การคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์
ห่วง
ห่วง
มี
ต่อ
วงแหวนแกรเฟนเบิร์กแบบใหม่ ประดิษฐ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓ มีขนาดเล็กกว่าแบบเก่า
หลาย
สอง
ห่วง
ห่วงลิปฟีส
ทำ
ห่วง
ข้อ
1. ภาย
2. วัน
3. 2-3 เดือน
4. อาจ
5. ห่วง
6. ถ้า
7. ห่วง
8. ควร
ประสิทธิภาพ
หญิง
ห่วง
ใน
การทำงานของห่วงคุมกำเนิด
ยังไม่มีข้อพิสูจน์แน่นอนว่าจะป้องกันการตั้งครรภ์ได้อย่างไรแต่ก็มีข้อสันนิษฐานกันไว้ดังนี้
1. ห่วงคุมกำเนิดอาจทำให้ไข่ที่ผสมแล้วไม่สามารถฝังตัวได้ (implantation failure) เพราะทำให้เกิดสภาพที่ไม่เหมาะสมขึ้นที่เยื่อบุมดลูกหรือผนังมดลูก
2. ห่วงคุมกำเนิดอาจทำให้ไข่ทั้งที่ถูกผสมและไม่ถูกผสมเดินทางผ่านท่อรังไข่ไปเร็วกว่าปกติจนไข่ที่ผสมแล้วยังไม่พร้อมที่จะฝังตัวเมื่อผ่านไปถึงโพรงมดลูกและไข่ที่ยังไม่ถูกผสมผ่านไปเร็วจนไม่มีโอกาสได้ผสมกับเชื้อของฝ่ายชาย (acceleration of tubal transport of ova)
3. ห่วงคุมกำเนิดทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในโพรงมดลูกจนทำให้เชื้อของฝ่ายชายไม่สามารถผ่านไปผสมกับไข่ได้หรือสูญอำนาจในการผสมพันธุ์ไป (spermatoxic effects)
อาการข้างเคียงในหญิงที่ใช้ห่วงคุมกำเนิด
อาการข้างเคียงที่พบบ่อย คือ
1. อาการเลือดออกผิดปกติ
ก. อาจมีเลือดออกอยู่ 2-3 วันหลังใส่ห่วง และจะหยุดไปเองโดยไม่ต้องให้การรักษา
ข. อาจมีเลือดออกกะปริบกะปรอย นอก เวลาประจำเดือน ซึ่งมักพบในระยะ 2-3 เดือนแรก
ค. อาจมีประจำเดือนออกมากกว่าปกติ หรือนานกว่าปกติ พบมากในระยะ 2-3 เดือนแรก
2. อาการปวดท้องน้อยพบได้ไม่บ่อยนักและพบน้อยกว่าการมีเลือดออกผิดปกติ
ก. การปวดท้องน้อยทันทีภายหลังใส่ห่วงเนื่องจากการบีบตัวของมดลูกบางรายอาจมีอาการปวดอย่างรุนแรงแต่อาการนี้พบน้อยมากมักพบในหญิงที่ไม่มีบุตรมาเป็นเวลานานและพวกที่มีจิตใจหวาดกลัวง่ายอยู่แล้ว
ข. อาการปวดท้องน้อยในระยะ 2-3 เดือนแรกหลังใส่อาการปวดมักมีเพียงเล็กน้อย
ค. อาจมีอาการปวดประจำเดือนเพิ่มขึ้นในระยะ 2-3 เดือนแรกหลังใส่
๓. อาการตกขาวหลังใส่อาจมีตกขาวออกมากขึ้นและส่วนมากจะค่อย ๆ กลับเป็นปกติหลังจาก 3 เดือนไปแล้ว
อาการที่กล่าวมาแล้วนี้เกิดเนื่องจากมดลูกยังไม่เคยชินกับห่วงภายหลังที่มดลูกปรับตัวเองให้เข้ากับห่วงได้ดีแล้วอาการต่าง ๆ ก็หายไปเปรียบเทียบได้กับผู้ที่ใส่คอนแทกต์เลนส์ (contact lens) ซึ่งจะมีอาการระคายเคืองในระยะแรกเมื่อเคยชินแล้วอาการต่าง ๆ ก็จะหายไป
การเจริญพันธุ์ภายหลังเอาห่วงออก
หญิงที่เอาห่วงออกจะตั้งครรภ์ได้ตามปกติและไม่มีการเปลี่ยนปลงภาวะการเจริญพันธุ์จากรายงานของสภาประชากร (นิวยอร์ก) เมื่อ พ.ศ. 2508 พบว่าร้อยละ 45 ของหญิงตั้งครรภ์ภายในเดือน 6 เดือนและร้อยละ 90 ตั้งครรภ์ภายใน 1 ปี หลังจากเอาห่วงออก
ส่วนผลจากการศึกษาในประเทศไทยพบว่าร้อยละ 93 ตั้งครรภ์ภายใน 1 ปีหลังจากเอาห่วงออก
เวลาที่เหมาะสมในการใส่ห่วงคุมกำเนิด
1. ในรายที่มีประจำเดือนตามปกติเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการตั้งครรภ์ในขณะใส่ห่วงควรไปพบแพทย์ภายใน 7 วันแรก ของรอบเดือนหรือถ้าไม่สามารถพบแพทย์ได้ก็ควรจะงดการอยู่ร่วมกันหรือคุมกำเนิดโดยวิธีอื่นก่อนจนกว่าจะไปพบแพทย์ได้
2. การใส่ภายหลังคลอดหรือแท้งควรใส่ห่วงคุมกำเนิดเมื่อคลอดหรือแท้งแล้วเป็นเวลา 8 สัปดาห์ เพราะมดลูกคืนสู่ภาวะปกติเรียบร้อยแล้วถ้าใส่ก่อนระยะนี้ผนังของมดลูกยังนุ่มอยู่จะมีโอกาสทะลุได้ง่ายแต่ก็มีผู้ใส่ห่วงให้แก่หญิงหลังคลอดภายใน 48 ชั่วโมง เพราะเกรงว่าเมื่อกลับบ้านไปแล้วคนไข้อาจไม่มีเวลามาใส่ห่วงอีกหรืออาจตั้งครรภ์เสียก่อนมาใส่ห่วง
ข้อห้ามของการใส่ห่วงคุมกำเนิด
1. การอักเสบในอุ้งเชิงกรานเป็นข้อห้ามที่ สำคัญที่สุด เพราะถ้ามีอาการอักเสบอยู่ การใส่ห่วงจะทำให้การอักเสบทวีความรุนแรงขึ้นได้มาก
2. รายที่ไม่แน่ใจว่าจะตั้งครรภ์หรือไม่
3. รายที่มีประวัติของการมีเลือดออกผิดปกติจากภายในมดลูกโดยยังไม่ได้รับการวินิจฉัยและให้การรักษา
4. รายที่มีเนื้องอกของกล้ามเนื้อมดลูก
5. รายที่มดลูกมีรูปร่างผิดปกติ เช่น มีผนังกั้นแบ่งโพรงมดลูกเป็น 2 ห้อง
ยาเม็ดคุมกำเนิด
มี
ยา
วิธี
|