ใช้คำประพันธ์ต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ ๖๙ – ๗๐
ข้อใดเป็นภาพพจน์ที่ปรากฏในคำประพันธ์ข้างต้น
ตอบ ตัวเลือกที่ 1 สัญลักษณ์ อุปมา
คำประพันธ์ที่กำหนดให้มีการใช้ภาพพจน์ดังนี้
อุปมา คือ การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่งที่โดยธรรมชาติแล้วมีสภาพที่แตกต่างกัน แต่มีลักษณะเด่นร่วมกัน ใช้คำที่มีความหมายว่า เหมือน หรือ คล้าย เป็นคำแสดง
การเปรียบเทียบเพื่อเน้นให้เห็นจริงว่า เหมือนอย่างไร ในลักษณะใด ได้แก่คำว่า เหมือน เสมือน ดัง ดั่ง คล้าย ดูราว เหมือนดั่ง ดุจ ประดุจ ประหนึ่ง ละม้าย เสมอ ปาน เพียง ราว ราวกับ พ่าง เทียบ เทียม เฉก เช่น เป็นต้น ดังตัวอย่างในคำปะพันธ์ข้างต้น คือ
สกุลกาสาธารณ์ถึงพานพบ อย่าควรคบคิดรักศักดิ์สงวน
เหมือนชายโฉดโหดไร้ที่ไม่ควร อย่าชักชวนชิดใช้ให้ใกล้องค์
อันนักปราชญ์ราชครูเหมือนคูหา เป็นที่อาศัยสกุลประยูรหงส์
สัญลักษณ์ คือ การเปรียบเทียบโดยใช้สิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมาเปรียบเป็นตัวแทนหรือสิ่งแทนของอีกสิ่งหนึ่ง เช่น ตราชูคือสัญลักษณ์แห่งความยุติธรรม เป็นต้น ดังตัวอย่าง
ในคำปะพันธ์ข้างต้น คือ
สกุลกาสาธารณ์ถึงพานพบ อย่าควรคบคิดรักศักดิ์สงวน
อันนักปราชญ์ราชครูเหมือนคูหา เป็นที่อาศัยสกุลประยูรหงส์
สกุลกา เป็นสัญลักษณ์แทน คนต่ำศักดิ์ สกุลหงส์ เป็นสัญลักษณ์แทน คนสูงศักดิ์ ดังนั้นคำตอบที่ถูกต้องคือ ตัวเลือกที่ ๑ สัญลักษณ์ อุปมา เป็นภาพพจน์ที่ปรากฏในคำ
ประพันธ์ข้างต้น