คำประพันธ์ข้อใดที่สัมผัสภายในวรรค มีแต่สัมผัสเสียงพยัญชนะ ไม่มีสัมผัสเสียงสระ
ตอบ ตัวเลือกที่ 4 อุโบสถเรืองรุจิเรขพราย ครั้นสายฟ้าส่องแสงสุวรรณวาม
สัมผัสพยัญชนะ หมายถึง คำคล้องจองที่มีเสียงพยัญชนะต้นเป็นเสียงเดียวกัน แต่ประสมสระต่างกัน
สัมผัสสระ หมายถึง คำคล้องจองที่มีเสียงสระเสียงและเสียงพยัญชนะสะกดเป็นเสียงเดียวกัน ไม่จำเป็นต้องมีเสียงพยัญชนะต้นเสียงเดียว
ตัวเลือกที่ ๑ ผิด เพราะ หล่อนเที่ยวกัดขอข้าววัดกินทุกวัน กำเนิดนั้นเป็นแร่งแมลงมุม
เสียงสัมผัสพยัญชนะ ได้แก่ ขอ – ข้าว สัมผัสเสียง /ข/
เสียงสัมผัสสระ ได้แก่ กัด – วัด, แร่ง – แมลง
ตัวเลือกที่ ๒ ผิด เพราะ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสององค์ ผู้ทรงธรรม์อันสถิตมหาสถาน
เสียงสัมผัสพยัญชนะ ได้แก่ สถิต – สถาน สัมผัสเสียง /สถ/
เสียงสัมผัสสระ ได้แก่ ธรรม์ – อัน
ตัวเลือกที่ ๓ ผิด เพราะ กระทั่งถึงเดือนเจ็ดไม่เสร็จโศก บังเกิดโรคแรงหนักด้วยรักสมร
เสียงสัมผัสพยัญชนะ ได้แก่ ทั่ง – ถึง สัมผัสเสียง /ท/ โรค – แรง สัมผัสเสียง /ร/
เสียงสัมผัสสระ ได้แก่ เจ็ด – เสร็จ, หนัก – รัก
ตัวเลือกที่ ๔ ถูก เพราะ อุโบสถเรืองรุจิเรขพราย ครั้นสายฟ้าส่องแสงสุวรรณวาม
เสียงสัมผัสพยัญชนะ ได้แก่ เรือง – รุจิ – เรข สัมผัสเสียง /ร/ สาย – ส่อง – แสง – สุวรรณ สัมผัสเสียง /ส/ สุวรรณ – วาม สัมผัสเสียง /ว/ ไม่มีเสียงสัมผัสสระ
ตัวเลือกที่ ๕ ผิด เพราะ สักวาหน้าหนาวชาวสยาม ค่อยมีความปรีดิ์เปรมเกษมสันต์
เสียงสัมผัสพยัญชนะ ได้แก่ หน้า – หนาว สัมผัสเสียง /น/ ปรีดิ์ – เปรม สัมผัสเสียง /ปร/ เกษม – สันต์ สัมผัสเสียง /ส/
เสียงสัมผัสสระ ได้แก่ สักวา – หน้า, หนาว – ชาว, เปรม – เกษม