การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
3. ระยะตัวอ่อน (Fetus) ได้แก่ ระยะตั้งแต่สัปดาห์ 7 หรือ 8-40 เป็นระยะของการเจริญเติบโตของอวัยวะต่าง ๆ ที่เริ่มสร้างขึ้นในระยะคัพภะเพื่อที่จะให้ทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์เมื่อตัวอ่อนคลอดมาเป็นทารก เช่น ระบบประสาท ระบบหายใจ และระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น
ในระยะตัวอ่อนนี้เมื่ออายุครรภ์ครบ 28 สัปดาห์ ทารกจะยาวประมาณ 35 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 1,000 กรัม ผิวหนังแดงเรื่อแต่เหี่ยวย่นคล้ายผิวคนแก่มีไขเคลือบทั่วอวัยวะต่าง ๆ เริ่มทำงานได้ถ้าทารกคลอดในระยะนี้ อาจมีชีวิตอยู่ได้ในความดูแลของกุมารแพทย์ที่มีเครื่องมือเครื่องใช้พร้อม
มื่ออายุครรภ์ครบ 32 สัปดาห์ ทารกจะยาวประมาณ 40 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 1,600-2,000 กรัม เริ่มมีไขมันใต้ผิวหนังถ้าเป็นเพศชายอัณฑะจะเคลื่อนจากช่องท้องลงไปยังถุงอัณฑะการเจริญเติบโตของร่างกายของทารกในครรภ์ใกล้เคียงกับทารกคลอดครบกำหนดถ้าคลอดในระยะนี้มีโอกาสอยู่รอดได้มากขึ้น
เมื่ออายุครรภ์ครบ 36 สัปดาห์ ทารกจะยาวประมาณ 45 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 2,000-2,400 กรัม รอยย่นของผิวหนังหายไปแต่ยังมีไขเคลือบอยู่อวัยวะต่าง ๆ เจริญเติบโตเกือบเต็มที่
และเมื่ออายุครบ 40 สัปดาห์ หรือครบกำหนดคลอดอวัยวะต่าง ๆ ของทารกจะเจริญเติบโตเต็มที่ตัวยาวประมาณ 50 เซนติเมตร น้ำหนักไม่ควรน้อยกว่า 2,500 กรัม ระยะนี้ศีรษะของทารกจะเคลื่อนลงไปในอุ้งเชิงกรานทำให้มารดารู้สึกว่า "ท้องลด" หายอึดอัดสบายขึ้น
PREVIOUS
การปฏิสนธิและการตั้งครรภ์
NEXT
การเจ็บท้องคลอดและการคลอด