาร์ที่มีชีวิตอยู่บนโลก ช่วงประมาณ 83-70 ล้านปีก่อนในยุคครีเทเชียส(Cretaceous) มีหลักฐานพบเป็นฟอสซิลในบริเวณเอเซียกลาง(เคยมีการค้นพบฟอสซิลว่ามันต่อสู้กับโปรโตเซราทอปส์ด้วยมันมีญาติคือยูทาห์แรปเตอร์ ไดโนนีคัส และ โดรมีโอซอรัส

40.เทอโรพอด

เทอโรพอด (อังกฤษ: Theropods; IPA: /ˈθɛrəpɒd/) อยู่ในวงศ์ออร์นิทิสเชียน (สะโพกแบบกิ้งก่า) เทอโรพอดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือสไปโนซอรัส ที่อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกาและเล็กที่สุดคือคอมซอกนาทัส ที่พบในโซนโหเฟน ประเทศเยอรมนี นอกจากนี้เทอโรพอดยังเป็นไดโนเสาร์พวกที่เก่าแก่ที่สุดในโลกด้วย โดยพันธุ์ที่เก่าแก่ที่สุดคืออีโอแร็พเตอร์ ที่อาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ เมื่อ 229 ล้านปีก่อน เทอโรพอดชนิดแรกที่ค้นพบคือเมกะโลซอรัส โดยพวกเทอราพอดนี้มีญาติคือซอโรพอด เทอโรพอดส่วนใหญ่จะเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อ แต่ก็มีพันธุ์ที่เป็นไดโนเสาร์กินพืชอย่างเทอริสิโนซอรัส เทอโรพอดมีชีวิตอยู่เมื่อ 229-65 ล้านปีก่อน มีพันธุ์ที่มีชื่อเสียงหลายพันธุ์เช่นไทรันโนซอรัส อัลโลซอรัส หรือสไปโนซอรัส

Share this