Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ศิลปะและสิ่งแวดล้อม

Posted By Plookpedia | 21 เม.ย. 60
363 Views

  Favorite

ศิลปะและสิ่งแวดล้อม
สังคมของมนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงไม่หยุดนิ่ง มีความเจริญ มีความเสื่อม และมีการเกิดใหม่ ต่อเนื่องกันอยู่เช่นนี้ เป็นธรรมดา ของสรรพสิ่งทั้งหลายในโลก

มนุษย์ค้นพบสิ่งที่เป็นผลจากพฤติกรรมของมนุษย์ด้วยกัน ในยุคสมัยต่างๆ ที่ผ่านมา รวมทั้งการค้นพบ ผลงานจิตรกรรมเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ผลงานเหล่านี้ ทำให้เราได้เข้าใจความรู้สึกนึกคิด และความเชื่อถือในเหตุผลต่างๆ ของคนในแต่ละยุคสมัย ซึ่งเกิดจากความพยายาม ที่จะเรียนรู้ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว

ผลงานทางจิตรกรรม ทำให้เราได้เรียนรู้ สภาพแวดล้อม พฤติกรรม และความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ ถือได้ว่า จิตรกรรม เป็นบันทึกพฤติกรรมของมนุษย์ในสมัยต่างๆ ได้อย่างดี

ผลจากการศึกษางานจิตรกรรมในอดีต ทำให้มองเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงในงานจิตรกรรม ส่วนใหญ่ถือได้ว่า เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และสิ่งแวดล้อมในสังคม ที่มีความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง งานจิตรกรรม จะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นขั้นตอน อย่างเห็นได้ชัดเจน ซึ่งผิดกับสังคมที่อยู่โดดเดี่ยว ขาดการติดต่อสมาคมกับผู้คนในสังคมอื่นๆ งานจิตรกรรมจะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง ในบางกรณีไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย ยังคงรูปของศิลปะแบบประเพณีดั้งเดิม เมื่อได้มีการนำเอาเทคโนโลยี มาใช้ในการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ทำให้เกิดสังคมอุตสาหกรรม และเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม เป็นต้นว่า บ้านเรือนที่อยู่อาศัย อาคารธุรกิจ เครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ ตลอดจนการสื่อสารคมนาคม ที่เปลี่ยนแปลงไป สิ่งต่างๆ เหล่านี้ มีผลทำให้ มนุษย์ที่อยู่ในสังคม ต้องปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อม เพราะฉะนั้นงานจิตรกรรมของไทยใน ปัจจุบัน ก็คือ ผลงานที่สะท้อนความเป็นจริง ส่วนหนึ่งของสังคมของเราในปัจจุบัน

จิตรกรรมฝาผนังถ้ำ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
จาก หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ฯ เล่ม 13
ภาพเขียนรูปวัวกระทิง ที่ถ้ำผาฆ้อง อำเภอภูกระดึง จังหวัดอุบลราชธานี
จาก หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ฯ เล่ม 13

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow