Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

เทวสถานโบสถ์พราหมณ์

Posted By Plookpedia | 27 เม.ย. 60
21,508 Views

  Favorite

 

หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ฯ เล่ม34

 

ช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นเวลาเริ่มฤดูฝน ทุกปีจะมีพระราชพิธีที่สำคัญ คือ พระราชพิธีพืชมงคล และพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ในการประกอบพระราชพิธีจะมีคณะพราหมณ์เดินเป่าสังข์ แกว่งบัณเฑาะว์ ขณะที่พระยาแรกนาไถนาและหว่านข้าว

ถ้าเดินตั้งต้นจากบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มุ่งหน้าไปตามถนนดินสอ เราจะเดินผ่านศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ผ่านเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ไปถึงหน้าวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร ที่บริเวณลานกว้างหน้าวัดสุทัศนเทพวราราม มีเสาชิงช้าสูงเด่น เดิมใช้ประกอบพระราชพิธีตรียัมพวาย อันเป็นประเพณีของพราหมณ์มาแต่โบราณ เป็นสถานที่โล้ชิงช้า และจัดพิธีบวงสรวงสังเวยพระเป็นเจ้า 

หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ฯ เล่ม34

 

พระพุทธศาสนามีศาสนสถานและศาสนวัตถุ ได้แก่ โบสถ์ วิหาร เจดีย์ พระพุทธรูป เป็นต้น ศาสนาพราหมณ์ก็มีเช่นกัน ได้แก่ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ และเทวรูป

สมัยรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่ ๑ มีเทวสถานสำหรับพระนคร ปัจจุบัน คือ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์สำหรับพระนคร ตั้งอยู่ที่ถนนดินสอ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๗ ภายในมีโบสถ์เรียงกัน ๓ หลัง ประกอบด้วย

๑. สถานพระอิศวร (เรียกกันว่า โบสถ์ใหญ่) ภายในมีเทวรูปพระอิศวร เทวรูปพระพรหม และเทวรูปอื่นๆ หลายขนาด   
๒. สถานพระพิฆเนศ (เรียกกันว่า โบสถ์กลาง) มีขนาดเล็กกว่าโบสถ์ใหญ่ ภายในโบสถ์มีเทวรูปพระพิฆเนศ ๕ องค์  
๓. สถานพระนารายณ์ (เรียกกันว่า โบสถ์ริม) มีขนาดเท่ากับโบสถ์พระพิฆเนศ ประดิษฐานเทวรูปพระนารายณ์ เทวรูปพระลักษมี และเทวรูปพระมเหศวรี (ภูมิเทวี)

ปัจจุบันเทวรูปพระอิศวรและเทวรูปพระนารายณ์ได้นำไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

นอกจากเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ แล้ว ยังมีเทวสถานและเสาชิงช้าที่เมืองนครศรีธรรมราช และเพชรบุรี โดยได้บูรณะขึ้นใหม่แทนของเดิมที่ปรักหักพังไปหมดแล้ว

หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ฯ เล่ม34

 

 พิธีกรรมและความเชื่อในพระพุทธศาสนาจะมีคติในศาสนาพราหมณ์ปะปนอยู่ตลอดมา คณะพราหมณ์ได้มีส่วนจัดพระราชพิธีในพระราชสำนัก และพิธีสำคัญต่างๆ ที่เป็นมงคลในวิถีวัฒนธรรมไทย ผู้ที่ประกอบพระราชพิธีเป็นพราหมณ์ราชสำนัก มีตำแหน่งเป็นพระมหาราชครู รองลงมาคือ พระราชครู พระครู และพราหมณ์ ตามลำดับ

 

 

วิถีชีวิตและความคิดความเชื่อของคนไทยส่วนใหญ่มีพื้นฐานมาจากพระพุทธศาสนา และมีคติศาสนาพราหมณ์ปะปนอยู่ ที่เห็นได้อย่างเด่นชัด คือ พิธีกรรมต่างๆ ทั้งที่เป็นพระราชพิธีและพิธีมงคลต่างๆ ในสังคมไทย ตัวอย่างเช่น พิธีมงคลสมรส มีทั้งพิธีสงฆ์ สวดมนต์ ถวายภัตตาหาร และการหลั่งน้ำพระพุทธมนต์ ทางด้านศาสนสถาน ก็มีทั้งวัด โบสถ์ วิหาร และมีเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เทวาลัย ศาลพระพรหม ซึ่งใช้ประกอบพิธีกรรมตามคติความเชื่อที่ควบคู่กันไป

นับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๖ ไทยรับเอาศาสนาพราหมณ์มาจากหลายทาง ส่วนใหญ่มาทางตะวันออกคือ จากเขมร เห็นได้จากโบราณสถานหลายแห่ง เช่น ปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทหินพิมาย อีกเส้นทางหนึ่งมาทางภาคตะวันตก มีเทวสถานปราสาทเมืองสิงห์ ที่จังหวัดกาญจนบุรี ร่องรอยเทวสถานที่จังหวัดเพชรบุรี และอีกเส้นทางหนึ่งคือ ทางภาคใต้ โดยที่พราหมณ์และพ่อค้าอินเดียได้เข้ามาในอาณาจักรศรีวิชัย มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดี เกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์จำนวนมากที่เมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งคณะพราหมณ์ได้เข้ามาประกอบพิธีกรรมในพระราชสำนัก ตั้งชุมชนพราหมณ์อยู่ในเมืองนี้ และพราหมณ์ส่วนหนึ่งได้ย้ายไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองเพชรบุรี

ปราสาทหิน วัดกำแพงแลง จ.เพชรบุรี มีลักษณะของสถาปัตยกรรมแบบขอม อันเนื่องมาจากคติในศาสนาพราหมณ์ แสดงให้เห็นว่า ศาสนาพราหมณ์ได้เข้ามามีบทบาทในดินแดนนี้
ปราสาทหิน วัดกำแพงแลง จ.เพชรบุรี มีลักษณะของสถาปัตยกรรมแบบขอม
อันเนื่องมาจากคติในศาสนาพราหมณ์
แสดงให้เห็นว่า
ศาสนาพราหมณ์ได้เข้ามามีบทบาทในดินแดนนี้

 

เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนากรุงเทพฯ เป็นราชธานี พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สืบหาตำราต่างๆ และนำคณะพราหมณ์จากภาคใต้มารับราชการในพระราชสำนัก ทรงรื้อฟื้นพิธีพราหมณ์ และสร้างเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ สำหรับพระนครขึ้น ตั้งอยู่เยื้องกับวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร พร้อมทั้งสร้างเสาชิงช้า เพื่อรักษาธรรมเนียมการสร้างพระนคร ที่จะทำให้มีความมั่นคงแข็งแรง

เทวสถานที่เมืองนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ริม ถ.ราชดำเนิน ต.ในเมือง อ.เมืองฯ จ.นครศรีธรรมราช กรมศิลปากรได้บูรณะขึ้นใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙
เทวสถานที่เมืองนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ริม ถ.ราชดำเนิน ต.ในเมือง อ.เมืองฯ จ.นครศรีธรรมราช กรมศิลปากรได้บูรณะขึ้นใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙

 

เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ในไทยแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ 

๑) กลุ่มเทวสถานที่สร้างก่อนสมัยรัตนโกสินทร์  

สร้างประจำเมืองใหญ่เพื่อใช้ในงานพระราชพิธีและการประกอบพิธีกรรมของพราหมณ์ เป็นการสร้างอุทิศถวายแด่พระเป็นเจ้า เช่น พระอิศวรในไศวนิกาย และพระวิษณุในไวษณพนิกาย มีเทวสถานและเสาชิงช้าที่เมืองนครศรีธรรมราชซึ่งปรักหักพังไปแล้ว กรมศิลปากรได้บูรณะขึ้นใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙

๒) กลุ่มเทวสถานในสมัยรัตนโกสินทร์   

นอกจากเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ สำหรับพระนครแล้ว ยังมีเทวสถานที่สร้างโดยชาวอินเดียที่มาพำนักอยู่ในประเทศไทย ได้แก่ วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขกสีลม) ซึ่งประดิษฐานเทวรูปพระแม่อุมาเทวี วัดวิษณุ ที่เขตยานนาวา มีโบสถ์พระแม่ทุรคา โบสถ์ศิวลึงค์ และโบสถ์พระศิวนาฏราช และศาสนิกชนพราหมณ์ฮินดูได้สร้างเทวสถานชื่อ โบสถ์เทพมณเฑียร ตั้งอยู่บริเวณใกล้เสาชิงช้า กรุงเทพฯ

เทวสถานในสมัยโบราณส่วนใหญ่มักทำด้วยศิลา และมีส่วนประกอบสำคัญ คือ โคปุระ เป็นซุ้มประตูสำหรับให้ผู้ที่เข้ามา ได้ทำสมาธิบูชาพระเป็นเจ้าอยู่ชั้นล่างสุด ชั้นบนถัดขึ้นมาเป็นที่ประทับเมื่อพระเจ้าแผ่นดินเสด็จฯ เรียกว่า พระมหามณเฑียร ส่วนชั้นสูงสุดเรียกว่า มหาปราสาท เป็นที่ประทับของพระเป็นเจ้า ภายในเทวสถานมักมีการแกะสลักรูปเรื่องราวต่างๆ มีประติมากรรมเทวรูปที่เป็นทั้งศิลปะขอม ศิลปะทวารวดี และศิลปะศรีวิชัย

เทวสถานโบสถ์พราหมณ์สำหรับพระนคร ตั้งอยู่ที่ถนนดินสอ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพฯ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๗ เดิมเรียกว่า เทวสถานสำหรับพระนคร เป็นเทวสถานเรียงกัน ๓ หลัง ได้แก่ สถานพระอิศวร สถานพระพิฆเนศ และสถานพระนารายณ์ มีหอเวทวิทยาคมเป็นห้องสมุดเฉพาะกิจ เก็บรวบรวมสรรพประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ บริเวณลานเทวสถานมีเทวาลัยขนาดเล็กตั้งอยู่กลางบ่อน้ำ ประดิษฐานเทวรูปพระพรหม สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔ บริเวณเทวสถานทั้งหมดนับเป็นโบราณวัตถุและโบราณสถานที่สำคัญของชาติ

วัดพระศรีมหาอุมาเทวี หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า วัดแขกสีลม ตั้งอยู่ที่ ถ.สีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ เป็นที่ประดิษฐานเทวรูปพระแม่อุมาเทวี
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า วัดแขกสีลม ตั้งอยู่ที่ ถ.สีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ เป็นที่ประดิษฐานเทวรูปพระแม่อุมาเทวี

 

ด้านหน้าเทวสถานโบสถ์พราหมณ์แห่งเดิมเป็นลานกว้างอยู่บริเวณด้านหน้าวัดสุทัศนเทพวราราม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเสาชิงช้าขึ้นเมื่อวันพุธ แรม ๔ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๒๗ พิธีการสร้างพระนครที่เกี่ยวกับเสาชิงช้า คือ พิธีตรียัมพวาย-ตรีปวาย ซึ่งเป็นพิธีที่มีส่วนของการแสดงตำนานพระพรหมสร้างโลก และมีการโล้ชิงช้า เสาชิงช้านี้มีความสูงจากพื้นถึงยอด ๔๒ เมตร ต่อมา เสาทั้งสองข้างเริ่มชำรุด จึงได้มีการทำพิธียกเสาชิงช้าขึ้นใหม่ และประดิษฐานในที่เดิม เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๐

ผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาพระแม่อุมาเทวีมากราบไหว้บูชา และขอพร
ผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาพระแม่อุมาเทวีมากราบไหว้บูชา และขอพร

 

 

พิธีกรรมที่คณะพราหมณ์ประกอบพิธีในเทวสถานที่ยังพอปรากฏอยู่ ได้แก่ พิธีสถาปนาเทวสถานวัดวิษณุ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒ ซึ่งมีการประกอบพิธีสำคัญๆ นานถึง ๑๑ วัน เช่น พิธีกรมากุฏิ พิธีชลาธิวาส พิธีอันนาธิวาส พิธีศัยยาธิวาส พิธีเชิญวิญญาณพระเป็นเจ้า และพิธีปูรณหูติ เมื่อเสร็จพิธีดังกล่าวแล้วจึงทำพิธีเปิดเทวสถาน

พระราชพิธีอันเกี่ยวเนื่องกับศาสนาพราหมณ์ ได้แก่ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งมีพิธีโดยย่อ คือ เปิดประตูศิวาลัย ถวายน้ำอภิเษก อัญเชิญพระอิศวรเพื่อประทานพร พิธีสรงพระมูรธาภิเษก การถวายสังวาลพราหมณ์ นอกจากนี้ มีพระราชพิธีตรียัมพวาย-ตรีปวาย ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับพิธีแรกนาขวัญ การเพาะปลูก และการเก็บเกี่ยวพืชพันธุ์ธัญญาหาร โดยมีพราหมณ์เป็นผู้ประกอบพิธี

ผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาพระแม่อุมาเทวีมากราบไหว้บูชา และขอพร
ผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาพระแม่อุมาเทวีมากราบไหว้บูชา และขอพร

 

 

ตำแหน่งพระมหาราชครูประจำแต่ละรัชกาลเริ่มมีมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ จนถึงรัชกาลปัจจุบัน โดยสืบทอดเชื้อสายพราหมณ์ต่อเนื่องกันมาจากพราหมณ์ราชสำนัก ปัจจุบันหัวหน้าคณะพราหมณ์ คือ พระราชครูวามเทพมุนี (ชวิน รังสิพราหมณกุล) ปฏิบัติหน้าที่พราหมณ์ราชสำนัก เป็นข้าราชการขึ้นตรงต่อสำนักพระราชวัง และปฏิบัติศาสนกิจที่เทวสถานโบสถ์พราหมณ์

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป

Content

2
ความเป็นมาของศาสนาพราหมณ์และคณะพราหมณ์ในสยามประเทศ
ศาสนาพราหมณ์ และคณะพราหมณ์ ได้เข้ามามีบทบาทในดินแดนประเทศไทย ก่อนที่คนไทยจะสร้างอาณาจักรเป็นปึกแผ่น นักวิชาการหลายท่านให้ความเห็นว่า ไทยรับเอาศาสนาพราหมณ์มาหลายทาง ทางแรก ได้แก่ ภาคกลางตอนบน ภาคตะวันออก
8K Views
3
ความเป็นมาของเทวสถานโบสถ์พราหมณ์
ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ในประเทศไทยนั้นมีเป็นจำนวนมาก อาจแบ่งกว้างๆ ได้เป็น ๒ กลุ่ม กลุ่มแรก คือ เทวสถานที่สร้างขึ้นก่อนสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งมักเป็นเทวสถานในสมัยโบราณจำพวกปราสาทหินต่างๆ เป็นเทวสถาน
7K Views
4
ลักษณะสถาปัตยกรรม และประติมากรรมในเทวสถานโบสถ์พราหมณ์
ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด สถาปัตยกรรมและประติมากรรมในเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เป็นศิลปะอันเนื่องมาจากคติในศาสนาพราหมณ์ การสร้างเทวสถานในสมัยโบราณ มักสร้างให้เทวสถานของพระเป็นเจ้าเป็นประธานคือ เป็นศูนย์กล
9K Views
5
ประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อที่กระทำ ณ เทวสถาน
ในปัจจุบันคติความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ยังมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของคนไทยอยู่ไม่น้อย เนื่องจากคติความเชื่อดังกล่าว ได้หยั่งรากฝังลึกในจิตใจของคนไทยมาช้านาน ในอดีต ประเพณี พิธีกรรม และควา
8K Views
6
ตำแหน่งพระครูพราหมณ์
ดังเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า เทวสถานโบสถ์พราหมณ์สำหรับพระนครนั้นเป็นที่พำนักของพราหมณ์ราชสำนัก พราหมณ์เหล่านี้ มีฐานะเป็นข้าราชการในพระราชสำนัก ขึ้นตรงต่อกองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง สันนิษฐานว่า การแต่งตั้งตำแหน่งพราหมณ์เหล่านี้ มีมาต
8K Views
7
บทบาทหน้าที่ของพราหมณ์ต่อราชสำนักสยาม
ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง สมัยสุโขทัย เป็นหลักฐานเก่าแก่ชิ้นหนึ่งที่เป็นประจักษ์พยาน ถึงบทบาท ของพราหมณ์ในสังคมไทย ที่มีมาช้านานแล้ว โดยได้จารึกเรื่องราวการประดิษฐานเทวรูป พระอิศวร พระนารายณ์ พระคเณศ ในเทวาลัยมหาเกษตร ที
7K Views
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow