นักการตลาดดิจิทัล
นักการตลาดดิจิทัล
นักการตลาดดิจิทัล
นักการตลาดดิจิทัล
รู้จักอาชีพ > นักโน้มน้าว (Convince) > นักการตลาดดิจิทัล

       แม้นักการตลาดจะเป็นอาชีพที่มีมาอย่างยาวนานในโลกธุรกิจ แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไปสู้ยุคสมัยดิจิทัลมากขึ้น จึงเกิดเป็นอาชีพใหม่ที่ต่อยอดจากนักการตลาดเดิม ที่ชื่อว่า “นักการตลาดดิจิทัล”

       นักการตลาดดิจิทัลยังคงมีพื้นฐานการทำงานเช่นเดียวกับนักการตลาดทั่วไป เพราะเป้าหมายเหมือนกัน การขับเคลื่อนและเพิ่มมูลค่าให้สินค้าหรือบริการให้บรรลุถึงเป้าหมายหรือยอดขายที่ตั้งไว้ ด้วยกลยุทธ์หรือเครื่องมือทางการตลาดต่าง ๆ แต่ในยุคดิจิทัลเช่นนี้ที่ช่องทางการเข้าถึงสินค้าและบริการของผู้บริโภคเปลี่ยนไป จึงต้องพึ่งพาเครื่องมือทางดิจิทัลออนไลน์มากขึ้น Website, Application, Social Network เป็นต้น

นักการตลาดดิจิทัล  (Digital Maketer)

นักการตลาดดิจิทัล  (Digital Maketer)

นักการตลาดดิจิทัล  (Digital Maketer)

ลักษณะงาน 

       ทำงานด้านการสื่อสารการสร้างแบรนด์สินค้าและบริการ โดยใช้ content และสื่อมีเดียดิจิทัลทั้งหมด เพื่อให้สินค้าและบริการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและผู้บริโภคตามที่กำหนดไว้ และมียอดขายตามเป้าที่ตั้งไว้ นอกจากนี้ ยังต้องหมั่นศึกษาทิศทางการตลาดออนไลน์และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มักเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และต้องตามให้ทันกับโทคโนโลยี โดยเราจะแบ่งการสื่อสารออนไลน์เป็น 3 ประเภท คือ

Owned: สื่อที่เราเป็นเจ้าของเช่น Website, Application และ Social Media
Paid: สื่อที่เราต้องซื้อ เช่น Google Ads, Facebook Ads และ Influencer (ผู้มีอิทธิพลทางด้านออนไลน์)
Earned: สื่อที่ได้จากการบอกต่อ เช่น Like Share Comment Hashtag

ขั้นตอนการทำงาน 

  • รับโจทย์ (Brief) จากทีมดูแลและพัฒนาสินค้า เกี่ยวกับข้อมูลสินค้านั้นๆ ตัวอย่างเช่น โทรศัพท์มือถือรุ่น A รุ่นนี้มีคุณสมบัติอย่างไร ต้องการขายให้กับกลุ่มเป้าหมายใดเป็นหลัก แบรนด์คู่แข่งของโทรศัพท์รุ่นนี้คือรุ่นไหนบ้าง แล้วเรามีจุดแข็งที่ดีกว่าอย่างไร และระยะเวลาที่ต้องการให้ทำการตลาดออนไลน์นานเท่าไร รวมทั้งมีงบในการใช้การทำตลาดออนไลน์ทั้งหมดเท่าไร
  • เมื่อได้ข้อมูลแล้ว จึงนำมาวางแผนการตลาดออนไลน์ โดยเลือกสื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่ทางทีม Product แจ้งไว้ เช่น หากกลุ่มเป้าหมายเป็นวัยรุ่นซึ่งมีพฤติกรรมใช้ Facebook หรือInstagram เป็นหลัก จึงอาจเลือกวางแผนด้วยสื่อช่องทางนี้มากขึ้น 
  • นำแผนทั้งหมดมาปรึกษาร่วมกับทีมการตลอดสื่อ offline (สื่อโฆษณาโทรทัศน์ วิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ ป้ายปิดโฆษณา ใบปลิว เป็นต้น) เพื่อวางแผนภาพรวมการตลาดทั้งหมดให้สอดคล้องกัน 
  • นำเสนอแผนทั้งหมดกับทีมดูแลสินค้า (Product) อีกครั้ง หาข้อสรุปร่วมกัน และลงรายละเอียดของสื่อที่จะใช้ทั้งแบบ Paid, Own และ Earn 
  • ดำเนินการด้านการตลาดตามที่วางแผนไว้
  • ติดตามผลของการทำการตลาดออนไลน์ ด้วยเครื่องมือวัดผลต่าง ๆ ว่าเราลงทุนไปในช่องทางนั้น ๆ และได้ผลตอบรับกลับมาอย่างไร โดยเก็บเป็นสถิติข้อมซึ่งสามารถใช้เป็นประโยชน์ในการวางแผนการตลาดครั้งถัด ๆ ไปได้ 

สถานที่ทำงาน

  • ที่ใดก็ได้ โดยเฉพาะหากเป็นนักการตลาดอิสระ (freelance) หรือบางคนอาจได้รับการอนุญาตจากองค์กร เพราะส่วนใหญ่แล้วการทำงานทางด้านดิจิทัลจะสามารถทำงานที่ใดก็ได้ ขอแค่เพียงมีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เนตเท่านั้น 
  • ภายในสำนักงาน หากอยู่ในทีมการตลาดภายใต้องค์กรขนาดใหญ่ อาจจะต้องทำงานภายในสำนักงานตามวัฒนธรรมทั่วไปขององค์กร เพื่อเข้าประชุม วางแผนหารือร่วมกันกับทีมอื่นๆ  
  • นอกสถานที่ อาทิ กองถ่ายโฆษณา หรืองานเปิดตัวสินค้าชนิดนั้น ๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในขั้นตอนทางการตลาดให้กับสินค้าที่เราได้วางแผน 

ผู้ที่ต้องทำงานด้วย

  • ฝ่ายสินค้า(product) จะเป็นผู้เรียกประชุมแต่ละฝ่าย เผื่อรับโจทย์เรื่องสินค้าและบริการ 
  • ฝ่ายประชาสัมพันธ์และลูกค้าสัมพันธ์ เป็นทีมทีต้องทำงานประสานกัน เพื่อช่วงวางแผนการสื่อสารแบรนด์ไปสู่กลุ่มผู้บริโภคอย่างทั่วถึง 

 

 

 

  • สามารถทำงานที่ไหนก็ได้ทุกที่ทุกเวลา 
  • ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์แก้ปัญหา และยิ่งทำงานด้านดิจิทัลจึงยิ่งช่วยให้ช่วยแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น 
  • กำลังเป็นที่ต้องการในแทบทุกกลุ่มธุรกิจไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ยิ่งถ้าช่ำชองในด้านสื่อออนไลน์หลากหลายประเภทแล้วล่ะก็ ไม่มีตกงานแน่นอน 
  • ยุคดิจิทัลเป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หากไม่ได้เป็นคนกระตือรือร้น ชอบตามเทรนด์โลก หรือหาความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอจะตกเทรนด์ได้ง่าย จนส่งผลต่อการทำงานได้ 
  • งานค่อนข้างหนักหากในบริษัทมีสินค้าที่ต้องการขายหรือให้ทำการตลาดออนไลน์เป็นจำนวนมาก จะทำให้ปริมาณจำนวนโปรเจกต์มากไปด้วย ทำให้หลายงานมีระยะเวลาที่ทับซ้อนกัน
  • งานมีความผกผัน เกิดคู่แข่งใหม่ ๆ ได้ตลอดเวลา 
  • หัวไว รักการเรียนรู้ งานดิจิทัลถ้าไม่ปรับตัวให้ทันตามกระแส อาจจะทำให้เราล้าหลังได้ในชั่วข้ามคืน ดังนั้นควรจะตามให้ทัน ขยันเรียนรู้ด้วยตัวเองให้รวดเร็วเข้าไว้ จะได้ไม่ตกเทรนด์ดิจิทัลใหม่ ๆ
  • รักในการท่องโลกโซเชียล ยิ่งเป็นคนที่ชอบเข้าสังคมยิ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น เพราะนักการตลาดจะได้เรียนรู้สังคม ความต้องการของคนที่หลากหลายและวัฒนธรรมแบบต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยสร้างเครือข่ายฐานข้อมูลได้เป็นอย่างมาก 
  • มีความคิดสร้างสรรค์ บางครั้งการคิดนอกกรอบ และสร้างสรรค์วิธีการเข้าถึงผู้บริโภคในรูปแบบใหม่ ๆ อาจช่วยให้งานด้านนี้ไปถึงเป้าหมายได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ 
  • ใส่ใจรายละเอียด การวิเคราะห์และการรวบรวมข้อมูลด้านการตลาด สถิติออนไลน์มักมีปริมาณข้อมูลมากมายที่ต้องนำมาใช้วิเคราะห์ การเก็บทุกรายละเอียดจะยิ่งสร้างประโยชน์ในการทำงานมากขึ้น 
  • ทักษะการสื่อสาร จำเป็นมากสำหรับคนทำงานด้าน Digital Marketing ไม่ว่าจะสื่อสารกับคนในทีม หรือภายนอก ดังนั้นไม่ว่าจะแค่สื่อสารง่าย ๆ ภายในทีมไปจนถึงการนำเสนอในที่ประชุม ทักษะดังกล่าวก็ขาดไม่ได้ 
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์ เป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำงานให้คนทำงานสายนี้ ได้นำค่าตัวเลขจากแหล่งสถิติทาง digital ต่าง ๆ อย่าง google หรือ social media มารวบรวมเป็นสถิติและคิดวิเคราะห์ เพื่อดูผลลัพธ์ทางการตลาด ค้นหากลุ่มเป้าหมายของผลิตภัณฑ์องค์กรที่ถูกต้อง หรืออาจช่วยวางแผนการตลาดให้ตรงจุดและคุ้มค่าได้ในครั้งต่อ ๆ ไป
  • ทักษะด้านเทคโนโลยี ใช้เทคโนโลยีในการทำงานได้อย่างเหมาะสม ปรับตัวกับเทคโลยีสมัยใหม่ได้ดี
  • ทักษะเครื่องมือเฉพาะ นักการตลาดดิจิทัลต้องเรียนรู้ที่จะใช้เครื่องมือใหม่ ๆ ไว้สำหรับเก็บสถิติหรือวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาด อาทิ Google Analytics, Facebook, Keyword Planner, Google Trends เป็นต้น 

Copyright © 2019 TruePlookpanya. All rights reserved.
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ห้ามมิให้ผู้ใดคัดลอก ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข หรือเผยแพร่ส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร