เมื่อ
1. ประจำ
2. มี
3. มี
4. ถ่าย
5. คลำ
6. เด็ก
การวินิจฉัยการตั้งครรภ์
มีหลายวิธีอาจใช้วิธีใดวิธีหนึ่งหรือใช้หลายวิธีประกอบกัน ได้แก่
1. การซักประวัติได้ว่าขาดประจำเดือนและมีอาการต่าง ๆ ของการตั้งครรภ์ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
2. การตรวจหน้าท้อง คลำได้ส่วนต่าง ๆ ของเด็กและฟังได้ยินเสียงหัวใจเด็ก
3. การตรวจภายในพบการเปลี่ยนแปลงของผนังช่องคลอดและปากมดลูกและพบว่าขนาดของมดลูกโตขึ้น
4. การตรวจระดับฮอร์โมนในเลือดหรือในปัสสาวะระดับของฮอร์โมนนี้จะสูงขึ้นเมื่อมีการตั้งครรภ์และจะสูงสุดเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 8-10 สัปดาห์
5. การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (ultra- sound) สามารถวินิจฉัยการตั้งครรภ์ได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 5-6 สัปดาห์
การคะเนวันคลอด
โดยปกติทารกจะคลอดเมื่ออายุครรภ์ครบกำหนด คือ 40 สัปดาห์หรือ 280 วัน นับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายดังนั้นในหญิงที่มีประจำเดือนมาตรงและสม่ำเสมอทุก 28 วัน เราจะสามารถคะเนวันคลอดได้ โดยนับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายไป 280 วัน ซึ่งในทางปฏิบัติเรานิยมนับย้อนหลังไป 3 เดือน แล้วบวกอีก 7 วัน ก็จะคะเนวันที่และเดือนที่จะคลอดได้
ในกรณีที่จำวันที่มีประจำเดือนครั้งสุดท้ายไม่ได้เราอาจคะเนวันคลอดได้จากวันแรกที่แม่เริ่มรู้สึกว่าเด็กดิ้นโดยทั่วไปแม่จะเริ่มรู้สึกว่าเด็กดิ้นเมื่ออายุครรภ์ได้ 20 สัปดาห์ ในครรภ์แรกและ 18 สัปดาห์ในครรภ์หลังดังนั้นเราสามารถคะเนวันคลอดโดยนับจากวันแรกที่เริ่มรู้สึกว่าเด็กดิ้นไปอีก 20 สัปดาห์ ในครรภ์แรกและ 22 สัปดาห์ในครรภ์หลังวิธีนี้มีโอกาสคลาดเคลื่อนได้มากกว่าวิธีแรกเพราะอาศัยความรู้สึกของแม่เป็นหลัก
นอกจากนี้แพทย์สามารถคะเนวันคลอดได้จากการประมาณอายุครรภ์ขณะตรวจโดยดูจากขนาดของมดลูกรวมทั้งการวัดขนาดของศีรษะและลำตัวของเด็กในครรภ์โดยอาศัยเครื่องมือตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
การฝากครรภ์
การฝากครรภ์ถือเป็นเวชศาสตร์ป้องกันอย่างหนึ่งเพื่อการป้องกันรักษาและลดอันตรายจากโรคแทรกซ้อนอันอาจเกิดขึ้นได้กับมารดาและทารกทั้งทางร่างกายและจิตใจในระยะก่อนคลอดระยะคลอดและหลังคลอด
เมื่อทราบว่าตนเองตั้งครรภ์ควรรีบไปฝากครรภ์เพื่อรับคำแนะนำการปฏิบัติตัวของมารดาและการดูแลทารกจากแพทย์หรือพยาบาลอย่างใกล้ชิดโดยแพทย์จะนัดตรวจเป็นระยะ ๆ ซึ่งมีความสำคัญมากเพราะแพทย์สามารถตรวจพบ และเปรียบเทียบได้ว่าครรภ์นั้นผิดปกติหรือไม่เด็กเจริญเติบโตตามปกติหรืออยู่ในท่าปกติหรือเปล่าอีกทั้งเพื่อป้องกันและรักษาโรคแทรกซ้อนซึ่งอาจเกิดขึ้นในระยะต่าง ๆ ของการตั้งครรภ์