นักอนุกรมวิธานจะต้องเข้าใจหัวข้อต่าง ๆ ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในอาณาจักรสัตว์เสียก่อน ทั้งนี้เพราะ การจำแนกสัตว์ต่าง ๆ ออกเป็นหมวดหมู่จำเป็นจะต้องดำเนินตามหัวข้อต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
คิงดอม (kingdom) ไฟลัม (phylum) สับไฟลัม (subphylum) ซุเปอร์คลาส (superclass) คลาส (class) สับคลาส (subclass) โคฮอร์ต (cohort) ซุเปอร์ออร์เดอร์ (superorder) ออร์เดอร์ (order) สับออร์เดอร์ (suborder) ซุเปอร์แฟมิลี (superfamily) แฟมิลี (family) สับแฟมิลี (subfamily) ไทรบ์ (tribe) จีนัส (genus) สับจีนัส (subgenus) สปีซี (species) สับสปีซี (subspecies) |
อาณาจักร |
ในบางโอกาสคำว่า "ชนิดย่อย" อาจจะถูกแทนด้วยคำว่า "พรรณ" (varieties) ซึ่งโดยแท้จริงแล้วคำว่าชนิดย่อย และ พรรณนั้นเป็นคำที่มีความหมายอย่างเดียวกัน คือ บอกให้ทราบว่าสัตว์ชนิดหนึ่งมีลักษณะแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย แต่ลักษณะที่แตกต่างนี้เป็นลักษณะที่เด่นชัดมองเห็นได้อย่างชัดเจนโดยทั่ว ๆ ไปถ้าหากว่าสัตว์เหล่านี้อาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกันนักอนุกรมวิธานจะใช้คำว่า "พรรณ" แทนส่วนคำว่า "ชนิดย่อย" นั้นมักจะใช้สำหรับสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันที่มีลักษณะบางอย่างแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยแต่อาศัยอยู่ในภูมิประเทศที่ห่างกันออกไป และ ถ้าโอกาสอำนวยก็อาจจะผสมพันธุ์มีลูกหลานได้เป็นปกตินักอนุกรมวิธานจึงถือว่า "ชนิด" เป็นหน่วยเล็กที่สุดในอนุกรมวิธานสัตว์
สมมุติฐานแสดงแผนผังความสัมพันธ์ของไฟลัมสัตว์ต่าง ๆ ตามแบบของลิบบี เฮนไรต์ทาไฮแมน (Libbie Henrietta Hyman, ค.ศ. ๑๙๔๐) |
ชนิด
|
จำแนกไฟลัมของสัตว์ที่พบในยุคปัจจุบัน ตามแบบของริชาร์ด อี แบล็ควีลเดอร์
(Richard E.Blackwelder, ค.ศ. ๑๙๖๓) อาณาจักรสัตว์ (Animal Kingdom)