Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

เมารถ เมาเรือ น่าเบื่อแต่ป้องกันได้

Posted By New Saowalak | 24 มิ.ย. 65
26,922 Views

  Favorite

เมารถ เมาเรือ น่าเบื่อแต่ป้องกันได้

 

 

วันหยุดนี้ หลายคนคงมีเป้าหมายจะไปเที่ยวให้สนุกสนาน แต่คงไม่ดีแน่ถ้าจะหมดแรงเพราะอาการเมารถซะก่อน ก่อนอื่นทำความเข้าใจก่อนว่าอาการที่ว่าเกิดขึ้นเพราะอะไร โดยอาการเมารถ เมาเรือ ยานพาหนะต่างๆ หรือ Motion sickness เกิดขึ้นเพราะประสาทส่วนที่ควบคุมการทรงตัวซึ่งอยู่บริเวณหูชั้นใน ทำงานไม่สมดุลกับข้อมูลจากประสาทตานั่นเอง ยกตัวอย่าง เวลาเรานั่งรถ ร่างกายรับรู้ว่ามีการเคลื่อนไหว แต่สายจับจ้องไปที่มือถือ หรือหนังสือ ซึ่งอยู่นิ่งกับที่ ทำให้ประสาททำงานไม่สัมพันธ์กัน หรืออาจะเกิดจากได้รับแรงกระตุ้นที่มากเกินไป เช่น รถหรือเรือที่เหวี่ยงซ้าย เหวี่ยงขวา โคลงเคลงไปมา รวมไปถึงปัจจัยอื่น ๆ เช่น อากาศถ่ายเทไม่สะดวก กลิ่นไม่พึงประสงค์ ก็จะยิ่งกระตุ้นให้เมามากยิ่งขึ้น

 

ภาพถ่ายโดย Johannes Rapprich จาก Pexels

 

การป้องกันก่อนออกเดินทาง

1. พักผ่อนให้เพียงพอ

2. ไม่อดอาหาร

3. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง

4. งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

5. งดสูบบุหรี่

6. สวมใส่เสื้อผ้าที่สบาย

7. ไม่อ่านหนังสือ หรือเล่นโทรศัพท์

8. พยายามนั่งด้านหน้า และมองออกไปไกล ๆ เพราะวิวที่ตามองจะตรงกันกับที่ร่างกายเคลื่อนไหวอยู่ ถ้าเป็นเรือขนาดใหญ่ พยายามอยู่ตรงกลาง ซึ่งมีการโคลงน้อยที่สุด

9. กินยาแก้เมารถล่วงหน้า 30 - 60 นาที ก่อนออกเดินทาง

 

Photo by Sonja Langford on Unsplash

 

การบรรเทาอาการเมื่อเมารถ

1. พยายามตั้งศีรษะให้ตรงและนิ่งที่สุด ลดการเคลื่อนไหวให้น้อยลง

2. หลับตาหรือนอนพัก เพื่อไม่ให้ภาพภายนอกรบกวนประสาทการทรงตัว

3. สูดหายใจเข้าลึก ๆ ยาว ๆ เปิดกระจกให้ลมปะทะหน้า หรือใช้ผ้าเย็นประคบบริเวณใบหน้า ข้อพับต่าง ๆ

4. ดมยาดม

5. กินผลไม้รสเปรี้ยว เช่น เปลือกส้ม เปลือกมะนาว

6. เคี้ยวหมากฝรั่ง

7. ย้ายที่นั่งหากเป็นไปได้

8. ทำใจให้สบาย ไม่เครียดหรือวิตกกังวล

9. จิบน้ำอัดลม เพื่อดันกรดในกระเพาะ ระบายออกมา

10. หาโอกาสยืดเส้นยืดสาย

 

Photo by Jacob Postuma on Unsplash

 

ยาแก้เมารถ

ยาแก้เมารถ หรือ ไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate) หาซื้อได้ทั่วไปตามร้านขายยา ร้านสะดวกซื้อ จัดอยู่ในกลุ่มยาแก้แพ้ ออกฤทธิ์โดยตรงที่อวัยวะควบคุมการทรงตัวบริเวณหูชั้นใน โดยทั่วไปยาแก้เมารถ เมาเรือ จะรับประทานเป็นเม็ด ขนาด 50 มิลลิกรัม สำหรับวิธีการกินมาดังนี้

 

ผู้ใหญ่ให้รับประทานครั้งละ 1 เม็ด (50 มิลลิกรัม) ก่อนโดยสารพาหนะประมาณ 30 นาที รับประทานซ้ำได้ทุก 4-6 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 400 มิลลิกรัมต่อวัน


เด็กอายุ 6-12 ปี ให้รับประทานครั้งละ ½ เม็ด (25 มิลลิกรัม) ก่อนโดยสารพาหนะประมาณ 30 นาที รับประทานซ้ำได้ทุก 6-8 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 150 มิลลิกรัมต่อวัน


เด็กอายุ 2-6 ปี ให้รับประทานครั้งละ ¼  เม็ด (12.5 มิลลิกรัม) ก่อนโดยสารพาหนะประมาณ 30 นาที รับประทานซ้ำได้ทุก 6-8 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 75 มิลลิกรัมต่อวัน


เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ไม่ควรรับประทาน
ผู้หญิงที่อยู่ในระยะให้น้ำนมบุตรไม่ควรรับประทาน

( ข้อมูลจาก : https://www.honestdocs.co/motion-sickness-carsickness )

 

Photo by Mantas Hesthaven on Unsplash

 

เมื่อรู้วิธีการป้องกันและการรับมือแล้ว ทริปนี้ก็ขอให้ทุกคนมีความสุขกันนะคะ

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • New Saowalak
  • 1 Followers
  • Follow