สัตวบาล
สัตวบาล
สัตวบาล
สัตวบาล

       สัตวบาล ถือเป็นอาชีพผู้ผลิตแหล่งโปรตีนจากสัตว์เพื่อส่งตรงถึงมือผู้บริโภคเนื้อสัตว์อย่างปลอดภัยและได้คุณภาพ โดยหน้าที่หลัก คือ จัดการด้านการเลี้ยงสัตว์อย่างถูกวิธีและได้มาตรฐาน เพื่อผลิตเนื้อสัตว์ให้ได้ปริมาณและคุณภาพที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมปศุสัตว์นั่นเอง 

สัตวบาล

สัตวบาล

สัตวบาล

 

ลักษณะการทำงาน 

       หน้าที่หลัก ๆ ของสัตวบาล คือการเลี้ยงสัตว์ เพื่อนำไปผลิตเป็นอาหารประเภทโปรตีนที่มีคุณภาพแก่ผู้บริโภค จึงเป็นงานที่ต้องใช้ศาสตร์และศิลป์ควบรวมกันไปด้วย โดยองค์ประกอบสำคัญของการเลี้ยงสัตว์ มีสามอย่าง คือ

  • ด้านสายพันธ์ สัตวบาลต้องเข้าใจการปรับปรุงพันธุ์ เข้าใจโครโมโซมของสัตว์ที่ทำให้เติบโตไวและแข็งแรง 
  • ด้านอาหาร สัตวบาลต้องเข้าใจการให้อาหารที่เหมาะและปริมาณที่เหมาะสมเพื่อให้เติบโตได้ทันตามความต้องการของเรา เพื่อส่งออกไปยังตลาด รู้จักการผลิตอาหารสัตว์ที่ครบห้าหมู่ เพื่อให้สัตว์ได้อาหารที่ปลอดภัยและสารอาหารที่ครบถ้วน เข้าใจในเรื่องแร่ธาตุและสารอาหารที่มีผลต่อสัตว์ในแต่ละช่วงวัยเป็นอย่างดี 
  • ด้านการจัดการ ต้องมีการคิดออกแบบสร้างโรงเรือน และจัดหาพื้นที่เพาะเลี้ยงที่เหมาะสมกับสัตว์แต่ละชนิด แต่ละสายพันธุ์ รวมถึงแต่ละช่วงวัย เพื่อให้สัตว์มีความสุขและเติบโตในสภาพแวดล้อมที่ดี 

ขั้นตอนการทำงาน 

       งานของสัตวบาลสามารถทำงานได้ในหลากหลายตำแหน่งของสายงานการผลิต แต่ในกรณีนี้จะเล่าถึงขั้นตอนการทำงานของสัตวบาลผู้ดูแลจัดการฟาร์ม ซึ่งอยู่เป็นกลางน้ำของกระบวนการผลิตทั้งหมด 

  • สัตวบาลเป็นผู้ที่เข้าใจสัตว์ได้ดีที่สุด จึงต้องเป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างโรงเรือน เพื่อให้สัตว์มีสุขอนามัยดีที่สุด โดยเริ่มต้นจากการก่อสร้างฟาร์ม หาที่ดินี่เหมาะสมสำหรับการสร้างฟาร์ม ดูดิน ดูน้ำใต้ดิน ไฟฟ้า การก่อสร้างโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ ต้องดูทิศทางลมในการออกแบบให้สัตว์ เช็คอากาศจัดการเรื่องพัดลม มีระบบทำความเย็น ผนวกกับระบบ Bio Security แบ่งเป็นสามโซน คือ พื้นที่คนเลี้ยง /พื้นที่การเลี้ยง สัตว์ ซึ่งต้องสะอาดปลอดเชื้อ/ และพื้นที่ขาย 
  • เตรียมการเลี้ยงสัตว์ ทำความเข้าใจเรื่องแม่พันธ์ เข้าใจสุขภาพเบื้องต้นของลูกสัตว์ชนิดต่าง ๆ  เตรียมอาหาร เตรียมความอบอุ่น ทำไฟกก(กรณีเลี้ยงไก่) ดูแลจัดอาหารให้เหมาะสมตามวัย ระหว่างการเลี้ยงต้องจัดการอุณหภูมิ จัดการความชื้น  จัดการโรงเรือนให้ถูกต้อง 
  • เมื่อสัตว์โตตามเกณฑ์แล้ว ก่อนนำไปสู่โรงเชือด ต้องจัดการไม่ให้อาหารอยู่ในระบบทางเดินอาหารเลย เพื่อให้สะอาดที่สุด ต้องไม้ให้หมูเครียดก่อนโดนเชือด เพราะเนื้อออกมาจะไม่มีคุณภาพ และนำไปขายถึงมือผู้บริโภค 
  • หากทำหน้าที่ขายส่วนของเนื้อสัตว์ด้วยตนเอง ก็ต้องใช้ความรู้เรื่อง meat sci. ในการดูแลจัดการเนื้อสัตว์ นำเข้าห้องเย็นควบคุมคุณภาพก่อนนำออกขายสู่ตลาด 

สถานที่ทำงาน 

  • ฟาร์มหรือไร่ของตนเอง
  • ตลาดสด

ผู้ที่ต้องทำงานด้วย 

  • พนักงานที่ทำงานฟาร์ม แม่บ้าน คนเลี้ยง สัตวแพทย์
  • พนักงานราชการที่ต้องมาตรวจจากกรมปศุสัตว์ เกษตร พานิชย์ กรมทรัพยากรน้ำ
  • ประสานกับเกษตรกร ผู้ประกอบการ

ทางเลือกอาชีพอื่น ๆ 

       หากมีองค์ความรู้ด้านสัตวบาลสามารถทำงานในสายงานด้านปศุสัตว์ได้หลากหลายตลอดกระบวนการผลิตแหล่งโปรตีนจากสัตว์  ทั้งต้นทางการผลิตจนถึงปลายทางการขายเพื่อส่งตรงถึงผู้บริโภค ตัวอย่างทางเลือกอาชีพ เช่น

  • นักวิชาการสัตวบาล ในหน่วยงานราชการ
  • นักวิทยาศาสตร์ประจำห้องปฏิบัติการ
  • นักพัฒนาชนบททางด้านการเกษตร
  • นักสัตวบาลประจำฟาร์ม
  • เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการขาย
  • ประกอบอาชีพอิสระ เช่น เจ้าของฟาร์ม/บริษัท
  • ตัวแทนจำหน่ายอาหารและอุปกรณ์เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น

 

เงินเดือน สัตวบาล

ตำแหน่งและเส้นทางการเติบโตในสายอาชีพ

  • งานราชการ สามารถเติบโตในเส้นทางด้านปศุสัตว์ โดยเริ่มต้นจากระดับปฏิบัติการระดับปฏิบัติการ แล้วเติบโตเป็นหัวหน้าสถานี/ปศุสตว์อำเภอ หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศการปศุสัตว์/หัวหนัาด่านกักสัตว์ แล้วจึงจะสามารถเข้ารับการคัดเลือกเพื่อเป็นปศุสัตว์ระดับจังหวัดได้
  • งานเอกชน ตัวอย่างเส้นทางการเติบโตในองค์กรเอกชน ดังนี้
    • สัตวบาลปฏิบัติการในฟาร์ม
    • ผู้จัดการฟาร์ม
    • ผู้จัดการฟาร์มระดับภาค (ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ)
    • รองกรรมการผู้จัดการ
    • รองกรรมการผู้จัดการบริหาร (ดูแลหลายระบบ)
    • CEO  

รายได้

  • หากทำงานในฟาร์ม รายได้อาจไม่แน่นอน
  • ทำงานกับบริษัทเอกชน ก็จะเบิกค่าใช้จ่ายเรื่องรถ ค่าโทรศัพท์ ค่าที่พัก เริ่มต้น 18,000- 20,000 อยู่ต่างจังหวัด จะเพิ่ม 3000 – 5000

การแข่งขันและความต้องการของตลาด 

       สัตวบาลยังคงได้เปรียบเพราะมีความรู้เฉพาะทางด้านการปศุสัตว์ได้ เพราะมีความรู้วิชาชีพเฉพาะ แล้วสามารถผันตัวไปได้หลายสายในสายการผลิต

  •  มีอาชีพที่รองรับแน่นอน แม้จะแข่งขันสูง แต่หากมีความมุ่งมั่นรับผิดชอบก็จะเติบโตไปได้ไกล
  • ได้เรียนรู้งานอย่างไม่จบสิ้น ทั้งเรื่องการผลิต การดูแล การขาย ยิ่งหากทำงานในบริษัทใหญ่ จะได้โอกาสพัฒนาตัวเอง  และสามารถมองเห็นโอกาสในการทำธุรกิจ หรือพัฒนาอาชีพในสายงานปศุสัตว์
  • เป็นงานที่ต้องทำกับสิ่งมีชีวิต อาจทำให้มีเวลาทำงานไม่แน่นอน
  • พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
  • มีความจำดี
  • ละเอียดรอบคอบ การใส่ใจต่อสัตว์แต่ละชนิด
  • ช่างสังเกต
  • ทักษะการจัดการ ทั้งการจัดการคนและเวลา
  • ทักษะการสื่อสาร 
  • ทักษะการทำงานเป็นทีม
  • ทักษะความเป็นผู้นำ ยิ่งเป็น
  • ทักษะคิดวิเคราะหเชื่อมโยง วิเคราะห์ปัญหาสัตว์ อาการป่วยต่าง ๆ

เรียน สัตวบาล

การศึกษา

  • ระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา สายสามัญควรเรียนได้สายวิทย์และต้องจบการศึกษาระดับมัธยมปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า หรือเข้าศึกษาต่อสายวิชาชีพระดับปวช.และปวส.ได้ในวุฒิการศึกษาที่เกี่ยวข้อง อาทิ สาขาวิชาสัตวศาสตร์ 
  • ในระดับปริญญาตรี เลือกศึกษาคณะที่ตรงสายงาน อาทิ คณะเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร วิทยาศาสตร์การเกษตร เทคโนโลยีการเกษตร โดยเลือกเรียนในสาขาสัตวศาสตร์ โดยเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้รับวุฒิวิทยาศาสตรบัณฑิต

 

ตัวอย่างสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนหลักสูตรสัตวศาสตร์ 

  • คณะเกษตรศาสตร์ ภาควิชาสัตวบาล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

  • คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

  • คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิชาสัตวศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

  • คณะเกษตรกำแพงแสน สาขาวิชาสัตวศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร

  • คณะทรัพยากรธรรมชาติ หาดใหญ่ สาขาสัตวศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

  • คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาสัตวศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

  • สาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม

Hard Skills 

  • เน้นตั้งใจเรียนวิชาในสายวิทย์คณิต เน้นเคมี ชีวะ เน้นวิทยาศาสตร์

Soft Skills 

  • ฝึกความเป็นผู้นำ รับผิดชอบ ทุ่มเทเอาใจใส่
  • รู้จักฝึกหาทางออก แก้ปัญหา
  • ฝึกความคิดสร้างสรรค์ในส่วนปลายทางการขายเพื่อให้สามารถขายสินค้าออกสู่ตลาดได้

กิจกรรม

  • ติดตามโครงการ Open house ของสาขาสัตวศาสตร์ตามสถาบันต่าง ๆ 

       "สัตวบาลไม่ใช่งานง่าย ต้องใช้ทั้งแรงกายแรงใจ เพราะเราคือผู้ผลิตอาหารอันเป็นพื้นฐานของชีวิตของมนุษย์ มันจึงเป็นสิ่งที่เราภาคภูมืใจ ที่เราได้เป็นผู้ผลิตอาหารที่ปลอดภัยวให้กับเพื่อนมนุษย์"

นักสัตวบาลผู้ให้สัมภาษณ์

 

วิชาที่เรียน 

  • เริ่มต้นเรียนวิชาพื้นฐานอย่าง ชีววิทยาและฟิสิกส์ก่อน เพื่อให้้ข่าใจเรื่องการเคลื่อนที่ของสัตว์ แล้วเรียนรู้เรื่อง Biochemist
  • Meat Sci  เพื่อให้เข้าใจเรื่องหลักการจัดการเนื้อสัตว์แต่ละประเภท
  • Feed analysis เป็นเรื่องอาหารสัตว์ เข้าห้องแล็บ วิเคราะห์อาหารสัตว์ทั้งแบบปกติ หรือไม่ปกติ หมูปกติกินปริมาณได้เท่านี้จริงไหม หมูที่ป่วยอยู่กินได้ไหม มีสารพิษมากเกินไปแล้วหรือเปล่า 
  • เรื่องโครโมโซมของสัตว์ ในการปรับปรุงพันธ์ 
  • STATS สถิติออกแบบการทดลอง ต้องมีการออกแบบการทดลอง เพื่อให้ทันโลกตามเทรนด์ เช่น ป้องกันโรคไข้หวัดนก 
  • นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีในการพัฒนาปศุสัตว์ 
  • Anatomy ของสัตว์ ต้องวิเคราะห์โรคเบื้องต้นได้ ผ่าวิเคราะห์ซากสัตว์ได้
  • แหล่งผลิตอาหารสัตว์ที่ใหญ่ที่ไหนบ้าง อย่างบราซืล
  • เรียนรู้กฎหมายแรงงาน กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค รู้จริยธรรม กฎระเบียบในการทำงานต่าง ๆ 
  • เข้าใจผู้บริโภค เรียนเศรษฐศาสตร์ เรียนการบริกหาร (มีเศรษฐศาสตร์การเกษตรเกิดขึ้น) สัตวบาลต้องรู้ เพื่อใช้ทรัพยากรให้ประโยชน์สูงสุดและกดต้นทุนลงให้ได้

เคล็ดลับการเรียน

  • เน้นการจัดการเวลาในการเรียนให้คุ้มค่าในทุกมิติ การเรียนทุกวิชาจำเป็นทั้งหมดในชีวิตการทำงาน รวมทั้งทักษะเมื่อครั้งทำกิจกรรมในมหาวิทยาลัย
  • ความเหนื่อยไม่เคยฆ่าคน เพราะเราจะได้รับประสบการณ์อย่างอื่นกลับมา เช่น ไปช่วยการทดลองของนรุ่นพี่หรืออาจารย์ ที่เลี้ยงสัตว์ เราเองก็จะได้ประสบการณ์ด้วย
  • ควรฝึกทำงานจริง พื้นที่จริง ลองประสบการณ์จริง ทั้งผ่าซากสัตว์ เรียนรู้เรื่องต่าง ๆ และจะได้ฝึกการทำงานเป็นทีม

ชีวิตนักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัย

       หากิจกรรมการประกวดในระหว่างการเรียน จะช่วยให้เราได้พัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ และพบกับผู้คนหลากหลาย จะช่วยให้ได้ connection มากขึ้น อาทิ ร่วมกิจกรรมเกษตรแฟร์ ของสาขาสัตวบาล ผู้ให้สัมภาษณ์เปิดร้านข้าวมันไก่ ไก่เบตง ตั้งเป็น KU เบตง ทำให้เราฝึกอาชีพได้ในตอนนั้นขายในงานเกษตรแฟร์ ได้กำไรเยอะมาก ทุกคนจึงมีประสบการณ์ทั้งผลิต เลี้ยง เชือด แปรรูป นอกจากนั้นยังได้ออกงานตามอีเว้นท์ต่าง ๆ จึงได้ connection เพิ่มขึ้น เพื่อนในรุ่นหลาย ๆ ท่าน มีหลายบริษัทมาจองตัวทำงานก่อนจบการศึกษา 

ทุนการศึกษา

       ทางมหาวิทยาลัย (ขึ้นอยู่กับแต่ละสถาบัน) จะมีทุนแลกเปลี่ยนให้ไปดูงานฟาร์มเกษตรกรในต่างประเทศ สามารถสมัครเพื่อขอรับทุนได้ 

  • เกษตรกร
  • นักวิทยาศาสตร์ปรับปรุงพันธ์ุ
  • นักวิทยาศาสตร์การอาหาร
  • ตัวแทนจำหน่ายสินค้าการเกษตร

Copyright © 2019 TruePlookpanya. All rights reserved.
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ห้ามมิให้ผู้ใดคัดลอก ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข หรือเผยแพร่ส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร