“เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร”
สมาชิกเลขที่14323 | 22 พ.ค. 53
11.4K views

บทความข้อธรรมะจากพระไตรปิฏก เพื่อเตือนสติคนไทยวันนี้

 

เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร

 

ปกติของผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่ ยังไม่มีปัญญาถึงขั้นที่จะดับโทสะ (ความโกรธ ความขุ่นเคืองใจ)          ได้อย่างเด็ดขาดบรรลุถึงความเป็นพระอนาคามีบุคคล      ความโกรธ ความขุ่นเคืองใจ ย่อมเกิดขึ้นเป็นปกติธรรมดา ซึ่งจะเห็นได้จากชีวิตประจำวันที่มีทั้งโกรธ หงุดหงิด ขุ่นเคืองใจ ไม่พอใจบุคคลรอบข้าง   แต่ถ้าถึงกับผูกโกรธ ผูกอาฆาต ผูกเวร จองเวร ไม่มีวันลืม ฝังลึกอยู่ในจิตใจ     นั่นย่อมเป็นที่แน่นอนว่าความโกรธ    มีแต่จะหนาแน่นพอกพูนขึ้นเรื่อย ๆ สะสมอยู่ในจิตทุกขณะไม่หายไปไหนพร้อมที่จะมีกำลังสามารถล่วงออกมาเป็นทุจริตกรรมเบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อนได้ทุกเมื่อ      ดังเรื่องของนางยักษิณีกับกุลธิดา ท่านหนึ่ง ที่เคยผูกเวร จองเวรกันไว้ ตั้งแต่ในชาติก่อน ๆ และในเหตุการณ์ดังกล่าวนี้               พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงไว้ว่า    “เหตุไฉน   พวกเธอทั้งหลาย จึงทำเวรและเวรตอบแก่กัน? เพราะเวรย่อมระงับได้   ด้วยความไม่มีเวร   หาระงับได้ด้วยเวรไม่”     และได้ตรัสพระคาถานี้ว่า

    

 

“ในกาลไหน ๆ เวรทั้งหลายในโลกนี้ ย่อมไม่ระงับด้วยเวรเลย

 

แต่ย่อมระงับได้   ด้วยความไม่มีเวร,         ธรรมนี้เป็นของเก่า”

 

 

 

ในอรรถกถาได้แก้ไว้ว่า

 

 

 

ขยายข้อว่า   เวรทั้งหลาย ย่อมไม่ระงับด้วยเวร

 

          บรรดาบทเหล่านั้น     บทว่า   น   หิ เวเรน    เป็นต้น    ความว่า    เหมือนอย่างว่า     บุคคล     แม้เมื่อล้างที่ซึ่งเปื้อนแล้วด้วยของไม่สะอาดมีน้ำลายและน้ำมูกเป็นต้น   ด้วยของไม่สะอาดเหล่านั้นแล     ย่อมไม่อาจทำให้เป็นที่หมดจดหายกลิ่นเหม็นได้, โดยที่แท้   ที่นั้นกลับเป็นที่ไม่หมดจดและมีกลิ่นเหม็นยิ่งกว่าเก่าอีก    ฉันใด    บุคคลเมื่อด่าตอบชนผู้ด่าอยู่   ประหารตอบชนผู้ประหารอยู่   ย่อมไม่อาจยังเวรให้ระงับด้วยเวรได้, โดยที่แท้   เขาชื่อว่าทำเวรนั่นเองให้ยิ่งขึ้น ฉันนั้นนั่นเทียว  แม้ในกาลไหน ๆ    ขึ้นชื่อว่าเวรทั้งหลาย    ย่อมไม่ระงับได้ด้วยเวร,    โดยที่แท้ เวร ชื่อว่าย่อมเพิ่มยิ่งขึ้นอย่างเดียว   ด้วยประการฉะนี้.

 

ขยายข้อว่า   เวรย่อมระงับ ด้วยการไม่จองเวรหรือด้วยการไม่มีเวร

 

           สองบทว่า อเวเรน จ สมฺมนฺติ   ความว่า   เหมือนอย่างว่า ของไม่สะอาด    มีน้ำลายเป็นต้นเหล่านั้น     อันบุคคลล้างด้วยน้ำที่ใสย่อมหายหมดได้, ที่นั้นย่อมเป็นที่หมดจด   ไม่มีกลิ่นเหม็น ฉันใด, เวรทั้งหลาย ย่อมระงับ     คือ ย่อมสงบ     ได้แก่     ย่อมถึงความไม่มี ด้วยความไม่มีเวร คือ ด้วยน้ำคือขันติ(ความอดทน) และเมตตา (ความเป็นมิตร ความเป็นเพื่อน)     ด้วยการทำไว้ในใจโดยแยบคาย [และ]         ด้วยการพิจารณา ฉันนั้นนั่นแล.

 

 

 

ขยายข้อว่า   ธรรมนี้เป็นของเก่า

 

           บาทพระคาถาว่า เอส ธมฺโม สนนฺตโน ความว่า ธรรมนี้คือที่นับว่า    ความสงบเวร    ด้วยความไม่มีเวร    เป็นของเก่า   คือเป็นหนทางแห่งพระพุทธเจ้า   พระปัจเจกพุทธเจ้า    และพระขีณาสพทั้งหลาย

 

(ผู้มีอาสวะสิ้นไปแล้ว) ทุก ๆ พระองค์ ดำเนินไปแล้ว

 

         ในเวลาจบพระคาถา นางยักษิณีได้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล.

 

จาก...ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เรื่องความเกิดขึ้นของนางกาลียักษิณี

 

 

 

        แสดงให้เห็นถึงความเป็นจริงที่ว่า   กิเลส(เครื่องเศร้าหมองของจิต)ที่มีมาก ที่ได้สะสมมาอย่างเนิ่นนานในสังสารวัฏฏ์นับชาติไม่ถ้วน ถ้าได้อาศัยการอบรมเจริญปัญญา      มีความเข้าใจถูกเห็นถูกขึ้นไปตามลำดับ    ย่อมสามารถที่จะละหรือดับกิเลสเหล่านั้นได้ในที่สุด 

 

* * * * * * * * * * * * * * * * *
Share this