Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ตัวเลขฮินดูอารบิกและจำนวนในระบบฐานสิบ

Posted By Plookpedia | 05 ก.ค. 60
1,142 Views

  Favorite

 

ตัวเลขฮินดูอารบิกและจำนวนในระบบฐานสิบ

 

ระบบการเขียนตัวเลขแทนจำนวนที่ใช้กันในปัจจุบัน เป็นระบบฐานสิบ และตัวเลขที่ใช้กันเป็นสากลนี้เรียกว่า ตัวเลขฮินดูอารบิก

ในระบบฐานสิบ มีสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแทนจำนวนสิบตัว คือ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 และ 0 เรานิยมนับเป็นหมู่ หมู่ละสิบ เมื่อครบสิบในหลักใดจะทดขึ้นเป็นหนึ่งหน่วยของหลักที่ถัดไปทางซ้ายมือ ซึ่งมีชื่อตามลำดับจากน้อยไปมากว่า หลักหน่วย หลักสิบ หลักร้อย หลักพัน หลักหมื่น หลักแสน หลักล้าน เราอาจเขียนแผนผังของข้อตกลงในระบบฐานสิบได้ดังนี้

 

 

 

และ อาจเขียนแผนผังของข้อตกลงในระบบฐานสิบในรูปตาราง โดยแสดงค่าประจำ ตำแหน่งเทียบกับหลักได้ดังนี้

 

 

 

 

32,458 = (3x10^4) + (2x10^3) + (4x10^2) + (5x10) + (8x1) 
6,437,925 = (6x10^6) + (4x10^5) + (3x10^4) + (7x10^3) + (9x10^2) + (2x10) + (5x1)

ดังนั้นถ้า N แทนจำนวนใดๆ ในระบบฐานสิบ เราอาจเขียนได้ว่า

 

 

 

 

โดยที่ Co, C1, C2,...,Cn เป็นตัวเลขในหลักหน่วย หลักสิบ หลักร้อย หลักพันเรื่อยๆ ขึ้นไปตามลำดับ ตัวเลขเหล่านี้ เป็นตัวเลขใดตัวเลขหนึ่งใน บรรดา 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 และ 0

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow