Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

How to ดูแลสุขภาพของวัยทำงาน

Posted By Plook Creator | 26 เม.ย. 66
2,046 Views

  Favorite

ในวัยทำงานแต่ละคนใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการทำงาน นั่งติดที่โต๊ะทำงานและจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ ดังนั้นเพื่อไม่ให้จิตใจอ่อนล้าพาร่างกายพัง คนวัยทำงานต้องดูแลสุขภาพเพื่อให้มีพลังพร้องสู้งานอย่างมีความสุข
 

ภาพ : paulaphoto - shutterstock


 How to ดูแลสุขภาพของวัยทำงาน

1. ดื่มน้ำให้มากขึ้น
การดื่มน้ำอย่างเพียงพอจะทำให้ตื่นตัวและมีพลังตลอดทั้งวัน โดยทั่วไปตั้งเป้าดื่มให้ได้ 8-10 แก้วต่อวัน อย่างไรก็ตามปริมาณการดื่มน้ำอาจแตกต่างกันไปในแต่ละคนตามระดับการทำกิจกรรมและสภาพอากาศ นอกจากนี้การดื่มน้ำมากขึ้นยังช่วยให้อิ่มท้องและลดความอยากกินขนมหรือของว่างได้ด้วย

2. เตรียมอาหารกลางวันด้วยตัวเอง
การเตรียมอาหารกลางวันหรือทำข้าวกล่องไปรับประทานเองที่ออฟฟิศ เราสามารถเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพได้ เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน สลัด ผักและผลไม้ โดยวางแผนและเตรียมให้พร้อมในช่วงกลางคืนจะช่วยให้หลีกเลี่ยงความเร่งรีบในตอนเช้าที่อาจเสี่ยงหยิบของไม่ดีต่อสุขภาพได้

3. เลือกของว่างที่ดีต่อสุขภาพ
นอกจากมื้อกลางวันแล้ว อาจเตรียมของว่างเพื่อสุขภาพไปด้วย เช่น แท่งการโนล่า ถั่ว ผลไม้ โดยเฉพาะผลไม้ที่มีน้ำมากอย่าง แตงโม สตรอเบอร์รี่ สามารถช่วยเรื่องการดื่มน้ำอย่างพอเพียงได้ด้วย

4. ลดคาแฟอีน
บางคนดื่มกาแฟเพื่อช่วยให้ตื่นตัว แต่การตื่นตัวนี้อยู่ได้เพียงระยะสั้นๆ อีกทั้งการดื่มกาแฟมากเกินไปยังส่งผลข้างเคียง เช่น กระสับกระส่าย ปวดท้อง เวียนศีรษะ ซึ่งอาการเหล่านี้ล้วนรบกวนประสิทธิภาพการทำงาน ดังนั้นควรจำกัดปริมาณกาแฟที่ดื่ม ลดลงเหลือเพียงหนึ่งแก้วในตอนเช้า ซึ่งอาจต้องทำอย่างช้าๆ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการปวดศีรษะ นอกจากอาจเลือกดื่มกาแฟหรือชาที่ไม่มีคาเฟอีน หรือเปลี่ยนเป็นน้ำเปล่าดีที่สุด
 

ภาพ : Ground Picture - shutterstock



5. นั่งทำงานในท่าทางที่ถูกต้อง
การนั่งทำงานเป็นเวลานานจะสร้างแรงกดทับที่คอ ไหล่ และกระดูกสันหลัง การรักษาท่าทางที่ดีและยืดตัวตลอดทั้งวันจะช่วยลดความตึงเครียดได้

     เคล็ดลับนั่งทำงานที่ดีต่อสุขภาพ
     - เลือกเก้าอี้ที่รองรับกับสรีระของตัวเอง มีแผ่นรองเพื่อรองรับหลัง คอ และร่างกายท่อนล่าง
     - ปรับระดับเก้าอี้ให้พอดี ให้เท้าวางราบไปกับพื้น ข้อมือและท่อนแขนสามารถวางตรงบนโต๊ะได้
     - ปรับให้หน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับสายตาและห่างจากตัวเราประมาณหนึ่งช่วงแขน รวมถึงตั้งค่าขนาดตัวอักษรให้ใหญ่ขึ้นเพื่อเลี่ยงอาการปวดตา
     - หากการทำงานต้องใช้โทรศัพท์เป็นประจำ ให้ลองใช้ชุดหูฟังเพื่อลดอาการการตึงของกล้ามเนื้อจากการเอียงคอประคองหูโทรศัพท์ไว้ที่คอ

6. หยุดพักบ้าง
การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพไม่ได้หมายความว่าจะลุกจากโต๊ะทำงานไม่ได้เลย การหยุดพักบ้างเป็นระยะจะช่วยให้มีสมาธิและเติมพลังให้กับจิตใจกลับมาพร้อมลุยงานอีกครั้ง ระหว่างวันของการทำงานให้หยุดพักลุกไปเดินเล่นรับอากาศบริสุทธิ์ ดื่มหรือกินของเพื่อสุขภาพบ้าง โดยอาจใช้โทรศัพท์ตั้งเตือนตัวเองให้หยุดพัก 5 นาทีในทุกชั่วโมง

7. ทำพื้นที่ทำงานให้สะอาด
ความสะอาดจะช่วยให้จิตใจปลอดโปร่ง ดังนั้นช่วงท้ายของวันพยายามจัดระเบียบโต๊ะทำงาน เก็บสิ่งที่ไม่ต้องการใช้ในวันถัดไป สิ่งที่ใช้บ่อยที่สุด เช่น คีย์บอร์ด เม้าส์ โทรศัพท์ ให้เช็ดทำความสะอาดและฆ่าเชื้อเป็นประจำ เพราะสิ่งของเหล่านี้มักสะสมฝุ่นและแบคทีเรีย

8. ปฏิบัติตามสุขอนามัยที่ดี
เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ โควิด-19 หรือโรคติดเชื้ออื่นๆ ในสำนักงาน ทุกคนควรปฏิบัติตนตามสุขอนามัยที่ดี หากพบผู้อื่นไม่สบายให้รักษาระยะห่าง หรือรู้สึกว่าตัวเองไม่สบายให้ลาหยุดหรือทำ work from home เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่กระจายของเชื้อโรค

     หลักปฏิบัติทั่วไปเพื่อสุขอนามัยที่ดี
     - สวมหน้ากกากอนามัยตลอดเวลา แม้ว่าจะมีมาตรการผ่อนคลายแล้วก็ตาม
     - ใช้กระดาษทิชชู่ปิดปากเวลาไอหรือจามแล้วทิ้งทันที หากไม่มีให้ใช้ด้านในของข้อศอก
     - ล้างมือเป็นประจำ รวมถึงหลังไอ จาม ใช้ห้องน้ำหรือพื้นที่ส่วนรวม
     - ใช้เจลแอลกอฮอลล์ล้างมือเป็นประจำ
     - ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด ไข้หวัดใหญ่
 

ภาพ : Just Life- shutterstock



9. ยืนและเคลื่อนไหวร่างกายทุกครึ่งชั่วโมง
การนั่งเวลานานไม่ดีต่อสุขภาพ เสี่ยงเกิดภาวะหรือโรคต่างๆ เช่น โรคอ้วน ระดับคอเลสเตอรอลสูง ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น น้ำตาลในเลือดสูง ไขมันส่วนเกิดรอบเอว มีโอกาสเสี่ยงเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง ดังนั้นลุกขึ้นยืนและเดินไปรอบๆ ทุก 30 นาที หรือเปลี่ยนพฤติกรรมง่ายๆ จากการใช้ลิฟท์มาใช้บันไดแทน ยกขาหรือน่องระหว่างนั่งอยู่ที่โต๊ะทำงาน หากที่ทำงานมียิมอาจใช้เวลาว่างระหว่างวันไปออกกำลังกายก็ยังได้

10. ฝึกสมาธิ
การทำสมาธิช่วยให้จิตใจสงบ ลดความเครียด และทำให้เราโฟกัสความสนใจไปที่งานได้อีกครั้ง ในช่วงพักลองหลับตาและฝึกหายใจลึกๆ สักสองสามนาที

11. เรียนรู้เทคนิคจัดการความเครียดของตัวเอง
นอกจากหยุดพักและทำสมาธิแล้ว เรายังต้องรู้จักเรียนรู้เทคนิคจัดการกับความเครียดของตัวเองด้วย เช่น

     - ฟังเพลงหรือ podcasts ที่ชอบ
     - จัดลำดับความสำคัญของงานที่ทำหรือกำหนด deadlines ของตัวเอง
     - ขอความช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้างานเมื่อต้องการเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วง
     - ในช่วงเวลาว่างดื่มน้ำ กินของว่าง พูดคุยกับเพื่อนร่วมงาน เพื่อพักสมองสักสองสามนาที

12. นอนหลับให้เพียงพอ
การนอนหลับอย่างเพียงพอจะช่วยให้เราพร้อมรับมือและมีสมาธิกับงานที่รอยู่ในวันรุ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้ไม่รู้สึกเหนื่อยล้าในระหว่างวันทำงานอีกด้วย บางสำนักงานมีพื้นที่เพื่อให้พนักงานได้งีบหลับ เราอาจใช้ประโยชน์จากพื้นที่ดังกล่าวนี้ งีบหลับสั้นๆ เพียง 20 นาทีก้จะทำให้มีพลังกลับมาลุยงานต่อได้

13. ให้รางวัลตัวเอง
ให้รางวัลตัวเองเมื่อสามารถทำงานยากหรือใช้เวลานานได้สำเร็จ โดยรางวัลอาจแตกต่างไปตามความชอบ เช่น หยุดพัก 10 นาที หรือกินขนมสุดโปรด การชื่นชมตัวเองบ้างจะช่วยให้เราเห็นคุณค่าของตัวเองและทำให้รู้สึกดี ทัศนคติที่ดี ความร่าเริง ความนับถือตัวเองในเชิงบวกจะช่วยดูแลสุขภาพจิตของเราได้
 

ภาพ : NDAB Creativity - shutterstock

 


แหล่งที่มาข้อมูล
indeed, 13 Tips To Help You Stay Healthy at Work, สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2566 จากเว็บไซต์: https://th.indeed.com/?r=us
Encompass, 7 Tips for Staying Healthy at Work, สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2566 จากเว็บไซต์: https://www.encompassinsurance.com/?intcid=TR|rwd_nav|Allstate_Logo

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Creator
  • 44 Followers
  • Follow