จิตแพทย์
จิตแพทย์
จิตแพทย์
จิตแพทย์

       จิตแพทย์ คือแพทย์สาขาหนึ่งที่ดูแลรักษาคนไข้ที่มีความผิดปกติด้านความคิดและจิตใจ ซึ่งมีสาเหตุมาจากความผิดปกติในการทำงานของสมอง (แตกต่างจากจิตวิทยา) โดยจิตแพทย์จะต้องมีความรู้ความเข้าใจด้านร่างกายและสมอง เมื่อทราบถึงความผิดปกติในการทำงานของสมอง จนส่งผลให้คนไข้มีความคิดและพฤติกรรมที่ผิดปกติไป

จิตแพทย์

จิตแพทย์

จิตแพทย์

 

ลักษณะงาน 

       ถือเป็นหมอสาขานึงเลยที่มีการออกตรวจคนไข้ที่มีอาการทางจิตซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมที่ผิดปกติ โดยผู้ป่วยสามารถไปหาจิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยาก็ได้ หากความผิดปกติเกิดขึ้นจากความเครียด ความวิตกกังวล มีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นทำให้ส่งผลต่อสภาวะจิตใจ อาจเป็นเรื่องของจิตวิทยาหรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า psychology ที่นักจิตวิทยาจะเข้ามาช่วยเยียวยารักษาได้ แต่ในสาขาการแพทย์ที่อาการและพฤติกรรมเหล่านั้น อาจเกิดจากการทำงานผิดปกติของร่างกายอย่างสมอง ก็จะเป็นหน้าที่ต้องจิตแพทย์ที่ต้องทำการรักษา 

       มนุษย์เราก็ทำอะไรไปตามที่รู้สึก ทำอะไรไปตามที่คิด ถ้าสมองส่วนที่ควบคุมอารมณ์ทำงานได้ผิดปกติ ก็ย่อมส่งผลถึงพฤติกรรม งานของจิตแพทย์ในปัจจุบันคือการพยายามหาคำตอบว่าคนไข้มีปัญหาใดที่ทำให้สมองทำงานผิดปกติ ซึ่งในการรักษาและปรับการทำงานของสมองในยุคปัจจุบันจะใช้ยาเป็นหลัก ที่จะไปเปลี่ยนสารเคมีในสมองให้วงจรต่าง ๆ กลับมาทำงานปกติขึ้น 
 

ขั้นตอนการทำงาน

  1. เน้นการคุยประวัติ พฤติกรรม มานานแค่ไหน มีอะไรเกิดขึ้น เติบโตมาในครอบครัวแบบไหน ไม่ต่างจากแพทย์ทั่วไป ที่ตรวจร่างกาย แต่ของเราเป็นด้านจิตใจ จึงต้องมีการสัมภาษณ์ ซักถามเป็นส่วนใหญ่  (ในบางมุมอาจจะต้องไปสัมภาษณ์ญาติ ในกรณีที่คนไข้ไม่รู้ตัวหรือมีสภาวะเป็นคนวิกลจริต)
  2. ทำการประเมินวินิจฉัยว่าโรคแบบนี้เป็นอยู่ในกรณีไหน เช่น เป็นซึมเศร้าหรือไม่ หรือเป็นแค่ปัญหาการปรับตัว หรือถึงขั้นวิกลจริตแล้วหรือยัง มีอาการทางจิต หรือประสานหลอนหรือไม่ คนไข้รู้ตัวไหมว่าสิ่งที่เกิดขึ้นผิดปกติหรือไม่ และเค้าให้ความร่วมมือกับการรักษาแค่ไหน เช่นคนไข้บางรายวิกลจริตเค้าก็ไม่เชื่อคนอื่น ปัจจัยเหล่านี้แพทย์ต้องนำมาคิดพิจารณาถึงแนวทางการรักษาต่อไปด้วย 
  3. หากบางคนอาการไม่หนักอาจให้ยา แต่หากบางรายอาการหนัก ไม่มีสติรู้สึกตัว อาจจะต้องทำการบังคับรักษาตัวที่โรงพยาบาลก่อน
  4. การรักษาส่วนใหญ่เป็นการให้ยา หรือปรับพฤติกรรมที่เรียกว่าจิตบำบัด ก็อาจจะตกลงกับคนไข้ว่าอยากปรับเปลี่ยนชีวิตยังไง หากเกิดจากวิธีคิด อาจจะชวนคุยเพื่อปรับเปลี่ยนอย่างไรเพื่อให้กลับมามีความสุขอีกครั้ง 
  5. โรคทางจิตเวชบางรายถ้าไม่ได้มีปัญหาแค่การปรับตัว แต่เป็นในระดับผิดปกติอย่างไบโพล่าร์ หรือโรคจิตเภท  (schizophrenia) อันนี้เป็นโรคในสมองซึ่งจะมีอาการของโรคนาน บางคนก็เป็นทั้งชีวิต เพราะฉะนั้นคนไข้จะเข้าพบแพทย์เรื่อย ๆ อาจจะเดือน หรือสามเดือน เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และต้องใช้มนุษยสัมพันธ์กับคนไข้ค่อนข้างมาก  ไม่ใช่แค่สั่งๆ ยา doctor patient relationship เช่นเราจะมีวิธีพูดวิธีคุยยังไงที่ทำให้คนไข้เชื่อถือและรับฟังคำแนะนำของหมอ 

สถานที่ทำงาน

  • โรงพยาบาล มีทั้งระดับโรงเรียนแพทย์ รพ.จังหวัด รพ.อำเภอ รวมทั้งโรงพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิต คล้ายๆ กับเฉพาะทางจิตเวชโดยตรงศรีธัญญา สมเด็จเจ้าพระยา จิตเวชเอกชนแห่งเดียวในประเทศไทย
  • คลินิกจิตแพทย์ส่วนตัว

ผู้ที่ต้องทำงานด้วย

  • นักจิตวิทยา

  • นักสังคมสงเคราะห์ 

  • พยาบาลทั่วไปและพยาบาลเฉพาะทาง

  • แพทย์สาขาอื่น ๆ อายุรกรรมประสาท อาจส่งผู้ป่วยสมองเสื่อมมา

  • นักกิจกรรมบำบัด  ซึ่งช่วยคิดออกแบบรูปแบบกิจกรรมต่างๆ เพื่อช่วยทำการรักษา 

ทางเลือกอาชีพ 

  • นักจิตวิทยา 
  • นักจิตบำบัด 

เงินเดือน จิตแพทย์

ตำแหน่งและเส้นทางการเติบโต

       ความก้าวหน้าจะคล้ายคลึงกับแพทย์สาขาอื่น ๆ หากทำงานในระบบราชการ คือเป็นแพทย์ในโรงพยาบาลกของรัฐ จะเติบโตก้าวหน้าตามขั้นของระบบ มีเงินประจำตำแหน่ง หรือบางท่านอาจเติบโตไปในสายงานด้านบริหาร เช่น เป็น ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หรือหากทำงานในด้านวิชาการที่เป็นอาจารย์หมอด้วย จะได้ตำแหน่งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์และศาสตราจารย์ตามลำดับ แต่สามารถเข้าทำงานเป็นจิตแพทย์ในภาคเอกชนได้ โดยเติบโตตามระบบขององค์กรนั้น ๆ หรืออาจเปิดคลินิกส่วนตัว โดยรายได้ขึ้นอยู่กับผลประกอบการ 

รายได้

       เป็นสาขาที่หากเปรียบเทียบกับแพทย์สาขาอื่น ๆ อย่างศัลยแพทย์ที่มีค่าหัตถการในการรักษาแล้วล่ะก็ จะถือว่ามีรายได้ที่น้อยกว่า เป็นแพทย์สาขาที่ไม่ได้ทำเงินเท่าสาขาอื่น ๆ หากทำงานในโรงพยาบาลรัฐ เริ่มต้นที่ 50,000 บาทขึ้นไป ส่วนโรงพยาบาลเอกชน เริ่มต้นที่ 120,000 - 300,000 บาท  โดยไม่รวมผลตอบแทนในที่เป็นค่ารักษาพยาบาล เงินสะสม เงินช่วยเหลือสวัสดิการในรูปต่าง ๆ 

การแข่งขันและความต้องการของตลาด

       จิตแพทย์เป็นหนึ่งในสาขาที่ยังขาดแคลนอยู่มากในยุคปัจจุบัน แต่หากต่อไปในอนาคต มี AI เข้ามาแทนที่ อาชีพจิตแพทย์ก็จะเป็นอาชีพที่ยังคงอยู่ต่อไปได้ เนื่องจากเป็นอาชีพที่ต้องใช้ความเข้าใจความเป็นมนุษย์ที่เข้าใจและรักษาเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเท่านั้น ไม่สามารถที่หุ่นยนต์จะเข้ามาแทนที่ได้ 

 

  • ได้เข้าใจสัจธรรมของความทุกข์และความสุขของมนุษย์ธรรมว่ามีความเป็นไปอย่างไร หรือเรียกได้ว่าเข้าใจสัจธรรมของชีวิตมนุษย์
  • ได้พัฒนาจิตใจของตัวเอง 
  • ได้ช่วยให้ผู้คนกลับมามีความสุขและเห็นคุณค่าในตัวเองอีกครั้ง 
  • ต้องเตรียมพร้อมที่จะร่วมทุกข์ ร่วมสุขไปกับคนไข้ ปรับใจตนเองให้พร้อมรับเรื่องเศร้าให้ได้ โดยไม่บั่นทอนสุขภาพใจตัวเองไปด้วย
  • มีความเข้าใจมนุษย์ มีความเห็นอกเห็นใจว่า คนเราธรรมดาทำเรื่องผิดพบลาได้ เข้าอกเข้าใจ ไม่ตัดสินคนอื่น
  • มีความยืดหยุ่นสูง ในการคุยและทำความเข้าใจเพื่อรักษาผู้ป่วย
  • มีทัศนคติที่ดี มุ่งมั่นได้ แต่อย่ายึดมั่นถือมั่น 
  • ละเอียดรอบคอบและช่างสังเกต
  • ทักษะการสื่อสาร โดยเน้นในการเป็นผู้ฟังที่ดีมากกว่า บางครั้งการพูดปลอบใจเก่ง อาจไม่ใช่ช่วยแก้ปัญหาให้คนไข้ได้ทุกราย 
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์ เป็นพื้นฐานที่แพทย์ทุกสาขาต้องมีในการวิเคราะห์สาเหตุของผู้ป่วย 
  • ทักษะภาษาอังกฤษ ป็นพื้นฐานที่แพทย์ทุกสาขาต้องมี เพราะส่วนใหญ่จะต้องใช้ภาษาอังกฤษในการทำงานเอกสาร อ่านหนังสือ หรือศึกษาค้นคว้าเคสเพิ่มเติม
  • ทักษะการแก้ปัญหา ช่วยให้รับมือกับเหตุการณ์ต่าง ๆ หรือปัญหาที่ไม่คาดคิดในการทำงานได้
  • เรียนแพทยศาสตร์ 6 ปี  ก่อน โดยในระหว่างการเรียนจะมีิวิชาด้านจิตเวชรวมอยู่ด้วย 
  • เรียนเฉพาะทางจิตเวช อีก 3 ปี จะเรียกว่า "จิตเวชทั่วไป" และหากต้องการต่อเฉพาะทางสาขาด้านอื่น ๆ อีก เช่น ด้านวัยรุ่นและเด็ก ตามปกติแล้วต้องเรียนเพิ่มอีก 2 ปี (แพทย์ทั่วไป 6 ปี + เฉพาะทางจิตเวช 3 ปี + วัยรุ่นและเด็ก 2 ปี) แต่เนื่องจากปัจจุบันจิตแพทย์ขาดแคลน ทางราชวิทยาลัยจึงให้สามารถเรียนลัดได้ โดยการเรียนเฉพาะทางด้านวัยรุ่นและเด็ก 4 ปีได้เลย คือ แพทย์ทั่วไป 6 ปี และเรียนเฉพาะทางวัยรุ่นและเด็ก 4 ปี) 

    เรียน จิตวิทยา

     

Hard Skills 

  • เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการสอบเข้าแพทย์ให้ได้ก่อน ในทุก ๆ วิชาที่จำเป็น ยังไม่ต้องรีบร้อนเรื่องแพทย์เฉพาะทาง เพราะ วิชาพื้นฐานสำหรับการสอบเรียนแพทย์ต่าง ๆ ถือว่าจำเป็นและสำคัญมาก 

Soft Skills 

  • หัดสังเกต และเป็นผู้ฟังที่ดี ทำความเข้าใจผู้อื่นเมื่อใครต่อใครมาเล่าความทุกข์ให้ฟัง เพื่อทำความใจอารมณ์ความรู้ของผู้อื่น

กิจกรรมต่าง ๆ 

วิชาที่เรียน 

       ในช่วง 6 ปี ของการเรียนแพทย์ทั่วไป จะมีวิชาด้านจิตเวชด้วย โดนในช่วง 3 ปีแรก นักเรียนแพทย์จะเรียนเรื่องจิตวิทยาทั่วไป ว่าคนเราจิตใจทำงานยังไง อะไรเรียกว่าปกติหรือผิดปกติ ต่อมาในช่วง 3 ปีหลัง จะได้เขอเคสคนไข้จริง และต้องเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจว่า เกิดจากความผิดปกติของสมองส่วนไหนและต้องรักษาอย่างไร บางสถาบันมีวอร์ดคนไข้จิตเวชก็จะส่งนักศึกษาแพทย์ไปดู บางที่ก็จะส่งไปดูงานที่กรมสุขภาพจิต สมเด็จเจ้าพระยา หรือละแวกใกล้เคียงในจังหวัดนั้น ๆ 

       เพราะฉะนั้นแพทย์ทั่วไปที่จบการศึกษา 6 ปีมาแล้ว ต้องดูแลโรคทางจิตเวชขั้นพื้นฐานได้ คนไข้กลุ้มใจ นอนไม่หลับ ซึมเศร้าหรืออาละวาด ก็ต้องรู้พื้นฐานว่า จะต้องรักษาเบื้องต้นอย่างไร ก่อนที่จะส่งมาพบจิตแพทย์เฉพาะทาง 

       หลังจากนั้นจึงเรียนต่อเฉพาะทางอีก 3 ปี โดยวิชาที่เรียนที่หลากหลาย เช่น การทำงานของสมองอย่างละเอียด ทฤษฎีทางจิตพื้นฐาน จิตวิทยาพัฒนาการ จิตบำบัดและการให้คำปรึกษา จิตเวชชุมชน 

 

เคล็ดลับการเรียน

      นอกจากพื้นฐานความรู้ด้านสมองแล้ว ต้องพยายามเข้าใจทำความเข้าใจจิตใจมนุษย์ เรื่องอารมณ์ความรู้สึก เพื่อให้เขาสามารถกลับมามีความสุขได้อีกครั้ง

 

  • นักจิตวิทยา
  • นักกิจกรรมบำบัด 

 

 

 

 

       ขอขอบพระคุณ ผศ.นพ. ภุชงค์ เหล่ารุจิสวัสดิ์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ให้สัมภาษณ์และเอื้อเฟื้อข้อมูล


Copyright © 2019 TruePlookpanya. All rights reserved.
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ห้ามมิให้ผู้ใดคัดลอก ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข หรือเผยแพร่ส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร