ภูมิภาคเอเชียอาคเนย์เป็นย่านแผ่นดินไหวที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลกโดยมีแผ่นเปลือกโลกใกล้เคียงกันรวม ๔ แผ่น ได้แก่ แผ่นยูเรเชีย แผ่นแปซิฟิก แผ่นออสเตรเลีย และแผ่นฟิลิปปินส์ อีกทั้งเป็นที่บรรจบกันของแนวแผ่นดินไหว ๒ แนวคือ แนวล้อมมหาสมุทรแปซิฟิกและแนวแอลป์หิมาลัยจึงทำให้เกิดแผ่นดินไหวเป็นจำนวนมาก
ประเทศไทยตั้งอยู่บนแผ่นยูเรเชียใกล้รอยต่อระหว่างแผ่นยูเรเชียกับแผ่นอินเดียและแผ่นออสเตรเลียมีรอยเลื่อน (fault) อยู่ทางภาคตะวันตกและภาคเหนือ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตประเทศพม่าและทะเลอันดามันรอยเลื่อนที่สำคัญในประเทศไทยมีดังนี้
ได้แก่
ได้แก่
บริเวณประเทศไทยมีประวัติการเกิดแผ่นดินไหวมาแต่ในอดีต พงศาวดารโยนกกล่าวว่าอาณาจักรโยนกซึ่งเป็นอาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลได้เกิดแผ่นดินไหวหลายครั้ง ครั้งที่รุนแรงที่สุดทำให้อาณาจักรถึงกับล่มสลาย อาณาจักรโยนกนี้ตั้งอยู่บริเวณละติจูด ๒๐.๒๕ องศาเหนือและลองจิจูด ๑๐๐.๐๘ องศาตะวันออก อยู่ในเขตอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ในปัจจุบัน โดยพงศาวดารโยนกได้บันทึกการเกิดแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันเสาร์ เดือน ๗ แรม ๗ ค่ำ พ.ศ. ๑๐๐๓ เวลากลางคืนว่า
ปัจจุบันบริเวณที่ตั้งอาณาจักรโยนกได้กลายเป็นหนองน้ำในอำเภอเชียงแสน ในศิลาจารึกของอาณาจักรสุโขทัยได้บันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวไว้ ๒ ครั้ง พงศาวดารของกรุงศรีอยุธยาได้มีการบันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวไว้ ๗ ครั้ง และพงศาวดารของเชียงใหม่ได้บันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวไว้ ๔ ครั้ง แผ่นดินไหวครั้งสำคัญที่เชียงใหม่ใน พ.ศ. ๒๐๘๘ ได้ทำให้ส่วนยอดของเจดีย์ที่วัดเจดีย์หลวงหักโค่นลงมาซึ่งเจดีย์องค์นั้นแต่เดิมสูงถึง ๘๖ เมตร หลังจากส่วนยอดได้หักโค่นลงมาจึงเหลือความสูงเพียง ๕๐ เมตร