ข้อใดเป็นคำสมาสทุกคำ
ตอบ ตัวเลือกที่ 2 สยมภู มโนมัย คทาวุธ
คำสมาส คือ คำที่ประกอบขึ้นจากการนำคำบาลีหรือคำสันสกฤตมารวมกันเพื่อใช้ในความหมายใหม่เช่นเดียวกับการประสมคำในภาษาไทย วิธีการสร้างคำสมาสมี ๒ วิธี ได้แก่
วิธีที่ ๑ การสมาสคำแบบสมาส คือ การนำคำบาลีหรือคำสันสกฤต ๒ คำ มาเรียงต่อกันแล้วเกิดความหมายใหม่ซึ่งต้องแปลความหมายจากคำหลังก่อนแล้วจึงแปลคำ
ข้างหน้า เช่น ธรรมชาติ = ธรรม + ชาติ
วิธีที่ ๒ การสมาสคำแบบสนธิ คือ การนำคำบาลีหรือคำสันสกฤต ๒ คำ มากลืนเสียงกัน โดยกลืนเสียงพยางค์ท้ายของคำหน้ากับเสียงพยางค์หน้าของคำหลังหรือคำถัด
ไป การกลืนเสียงของสมาสแบบมีสนธิมี ๓ รูปแบบ คือ
การกลืนเสียงรูปแบบที่ ๑ เรียกว่า สระสนธิ คือ การกลืนเสียงสระท้ายคำต้นเข้ากับสระในพยางค์แรกของคำต่อถัดไป หรือ กลืนด้วยการเปลี่ยนเสียงสระท้ายคำต้นให้เป็น
เสียงพยัญชนะแล้วจึงนำคำมาสมาสเป็นคำเดียวกัน เช่น ชล + อาลัย = ชะ – ละ + อา – ลัย = ชลาลัย, สามัคคี + อาจารย์ = สามัคย + อาจารย์ = สามัคยาจารย์ เป็นต้น
การกลืนเสียงรูปแบบที่ ๒ เรียกว่า พยัญชนะสนธิ คือ การกลืนเสียงพยัญชนะท้ายคำต้นแล้วเปลี่ยนให้เป็นเสียงสระหรือเสียงพยัญชนะเสียงใหม่ จากนั้นจึงนำมาสมาส
เป็นคำเดียวกัน เช่น มนัส + มัย = มโน + มัย = มโนมัย, ทุส + ยศ = ทุร + ยศ = ทุรยศ เป็นต้น
การกลืนเสียงรูปแบบที่ ๓ เรียกว่า นิคหิตสนธิ คือ การกลืนเสียงนิคหิตท้ายคำต้นแล้วเปลี่ยนให้เป็นเสียงพยัญชนะเสียงใหม่ จากนั้นจึงนำมาสมาสเป็นคำเดียวกัน เช่น
สํ + อาทาน = สม (สะมะ) + อา – ทาน = สมาทาน, สํ + จร = สัญ + จร = สัญจร, สํ + หาร = สัง + หาร = สังหาร เป็นต้น
ตัวเลือกที่ ๑. ผิด เพราะ ยานอวกาศ เป็นคำประสม
อัธยาศัย = อธิ + อาศัย เป็นคำสมาสวิธีที่ ๒ แบบสระสนธิ
ชัยภูมิ = =ชัย+ ภูมิ เป็นคำสมาสวิธีที่ ๑
ตัวเลือกที่ ๒. ถูก เพราะ สยม = สยํ + ภู เป็นคำสมาสวิธีที่ ๒ แบบนิคหิตสนธิ
มโนมัย = มนัส + มัย เป็นคำสมาสวิธีที่ ๒ แบบพยัญชนะสนธิ
คทาวุธ = คทา + อาวุธ เป็นคำสมาสวิธีที่ ๒ แบบสระสนธิ
ตัวเลือกที่ ๓. ผิด เพราะ นิรภัย = นิส + ภัย เป็นคำสมาสวิธีที่ ๒ แบบพยัญชนะสนธิ
อุณหภูมิ = อุณห + ภูมิ เป็นคำสมาสวิธีที่ ๑
ภิกษุสงฆ์ เป็นคำซ้อนแบบความหมายเหมือนหรือคล้ายกัน
ตัวเลือกที่ ๔. ผิด เพราะ เมรุมาศ เป็นคำประสม
มเหสี = มหา + อิสี เป็นคำสมาสวิธีที่ ๒ แบบสระสนธิ
ไพรสณฑ์ เป็นคำซ้อนแบบความหมายเหมือนหรือคล้ายกัน
ตัวเลือกที่ ๕. ผิด เพราะ วัตถุโบราณ เป็นคำประสม
มิตรสหาย เป็นคำซ้อนแบบความหมายเหมือนหรือคล้ายกัน
สินธวานนท์ = สินธุ +อานนท์ เป็นคำสมาสวิธีที่ ๒ แบบสระสนธิ