ลิเก เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษา ฮิบรู ว่า ซาคูร (Zakhur) ซึ่งหมายถึง การสวดสรรเสริญพระเจ้าในศาสนายูดายหรือยิวมาแต่โบราณหลายพันปี ต่อมาชาวอาหรับเรียกการสวดสรรเสริญพระเจ้าว่า ซิกร (Zikr) และ ซิกิร (Zikir) ผู้สวดนั่งล้อมเป็นวงโยกตัวไปมา เมื่อการสวดแพร่หลายเข้าไปในอินเดียโดยชาวอิหร่าน เรียกว่า ดฮิกิร (Dhikir) โดยมีการตีกลองรำมะนาประกอบ ครั้นการสวดแพร่มาถึงจังหวัดทางภาคใต้ของประเทศไทยก็เรียกเป็นภาษาถิ่นว่า ดิเก (Dikay) และจิเก (Jikay) ชาวมุสลิมนำดิเกเข้ามาสู่กรุงเทพมหานคร ตอนต้นสมัยรัตนโกสินทร์การเรียกก็เปลี่ยนเป็น ยิเก หรือ ยี่เก (Yikay) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงเรียกว่า ลิเก (Likay) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๒ และใช้เรียกอย่างเป็นทางการตั้งแต่นั้นมา ส่วนคำว่า ยี่เก ยังคงใช้เรียกกันอยู่ อนึ่ง ลิเกได้ถูกเปลี่ยนชื่อตามพระราชกฤษฎีกากำหนดวัฒนธรรมทางศิลปกรรม พ.ศ. ๒๔๘๕ เป็น นาฏดนตรี และเรียกคำนี้แทนลิเกอยู่ประมาณ ๑๕ ปี ก็กลับมาเรียกว่า ลิเก เหมือนเดิมจนถึงปัจจุบัน
NEXT
ลิเกยุคต่างๆ