ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ ก. และ ข้อ ข.
เนื้อหาเหล่านี้ในหนังสือนั้นส่วนใหญ่คือข้อความที่ข้าพเจ้าบรรยายแก่นิสิตปีที่ ๔ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเวลาต่อเนื่องกันกว่า ๑๐ ปี ข้าพเจ้าบันทึกไว้ด้วยความตั้งใจแล้วรวบรวมมาเพื่อจะเผยแพร่ต่อไป
ก.ข้อความข้างต้นมีคำนามกี่คำ ข.ข้อความข้างต้นมีคำกริยาหลักกี่คำ
ตอบ ตัวเลือกที่ 3 ก. 9 คำ และ ข. 6 คำ
ข้อ ก. ตอบ 9 คำ เพราะ คำนาม หมายถึง คำที่ใช้เรียกชื่อ คน สัตว์ พืช สิ่งของ สถานที่ สภาพ อาการ ลักษณะ ทั้งที่เป็นสิ่งมีชีวิตหรือสิ่งไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็นรูปธรรมหรือ
เป็นนามธรรม โดยคำนามแบ่งออกเป็น ๕ ชนิด ได้แก่ สามานยนาม วิสามานยนาม ลักษณนาม สมุหนาม และ อาการนาม ดังนั้นจากโจทย์จึงมีคำนาม ๙ คำ ดังนี้ เนื้อหาเหล่า
นี้ในหนังสือนั้นส่วนใหญ่คือข้อความที่ข้าพเจ้าบรรยายแก่นิสิตปีที่ ๔ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเวลาต่อเนื่องกันกว่า ๑๐ ปี ข้าพเจ้าบันทึกไว้ด้วยความตั้งใจ
แล้วรวบรวมมาเพื่อจะเผยแพร่ต่อไป
สามานยนาม มี ๕ คำ ได้แก่ เนื้อหา หนังสือ ส่วน ข้อความ เวลา
วิสามานยนาม มี ๑ คำ ได้แก่ นิสิตปีที่ ๔ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ลักษณนาม มี ๑ คำ ได้แก่ ปี
สมุหนาม มี ๑ คำ ได้แก่ เหล่า
อาการนาม มี ๑ คำ ได้แก่ ความตั้งใจ
ข้อ ข. ตอบ 6 คำ เพราะ คำกริยาหลัก คือ คำที่แสดงอาการของนามหรือสรรพนามเพื่อให้รู้ว่านามหรือสรรพนามนั้น ๆ ทำอะไร ดังนั้นจากโจทย์จึงมีคำกริยาหลัก ๖ คำ ดังนี้
เนื้อหาเหล่านี้ในหนังสือนั้นส่วนใหญ่คือข้อความที่ข้าพเจ้าบรรยายแก่นิสิตปีที่ ๔ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเวลาต่อเนื่องกันกว่า ๑๐ ปี ข้าพเจ้าบันทึกไว้ด้วย
ความตั้งใจแล้วรวบรวมมาเพื่อจะเผยแพร่ต่อไป