taxonomy เป็นการศึกษาในด้านต่าง ๆ 3 ลักษณะ ได้แก่
1. การจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ในลำดับขั้นต่าง ๆ (Classification)
2. การตรวจสอบหาชื่อวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องของสิ่งมีชีวิต (Identification)
3. การกำหนดชื่อที่เป็นสากลของหมวดหมู่และชนิดของสิ่งมีชีวิต (Nomenclature)
นักอนุกรมวิธานใช้การสังเกตลักษณะทางสัณฐานวิทยา พฤติกรรม พันธุกรรม และชีวเคมีเพื่อจำแนกประเภทของสิ่งมีชีวิตทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่และสูญพันธุ์ไปแล้ว โดยจำแนกออกได้เป็น 5 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่
ได้แก่ สิ่งมีชีวิตประเภทสัตว์ อาจแบ่งย่อยได้เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์ มีการสืบพันธุ์และสามารถเคลื่อนที่ได้ อาณาจักรนี้เป็นหนึ่งในอาณาจักรที่มีความหลากหลายมากที่สุด ประกอบด้วยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ปลา นก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ แมลง หอย เป็นต้น
ได้แก่ สิ่งมีชีวิตประเภทพืช เป็นหนึ่งในอาณาจักรที่เก่าแก่ที่สุด อาจแบ่งย่อยได้เป็นพืชที่มีท่อลำเลียงและไม่มีท่อลำเลียง ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้เอง ประกอบด้วยเซลลูโลสและคลอโรฟิลล์ สามารถสืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ
ได้แก่ สิ่งมีชีวิตประเภทเห็ด รา และยีสต์ เป็นอาณาจักรที่มีทั้งสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและหลายเซลล์ มีบทบาทเป็นผู้ย่อยสลายอินทรียสารในระบบนิเวศ ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้เพราะไม่มีคลอโรฟิลล์
ได้แก่ สิ่งมีชีวิตประเภทสาหร่ายบางชนิด โปรโตซัว เป็นกลุ่มยูคาริโอตที่เก่าแก่ที่สุด
ได้แก่ สิ่งมีชีวิตประเภทสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน และแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตประเภทโปรคาริโอต ไม่มีนิวเคลียส มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน
การจัดลำดับหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต เรียงลำดับจากหมวดหมู่ใหญ่ไปหมวดหมู่ย่อย ดังนี้
อาณาจักร
ไฟลัม
ชั้น
อันดับ
วงศ์
สกุล
ชนิด