Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

การคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่ไม่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์

Posted By Plookpedia | 24 เม.ย. 60
313 Views

  Favorite

การคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่ไม่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์

ระยะปลอดภัย


ข้อดีของยาฆ่าเชื้อโรคอสุจิในช่องคลอด
ยานี้มีข้อดีที่ใช้ง่ายและไม่จำเป็นต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างไรก็ดียาชนิดนี้ไม่อยู่ในความนิยมเพราะมีวิธีใหม่ ๆ ที่สะดวกกว่าและมีประสิทธิภาพดีกว่าเข้ามาแทน

หมายถึง การคุมกำเนิดโดยงดการอยู่ร่วมกันในระยะที่มีไข่สุกโดยอาศัยหลักว่าหญิงมีไข่สุกเดือนละครั้งเดียวและการตั้งครรภ์จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อมีการอยู่ร่วมกันในระยะที่มีไข่สุกเท่านั้น 
 
การหาระยะปลอดภัยทำได้ 2 ทาง คือ
1. จากบันทึกการมีประจำเดือน
2. จากการวัดอุณหภูมิพื้นฐานของร่างกาย

การหาระยะปลอดภัยจากบันทึกการมีประจำเดือน 
มีหลักปฏิบัติดังนี้ คือ ผู้ใช้ต้องทำบันทึกการมีประจำเดือนไว้ทุก ๆ เดือนจนครบ 12 เดือน โดยบันทึกระยะรอบประจำเดือนนับจากวันแรกของประจำเดือนไปจนถึงวันสุดท้ายก่อนมีประจำเดือนที่สั้นที่สุดและยาวที่สุดใน 12 เดือนนี้ และคิดระยะที่ไม่ปลอดภัยดังนี้
วันแรกที่ไม่ปลอดภัย = รอบประจำเดือนที่สั้นที่สุด -18
วันสุดท้ายที่ไม่ปลอดภัย = รอบประจำเดือนที่ยาวที่สุด -11

วันแรกที่มีประจำเดือน คือวันที่ 5 ธันวาคม
วันแรกที่ไม่ปลอดภัย คือวันที่ 9 ของรอบประจำเดือน (วันที่ 13 ธันวาคม) 
วันสุดท้ายที่ไม่ปลอดภัย วันที่ 20 ของรอบประจำเดือน (วันที่ 24 ธันวาคม)

บันทึกประจำเดือน 12 เดือนนี้ จะต้องเป็นของ 12 เดือนสุดท้ายเสมอโดยเพิ่มประจำเดือนของเดือนใหม่ลงไปทุกเดือนและตัดประจำเดือนที่เก่าที่สุดออกเช่นกันหลักของการคิดหาระยะไม่ปลอดภัยนี้มีรายละเอียดอธิบายไว้ โดยโอกิโน (Kyusaka Ogino) และคเนาส์ (Herman Knaus) 

การหาวันที่ไม่ปลอดภัยโดยการวัดอุณหภูมิพื้นฐานของร่างกาย 
การหาไข่สุกโดยวิธีนี้อาศัยหลักที่ว่าก่อนไข่สุกร่างกายจะมีอุณหภูมิต่ำแต่ภายหลังไข่สุกแล้วร่างกายจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนทำให้อุณหภูมิตลอดรอบประจำเดือนมีลักษณะเป็นสองระยะ (biphasic) คือ อุณหภูมิในระยะก่อนไข่สุกจะเพิ่มสูงขึ้นส่วนภายหลังไข่สุกอาจมีอุณหภูมิต่ำลงไปประมาณ 24-48ชั่วโมง 

ภายหลังที่อุณหภูมิต่ำลงควรวัดด้วยปรอทพิเศษสำหรับหญิงเพราะมีความเที่ยงมากกว่าปรอทวัดไข้ธรรมดาและการวัดจะต้องวัดเมื่อตื่นนอนตอนเช้าก่อนลุกจากที่นอนโดยอมไว้ใต้ลิ้น 5 นาที บางแห่งนิยมใช้วัดทางช่องคลอด แต่ไม่จำเป็นและไม่สะดวกในทางปฏิบัติ 

เมื่อรวมการหาระยะไม่ปลอดภัยของทั้ง 2 วิธี เข้าด้วยกันอาจทำให้วิธีนี้มีผลแน่นอนขึ้นโดยถือหลักดัง นี้ คือ 
วันแรกที่ไม่ปลอด ภัย = รอบประจำเดือนที่สั้นที่สุด -18 วันสุดท้ายที่ไม่ปลอดภัย 
วันสุดท้ายที่ไม่ปลอด ภัย = วันที่ 3 ภายหลังที่อุณหภูมิขึ้นสูง 

การหาเวลาไข่สุกโดยวิธีอื่นยังไม่สะดวกและเหมาะสมในทางปฏิบัติ

ข้อดีของวิธีคุมกำเนิดแบบระยะปลอดภัย 
1. ไม่มีอันตราย 
2. ไม่มีสิ่งขัดขวางรบกวนขณะอยู่ร่วมกัน เช่น ไม่ต้อง หยุดใส่ถุงยาง ฯลฯ 
3. ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย 
4. เป็นวิธีที่คริสต์ศาสนานิกายคาทอลิกยอมรับ 

ข้อเสียของวิธีคุมกำเนิดแบบระยะปลอดภัย 
1. ผลไม่แน่นอนไข่อาจสุกผิดไปจากเวลาที่คาดหากมีเหตุการณ์ผิดปกติบางอย่าง เช่น ตื่นเต้น ดีใจ ฯลฯ 
2. ต้องการทำการบันทึกประจำเดือนและคำนวณระยะที่ไม่ปลอดภัยทุก ๆ เดือน 
3. ความต้องการทางเพศอาจไม่ตรงกับระยะปลอดภัย 

การหลั่งน้ำอสุจิออกภายนอกช่องคลอด 
วิธีนี้คนไทยมักเรียกสั้น ๆ ว่า "เอาน้ำออกข้างนอก" หรือ "ระวัง" ซึ่งตรงกับที่ชาวอังกฤษเรียกกันว่า "taking care" หรือ "being careful" เป็นวิธีคุมกำเนิดที่เก่ามากวิธีหนึ่งที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบันวิธีนี้หมายถึงการที่ฝ่ายชายเอาอวัยวะเพศออกจากช่องคลอดก่อนที่จะมีการหลั่งน้ำอสุจิ 
หลักปฏิบัติของวิธีนี้คือเมื่อมีการร่วมเพศจนฝ่ายชายรู้สึกว่าใกล้จะมีความรู้สึกถึงขีดสุดซึ่งจะมีการ หลั่งน้ำอสุจิ (ejaculation) ให้ฝ่ายชายรีบเอาอวัยวะเพศออกจากช่องคลอดและให้มีการหลั่งน้ำอสุจิภายนอกโดยระวังมิให้น้ำอสุจิเปื้อนบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของฝ่ายหญิง 

วิธีนี้มีผู้กล่าวเสมอว่ามีโอกาสพลาดได้มาก (แต่ยังไม่มีสถิติยืนยันแน่นอน) ซึ่งอาจเกิดจาก 
1. ระหว่างที่มีการตื่นตัวทางเพศก่อนที่จะ มีการหลั่งน้ำอสุจิมักจะมีมูกเยิ้มออกมาที่บริเวณช่องปัสสาวะมูกนี้อาจจะมีตัวอสุจิเล็ดลอดออกมาด้วยเป็นจำนวนมากพอสำหรับการปฏิสนธิ 
2. ฝ่ายชายอาจเริ่มถอนอวัยวะเพศออกช้าไปโดยน้ำอสุจิบางส่วนผ่านเข้าช่องคลอดไปแล้ว
3. แม้จะมีการหลั่งน้ำอสุจิภายนอกหากน้ำอสุจิ เปื้อนบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของฝ่ายหญิงตัวอสุจิอาจว่ายจากบริเวณนั้นเข้าช่องคลอดได้

ผู้ที่อาจจะเหมาะสำหรับวิธีนี้คือ 
1. ฝ่ายชายไม่มีการหลั่งน้ำอสุจิเร็วผิดปกติ (premature ejaculation) 
2. ฝ่ายหญิงมีความรู้สึกถึงจุดสุดยอดได้ไม่ยาก 
3. สามีและภรรยามีความเคยชินกับปฏิกิริยาโต้ตอบของตนและคู่ของตนและสามีสามารถควบคุมการหลั่งน้ำอสุจิได้ดี 
4. มีอารมณ์มั่นคงไม่กังวลหรือกลัวว่าจะทำไม่ได้ตามที่ตั้งใจ 

ข้อดีของวิธีหลั่งน้ำอสุจิออกภายนอก 
1. เป็นวิธีที่พร้อมจะใช้ได้เสมอ 
2. ไม่ต้องการเครื่องมือหรือเสียค่าใช้จ่ายใดๆ 

ข้อเสียหรืออันตรายของวิธีหลั่งน้ำอสุจิออกภายนอก 
มีผู้อ้างถึงข้อเสียหรืออันตรายของวิธีนี้หลายอย่าง คือ 
1. อาจทำให้ผู้ใช้กลายเป็นโรคประสาทเนื่องจากเหตุต่อไปนี้ 
ก. มีความกังวล โดยกลัวว่าจะเอาอวัยวะเพศชายออกไม่ทัน 
ข. ฝ่ายชายต้องบังคับตนเองให้ทำในสิ่งที่ตนไม่อยากจะทำ (การเอาอวัยวะเพศออกก่อน) 
ค. ฝ่ายหญิงมีโอกาสถึงจุดสุดยอดน้อยลง 

2. อาจทำให้ต่อมลูกหมากโต เนื่องจากการคั่งของเลือดในอวัยวะของอุ้งเชิงกราน 
อย่างไรก็ดี การอ้างต่างๆ นี้มักไม่มีสถิติประกอบแน่นอน เรื่องนี้ยังต้องการการศึกษาต่อไป

ถุงยางคุมกำเนิด
ถุงยางคุมกำเนิดเป็นถุงบาง ๆ สำหรับใส่คลุมลึงค์ซึ่งมีการแข็งตัวขณะที่มีการร่วมเพศเพื่อป้องกันการหลั่งน้ำอสุจิเข้าช่องคลอด 
ถุงยางคุมกำเนิดที่นิยมกันสมัยนี้ส่วนมากทำด้วยยางลาเทกซ์ (latex) ซึ่งมีคุณภาพดี คือ บางแต่เหนียว ยืดได้มาก ไม่ขาดง่าย และไม่ทำให้เสียความรู้สึกสัมผัสไปมากและเป็นชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง
ถุงยางคุมกำเนิด
หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ฯ เล่ม 9

 

 

ถุงยางคุมกำเนิดมีลักษณะเป็นถุง มี 2 ชนิด คือ 
1. ชนิดก้นถุงมน (plain end) เป็นชนิดที่นิยมใช้กันในอเมริกา 
2. ชนิดก้นถุงมีกระเปาะ (pocket end, teat end) สำหรับเป็นที่เก็บน้ำอสุจิชนิดนี้นิยมใช้กันในยุโรป 

ปากเปิดของถุงเป็นวงแหวนยางซึ่งพอเหมาะที่จะสวมกับลึงค์ที่กำลังแข็งตัวถุงยางนี้อาจเป็นแบบแห้งมีผงยาทำลายตัวอสุจิโรยเคลือบไว้หรือเป็นแบบหล่อลื่นโดยกลีเซอรี

วิธีใช้ 
1. การใส่ถุงยางจำเป็นต้องใส่ขณะที่ลึงค์กำลังแข็งตัวเต็มที่ (full erection) ก่อนที่จะสอดใส่อวัยวะนี้เข้าช่องคลอดโดยเอาถุงยางที่ม้วนไว้ครอบกับปลายลึงค์และรูดออกคลุมจนถึงโคนอวัยวะ 
2. ถ้าเป็นถุงแบบปลายมน เวลาสวมต้องเหลือที่ตรงปลายว่างไว้ประมาณ 1 เซนติเมตร ห่างจากปลายลึงค์เพื่อไว้เป็นที่รับน้ำอสุจิ 
3. การใส่นี้ฝ่ายชายจะเป็นผู้ใส่เองหรือฝ่ายหญิงเป็นผู้ใส่ให้ก็ได้โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมเพศ 
4. รายที่แต่งงานใหม่ช่องคลอดยังคับหากความหล่อลื่นภายในช่องคลอดน้อยควรใช้เยลลี (jelly) สำหรับหล่อลื่นทาด้านนอกของถุงยางเพื่อมิให้ฝ่ายหญิงเจ็บเนื่องจากมีการเสียดสีมาก 
5. เมื่อมีการหลั่งน้ำอสุจิแล้วฝ่ายชายจะต้องรีบถอดอวัยวะเพศออกและถอดถุงยางออกทิ้งระวังมิให้น้ำอสุจิหกเปรอะเปื้อนปากช่องคลอด 
6. เพื่อให้ได้ผลดีขึ้นในระยะกลางรอบประจำเดือน ซึ่งเป็นระยะที่จะมีไข่สุก (ดูเรื่องระยะปลอดภัย) ควรใช้ร่วมกับครีมใส่ช่องคลอดสำหรับคุมกำเนิด 

วิธีนี้เมื่อใช้ถูกต้องจะมีประสิทธิภาพดีมาก แต่อาจมีการพลาดหากถุงรั่ว หรือถุงหลุด หรือฉีกขาดขณะร่วมเพศ ถุงยางที่ดีในปัจจุบันมีคุณภาพดี จึงมักไม่มีการรั่วหรือฉีกขาด 


อันตรายของถุงยางคุมกำเนิด 
การใช้ถุงยางคุมกำเนิดมีอาการข้างเคียงมากอาการที่อาจจะพบได้ คือ 
1. อาจเกิดความไม่สบายเนื่องจากมีการเสียดสีมากเกินไปซึ่งจะแก้ไขได้โดยการใช้ครีมหล่อลื่น 
2. บางรายอาจมีการคันแสบจากการแพ้ผงเคมีที่โรยไว้ที่ถุงยาง 

ข้อดีของการใช้ถุงยางคุมกำเนิด 
1. ใช้ง่าย สะดวก ไม่มีอันตราย 
2. มีผลป้องกันกามโรคและโรคบางอย่างที่ติดต่อกันขณะร่วมเพศ 
3. ในรายที่ฝ่ายชายมีการหลั่งน้ำอสุจิเร็วผิดปกติถุงยางคุมกำเนิดจะทำให้สามารถควบคุมการหลั่งน้ำอสุจิได้ดีขึ้นเพราะความรู้สึกจากการเสียดสีลดลง 

ข้อเสียของถุงยางคุมกำเนิด 
ถุงยางคุมกำเนิดทำให้ความรู้สึกสัมผัสลดลงทำให้รู้สึกว่าไม่มีการถูกต้องสัมผัสกันโดยตรงแต่ถุงยางที่ใช้ในปัจจุบันเป็นชนิดบางมากจึงไม่ทำให้เสียความรู้สึกมากนัก

ยาฆ่าเชื้ออสุจิในช่องคลอด
มีหลายชนิด คือ

1. ยาเม็ดที่จะกลายเป็นฟอง (foam tablet)
2. ครีมและเจลลี (cream and jellies)
3. ขี้ผึ้งสอดช่องคลอด (suppositories)
4. ฟองอัดแอโรซอล (aerosol foams)
 
หลักทั่วไปในการใช้ยา 
ยาพวกนี้มีหลักในการใช้คล้ายคลึงกัน คือ 
1. ใส่ยาก่อนมีการอยู่ร่วมกันทุกครั้ง รอให้ยากระจายทั่วช่องคลอดประมาณ ๕-๑๐ นาที (แล้วแต่ชนิดของยา) แล้วจึงอยู่ร่วมกัน ยาประเภทนี้มีฤทธิ์ป้องกันอยู่ได้ภายในเวลาประมาณ ๑ ชั่วโมง หลังจากใส่ยา 
2. การใส่ยาเข้าช่องคลอด ต้องใส่ให้ลึกพอ 
3. ขนาดของยาที่ใช้ แล้วแต่ชนิดของยา แต่ในรายต่อไปนี้ควรเพิ่มยาเป็น ๒ เท่าของขนาดปกติ คือ รายที่มีช่องคลอดกว้างและลึกมาก และรายที่ฝีเย็บขาดมาก เพราะยาอาจไหลออกมาภายนอกได้มาก 
4. ภายหลังใส่ยาแล้วไม่ควรลุก ยืน เดิน หรือไปนั่งถ่ายปัสสาวะ จนกว่าจะมีการอยู่ร่วมกันเรียบร้อยแล้ว ก่อนใส่ยาควรถ่ายปัสสาวะให้เรียบร้อย 
5. ไม่ควรทำการสวนล้างช่องคลอดหลังการอยู่ร่วมกัน เพราะจะทำให้ฤทธิ์ในการป้องกันเสียไป ถ้าต้องการล้าง ควรทำภายหลังการอยู่ร่วมกันไม่ต่ำกว่า ๖ ชั่วโมง 

ประสิทธิภาพ 
ผลของการใช้ยาประเภทนี้มีแตกต่างกันมากในแต่ละรายงานบางรายงานก็ได้ผลดีบางรายงานมีการตั้งครรภ์สูงถึง 20% ของผู้ใช้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของยาและการใช้ยาถูกต้องเพียงไร
ยาเม็ดฆ่าเชื้ออสุจิในช่องคลอด
หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ฯ เล่ม 9

 

 

ข้อเสียของยาฆ่าเชื้ออสุจิในช่องคลอด
1. อาจทำให้เกิดการคันหรือแสบ ๆ ในรายที่แพ้ยา
2. ทำให้การหล่อลื่นในช่องคลอดน้อยเกินไป
3. มักไหลออกมาเปรอะเปื้อนภายนอกทำให้ผู้ใช้รำคาญ

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow