ในบทความนี้เราจึงจะชวนมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ METABOLISM กัน เพื่อที่จะนำไปเป็นแนวทางในการป้องกันและแก้ปัญหาระบบเผาผลาญพังต่อไป
METABOLISM หรือการเผาผลาญ คือปฏิกิริยาเคมีที่ทำให้ร่างกายทำงานได้ตามปกติ เป็นกระบวนการที่นำสารอาหารจากอาหารที่เรากินไปเก็บไว้ และเปลี่ยนให้กลายเป็นพลังงาน เพื่อนำมาใช้ในกระบวนการต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น การหายใจ การทำงานของอวัยวะภายใน การสร้างกล้ามเนื้อและกระดูก เป็นต้น ซึ่งโดยปกติแล้วคนเรามีการเผาผลาญอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะนั่งนิ่ง ๆ หรือนอนเฉย ๆ ก็ตาม แต่อัตราการเผาผลาญพื้นฐานของแต่ละคนก็จะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมหรือกิจกรรมที่ทำของแต่ละคนด้วย
กระบวนการในการเผาผลาญประกอบด้วย 2 กระบวนการ ดังนี้
กระบวนการสร้าง (Anabolism) คือ กระบวนการสร้างโมเลกุลขนาดใหญ่จากโมเลกุลขนาดเล็ก จากสารอาหารที่เราได้รับเข้าไปและถูกนำไปเก็บไว้ เพื่อนำไปใช้ซ่อมแซมอวัยวะส่วนต่าง ๆ ภานในร่างกาย ซึ่งถ้าเรากินอาหารเข้าไปมากกว่าที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน สารอาหารส่วนเกินก็จะถูกจะสะสมอยู่ในรูปของไขมัน
กระบวนการสลาย (Catabolism) คือ กระบวนการสลายสารโมเลกุลใหญ่ให้เป็นโมเลกุลขนาดเล็ก เป็นการย่อยสลายสารอาหารที่เก็บไว้ให้กลายเป็นพลังงาน
คำว่าระบบเผาผลาญพังที่ว่านี้ก็คือ การที่ร่างกายไม่สามารถเผาผลาญสารอาหารที่กินเข้าไป มาใช้เป็นพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้มีสารอาหารตกค้างไปสะสมเป็นไขมันตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
ระบบเผาผลาญพัง สังเกตได้จากอาการเหล่านี้
กินอาหารน้อย แต่น้ำหนักเพิ่มขึ้น อ้วนง่ายผิดปกติ
พยายามลดน้ำหนัก แต่น้ำหนักไม่ยอมลดสักที
การอดอาหาร ทำให้ได้รับสารอาหารบางอย่างไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลกระทบต่อกระบวนการเผาผลาญได้
ความเครียด หรือฮอร์โมนทำงานผิดปกติ อาจส่งผลให้นอนไม่หลับ ทำให้ร่างกายพักผ่อนได้ไม่เพียงพอ จึงส่งผลต่อระบบเผาผลาญ
เปลี่ยนความคิดที่ว่าต้องลดไขมัันหรือน้ำหนักให้ได้มาก ๆ แต่ให้เน้นไปที่การเพิ่มกล้ามเนื้อ แต่ไขมันไม่เพิ่มแทน
กินอาหารที่มีประโยชน์เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ เช่น โปรตีน ไขมันดี แป้งไม่ขัดขาว ผักและผลไม้
หากกินอาหารในปริมาณน้อยมาก่อน ให้ค่อย ๆ เพิ่มระดับพลังงานในแต่ละวันอย่างช้า ๆ
ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ทั้งการคาดิโอ และเวทเทรนนิ่ง
หากเราเข้าใจถึงการทำงานของ METABOLISM และนำไปปรับใช้ในการลดน้ำหนักได้อย่างถูกต้อง ก็จะทำให้ร่างกายไม่เกิดปัญหาระบบเผาผลาญพัง สุขภาพไม่เสียด้วย