เศรษฐกรในหน่วยงานภาครัฐ
เศรษฐกรในหน่วยงานภาครัฐ
เศรษฐกรในหน่วยงานภาครัฐ
เศรษฐกรในหน่วยงานภาครัฐ
รู้จักอาชีพ > นักวิเคราะห์ (Think) > เศรษฐกรในหน่วยงานภาครัฐ
       นักเศรษฐศาสตร์ หรืออีกชื่อหนึ่งที่อาจไม่คุ้นหูเท่า คือ เศรษฐกร เป็นผู้ทำหน้าที่รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล คล้ายนักวิจัย โดยมีขอบข่ายเนื้อหาเกี่ยวกับเศรษฐกิจและการเงินขององค์กรทั้งขนาดเล็กและใหญ่ มีการเสนอแนะ วางแผนนโยบาย เกี่ยวกับเรื่องงเศรษฐกิจและสังคม และยังแบ่งแยกย่อยออกเป็นสาขาต่าง ๆ ได้ เช่น เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม ก็จะมีความเกี่ยวเนื่องกับสังคมด้วย 
       อาชีพนักเศรษฐศาสตร์นั้น สิ่งที่สำคัญคือต้องมีทักษะการใช้ข้อมูล เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค ผู้ผลิต เศรษฐกิจในประเทศ ต่างประเทศ และสังคมโดยรวม โดยมีทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหภาครองรับ 
  • ใช้ข้อมูลเป็น เข้าใจที่มาของข้อมูล รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์เพื่อแปรผล
  • คิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล
  • มีเครื่องมือเศรษฐมิติ (แบบจำลองคณิตศาสตร์+สถิติ+ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์) ในการหาความสัมพันธ์ของข้อมูลและวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อใช้ในกระบวนการตัดสินใจ
ทำให้นักเศรษฐศาสตร์มีพฤติกรรม
  • ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ คิดทบทวนไปมา (บางทีก็ช้าเกินไปไม่ทันกาล)
  • ค้นหาข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณเพื่ออธิบายสิ่งที่สังเกตเห็น
  • ชอบตั้งคำถาม เพื่อให้ได้ข้อมูล (จนบ่อยครั้งดูก้าวร้าว)
  • อธิบายทุกเรื่องด้วยทฤษฎีที่ตนเองเข้าใจ (แต่ไม่ค่อยมีคนอื่นเข้าใจ)
  • ชอบทำงานหรือกิจกรรมเพื่อสังคม และรับผิดชอบส่วนที่ตนเองทำเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับคนอื่น
       นักเศรษฐศาสตร์ หรือ เศรษฐกร อาจมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก ตามที่แต่ละองค์กรจะเรียกต่างกันไป  โดยเวลาสมัครงานจะดูที่วุฒิเศรษฐศาสตร์ หรือคีย์เวิร์ดคือ นักวิเคราะห์ข้อมูลเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์แต่ละคนอาจมีมุมมองการวิเคราะห์ที่แตกต่างกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ความคิดของแต่ละคนซึ่งไม่มีสิ่งตายตัว

เศรษฐกร

เศรษฐกร

เศรษฐกร

 

ลักษณะการทำงาน 

       เป้าหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่ทำงานในภาครัฐจะอิงตามพันธกิจของภาครัฐ คือการผลิตสินค้าและบริการให้ประชาชน ให้ประชาชนได้รับผลประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร คุ้มค่าจำนวนเงินที่ลงทุนไปหรือไม่ โดยไม่ได้หวังผลกำไรจากประชน โดยจะดูภาพรวมการคลังของทั้งประเทศ ซึ่งนอกจากวิเคราะห์ผลกระทบด้านการเงินแล้ว ยังมีผลกระทบภายนอกกับประชาชนในด้านสังคม เช่น ประชาชนที่ถูกเวนคืนพื้นที่เพื่อทำถนน จะได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง โดยนำข้อมูลมาผ่านกระบวนการวิเคราะห์ตามหลักกระบวนการทางวิชาการ ผ่านโมเดลการวิเคราะห์ เพื่อมองภาพอนาคต เหมือนนักพยากรณ์ที่คาดการณ์จากข้อมูลสถิติที่มี ซึ่งการเลือกโมเดลนั้นจะดูจากตัวเลข สภาวะต่าง ๆ สภาพความเป็นจริง ต้องเลือกใช้ตามความเหมาะสม
       ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานรัฐนั้นอาจไม่ได้มีชื่อเรียกตำแหน่งเดียวเหมือนกันทุกหน่วยงาน แต่ในด้านเนื้อหางานนั้นจะมีกลไกการทำงานหลักเหมือนกัน คือการรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์และแจกแจงนำเสนอ เพื่อนำไปพิจารณาในการทำนโยบายหรือโครงการของรัฐต่อไป
      ส่วนเอกชนจะเน้นบริหารในตัวองค์กร เน้นกำไรสูงสุด ความคุ้มค่าในการลงทุนด้านต่าง ๆ โดยจะวิเคราะห์จากข้อมูล ปัจจัยการผลิตของภาคธุรกิจนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นรายรับรายจ่าย นำข้อมูลมาวิเคราะห์วิจัย เแล้วนำเสนอนโยบายให้เห็นภาพสถานะของข้อมูลเศรษฐกิจ ซึ่งรายละเอียดเนื้องานจะเปลี่ยนไปตามลักษณะของสินค้าหรือการให้บริการของแต่ละองค์กร

ขั้นตอนการทำงาน 

  • สำหรับเศรษฐกรของภาครัฐ จะมีพันธกิจขององค์กรที่อยู่ เช่น ของกระทรวงการคลัง คือ บริหารการเงินการคลังภาครัฐ ให้ประเทศเกิดความยั่งยืน ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้รู้ว่าเราอยู่จุดไหนในองค์กรที่มีขนาดใหญ่มากๆ ซึ่งก็คือเป้าหมายของการทำงานของเรา ดังนั้นเริ่มแรกเราต้องเข้าใจว่าเป้าหมายของเราคืออะไร และเราอยู่ตรงจุดไหน เรียนรู้ภาพรวมขององค์กรเราก่อน
  • ศึกษาภาพเศรษฐกิจของประเทศ ณ ปัจจุบัน และนโยบายของภาครัฐในปัจจุบัน
  • หา จัดเก็บ และรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องในอดีต ว่าเราเคยได้รับผลกระทบหรือมีเหตุการณ์อะไรบ้างที่ส่งผลกระทบใกล้เคียงกับสถานการณ์ปัจจุบัน ศึกษาฐานข้อมูลเดิมที่มี หาข่าวสารในอดีต ศึกษาตัวเลขเศรษฐกิจในช่วงเวลานั้น ๆ แล้วมองหาปัจจัยว่าเกิดจากอะไรบ้าง ต้องหมั่นติดตามข่าวสารสถานการณ์บ้านเมือง คาดการณ์ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อโครงการหรือสิ่งที่เราจะนำเสนอนโยบายต่อไป
  • ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งเกี่ยวเนื่องกับเป้าหมายในการทำงาน เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมให้ครบถ้วนที่สุดเท่าที่ตอนนั้นจะทำได้
  • นำข้อมูลมาวิเคราะห์ผ่านเครื่องมือต่างๆ ที่เราได้เรียนมา และตามที่หน่วยนั้นๆใช้เป็นเครื่องมือหลัก ประมวลผล เพื่อหาทางเลือก ข้อเสนอของข้อมูล ผลกระทบ สิ่งที่ได้ ที่อาจเกิดขึ้น สำหรับประกอบการตัดสินใจในองค์กร
  • การร่างนโยบายหรือโครงการนั้น จะเป็นไปตามลำดับขั้นการทำงาน 
  • จะมีส่วนของนักกฎหมายที่มาช่วยดูต่อว่ามีตรงไหนติดขัดอะไรยังไงไหม ก่อนจะนำไปเสนอหรือใช้ แต่ตัวเศรษฐกรเองก็ต้องมีความรู้ด้านกฎหมายคร่าว ๆ ด้วย ซึ่งมักจะได้จากประสบการณ์จากเนื้องานของแต่ละคนที่ทำ

สถานที่ทำงาน 

       ทำงานในออฟฟิศหรือสำนักงาน บางครั้งอาจมีการได้ออกไปนอกสถานที่ เพื่อร่วมประชุมหรือติดต่อราชการนอกสถานที่ในตำแหน่งที่ต้องมีการประสานงานด้วย

ผู้ที่ต้องทำงานด้วย 

       เศรษฐกรในหน่วยงานภาครัฐจะเน้นการทำงานในแง่ของการวิเคราะห์นโยบายภาพรวม หรือโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐ ดังนั้นผู้ที่ต้องทำงานด้วยอาจแตกต่างจากเศรษฐกรหรือนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานเอกชนที่อาจมีเป้าหมายต่อองค์กรและวิธีการทำงานที่แตกต่างออกไป 

  • นักบัญชี
  • นักกฎหมาย
  • วิศวกร
  • นักสิ่งแวดล้อม
  • อาจารย์
  • โปรแกรมเมอร์ 

ทางเลือกอาชีพ 

  • นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ในหน่วยงานราชการอื่นทั่วไป และองค์กรปกครองท้องถิ่น (เทศบาล อบจ. อบต.)
  • พนักงานวิเคราะห์สินเชื่อ ธนาคารพาณิชย์และบริการผู้ให้บริการด้านการเงิน
  • พนักงานในบริษัทการเงิน อาทิ โบรกเกอร์ กองทุนรวม
  • พนักงานในบริษัทประกันภัยและประกันชีวิต
  • พนักงานในโรงงานเพื่อการวางแผนการผลิต
  • พนักงานในส่วนงานการวางแผนการตลาด ของบริษัทค้าปลีก
  • พนักงานในส่วนวางแผนการขนส่งและคลังสินค้า
  • ที่ปรึกษาด้านการเงินในสถาบันการเงิน
  • หรือสายอาชีพอื่นที่ต้องใช้การวิเคราะห์ข้อมูล

เงินเดือน เศรษฐกร

ตำแหน่งและเส้นทางการเติบโตในสายอาชีพ

       เส้นทางการเติบโตค่อนข้างหลากหลาย ขึ้นอยู่กับสายที่เลือกทั้งภาครัฐและเอกชน โดยอาจเริ่มจากตำแหน่ง Junior ขึ้นไป สูงสุดที่ระดับบริหาร
  • การขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงในองค์การ
  • การเป็นผู้จัดการส่วนงานในธนาคารพาณิชย์
  • การเป็นผู้บริหารในบริษัทและธุรกิจเอกชน
  • การเป็นที่ปรึกษาด้านการวางแผนธุรกิจ ฯลฯ

การทำธุรกิจของนักเศรษฐศาสตร์

  • นักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากจะมีการทำธุรกิจต่อยอดจากธุรกิจในครอบครัว โดยใช้ทักษะการวิเคราะห์และการหาข้อมูล เพื่อช่วยให้ธุรกิจขยายตัวและแข่งขันได้ในยุคปัจจุบัน
  • นักเศรษฐศาตร์ส่วนหนึ่งจะเริ่มธุรกิจใหม่ ด้วยตนเอง และทุนที่ตนเองมี โดยจะสร้างกระบวนการในการผลิตและการให้บริการที่เป็นมาตรฐาน
  • นักเศรษฐศาสตร์จะมองหาจังหวะและโอกาสในการทำธุรกิจ ในแต่ละช่วงของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ

นักเศรษฐศาสตร์ในฐานะของนักลงทุน

       นักเศรษฐศาสตร์จะมีทักษะการวิเคราะห์ที่ดี จึงทำให้มองหาหนทางการลงทุน ทั้งในสินทรัพย์ทางการเงิน และการลงทุนในธุรกิจจริง โดยจะมีการวิเคราะห์ Cost-Benefit ตลอดเวลา จึงเป็นส่วนสำคัญที่นักเศรษฐศาสตร์จะมุ่งเน้นการลงทุน เพื่อสร้างฐานะและความมั่งให้กับตนเองและครอบครัว

รายได้ 

  • เริ่มต้นทำงานที่ 15000 - 20000 บาท
  • Senior 20,000 - 30,000 บาท
  • ระดับสูง 40,000+ บาท

การแข่งขันและความต้องการการตลาด 

       เป็นสายงานมีการแข่งขันค่อนข้างสูง เพราะเป็นสาขาที่มีผู้เรียนเยอะ ซึ่งจะวัดกันที่ soft skill ของแต่ละบุคคลด้วย แต่มีความหลากหลายในทางเลือกอาชีพมากและสามารถไปได้หลายภาคทั้งรัฐ เอกชน อุตสาหกรรม ฯลฯ มีความต้องการในตลาดค่อนข้างมาก

  • ทำให้เราเป็นคนมีหลักการคิด มีกระบวนการคิดที่เป็นระบบมากขึ้น สามารถวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ได้
  • เข้าใจเรื่องเศรษฐกิจของประเทศ ปรับตัวรับมือได้ทันกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และประเมินสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น วางแผนรับมือต่อไปในอนาคตเพื่อรับมือได้
  • สามารถต่อยอดได้หลากหลายทุกสายอาชีพ เพราะมีทักษะการวิเคราะห์ หางานได้ง่าย
  • เนื้อหาวิชาทฤษฎีที่เรียนค่อนข้างยากต่อการเข้าใจ
  • ใช้คณิตศาสตร์เยอะมาก คนที่ไม่ชอบอาจไม่เหมาะจะเรียนสายนี้
  • มีความละเอียดรอบคอบ
  • กระตือรือร้นในการอัพเดทตามข่าวสารให้ทันสถานการณ์ปัจจุบัน สังเกตการเปลี่ยนแปลง ชอบอ่าน ชอบเสพข้อมูล
  • ชอบตั้งคำถาม และคิดวิเคราะห์หาคำตอบในสิ่งที่เราอยากรู้ ใฝ่หาข้อมูลใหม่ ๆ ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณเพื่ออธิบายสิ่งที่สังเกตเห็น
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์  เศรษฐกรเป็นอาชีพที่ต้องคิดวิเคราะห์รายละเอียดข้อมูลอย่างละเอียด เพื่อนำมาคิดวิเคราะห์และสรุปผลลัพท์ในทางเศรษฐศาสตร์  
  • ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ นำมาใช้ประกอบการตัดสินใจจากความซับซ้อนของข้อมูลที่มีมากมาย รวมทั้งปัจจัยต่าง ๆ รอบด้านทางสังคม เช่น ความต้องการการตลาด เทรนด์ของผู้บริโภคเป็นต้น เพื่อนำมาประกอบการวิเคราะห์และนำเสนอผลลัพธ์แก่หน่วยงานที่ต้องการ
  • ทักษะการสื่อสาร เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้ในการนำเสนอหรือสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจถึงรายงานการวิเคราะห์ของเรา เพราะลูกค้าหรือผู้ที้เราสื่อสารด้วยนั้นอาจมีความรู้พื้นฐานด้านเศรษฐศาสตร์แตกต่างกัน ซึ่งการสื่อสารนี้ควรทำได้ดีทั้งด้านการพูดและการเขียน

เรียน เศรษฐศาสตร์

การศึกษา

  • ระดับมัธยมศึกษา  แม้ว่าคณะในมหาวิทยาลัยจะไม่ได้บังคับว่าต้องเรียนสายอะไร แต่การเลือกเรียนสายที่ใช้คณิตศาสตร์จะได้เปรียบกว่าเพราะเป็นศาสจร์ที่ใช้การคำนวณเยอะมา
  • ระดับปริญญาตรี เลือกเรียนคณะเศรษฐศาสตร์ (วุฒิเศรษฐศาสตร์บัณฑิต ต่างประเทศอาจเป็นวิทยาศาสตร์บัณฑิต) คณะบริหารธุกิจ เป็นหลัก
  • ระดับปริญญาโท จะไม่ได้บังคับว่าต้องจบคณะอะไรมา แต่เน้นการใช้คณิตศาสตร์เป็นหลัก

 

Hard Skills

  • คณิตศาสตร์ อาจไม่ต้องถึงขั้นเก่งมาก แต่ให้พอเข้าใจในหลักการ
  • โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การใช้ MS Excel ขั้นกลางถึงสูง เพื่อทำงานให้รวดเร็วขึ้น
  • การใช้ MS Excel ขั้นกลางถึงสูง เพื่อทำงานให้รวดเร็วขึ้น
  • การใช้โปรแกรมสถิติ Stata และ Eview ซึ่งเป็นโปรแกรมขั้นสูงในการวิเคราะห์
  • ภาษาอังกฤษ ต้องใช้ในการอ่านเอกสารวิชาการภาษาอังกฤษและข่าวเศรษฐกิจภาษาอังกฤษ เพื่อประมวลผล

Soft Skills

  • ทักษะการคิดวิเคราะห์ข้อมูล
  • ทักษะการสื่อสาร สำคัญ ทั้งกับการสื่อสารเพื่อรวบรวมข้อมูลให้ได้ตามต้องการ และการนำเสนอข้อมูล การเขียนและถ่ายทอดออกมาในรูปแบบภาพ infographic ซึ่งเป็นรูปแบบที่เปลี่ยนไปตามยุคปัจจุบัน
  • ความกล้าที่จะถามหากมีส่วนไหนที่ติดขัดหรือไม่เข้าใจ
  • มีการพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา

 

วิชาที่เรียน

  • เศรษฐศาสตร์มหภาค  เรียนเกี่ยวกับการเงินการคลังภาครัฐ ที่เป็นภาพรวมทั้งประเทศ โดยต้องมีการดูด้านสังคมและอื่นๆ เข้ามาประกอบด้วย
  • เศรษฐศาสตร์จุลภาค  เรียนเกี่ยวกับเรื่องของภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม องค์กรเอกชน ปัจจัย ค่าใช้จ่าย การวิเคราะห์จัดสรรทรัพยากรให้ได้ผลกำไรสูงสุด
  • คณิตศาสตร์  การวิเคราะห์ข้อมูลทางเศรษฐศาสตร์นั้นจะเกี่ยวข้องกับการหาค่าเฉลี่ยและสถิติโดยตรง แม้ปัจจุบันจะมีเครื่องมือหรือโปรแกรมที่ใส่สูตรในการคำนวณไว้แล้ว แต่เราก็ต้องเรียนรู้พื้นฐานและหลักการการใช้โปรแกรมต่าง ๆ เพื่อให้เข้าใจในตัวเครื่องมือที่ต้องใช้
  • การเงินการธนาคาร  วิชาหลักอีกวิชาที่แตกย่อยจากเศรษฐศาสตร์มหภาค เกี่ยวกับสถาบันการเงินต่าง ๆ
  • เศรษฐศาสตร์บริหารการเงินส่วนบุคคล  เกี่ยวกับการบริหารรายได้ ค่าใช้จ่าย การเงิน แบบส่วนบุคคล วางแผนอนาคต การเกษียณต่าง ๆ
  • เศรษฐศาสตร์ทรัพยากร  จัดสรรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผลกระทบต่อประชาชน สังคม ที่มีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมโดยตรง
  • เศรษฐศาสตร์สุขภาพ  วิเคราะห์จัดสรรทรัพยากรที่ใช้ในด้านการดูแลสุขภาพของประชากร อาจมีความรู้ทางการแพทย์มาเกี่ยวข้องด้วยคร่าว ๆ

เคล็ดลับการเรียน

       ตั้งใจเรียนไปพร้อมกับการทำกิจกรรม ซึ่งจะช่วยในด้านการพัฒนาทักษะ soft skill และการเข้าสังคม อยู่ร่วมกับผู้อื่น ที่ได้นำไปใช้ในการทำงานจริง ๆ และทำให้เราได้เรียนรู้ตัวเองได้มากขึ้น ช่วยในการทำงานในโลกจริงได้มาก ลองเลือกกิจกรรมที่ชอบในรั้วมหาวิทยาลัยซึ่งมีเยอะมาก ซึ่งทำให้เราได้ผ่อนคลายจากการเรียนด้วย ถ้าอยากรู้ว่าเราชอบอะไรต้องลองทำ

ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย

  • ปี 1 จะเรียนวิชาหลักๆ เศรษฐศาสตร์มหภาค จุลภาค คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ

  • ปี 2 จะเริ่มลงลึกวิชาเศรษฐศาสตร์มากขึ้น เริ่มมีวิชาเลือกตามความสนใจ

  • ปี 3 - ปี 4 มีการฝึกงาน ขึ้นอยู่กับแต่ละมหาวิทยาลัย รวมถึงทำโปรเจคตามความสนใจ

  • การเรียนต่อระดับปริญญาโท จะเน้นการใช้คณิตศาสตร์มาสร้างแบบจำลอง คิดวิเคราะห์หาวิธีพัฒนาแบบจำลองเดิมที่มี นำมาต่อยอดให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันและยุคสมัย

ค่าเทอมตลอดหลักสูตร

  • มหาวิทยาลัยรัฐบาล ประมาณ 20,000 - 30,000 บาท ต่อปี
  • มหาวิทยาลัยเอกชน ประมาณ 35,000 - 60,000 บาท ต่อปี

มหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก


Copyright © 2019 TruePlookpanya. All rights reserved.
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ห้ามมิให้ผู้ใดคัดลอก ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข หรือเผยแพร่ส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร