นักเขียนออนไลน์
นักเขียนออนไลน์
นักเขียนออนไลน์
นักเขียนออนไลน์
รู้จักอาชีพ > นักสร้างสรรค์ (Art) > นักเขียนออนไลน์

       นักเขียนออนไลน์ จะเรียกว่าเป็นอาชีพใหม่ ก็ไม่ใช่ จะเก่าก็ไม่เชิง เนื่องจากอาชีพนักเขียนมีมาแต่ไหนแต่ไร แต่ด้วยยุคสมัยที่โลกดิจิทัลมีอิทธิพลมากขึ้น ผู้คนจึงนิยมเสพสื่อเนื้อหา ข้อมูล ข่าวสารเสพผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น อาทิ Website, Blog, Facebook, Instagram, Youtube, Pantip, Line นักเขียนออนไลน์จึงกลายเป็นทางเลือกอาชีพใหม่ที่น่าสนใจและกำลังเป็นที่ต้องการในปัจจุบัน จึงทำให้เกิดเป็นอาชีพ โดยหน้าที่หลักๆ คือสร้างสรรค์เนื้อหา บทความ หรือที่เรียกกันในวงการว่า คอนเทนต์ (Content) ผ่านสื่อต่างๆ อย่างรูปภาพ วิดีโอ ไม่ว่าจะเป็นแนวให้ความรู้ทั่วไป ความรู้เฉพาะทาง บันเทิง กีฬา ข่าวสาร กระแสปัจจุบัน รีวิวสินค้า เพื่อถ่ายทอด สื่อสารให้ผู้อ่าน (กลุ่มเป้าหมาย) ได้รับประโยชน์ หรือตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

นักเขียนออนไลน์  (Digital Content Writer)

นักเขียนออนไลน์  (Digital Content Writer)

นักเขียนออนไลน์  (Digital Content Writer)

ลักษณะงาน

       นักเขียนออนไลน์ จะทำหน้าที่สร้างสรรค์งานเขียนออกมาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น บทความ รูปภาพ วิดีโอ ซึ่งความยากในการสร้างงานลักษณะนี้คือ ย่อยข้อมูลให้เข้าใจง่ายที่สุด ผู้ที่เป็นนักเขียนออนไลน์จะต้องรู้จักหาแหล่งข้อมูลเชิงลึก ไม่ว่าจะเป็นจากเว็บไซต์ของไทยหรือต่างประเทศ การสัมภาษณ์ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ ค้นคว้าจากหนังสือเอกสาร นำมาผลิตงานเขียนให้ดึงดูดใจคนอ่าน สร้างความแตกต่าง มีเอกลักษณ์ มีสไตล์ ทั้งสำนวนภาษา วิธีการเล่าเรื่อง และรูปแบบการนำเสนอ ประเภท งานเขียนออนไลน์ แบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ดังนี้

  • Inform คือ ให้ข้อมูล แจ้งให้ทราบ ทางการ เช่น ข่าวสารต่าง ๆ 
  • Instruct ให้ความรู้ทั่วไป เรื่องเฉพาะทาง เช่น ไอที กีฬา ความงาม เป็นต้น 
  • Inspire สร้างแรงบันดาลใจ 
  • Emotion ให้ความบันเทิง เอนเตอร์เทน
  • Educate ให้ความรู้เชื่อมโยงไปถึงสินค้า

 

นักเขียนออนไลน์จำแนกออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้อีก เช่น 

  • Brand (แบรนด์) คือผู้ที่ดำเนินธุรกิจต่างๆ และต้องการคอนเทนต์สร้างการดึงดูด สร้างยอดขาย มีพนักงานประจำผลิตงานเขียนโดยเฉพาะ วางแพลนไทม์ไลน์งานแต่ละเดือน ทุกเดือน เช่น แบ่งเป็น 5 Category
  1. Relations Content เป็นคอนเทนต์ที่รีเรทกับชีวิตซึ่งเชื่อมโยงกับตัวสินค้า หรือแบรนด์นั้นๆ 
  2. Brand & Corporate ซับพอร์ทสิ่งที่บริษัทมี เช่น สินค้า โปรเจ็กต์ สะท้อนตัวตนความเป็นแบรนด์
  3. Activties & Promotion โปรโมทโปรโมชั่นให้น่าสนใจ และสร้างกิจกรรมร่วมสนุกกับฐานลูกค้า เพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิม และสร้างฐานลูกค้าใหม่ให้เข้ามาสนใจแบรนด์
  4. Testimonial สัมภาษณ์บุคคลที่เป็นที่รู้จักในวงการของแบรนด์ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และเป็นที่ยอมรับ
  5. 5.Article บทความในเว็บไซต์ ซึ่งสามารถแบ่งได้หลาย Topic เช่น ไลฟ์สไตล์ เรื่องราวน่ารู้ สัมภาษณ์ รีวิว 
*ทั้ง 5 Category นี้ สามารถปรับเปลี่ยนได้ ขึ้นอยู่กับแบรนด์แต่ล่ะแบรนด์
 
  • Agency (เอเจนซี) คือผู้ที่ได้รับจ้างจากแบรนด์ให้ทำคอนเทนต์ให้แบรนด์ลูกค้าเจ้าต่างๆ ต้องรับบรีฟจากลูกค้า ซึ่งเป็นได้ทั้งในนามบุคคล หรือนามบริษัทลักษณะงานของเอเจนซีจะรับงานเป็นชิ้นๆ  ใช้งบประมาณสูง ยิ่งรูปแบบวิดีโอ คือ รูปแบบที่ใช้เงินสูงที่สุด ใช้เวลาทั้งการถ่ายทำ ตัดต่อนาน แต่ได้รับความสนใจในโลกโซเชียลมีเดียสูง มีทีมงานเพื่อซับพอร์ทงานด้านนนี้โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็น นักเขียน กราฟิก ช่างภาพ ช่างตัดต่อ ที่มีความเชี่ยวชาญ 
  • Freelance (ฟรีแลนซ์) จะรับงานเป็นจ๊อบๆ ตามแต่ผู้ว่าจ้าง เช่น เขียนบทความลงเว็บไซต์เกี่ยวกับการศึกษา หรือทำบล็อกรีวิวสินค้า รีวิวสถานที่ท่องเที่ยว ร้านอาหาร เป็นงานเล็กๆ ค่าใช้จ่ายในการจ้างไม่สูงมากนัก อาจจะเป็นคนเดียวทำหรือมีทีมเล็กๆ 2-5 คน ต้องมีความรู้รอบด้านทั้งงานเขียนออนไลน์ ถ่ายรูป กราฟิก ตัดต่อ ซึ่งสามารถรับงานได้โดยที่ยังไม่จบการศึกษา เพียงแต่มีความรู้ มีทักษะ มีผลงานด้านนี้มาก่อน ก็จะได้รับความสนใจจ้างจากบริษัทได้เช่นกัน

 

ขั้นตอนการทำงาน 

  • ประชุมทีม กำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนว่าจะทำงานชิ้นนี้เพื่อใคร แล้วเขาจะได้อะไร เช่น ทำเพื่อนักเรียนชั้นมัธยมปลาย เมื่อได้อ่านแล้วจะทำให้รู้เส้นทางสู่อาชีพที่ตัวเองอยากเป็น คิด Topic ให้ครอบคลุม ว่าสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายอยากรู้ หรือสิ่งที่เขาควรรู้คืออะไร 
  • นำหัวข้อเรื่อง (Topic) มาลงใน Calendar เพื่อกำหนดวันเวลาในการนำขึ้นบนสื่อออนไลน์ และกำหนดว่าจะโพสต์ที่ช่องทางไหนบ้าง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยความรู้เรื่องสถิติ ช่วงเวลาของสื่อออนไลน์ในโซเชียลมีเดียต่าง ๆ )
  • ค้นคว้าข้อมูล วางโครงเรื่องที่จะเขียน กำหนดกรอบการเขียนให้ครอบคลุมทุกประเด็นที่ต้องการจะสื่อสาร และไม่วกวนไปมา หรือผิดแผกไปจากหัวข้อที่ตั้งไว้ 
  • เลือกสำนวนที่จะใช้ในงานเขียน ซึ่งงานเขียนออนไลน์ส่วนใหญ่ หากไม่ใช่งานวิชาการ สามารถเลือกสำนวนที่ถนัดได้ตามสะดวก หรือหากผู้ว่าจ้างอาจมีสำนวนในแบบที่ชอบ เพื่อให้สอดคล้องกับภาพลักษณ์ของธุรกิจมากที่สุด
  • ลงมือเขียนตามแผนงานที่วางไว้ จากนั้นส่งข้อความให้กับกราฟิก หรือช่างตัดต่อภาพ เพื่อนำมาทำเป็นภาพประกอบบทความ หรือวิดีโอ หรือภาพอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับรูปแบบการนำเสนอ พร้อมกับตรวจพิสูจน์อักษรทั้งข้อความ รูปภาพ ให้ถูกต้อง 
  • ส่งตรวจ ในขั้นตอนนี้เมื่อส่งตรวจแล้ว ผู้ว่าจ้างอาจจะมีปรับแก้เพิ่มเติมได้ ขึ้นอยู่กับการตกลงก่อนว่าจ้างว่าสามารถปรับแก้ในลักษณะไหน จำนวนกี่ครั้ง 
  • โพสบทความเหล่านั้น ให้ออนไลน์ตามวัน เวลา ที่กำหนด
  • หลังจากนั้นจะต้องมีการเก็บสถิติในช่องทางออนไลน์ที่โพสต์ลงไป เพื่อนำมาเป็นตัววัดคุณภาพของนักเขียนออนไลน์ และผลลัพธ์ของแบรนด์ที่จะได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
 

สถานที่ทำงาน 

       โดยทั่วไปแล้วนักเขียนออนไลน์สามารถทำงานที่ใดก็ได้ เพียงแค่มีอุปกรณ์ในการทำงานให้พร้อม เช่น คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค สมุดจดบันทึก เครื่องอัดเสียง ไม่น่าแปลกที่มักจะเห็นนักเขียนออนไลน์ทำงานอยู่ตาม co-working space หรือคาเฟ่ต่าง ๆ แต่หากจะต้องจำแนกสถานที่ทำงานแล้วอาจมีดังนี้ 

  • ออฟฟิศหรือสำนักงานของผู้ว่าจ้าง(ในกรณีเป็นนักเขียนประจำ) หรือออฟฟิศของนักเขียนประจำนั้นๆ 
  • ร้านคาเฟ่ที่มีจุดเสียบปลั๊กไฟ และ อินเทอร์เน็ต สไตล์คนชอบดื่มกาแฟไปด้วย ทำงานไปด้วยแล้วทำให้สมองคิดงานครีเอทได้ดี ยิ่งคาเฟ่ที่เปิด 24 ชม. ก็จะได้รับความนิยมที่นักเขียนออนไลน์จะไปนั่งผ่อนคลายสมองคิดงานดี ๆ ออกมา
  • Co-Working Space เพื่อคนอยากทำงาน แต่ไม่อยากนั่งทำที่บ้าน ก็สามารถมานั่งทำงานที่นี่ได้ มีทั้งฟรีและเสียค่าใช้จ่าย ซึ่งในแต่ละที่ก็จะมีการจัด ตกแต่งสถานที่ตามสไตล์ของคนที่จะไปนั่งทำงาน ยิ่งเป็นการช่วยซับพอร์ทให้ความคิดสร้างสรรค์ไหลลื่นได้ดีทีเดียว
  • บ้านพักอาศัย หลายๆ คนไม่อยากมานั่งทำงานที่บ้าน อาจจะต้องจัดมุมที่นั่งทำงานให้ผ่อนคลาย เป็นมุมที่มีดีไซน์ หรือจะเปลี่ยนบรรยากาศไปนั่งในสวนหลังบ้าน เสพบรรยากาศผ่อนคลาย เพื่อให้สมองแล่นคิดงานสร้างสรรค์ได้ 

ผู้ที่ต้องทำงานด้วย 

  • กราฟิกดีไซเนอร์ โดยพวกเขาทำหน้าที่ออกแบบรูปแบบแบนเนอร์ให้สอดคล้องกับบทความที่นักเขียนออนไลน์ได้สร้างสรรค์เอาไว้
  • ช่างภาพ ในบางงานเขียนของออนไลน์ จำเป็นที่จะต้องใช้ภาพประกอบ ซึ่งช่องทางในการใช้รูปคือ เว็บซื้อรูป เว็บรูปฟรี ถ่ายรูปเอง ขึ้นอยู่กับรูปแบบงานเขียนและวิธีการนำเสนอว่าต้องการแบบใด 
  • ช่างตัดต่อ หากเป็นงานเขียนลักษณะที่ต้องการนำเสนอในรูปแบบ วิดีโอ จำเป็นที่จะต้องใช้ช่างตัดต่อที่มีความรู้ ความสามารถ และคอมพิวเตอร์ที่ซับพอร์ทโปรแกรม

 

ทางเลือกอาชีพ 

       นักเขียนออนไลน์ คือ คนที่จบการศึกษาด้าน อักษรศาสตร์ ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ แต่ทั้งนี้ก็ยังสามารถทำงานได้อีกหลายแขนง ทั้งสายตรงและสายรอง เช่น
  • นักข่าว
  • สำนักพิมพ์
  • นักแปล
  • งานท่องเที่ยว ไกด์ ล่าม
  • กองบรรณาธิการ
  • สถานทูต หรือองค์กรระหว่างประเทศ
  • งานด้านสื่อมวลชนหรืองานด้านวงการบันเทิง
  • นักประวัติศาสตร์/นักโบราณคดี
เงินเดือน นักเขียนออนไลน์
 
 
 
 

 

ตำแหน่งและเส้นทางการเติบโต

       นักเขียนออนไลน์ ลำดับการเลื่อนขั้นจะเหมือนอาชีพในองค์กรอื่น ๆ แต่สำหรับฟรีแลนซ์ หรือเอเจนซี การเติบโต จะวัดจากผลงาน ประสบการณ์ ยิ่งเป็นที่รู้จักหรือเป็นที่ยอมรับมากเท่าไหร่ ค่าตอบแทนก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย 

เงินเดือน

       อาชีพนักเขียนออนไลน์เป็นอาชีพที่ได้รับความนิยม และมีการแข่งขันกันค่อนข้างสูง โดยผู้ที่เป็นนักเขียนออนไลน์ประจำ มีค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนตั้งแต่ 15,000 - 30,000 บาทขึ้นไป ขึ้นอยู่กับความสามารถ ประสบการณ์ ขนาดขององค์กรต้นสังกัด หากเป็นทำงานอิสระเป็นฟรีแลนซ์ ค่าตอบแทนในการเขียนบทความ เริ่มต้นที่หลักพัน ไปจนถึงหลักหมื่นต้น ๆ ขึ้นอยู่กับการตกลง 
ส่วนเอเจนซีจะเป็นงานที่สเกลขนาดใหญ่ขึ้น รูปแบบนำเสนอมีความหลากหลาย ทั้งรูปภาพ วิดีโอ ภาพยนตร์โฆษณา ค่าตอบแทนจึงเริ่มต้นที่หลักหมื่นปลายไปจนถึงหลักล้าน ขึ้นอยู่กับขนาดของงานแต่ล่ะงาน และสัญญาว่าจ้าง

การแข่งขันและความต้องการของตลาด

       อาชีพนักเขียนออนไลน์ เป็นอาชีพที่มีการแข่งขันสูง แม้จะเป็นคนที่ทำอาชีพอื่นที่มีทักษะการเขียน ชอบการเล่าเรื่อง ก็สามารถทำได้ ฉะนั้นการที่จะทำอาชีพนักเขียนออนไลน์ให้แตกต่างจากอาชีพอื่น จะต้องเพิ่มทักษะที่ช่วยเสริมสร้างมูลค่าให้งานเขียน และสร้างสรรค์งานเชิงลึก เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เช่น เข้าใจสื่อโซเชียลมีเดีย ทั้งการใช้เครื่องมือ ความเหมาะสมของเนื้อหาต่อช่องทางนั้นๆ รวมทั้ง ติดตามสถิติและนำมาปรับงานเขียนการเก็บสถิติงานเขียนออนไลน์ เป็นเครื่องมือชั้นดีที่ช่วยให้เดินถูกทาง และวัดผลคุณภาพตาม KPI ที่ตั้งไว้ สิ่งนี้จะทำให้เห็นสถิติหลังบ้าน ที่จะนำมาวิเคราะห์ แปรผล ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานได้อย่างดี

  • ทำงานแบบอิสระได้ กรอบเวลาทำงานไม่ตายตัว เพียงแต่ต้องทำให้เสร็จตามกำหนดเวลาที่ตั้งไว้
  • ค่าตอบแทนสูง หากมีประสบการณ์ ผลงานเป็นที่ยอมรับ อาจสามารถสร้างรายได้หลักแสนต่อเดือน
  • มีความรู้รอบตัวเยอะ เพราะได้ค้นคว้าหาข้อมูลจากหลายช่องทาง เป็นผลดีต่อยอดในการพัฒนาทักษะการทำงาน
  • เป็นอาชีพที่ต้องอัปเดตเทรนด์และสถานการณ์ตลอดเวลา ปรับตัวเร็ว ฉะนั้นอาจจะไม่ค่อยมีเวลาว่าง เพราะต้องใช้เวลาไปกับการศึกษา หาข้อมูลให้รอบด้านอยู่เสมอ
  • เป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงเช่นกัน เพราะการแข่งขันที่สูงขึ้น คนหันมาเป็นนักเขียนออนไลน์กันมากขึ้น กระทั่งจากคนที่เป็นนักเขียนแบบออฟไลน์ ก็ปรับตัวเข้ามาเป็น นักเขียนออนไลน์ หรือคนทำงานอาชีพอื่นที่ชอบในงานเขียน งานภาพ ก็จะเข้ามาทำตำแหน่งงานด้านนี้ได้ 
  • ใจรักงานเขียนรักที่จะเขียน และรักที่จะอ่านและค้นคว้าหาความรู้อยู่เสมอ การเป็นนักเขียน ต้องทำให้คนอ่านรู้สึกสะดุดตา อยากอ่าน อยากติดตาม เขียนได้ทั้งแบบสั้นกระชับได้ใจความ และแบบยาวเพื่อนำเสนอข้อมูลรอบด้าน
  • กระตือรือร้น ขยันหาข้อมูลในการเขียน อัปเดตตลอด ต้องฝึกเขียนบ่อยๆ อ่านให้มาก รอบรู้ คอยอัปเดต ติดตามข้อมูลทั้งของไทยและต่างประเทศ ไม่จำกัดการอ่านของตัวเอง อ่านทุกอย่าง ไม่ว่าจะข่าว สารคดี บทความ การ์ตูน ฯลฯ เพราะสิ่งนี้จะช่วยให้นักเขียนมีความรู้ในหลายแง่มุม หลายมิติ ได้แรงบันดาลใจ เกิดเป็นความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ได้
  • มีความเข้าใจในโลกออนไลน์ นักเขียนออนไลน์ต้องรู้จักการโปรโมทผลงานตัวเองในช่องทางออนไลน์ มีนักเขียนออนไลน์หลาย ๆ คนที่ใช้โซเชียลมีเดียในการลงงานเขียนของตัวเอง หรือแม้กระทั่งรับงานเขียนอิสระ เช่น blog ท่องเที่ยว รีวิวอาหาร สินค้า ที่พัก หากเข้าตาสปอนเซอร์ต่างๆ ที่ต้องการให้ลงโฆษณาหรือเขียนบทความรีวิวสินค้า บริการต่างๆ ให้ ก็เป็นการเพิ่มโอกาสในอาชีพนักเขียนออนไลน์ได้กว้างขึ้น 
  • ก้าวตามเทคโนโลยีให้ทัน นักเขียนออนไลน์ต้องรู้ว่าเทรนด์ในแต่ละปี โซเชียลมีเดียตัวไหนที่ได้รับความนิยม ซึ่งนักเขียนออนไลน์จะต้องสร้างสรรค์งานเขียนให้เข้ากับแพลตฟอร์มที่จะเอาไปลงด้วย เช่น Facebook  ที่มีได้ทั้งข้อความสั้น ยาว หรืออย่าง IG ที่เน้นไปที่รูปภาพส่วนใหญ่ นักเขียนออนไลน์ก็จะต้องสามารถคิดเล่าเรื่องเป็นภาพ และข้อความให้เล่าเรื่องได้
  • มีความคิดสร้างสรรค์ กล้าทำในสิ่งที่แตกต่าง ช่างสังเกต มองในมุมที่น้อยคนจะรู้
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์ข้อมูล เมื่อได้ข้อมูลมาจากหลายแหล่ง สิ่งที่นักเขียนออนไลน์จะต้องทำต่อ คือนำมาวิเคราะห์ ตีความให้ได้
  • ทักษะด้านเทคนิคเฉพาะทางออนไลน์ ที่จะช่วยให้งานเขียนประสบความสำเร็จ เช่น การทำ SEO (Search Engine Optimization) โดยทำงานควบคู่กับทีมเว็บไซต์ คือการที่ทำให้โครงสร้างเว็บไซต์เข้าถึงเร็ว มีข้อมูลที่ถูกต้อง ซึ่งหากทำ SEO แล้ว จะช่วยให้งานเขียน บทความนั้นอยู่อันดับต้น ๆ ของการค้นหา ด้วยคีย์เวิร์ด (Keyword) หรือคำค้นหาอื่น ๆ ที่ตั้งไว้จากการดูสถิติการค้นหาจาก Google Adwords* การได้รับเข้าเยี่ยมชมบ่อยครั้ง จะทำให้อันดับการแสดงผลสูงขึ้น อยู่ในหน้าการค้นหาไม่เกินหน้าที่ 2 สิ่งนี้คือทักษะที่นักเขียนออนไลน์ควรจะมี เพื่อรู้ว่าควรใช้คำที่เป็นหัวข้ออย่างไรให้คนค้นหาเจอ หรือในตัวบทความต้องมีคำแบบไหนให้สอดคล้องกับสิ่งที่คนค้นหาด้วย 
  • ทักษะด้านแบรนด์และการตลาดจะทำให้รู้ว่างานเขียนที่จะผลิตนั้นตอบโจทย์ และตรงกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ เทรนด์การตลาดแบบไหน ถึงจะได้ผลลัพธ์ที่สุด ถ้ามีความเข้าใจเรื่องเหล่านี้ จะช่วยให้มีโอกาสในการรับงาน และการผลิตเนื้อหาที่โดนใจทั้งลูกค้ารวมทั้งกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งนักเขียนออนไลน์อาจจะวางรูปแบบการปล่อยคอนเทนต์ตามทฤษฎี Viral ของ Google 
  • ทักษะการออกแบบงานหรือการตัดต่อวิดีโอ มีหลายทักษะในคนๆ เดียว จะเพิ่มค่าตอบแทนให้ได้อย่างมากเลยทีเดียว เช่น ภาพกราฟิกดีไซน์  ภาพเคลื่อนไหวเพราะจะทำให้การทำงานง่ายขึ้น คุยงาน บรีฟงานกันรู้เรื่อง สอดคล้องกันทั้งการเขียน การออกแบบภาพ  
  • ทักษะการเรียนรู้ โดยเฉพาะทักษะนี้เลย Content Marketing, Digital Marketing ต้องตามให้ทัน จะได้ทั้งไอเดียใหม่ๆ มาสร้างสรรค์งานของเรา หรือไว้สำหรับขายงานให้ลูกค้าก็ได้ ซึ่งจะมีทั้งแบบอบรมฟรี และแบบเสียค่าใช้จ่าย ซึ่งราคาต่อคอร์สก็ไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะเมื่อมาอบรมแล้ว สามารถไปต่อยอดสร้างมูลค่าให้งานเขียนออนไลน์ต่อไปอีกได้
  • ทักษะด้านวางกลยุทธ์หรือแผนงาน ทักษะนี้ต้องเป็นคนที่มีประสบการณ์ และวางแผนเก่ง เพราะจะทำให้รับงานที่ใหญ่ขึ้นได้ แต่จะต้องเข้าใจทักษะ กระบวนการทำงานทั้งหมดแล้ว การวางแผนที่ดีก็เพื่อให้งานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย กำหนดเสร็จตามเวลา
  • ทักษะด้านภาษา นักเขียนออนไลน์จะต้องมีความรู้ด้านภาษาที่ไม่ใช่แค่ภาษาไทย เพราะจะทำให้การหาข้อมูลนั้นกว้างขึ้น เอาข้อมูลแต่ละภาษามาแปลได้ 
นักเขียนออนไลน์

การศึกษา

  1. มัธยม สายวิทย์หรือสายศิลป์ หรือปวช. หรือ ปวส. สาขาที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าศึกษาโดยการสอบคัดเลือก ตามเงื่อนไขของแต่ละสถาบัน
  2. ปริญญาตรี ศึกษาคณะอักษรศาสตร์ มนุษยศาสตร์ หรือคณะศิลปศาสตร์ ใช้เวลาเรียน 4 ปี วุฒิการศึกษา อักษรศาสตรบัณฑิต (อ.บ.) หรือศิลปศาสตรบัณฑิต  (ศศ.บ.)

 

  • รายวิชาที่เลือกเรียนได้ 
มีรายวิชาประมาณ 2 ใน 5 ของรายวิชาที่ต้องเรียน เป็นวิชาพื้นฐานอักษรศาสตร์ที่สอนให้บัณฑิตมีความรู้ด้าน มนุษยศาสตร์ เช่น รู้รอบด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ วรรณคดี ปรัชญา ศาสนา รายวิชาอักษรศาสตร์ที่เหลือประมาณ 3 ใน 5 ส่วนนั้น เลือกรายวิชาอักษรศาสตร์เป็นวิชาเอกหรือวิชาโทได้ ซึ่งอาจเป็นรายวิชาด้านภาษา หรือรายวิชาเนื้อหา

รายวิชาภาษา ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาอิตาเลียน ภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส ภาษารัสเซีย ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี ภาษาบาลีสันสกฤต ภาษามาเลย์

รายวิชาเนื้อหา ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สารนิเทศศึกษา ศิลปการละคร วรรณคดีเปรียบเทียบ ภาษาศาสตร์ ปรัชญา
 
  • มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน
    • คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    • คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
    • คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    • คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
    • คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
    • คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
    • คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
    • คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
    • คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
    • คณะศิลปศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
    • คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
    • คณะศิลปศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
    • คณะศิลปศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
    • สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
    • สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
    • คณะมนุษยศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
    • คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
    • คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
    • คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    • คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
    • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
    • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
    • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
    • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
    • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
    • คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
    • คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
    • คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
    • คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
    • คณะศิลปศาตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
    • คณะมนุษยศาสตร์และประยุกต์ศิลป์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

       ผู้ที่จะประกอบอาชีพนักเขียนออนไลน์ จะต้องศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ ควบคู่กับการพัฒนาทักษะต่างๆ ให้พร้อมอยู่ตลอด หมั่นฝึกฝนเขียนให้ได้หลายๆ แนว อ่านให้ได้หลายภาษา เพราะจะทำให้ได้เปรียบคู่แข่ง

Hard Skill

  • หมั่นศึกษาเรื่องการใช้คำ ข้อความ เขียนให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์  โดยจะต้องอ่านให้มาก ดูงานคนอื่นๆ หรือหาไอเดียอยู่เสมอ
  • เมื่อคิดงานอะไรออก ให้จดไว้ทันที ไม่ว่าจะเป็นข้อความ ออกแบบภาพประกอบ เพราะอาจกลายเป็นท่อนฮุกหรือเป็นรูปภาพที่น่าจดจำของบทความนั้นๆ ได้เลย
  • อ่านหนังสือหรือบทความต่าง ๆ ให้มาก อาจเริ่มจากเรื่องราวที่ตนเองสนใจก่อนก็ได้ เพราะนอกจากจะเพิ่มพูนความรู้แล้ว การอ่านจะช่วยให้เราเข้าใจวิธีการเล่าเรื่องของนักเขียนที่หลากหลาย และคุ้นเคยกับสำนวนการเขียนแต่ละแบบด้วย 
  • พัฒนาทักษะด้านการตลาด เพราะเป็นสิ่งที่ต้องควบคู่กับการทำงานอาชีพ นักเขียนออนไลน์

Soft Skill

  • ลองฝึกให้เป็นคนช่างสังเกต ช่างสงสัย กับผู้คนและเกตุการณ์ต่างๆ เพราะสามารถกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของงานเขียนได้  
  • ฝึกทักษะการสื่อสาร การพูดคุยกับผู้คนใหม่ ๆ  เพราะในหลาย ๆ ครั้ง งานเขียนเกิดจากการสัมภาษณ์ผู้คนแปลกใหม่หลากหลายอาชีพ 

กิจกรรมต่างๆ

  • หากมีโอกาสแนะนำให้เข้าค่ายอบรมนักเขียน ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลาย ๆ ค่าย มีทั้งที่จัดโดยรัฐ เอกชน เป็นข้อดีคือได้ใกล้ชิดกับนักเขียนมืออาชีพ ได้เจอเพื่อนร่วมค่ายแลกเปลี่ยนความคิด ได้มุมมองใหม่ ๆ เช่น ค่ายบางจากสร้างนักเขียนเยาวชน, ค่ายลายลักษณ์วรรณศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ, ค่ายบ่มเพาะนักเขียนหน้าใหม่, ค่าย TK young Writer, ค่ายนิตยสารสารคดี, ค่ายสารคดีสำรวจโลก, ค่าย Young Writer Camp, ค่ายนักเขียนสัญจร
  • ประลองฝีมือตัวเองอยู่บ่อย ๆ โดยการเขียนส่งประกวดในเวทีต่าง ๆ หาข้อมูลได้จากหลายช่องทาง เช่น ประกวดงานเขียน Contest War
  • หาข้อมูลการเขียนเพิ่มเติมได้ จากสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
  • ฝึกถ่ายรูป หามุมมองใหม่ในการถ่ายรูปที่เล่าเรื่องได้

วิชาที่เรียน 

       ตัวอย่างวิชาสุดหินอันดับต้น ๆ ที่ต้องเจอมีดังนี้ 

  • วิชาการใช้ภาษาไทย (Use Thai Lang) เป็นวิชาที่จะเคยเรียนมาตอนมัธยม แต่จะลึกกว่ามากๆ อาจจะคิดว่าก็ภาษาไทยที่เราใช้กันอยู่แล้ว ไม่ยาก ที่จริงแล้วยากมาก เช่น หลักการใช้ภาษาไทย ไวยากรณ์ การอ่าน การพูด การเขียน มาทั้งหมดเลย  จะมีอาจารย์ที่เชี่ยวชาญแต่ล่ะด้านมาสอน ต้องเรียนแบบเข้าใจจริงๆ ถึงจะสามารถทำข้อสอบได้ เพราะข้อสอบไม่ใช่จำหลักการมาตอบ แต่เป็นการประยุกต์หลักการใช้ภาษาไทย เอามาวิเคราะห์ ตีความ ให้เหตุผล
  • วิชาภาษาอังกฤษ 1 (English I) เข้มข้นมาก มีอาจารย์ที่สอนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เนื้อหาการเรียนก็เป็นระดับ Upper Intermediate เป็นระดับที่เรียนต่อจากมัธยม จะได้เขียน Paragraph เยอะ การสอบก็จะมีแบบ  Pop Quiz ซึ่งก็คือการสอบแบบไม่บอกก่อนว่ามีสอบ
  • วิชาการใช้เหตุผล (Reasoning) เรียนการอ้างเหตุผลแบบนิรนัย และอุปนัย คือต้องเป็นคนคิดแบบเป็นขั้น เป็นตอน ทำไม เพราะอะไรถึงเป็นเช่นนี้ ซึ่งเวลาที่จะตอบ เหตุผลที่ยกมาก็ต้องมีที่มา เชื่อถือได้ นั่นหมายความว่าต้องอ่านเยอะมาก ติดตามอัปเดตสถานการณ์ตลอด  
  • วิชาอารยธรรมตะวันออก (East Civilization) อารยธรรมจะเน้นเกี่ยวกับความเป็นมาของวัฒนธรรม เช่น 4 อารยธรรม ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื้อหาเพียบ ต้องจำให้ได้ ข้อสอบก็มีแบบวิเคราะห์ซึ่งอาจทำให้จำสลับอารยธรรมได้ 

เคล็ดลับการเรียน 

       การจะทำอาชีพนักเขียนออนไลน์ได้นั้น คงหนีไม่พ้นการเขียน และการอ่านมากๆ เพื่อสั่งสมประสบการณ์ของตัวเอง หรือในระหว่างเรียนควรหาประสบการณ์เพิ่มเติม เช่น การไปค่ายนักเขียน ส่งผลงานประกวด เพื่อเป็นการทดสอบฝีมือของเราในแต่ละระดับ อาจจะเริ่มจาก ในโรงเรียน ขยับเป็นมหาวิทยาลัย ระดับจังหวัด ระดับประเทศ ไปจนถึงระดับโลก สิ่งนี้จะเป็นการตอกย้ำความสามารถ และรู้ว่าใช่ทางของเราหรือไม่  

ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย 

  • ปี 1 จะยังเริ่มเรียนรวมกันโดยไม่แยกสาขาวิชาเอก โดยจะเริ่มด้วยวาพื้นฐานอย่างการใช้เหตุผล อารยธรรมตะวันออก-ตะวันตก การค้นคว้าและการเขียนรายงาน ปริทัศน์ศิลปะการละคร การใช้เหตุผล ภาษาทัศนา ภาษาอังกฤษ 1-2 และการแปลขั้นต้น 
  • ปี 2 เทอม 1 ยังเรียนพื้นฐานโดยนักศึกษาต้องเลือกวิชาพื้นฐานที่ใช้สำหรับการเลือกสาขาวิชาเอก (ตัวอย่างเช่น หากอยากเลือกวิชาเอกภาษาอังกฤษ จะต้องผ่านวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 1 และ 2 ตามเกณฑ์ที่กำหนด) เมื่อเข้าเทอม 2 นักศึกษาจะได้เลือกสาขาวิชาเอก โดยการเรียนจะเข้มข้นขึ้น เรียนการอ่าน การแปล วิชาวรรณกรรม วัฒนธรรมของเจ้าของภาษานั้น ๆ เพื่อศึกษาความเข้าใจของคนในชาติ
  • ปี 3 เรียนศัพท์ยากแบบเจาะลึก รวมทั้งอ่านเป็นบริบทยาว ๆ 
  • ปี 4 เรียนเรื่องสื่อ วรรณกรรม อ่านกวี อ่านนวนิยาย ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และสังคมศาสตร์ เพื่อเข้าใจชีวิตคนเกาหลีก่อนถึงจะเข้าใจการใช้ภาษาที่ถ่ายทอดออกมา

ค่าเทอมตลอดหลักสูตร 

       ประมาณการค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร ประมาณ  136,000 บาท

ทุนการศึกษา

  • ทุน Bitch Media
  • ทุน Journalism in the Digital World
  • ทุนจากหน่วยงานของรัฐ เอกชน ที่จัดประกวดงานเขียน (สำหรับผู้ที่ได้รับรางวัล ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่การประกวดกำหนด)

มหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก

  • นักข่าว
  • นักแปล 
  • มัคคุเทศก์ หรือล่าม
  • บรรณารักษ์
  • นักพิสูจน์อักษร
  • ครูสอนภาษา
  • ครีเอทีฟโฆษณา
  • PR หรือสื่อสารองค์กร
  • พิธีกร
  • ผู้ทำงานด้านเอกสารที่ต้องใช้ทักษะด้านภาษา การเขียน การสื่อสาร เช่น ผู้ประสานงาน 

 


Copyright © 2019 TruePlookpanya. All rights reserved.
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ห้ามมิให้ผู้ใดคัดลอก ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข หรือเผยแพร่ส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร