Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

วิธีช่วยเหลือและปฐมพยาบาลเบื้องต้นผู้ถูกไฟดูดหรือไฟช็อต

Posted By Plook Creator | 24 พ.ค. 66
4,035 Views

  Favorite

ไฟฟ้าดูด ไฟฟ้าช็อต เกิดขึ้นเมื่อไปสัมผัสกับแหล่งที่มีการไหลเวียนของกระแสไฟฟ้าโดยตรง เมื่อพลังงานไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายมนุษย์ที่ถือว่าเป็นตัวนำไฟฟ้าจึงทำให้เกิดการช็อต ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอันตรายถึงชีวิต เนื่องจากอวัยวะภายในอาจได้รับความเสียหายได้ จึงมีความจำเป็นที่ต้องเรียนรู้วิธีการช่วยเหลือผู้ถูกไฟดูดหรือไฟช็อตอย่างถูกต้องเพื่อความปลอดภัยทั้งผู้ได้รับและผู้ให้การช่วยเหลือ

 

ภาพ : conrado - shutterstock

 


อาการของผู้ถูกไฟดูดหรือไฟช็อต

อาการของผู้ถูกไฟฟ้าช็อตจะแตกต่างกันไปตามระดับความรุนแรง ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ชนิดและความแรงของโวลต์ไฟฟ้า ระยะเวลาที่ถูกไฟช็อต วิถีการไหลของกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ร่างกาย และสุขภาพโดยรวมของผู้ถูกไฟช็อต

หากถูกไฟช็อตด้วยกระแสไฟฟ้าสูงถึง 500 โวลต์หรือมากกว่า ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยทันที อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ไม่ได้รับบาดเจ็บหลังถูกไฟฟ้าช็อตควรไฟพบแพทย์เช่นกัน เนื่องจากอาการหรือภาวะแทรกซ้อนอาจไม่ปรากฎออกมาอย่างชัดเจน

อาการของผู้ถูกไฟช็อตเกิดขึ้นได้หลายอย่าง :

1. หมดสติ

2. หายใจไม่เป็นปกติ หายใจลำบากหรือไม่หายใจ

3. ชีพจรเต้นผิดปกติ สัญญาณชีพอ่อนหรือไม่มีสัญญาณชีพ

4. หัวใจหยุดเต้น

5. เกิดแผลไหม้ที่ผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณที่สัมผัสกับกระแสไฟฟ้าโดยตรง เช่น มือ ส้นเท้า และศีรษะ

6. เกิดอาการชา เป็นเหน็บชา

7. เกิดการบาดเจ็บที่อวัยวะภายใน ทำให้มีปัญหาในการกลืน การพูด การมองเห็น การได้ยิน

8. ปวดศีรษะ เกิดอาการชัก

9. กล้ามเนื้อกระตุก
 

ภาพ : Microgen - shutterstock


วิธีช่วยเหลือผู้ถูกไฟดูดหรือไฟช็อต

1. ตั้งสติ นึกถึงความปลอดภัยของตัวเอง และประเมินอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

2. ตัดกระแสไฟในที่เกิดเหตุทันที ยกเว้นสายไฟแรงสูงให้แจ้งเจ้าหน้าที่

3. ใช้อุปกรณ์ที่ไม่เป็นตัวนำไฟฟ้า เช่น ไม้แห้ง เขี่ยอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือสายไฟออกจากตัวผู้ได้รับบาดเจ็บ

4. เคลื่อนย้ายผู้ได้รับบาดเจ็บไปยังบริเวณพื้นที่ปลอดภัยอย่างถูกวิธี

5. หากผู้ได้รับบาดเจ็บจากไฟบ้านทั่วไปที่กระแสไฟฟ้าไม่แรงมากนัก บาดแผลไม่ลึก ไม่มีอาการผิดปกติ ปฐมพยาบาลและสังเกตอาการที่บ้านได้ และหากมีอาการผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์ทันที

6. ตรวจสอบระดับการตอบสนอง หากผู้ได้รับบาดเจ็บหมดสติ และอยู่ในภาวะหัวใจหยุดเต้นต้องรีบทำ CPR ทันที
    ขั้นตอนการทำ CPR เพิ่มโอกาสรอดชีวิต คลิก https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/93233-heabod-hea-

7. โทรแจ้งสายด่วน 1669 (สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน)


 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Creator
  • 44 Followers
  • Follow