ข้อใดอาจอนุมานได้จากข้อความต่อไปนี้
ขนม “ไข่เหี้ย” นี้มีตำนานเล่าต่อ ๆ กันว่าเป็นขนมที่เจ้าจอมแว่นหรือสมัญญาที่พระเจ้าลูกยาเธอและพระเจ้าลูกเธอ เรียกว่า คุณเสือ ซึ่งพระสนมเอกในรัชกาลที่ ๑ คิดทำขึ้นถวาย เพราะครั้งหนึ่งด้วยรัชกาลที่ ๑ ทรงพระประสงค์จะเสวยไข่เหี้ย แต่ระยะนั้นไข่เหี้ยหายาก เจ้าจอมแว่นจึงประดิษฐ์ขนมไข่เหี้ยขึ้นถวายแทน ในสมัยก่อนขนมนี้ยังใช้ในพิธีขันหมากหรือติดกัณฑ์เทศน์ด้วย ปัจจุบันคนส่วนใหญ่เห็นว่าชื่อขนมไม่ไพเราะจึงเปลี่ยนชื่อเป็น “ขนมไข่หงส์” ทำให้ลักษณะของขนมเปลี่ยนไปด้วย จากที่เคยฟองใหญ่คล้ายไข่เป็ด เนื้อแป้งหนา กลายเป็นฟองกลม ๆ เล็ก ๆ แป้งบางลง
ตอบ ตัวเลือกที่ 1 แต่เดิมนั้นเหี้ยไม่ใช่สัตว์อัปมงคล
ตัวเลือกที่ ๑. ถูก เพราะ “แต่เดิมนั้นเหี้ยไม่ใช่สัตว์อัปมงคล” สอดคล้องกับข้อความว่า “ในสมัยก่อนขนมนี้ยังใช้ในพิธีขันหมากหรือติดกัณฑ์เทศน์” ด้วยพิธีขันหมากและของติด
กัณฑ์เทศน์จะต้องเป็นของมงคล ถ้าขนมไข่เหี้ยใช้ในพิธีขันหมากหรือติดกัณฑ์เทศน์ได้ แสดงว่าเหี้ยจึงไม่ใช่ของอัปมงคล
ตัวเลือกที่ ๒. ผิด เพราะ “ขนมไข่เหี้ยมีรสชาติเหมือนไข่ของตัวเหี้ย” ไม่สอดคล้องกับข้อความใดเลย
ตัวเลือกที่ ๓. ผิด เพราะ “สมัยรัชกาลที่ ๑ นิยมบริโภคเหี้ยเป็นอาหาร” ไม่สอดคล้องกับข้อความใดเลย
ตัวเลือกที่ ๔. ผิด เพราะ “พระสงฆ์ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ชอบฉันขนมไข่เหี้ย” ไม่สอดคล้องกับข้อความใดเลย
ตัวเลือกที่ ๕. ผิด เพราะ “เจ้าจอมแว่นมีหน้าที่คอยดูแลเครื่องเสวยในรัชกาลที่ ๑” ไม่สอดคล้องกับข้อความใดเลย