อาหารไม่ได้มีผลต่อแค่พลังงานในแต่ละวันเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อระบบประสาท การหลั่งฮอร์โมน และสมดุลภายในร่างกาย ซึ่งทั้งหมดนี้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับสุขภาพการนอน
ตัวอย่าง การรับประทานอาหารที่มีสารทริปโตเฟน , แมกนีเซียม และวิตามินบี 6 จะช่วยกระตุ้นการสร้างเซโรโทนิน และเมลาโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้นอนหลับลึกและต่อเนื่อง
กล้วยหอมอุดมไปด้วย แมกนีเซียม และ โพแทสเซียม ที่ช่วยคลายกล้ามเนื้อและลดความเครียด แถมยังมีทริปโตเฟน ที่ช่วยกระตุ้นการหลั่งเมลาโทนินและเซโรโทนินอีกด้วย จึงเหมาะอย่างยิ่งเป็นอาหารก่อนนอน
เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ ธัญพืชเหล่านี้มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่ช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่ ส่งผลดีต่อการนอนหลับ และยังมีใยอาหารที่ช่วยให้รู้สึกอิ่มนาน
แหล่งของโอเมก้า-3 และวิตามินดี ที่ช่วยลดการอักเสบในร่างกาย และปรับระดับเซโรโทนินในสมอง ทำให้หลับง่ายและนอนหลับลึกขึ้น
อุดมไปด้วยแมกนีเซียม ซึ่งเป็นแร่ธาตุสำคัญในการช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย และมีคุณสมบัติช่วยให้หลับเร็วขึ้น
มีทริปโตเฟน และแคลเซียม ที่ช่วยเสริมการทำงานของเมลาโทนิน เหมาะสำหรับดื่มก่อนเข้านอน โดยเฉพาะเมื่อนำไปอุ่นเล็กน้อย จะช่วยให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย
การกินอาหารก่อนนอนมีความสำคัญไม่แพ้การเลือกประเภทอาหาร หากกินมื้อดึกมากเกินไป หรือกินใกล้เวลานอน ร่างกายจะใช้พลังงานในการย่อยอาหาร แทนที่จะพักผ่อนส่งผลให้คุณยิ่งนอนหลับยาก
สิ่งที่ควรรู้ !
- ควรกินอาหารมื้อเย็นก่อนนอนอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง
- หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูงหรือเผ็ดจัด ซึ่งอาจทำให้เกิดกรดไหลย้อน
- งดคาเฟอีนและแอลกอฮอล์หลังเวลา 15.00 น. เพราะมีผลต่อวงจรการนอน
1. คาเฟอีน
พบในกาแฟ ชา น้ำอัดลม และช็อกโกแลต คาเฟอีนสามารถอยู่ในร่างกายได้นานถึง 6-8 ชั่วโมง ทำให้ยากต่อการเข้าสู่ภาวะหลับลึก
2. อาหารมันหรือทอด
อาหารกลุ่มนี้ย่อยยาก และกระตุ้นกรดในกระเพาะ อาจทำให้เกิดอาการแน่นท้องหรือกรดไหลย้อนช่วงนอน
3. แอลกอฮอล์
แม้หลายคนคิดว่าแอลกอฮอล์ช่วยให้นอนง่าย แต่จริง ๆ แล้วส่งผลให้หลับไม่ลึก และทำให้ตื่นกลางดึกได้ง่าย
นอกจากการเลือกกิน อาหารเพื่อการนอนหลับแล้ว การดูแลพฤติกรรมอื่น ๆ ก็เป็นสิ่งที่ควรทำควบคู่กัน
- จัดเวลานอนให้เป็นเวลาเดียวกันทุกวัน
- ลดการใช้หน้าจอมือถือก่อนนอนอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
- เปิดไฟสลัวหรือใช้กลิ่นอโรมาช่วยผ่อนคลาย
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรออกแรงหนักใกล้เวลานอน