ข้อใดไม่อาจอนุมานได้จากข้อความต่อไปนี้
ประเทศไทยเป็นดินแดนที่มีพืชพรรณตามธรรมชาติหลากหลาย เหมาะต่อการเพาะปลูกและทำเกษตรกรรม มีสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกันทำให้เกิดความหลากหลายในการกระจายของผลไม้เมืองร้อนออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี พื้นที่ปลูกไม้ผลตามภาคต่าง ๆ ของประเทศไทยมีกว่า ๙.๖๘ ล้านไร่ ผลไม้ไทยนับเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย สามารถทำรายได้เข้าประเทศไทยปีละหลายล้านบาทและเป็นที่นิยมบริโภคกันทั่วไปทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ผลไม้ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นที่นิยมบริโภคในต่างประเทศจำนวนถึง ๑๐ ชนิด ได้แก่ ลำไย ทุเรียน มังคุด ลิ้นจี่ มะม่วง ส้มโอ เงาะ สับปะรด มะพร้าวน้ำหอมและมะขาม ทั้งนี้ผลไม้ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจในอนาคต ได้แก่ กระท้อน ชมพู่ น้อยหน่า พุทรา มะปราง ฝรั่ง ลองกอง ลางสาด สละ ขนุน องุ่นและกล้วย เป็นต้น
ตอบ ตัวเลือกที่ 4 ผลไม้เป็นสินค้าส่งออกอันดับ ๑ ของประเทศไทย
ตัวเลือกที่ ๑. ผิด เพราะ ข้อความกล่าวว่า “ประเทศไทยเป็นดินแดนที่มีพืชพรรณตามธรรมชาติหลากหลาย เหมาะต่อการเพาะปลูกและทำเกษตรกรรม มีสภาพภูมิอากาศที่แตก
ต่างกันทำให้เกิดความหลากหลายในการกระจายของผลไม้เมืองร้อนออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี” จึงอนุมานได้ว่า “ประเทศไทยเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์”
ตัวเลือกที่ ๒. ผิด เพราะ ข้อความกล่าวว่า “ไม้ผลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นที่นิยมบริโภคในต่างประเทศจำนวนถึง ๑๐ ชนิด ได้แก่ ลำไย ทุเรียน
มังคุด ลิ้นจี่ มะม่วง ส้มโอ เงาะ สับปะรด มะพร้าวน้ำหอมและมะขาม” จึงอนุมานได้ว่า “ทุเรียนสามารถทำเงินให้กับประเทศได้มาก”
ตัวเลือกที่ ๓. ผิด เพราะ ข้อความกล่าวว่า “ผลไม้ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นที่นิยมบริโภคในต่างประเทศจำนวนถึง ๑๐ ชนิด ได้แก่ ลำไย ทุเรียน
มังคุด ลิ้นจี่ มะม่วง ส้มโอ เงาะ สับปะรด มะพร้าวน้ำหอมและมะขาม ทั้งนี้ผลไม้ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจในอนาคต ได้แก่ กระท้อน ชมพู่ น้อยหน่า พุทรา มะปราง ฝรั่ง
ลองกอง ลางสาด สละ ขนุน องุ่นและกล้วย เป็นต้น” จึงอนุมานได้ว่า “ปัจจุบันชาวต่างชาติยังไม่ค่อยนิยมบริโภคสละ”
ตัวเลือกที่ ๔. ถูก เพราะ ข้อความกล่าวเพียงว่า “ผลไม้ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและมีมูลค่าการส่งออกสูง” จึงไม่อาจอนุมานได้ว่า “ผลไม้เป็นสินค้าส่งออกอันดับ ๑
ของประเทศไทย”
ตัวเลือกที่ ๕. ผิด เพราะ ข้อความกล่าวว่า “ทั้งนี้ผลไม้ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจในอนาคต ได้แก่ กระท้อน ชมพู่ น้อยหน่า พุทรา มะปราง ฝรั่ง ลองกอง ลางสาด สละ ขนุน องุ่น
และกล้วย เป็นต้น” จึงอนุมานได้ว่า “ในอนาคตเกษตรกรน่าจะหันมาปลูกขนุนกันมากขึ้นกว่าเดิม”