นักประชาสัมพันธ์
นักประชาสัมพันธ์
นักประชาสัมพันธ์
นักประชาสัมพันธ์
รู้จักอาชีพ > นักโน้มน้าว (Convince) > นักประชาสัมพันธ์

       นักประชาสัมพันธ์ หรือ ที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า PR เป็น อาชีพที่คอยสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรและผู้บริหาร โดย PR ถือเป็นอาชีพที่เป็นหน้าตาบริษัท ต้องทำหน้าที่วางแผนการประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กรผ่านสื่อมีเดียหลากหลายประเภท เพื่อให้เกิดภาพลักษณ์และชื่อเสียงที่ดีขององค์กรนั้น ๆ

หน้าที่ นักประชาสัมพันธ์ (PR)
หนึ่งวันของการทำงาน นักประชาสัมพันธ์ (PR)
ความก้าวหน้าทางอาชีพ

ลักษณะงาน

       งานประชาสัมพันธ์ หรือ PR เป็นที่ต้องสร้างภาพลักษณ์ที่ดี กระตุ้นชื่อเสียงและทัศนคติที่ดีของสาธารชนให้มีต่อองค์กรนั้น ๆ โดย PR แต่ละบริษัท แต่ละวงการ แต่ละอุตสาหกรรมมักจะมีกระบวนการทำงานที่คล้ายคลึงกัน จะต่างกันไปตามลักษณะสินค้าหรือบริการของขององค์กรนั้น ๆ เช่น ธุรกิจการโรงแรม ต้องสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในการบริการและใส่ใจนักท่องเที่ยวผู้ใช้บริการ 

       หลักการทำงานที่สำคัญของ PR คือการเข้าใจในสินค้า ธุรกิจและการบริการขององค์กรว่ามีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์อย่างไร เพื่อนำมาสร้างสรรค์ขอบข่ายแผนประชาสัมพันธ์ให้สอดคล้องกับธุรกิจ โดยเน้นทั้งสร้างความรับรู้แก่สาธารณชน สร้างความน่าเชื่อถือด้านคุณภาพการทำงาน รวมถึงกิจกรรมพิเศษอื่น ๆ อย่างกิจกรรมที่แสดงถึงความรับผิดชอบด้านสังคมหรือสิ่งแวดล้อมด้วย (CSR) 

       ในส่วนการวางแผนงานหรือโครงการเพื่อการประชาสัมพันธ์ PRต้องทำหน้าที่คิดวางแผนร่วมกับนักวางแผนกลยุทธ์ (Strategy Planner) และนักการตลาด Marketing Specialist) เมื่อได้ไอเดีย และผ่านมติจากผู้บริหารเรียบร้อย PR ต้องเตรียมข้อมูลสำหรับการประชาสัมพันธ์โครงการนั้น อาทิ จัดทำข่าวสาร ข้อมูลและข้อความที่จะใช้ในการส่งให้สื่อต่าง ๆ รวมทั้งจัดทำสิ่งพิมพ์เพื่อสื่อสารสู่กลุ่มเป้าหมาย ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบแผ่นพับ จดหมายข่าว หรือบทความ PR ต้องเลือกช่องทางการสื่อสารทั้ง offline และ online การติดต่อผู้สื่อข่าวต่าง ๆ และเมื่อข่าวต่าง ๆ ออกสู่สาธารณชนแล้วจะต้องจัดเก็บข่าว พิจารณาผล และทำการประเมินเพื่อปรับปรุงแก้ไขในโครงการถัดไป

ขั้นตอนการทำงาน

  • รับโจทย์จากผู้บริหารเรื่องทิศทางนโยบายของกิจกรรมหรือแผนงานต่าง ๆ 
  • ตีความโจทย์ของการประชาสัมพันธ์ของงานที่ได้รับมอบหมาย 
  • คุยงานกับนักสร้างกลยุทธ์การตลาดและแผนงาน (Strategic Planner) เพื่อสร้างกลยุทธ์และคิดไอเดียในการประชาสัมพันธ์ขึ้นมา 
  • เลือกสรรเครื่องมือหรือช่องทางการสื่อสารที่สอดคล้องกับแผนที่วางไว้ ช่องทางสื่อสิ่งพิมพ์อย่าง หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือ กิจกรรมสาธารณชนต่าง ๆ 
  • นำแผนกลยุทธไปนำเสนอกับลูกค้า เมื่อรับความเห็นจากลูกค้าแล้ว PR จะต้องกลับมาเขียนงาน หรือ press release ในรูปแบบของข่าวประชาสัมพันธ์
  • เรื่องที่ต้องการโปรโมท ผ่านสื่อประเภทต่าง ๆ ที่กำหนดไว้
  • ติดตามข่าวการประชาสัมพันธ์ที่เราได้จัดขึ้น ว่าได้ส่งไปอย่างสื่อทางช่องทางไหน โดยรวบรวมเก็บเป็นเล่มไว้ (clipping) หากเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ หรืออัดวิดีโอหรือดาวน์โหลดคลิปข่าวนั้น ๆ จากสื่อโทรทัศน์หรือสื่อออนไลนที่พบเห็น 
  • ทำการประเมินคุณภาพ งบประมาณ และผลการประชาสัมพันธ์มนทุกครั้งเพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาในครั้งต่อไป
  • หากมีข่าวเสียหาย หรือภาพลักษณ์ด้านลบ นักประชาสัมพันธ์ต้องหากลยุทธ์ในการแก้ไขและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้องค์กรกลับมาใหม่อีกครั้ง

สถานที่ทำงาน

  • สำนักงานขององค์กร: PR ส่วนใหญ่จะอยู่ในออฟฟิศส่วนกลาง เพราะถือเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนด้านการประชาสัมพันธ์ขององค์กรในทุก ๆ ด้านและทุกผลิตภัณฑ์และการบริการที่องค์กรต้องการนำเสนอ ดังนั้นการทำงานส่วนใหญ่ในการประชุมกับผู้บริหาร ทีมงาน เขียนข่าว จะเป็นสำนักงานของต้นสังกัดนั้น ๆ

  • สำนักข่าว: กลไกหนึ่งที่จะช่วยสื่อสารประชาสัมพันธ์งานขององค์กรได้ ต้องเกิดจากการติดต่อประสานงานกับสำนักข่าวต่าง ๆ โดย PR ต้องสานสัมพันธ์อันดีนักข่าวเพื่อส่งข่าวสารให้กับสื่อต่าง ๆ เหล่านี้เป็นประจำ

  • สถานที่จัดกิจกรรม (ต่างจังหวัด หรือต่างประเทศ) : การประชาสัมพันธ์นั้นรวมไปถึงการจัดกิจกรรมต่าง ๆ การจัดงานแถลงข่าวขององค์กร ซึ่ง PR จะเป็นหน่วยงานที่ต้องจัดเตรียมงานสถานที่ รวมทั้งติดต่อ ดูแล ให้นักข่าวมายังสถานที่จัดงานนั้น ๆ ด้วย ในบางครั้งอาจจะเป็นต่างจังหวัดหรือต่างประเทศตามแต่จะได้รับมอบหมาย 

​ผู้ที่ต้องทำงานด้วย

  • นักการตลาดและนักวางแผนกลยุทธ์ ถือเป็นทีมที่ช่วยคิดแผนประชาสัมพันธ์ในแต่ละโครงการ โดยนักการตลาดจะให้ข้อมูลด้านการตลาดและความสนใจของผู้บริโภคและกลุ่มเป้าหมายในช่วงเวลานั้น นักวางแผนกลยุทธ์จะช่วยวางแผนหาช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสมกับช่วงเวลานั้น ๆ เพื่อให้ PR ดำเนินการประชาสัมพันธ์ได้อย่างเหมาะสมและตรงกลุ่มเป้าหมาย

  • ผู้บริหาร PR ต้องนำเสนอแผนการประชาสัมพันธ์ให้กับผู้บริหาร และเตรียมกิจกรรมแถลงข่าวต่าง ๆ ซึ่งต้องเชิญผู้บริหารเข้าร่วมงานด้วยในทุก ๆ ครั้ง

  • นักข่าว โดย PR ต้องสานสัมพันธ์อันดีนักข่าวเพื่อส่งข่าวสารให้กับสื่อต่าง ๆ เป็นระยะ นักข่าวจึงเป็นกลุ่มคนที่ PR ต้องทำงานด้วยเป็นอันดับต้น ๆ

  • ได้ความรู้รอบตัวมากขึ้น เนื่องจากได้ทำงานที่ได้แก้ปัญหาและสถานการณ์ต่าง ๆ อยู่บ่อยครั้ง ทำให้สามารถเป็นคนแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
  • ทำให้เราเป็นคนยืดหยุ่น ปรับตัวได้ง่าย เพราะต้องทำงานเป็นทีม ร่วมกับผู้อื่นตลอดเวลา ได้เข้าใจธรรมชาติและการทำงานกับผู้คนได้ดี  
  • ค่าตอบแทนหรือรายได้ อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ และเป็นอาชีพที่หากเพิ่มพูนประสบการณ์ความรู้และประสบการณ์จะมีโอกาสขึ้นเงินเดือนได้ง่ายกว่าอาชีพที่
  • หากเป็นช่วงที่มีงานหรือการแถลงข่าวสำคัญของบริษัท จะเป็นช่วงเวลาที่ PR ต้องทำงานหนัก มีปริมาณงานมากและแต่ละงานต้องทำอย่างมีคุณภาพ เพราะล้วนส่งผลต่อภาพลักษณ์และความรู้สึกของผู้อื่นที่มีต่อองค์กรของเราเป็นอย่างมาก 
  • เนื่องจากงาน PR ต้องพร้อมทำงานตลอดเวลา หากมีการติดต่อจากสำนักข่าวหรือผู้ที่สนใจร่วมงานใด ๆ PR ต้องพร้อมทั้งข้อมูลและการตอบคำถามที่ถูกต้องเหมาะสม แม้จะเป็นวันหยุดก็ตาม 

 

  • มีมนุษย์สัมพันธ์ดี  งาน PR เป็นงานที่ทำงานกับคนเกือบ 100 % ดังนั้น เราต้องเป็นคนที่ชอบสื่อสารพูดคุยและสนุกกับการติดต่อ สานสัมพันธ์กับผู้คนใหม่ ๆ อยู่เสมอ
  • ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ทั้งข่าวสาร เทคโนโลยี โดยเฉพาะเครื่องมือใหม่ ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในงานทำงานของตน จะทำให้ระดับการทำงานพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ 
  • ละเอียดรอบคอบ เป็นคุณสมบัติที่สำคัญในทุกสายอาชีพ แต่ด้วยงาน PR เป็นงานที่สะท้อนถึงภาพลักษณ์ขององค์กรและผู้บริหาร จึงถือเป็นคุณสมบัติที่จำเป็นต้องมี 
  • มีความอดทนสูง การทำงานกับผู้คนที่หลากหลาย บางครั้งการควบคุมความคิดหรือเวลาของคนทุกคนในเวลาเดียวกันเป็นเรื่องที่ยากและต้องใช้ความอดทนสูง หากเรามีสติและรู้จักแก้ปัญหาจะช่วยให้งานของเราราบรื่น โดยไม่เผลอสร้างภาพลักษณ์ที่เป็นลบจนอาจทำให้องค์กรเสียหาย

 

  • ทักษะการสื่อสาร การต้องพบปะพูดคุยโดยเฉพาะกับสื่อมวลชนเป็นงานหลักของ PR ดังนั้น ทักษะการสื่อสารทั้งการเขียนและพูดถือเป็นสิ่งที่อาชีพนี้ขาดไม่ได้ 
  • ทักษะความการบริหารจัดการ ทั้งการบริหารเวลา การจัดการคนเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะ PR จะต้องเจอกับงานอีเว้นท์ กิจกรรม งานแถลงข่าวมากมาย และบ่อยครั้งมาในช่วงเวลาที่คาบเกี่ยวและใกล้เคียงกัน 
  • ทักษะการแก้ไขปัญหา การตัดสินใจที่เด็ดขาดเป็นสิ่งที่จำเป็น โดยเฉพาะหากมีสถานการณ์เฉพาะหน้าที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์องค์กร โดยทักษะนี้จะเพิ่มพูนได้จากประสบการณ์ที่สั่งสมจากทำงานจัดการหรือกิจกรรมี่หลากหลาย
  • ทักษะการพูด หลายครั้งที่ PR ต้องนำการประชุม เป็นพิธีกร หรือต้องพูดต่อหน้าสาธารณชน ดังนั้นการพูดที่คล่องแคล่ว เข้าใจง่ายและตรงประเด็นจะสร้างความประทับใจแก่ผู้อื่น และยิ่งช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้คุณและองค์กรของคุณยิ่งขึ้นด้วย
  • ทักษะการเขียน เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เนื่องจากข่าวต่าง ๆ ขององค์กรที่ส่งออกไปยังสื่อมวลชน ล้วนมาจากทีม PR ทั้งสิ้น การเขียนข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน และมีสำนวนที่สร้างความประทับใจและภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร ย่อมเป็นเป้าหมายสำคัญของการทำงานของวิชาชีพนี้เลยทีเดียว 
  • ทักษะภาษาอังกฤษ เป็นอีกช่องทางที่จะช่วยพัฒนาวิชาชีพของ PR ให้ไปไกลอีกขั้น และจำเป็นขึ้นมากในปัจจุบัน เพราะสื่อต่างชาติเป็นหนึ่งปัจจัยที่ช่วยขยายการประชาสัมพันธ์องค์กรของคุณไปอีกขึ้นหนึ่ง

 

 

 นักประชาสัมพันธ์ (PR)

 

 

การศึกษา

       สำเร็จการศึกษาจากนิเทศศาสตรบัณฑิต บริหารธุรกิจบัณฑิต ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาประชาสัมพันธ์ การตลาด ภาษาอังกฤษ หรือสาขาใกล้เคียง โดยคณะที่เกี่ยวข้องได้แก่

  • คณะนิเทศศาสตร์
  • คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน
  • คณะบริหารธุรกิจ 
  • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 
  • คณะศิลปศาสตร์ 

Hard Skill

  • ฝึกเขียนข่าว หรือลองดูข่าว PR ต่างๆ ตามสื่อหลากหลายประเภท ทั้งหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือสื่อออนไลน์ต่าง ๆ โดยสังเกตวิธีการเขียน และข้อมูลพื้นฐานสำหรับการเขียนประชาสัมพันธ์ที่ดี 

Soft Skill

  • พัฒนาทักษะการสื่อสาร ฝึกพูดในที่สาธารณะ หรือหากิจกรรมที่ให้เรามีโอกาสได้พูดหรือสื่อสารมากขึ้น  

  • พัฒนาทักษะทางอารมณ์ (EQ) และทักษะในการปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ เพื่อให้เรารู้จักเปิดใจ สนุกที่จะพบเจอคนใหม่ ๆ รวมทั้งเข้าใจธรรมชาติการทำงานกับคนอื่นมากขึ้นด้วย

กิจกรรมต่างๆ 

  • หาเวลาเข้ารับการฝึกงานกับหน่วยงานประชาสัมพันธ์กับองค์กรที่มีการ PR อย่างชัดเจน หากเลือกบริษัทขนาดใหญ่ เราจะเห็นถึงระบบการประชาสัมพันธ์ที่ชัดเจนและตำแหน่งงานที่หลากหลาย หากเป็นบริษัทขนาดกลางหรือเล็ก อาจมีตำแหน่งงานเล็กน้อย และจะได้เรียนรู้การทำงานในปริมาณที่มากขึ้น แต่หลากหลายรูปแบบ ทำงานให้พัฒนาได้รวดเร็ว

  • อ่านบทความหรือติดตามเรื่องราวข่าวสารเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ ตามช่องทางต่าง ๆ ทั้ง online, podcast , youtube   

  • ในประเทศไทย มีสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย http://www.prthailand.com/index.shtml ที่รวบรวมองค์ความรู้ที่จำเป็นของวิชาชีพ 

  • ลองเข้ามาฝึกงานกับโครงการ ทำ ก่อน ฝัน ของทรูปลูกปัญญา ที่เปิดโอกาสให้น้อง ๆ ได้ลองทำงานจริงกับพี่ ๆ PR มืออาชีพ

 

อาชีพใกล้เคียงหรือมีลักษณะงานที่คล้ายคลึงกัน อาทิ

  • ที่ปรึกษาทางด้านการประชาสัมพันธ์ (PR Agency)
  • นักสื่อสารการตลาด (Marketing Communication)
  • นักสื่อสารองค์กร
  • นักวางแผนกลยุทธ์การสื่อสาร (Communication Strategic Planner)
  • เจ้าหน้าที่ด้านการส่งเสริมการตลาดการขาย
  • เจ้าหน้าที่บริหารงานลูกค้า
  • เจ้าหน้าที่ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์
  • ผู้ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์

Copyright © 2019 TruePlookpanya. All rights reserved.
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ห้ามมิให้ผู้ใดคัดลอก ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข หรือเผยแพร่ส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร